หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ข้อเสนอทางออกในการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาล )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: choliada โพสเมื่อวันที่: 10/30/18 เวลา 14:15:03
ข้อเสนอทางออกในการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบk]
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาล อาจเกิดปัญหาทั้งในด้านการทำร้ายร่างกาย หรือทำร้ายกันด้วยวาจา หรือการร้องเรียน/ฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งในปัจจุบัน มีข่าวเรื่องบุคลากรในโรงพยาบาลถูกผู้ป่วยและ/หรือญาติผู้ป่วยทำร้ายร่างกาย  เช่น เตะก้านคอบ้าง แทงบ้าง หรือมีการทุ่มเถียง/ด่าทอ/ต่อว่าต่อขานกัน เช่น หมอบอกว่า โรงพยาบาลไม่ใช่เซเว่นบ้าง หรือข่าวการกล่าวหา/กล่าวโทษ /ฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์หรือโรงพยาบาลมากขึ้น
 
สาเหตุที่เกิดขึ้น มักมาจากผู้ป่วยและญาติเป็นส่วนมากที่สุด โดยมักจะเกิดจากความไม่พอใจที่ต้องรอนาน กว่าที่จะมีแพทย์/พยาบาลมาตรวจร่างกายหรือให้การรักษา และมักจะเกิดขึ้นในห้องตรวจฉุกเฉินนอกเวลาราชการ ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ (เนื่องจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาประชาชนเป็นสัดส่วนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนทั้งประเทศ)
 
ส่วนสาเหตุ ที่หมอ/พยาบาลเครียด.จนกล่าววาจาต่อว่าต่อขานผู้ป่วยนั้น ก็น่าจะเกิดจากภาระงานที่มากจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า/มีความเครียด จนบ่น(ดังๆ) ว่ารพ.ไม่ใช่เซเว่น ทำไม(คนไข้)ชอบมาโรงพยาบาลกันตลอดเวลา
 
ปัญหาเหล่านี้ กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่จะต้องแก้ไข แต่ไม่ได้ทำให้สำเร็จเลย และมีปัญหานี้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ปัญหาเหล่านี้อาจจะมากขึ้น และมีข่าวปรากฎมากขึ้น
 
ซึ่งเมื่อก่อนไม่ค่อยมีข่าวปรากฎเท่าใดนัก เพราะคนเมื่อก่อนนั้น น่าจะใจเย็นมากกว่าคนปัจจุบัน ที่ต้องได้รับการตอบสนองความต้องการให้เร็วทันใจ แต่กระทรวงสาธารณสุข ไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการให้โรงพยาบาลทำงานตอบสนองความต้องการที่ "เร่งด่วนตามใจ" ของประชาชนได้ ซึ่งเมื่ิอก่อน ประชาชนอาจจะต่อว่าต่อขานกันกับแพทย์/พยาบาล ว่ากัน แล้วก็เลิกแล้วกันไป
แต่เดี๋ยวนี้ ประชาชนไม่ทำร้ายกันด้วยวาจาอย่างเดียว แต่ทำร้ายร่างกายกันด้วย
ซึ่งในยุค IT ข่าวการทำร้ายร่างกายบุคลากรทางการแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์บ่นว่าผป.ก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่่วโลก ออนไลน์
 
ผู้ที่มีหน้าที่แก้ไขปัญหานี้ คือผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลใช่หรือไม่? และต้องแก้ปัญหาให้ถูกต้อง คือควรแก้ปัญหาจากต้นเหตุหรือรากเหง้าของมัน
 
เช่น การทำร้ายร่างกายบุคลากรทางการแพทย์มักจะเกิดในห้องฉุกเฉิน(Emergency Room - ER) และมักเกิดขึ้นนอกเวลาราชการ เนื่องจากเวลานอกเวลาทำการปกติที่มีผป.มากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การด ูแลรักษาผู้ป่วย เพราะความเจ็บป่วยเลือกวันเวลาไม่ได้
 
แต่เวลานอกราขการนั้น รพ.จัดให้มีเจ้าหน้าที่ทำงานน้อยกว่าเวลาราชการมาก แต่ผู้ป่วยอาจจะมีจำนวนมากจนทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถทำงานได้รวดเร็วทันใจ ผู้มารอรับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลไม่ได้แยกการตรวจผู้ป่วยทั่วไป ออกจากผู้ป่วยฉุกเฉิน/เร่งด่วน
 
ฉนั้น เมื่อมีผู้ป่วยหนักมีอาการเสี่ยงต่อความตายมาถึง และได้รับการช่วยเหลือก่อนผู้ป่วยที่รอคิวอยู่ก่อน ผู้ป่วยและะญาติที่รอคิวอยู่ก่อนก็จะไม่พอใจ และยิ่งแพทย์/พยาบาลต้องระดมกำลังไปซ่วยผป หนักใช้เวลานานมากเพียงใด ผป./ญาติที่รอคิวก็จะไม่พอใจมากขึ้น
 
กระทรวงสาธารณสุขจึงควรจะมอบนโยบายให้โรงพยาบาล แยกห้องตรวจผู้ป่วย(ที่ไม่ฉุกเฉิน)นอกเวลาราชการ ออกจากห้องตรวจผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency Room = ER)
 
คราวนี้ก็จะมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น กล่าวคือ ปัญหาการขาดบุคลากรที่จะหมุนเวียนมาทำงานนอกเวลาราชการให้เพียงพอ เนื่องจากบุคลากรมีน้อย เท่าที่เป็นอยุู่ก็ทำงานมากเกินเวลาทำงานมาตรฐานของสากลอยู่แล้ว เช่นแพทย์ทำงานสัปดาห์ละ 100 ชั่วโมง หรือต้องทำงาน ดูแลรักษาผป.ติดต่อกันเกิน24 ชั่วโมง พยาบาลทำงานวันติดต่อกันวันละ 16 ชั่วโมง หรือมากนั้น
ซึ่งการที่แพทย์/พยาบาล ต้องทำงานเช่นนี้ นอกจากจะเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพของแพทย์/พยาบาลเองแล้ว ยังเสี่ยงต่ ความเสียหายของผป.ที่จะได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ด้วย
เปรียบเหมือนประชาชนต้องนั่งรถโดยสาร ที่ขับโดยพนักงานที่ขับรถโดยไม่ได้นอนหลับมาเลยใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บล้มตายได้ง่าย
 
จากคุณ: choliada โพสเมื่อวันที่: 10/30/18 เวลา 14:15:14
กระทรวงสาธารณสุขจึงควรจะป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาลการดังก ล่าวแล้วได้ดังนี้
 
1.การจัดระบบห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล แยกจากห้องผป.ทั่วไปทั้งนอกและในเวลาราชการ
2.จัดสรรงุคลากรทางการแพทย์ทุกประเภท ให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน
 
3. ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค/อุบัติเหตุ และมีความสามารถในการรักษาอาการเจ้บป่วยเบื้องต้นได้เอง ลดภาระการไปโรงพยาบาล
 
4.จัดระเบียบการมาใช้บริการโรงพยาบาลเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว คือประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ที่จะมาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลได้ตลอดเวลา ส่วนเจ็บป่วยธรรมดาควรมาตรวจตามที่โรงพยาบาลนัดเท่านั้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีภาระงานที่เหมาะสม สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้ตามมาตรฐาน
 
5.ควรประกาศว่า ในการไปโรงพยาบาลนั้นทุกคนควรใจเย็นและอดทน ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ควรทำงานด้วยความเมตตา กรุณา ไม่ประมาท ทั้งกาย/วาจา/ใจ
 
ในส่วนของ แพทยสภานั้น กรรมการแพทยสภาควรยืนหยัดในการทำตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งแพทยสภาตามมาตร า 7(5) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อ รัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ
 
ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขเร่งแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบา ลได้สำเร็จ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 10/31/18 เวลา 09:30:33
หลักการตามที่อาจารย์เชิดชู ว่านั่นแหละครับ
แต่ว่าความเป็นจริงแล้ว ใน  รพช. (หรือ รพท.) หลายๆแห่ง ER= OPD. นอกเวลาราชการมากกว่าครับ
ผป. มักจะคิดว่าโรคของตัวเองนั้นเป็นภาวะฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจ/ รักษาอย่างเร่งด่วน คือมาด้วยอารมณ์ร้อน/ ใจร้อน/ เร่งรีบ เป็นส่วนใหญ่ + ไม่ฟัง/ ไม่สนใจเหตุผลของจนท. ที่จะชี้แจงว่ารอสักพัก (ให้รักษาคนป่วยหนัก/ ฉุกเฉินจริงๆก่อน)/ โรคหรือภาวะของท่านนั้นไม่ใช่ภาวะเร่งด่วน หรือฉุกเฉิน ฯลฯ
ดังนั้นโอกาสที่จะปะทะคารมกับจนท.ของรพ. จึงมีมากครับ
จากคุณ: Ines_de_BK โพสเมื่อวันที่: 10/31/18 เวลา 09:35:36
ปัญหาระดับระบบค่ะ ทนไม่ไหวก็ออกไปซะ
จากคุณ: megacure โพสเมื่อวันที่: 10/31/18 เวลา 10:04:56
on 10/31/18 เวลา 09:30:33, Dr._Panya wrote:
หลักการตามที่อาจารย์เชิดชู ว่านั่นแหละครับ
แต่ว่าความเป็นจริงแล้ว ใน  รพช. (หรือ รพท.) หลายๆแห่ง ER= OPD. นอกเวลาราชการมากกว่าครับ
ผป. มักจะคิดว่าโรคของตัวเองนั้นเป็นภาวะฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจ/ รักษาอย่างเร่งด่วน คือมาด้วยอารมณ์ร้อน/ ใจร้อน/ เร่งรีบ เป็นส่วนใหญ่ + ไม่ฟัง/ ไม่สนใจเหตุผลของจนท. ที่จะชี้แจงว่ารอสักพัก (ให้รักษาคนป่วยหนัก/ ฉุกเฉินจริงๆก่อน)/ โรคหรือภาวะของท่านนั้นไม่ใช่ภาวะเร่งด่วน หรือฉุกเฉิน ฯลฯ
ดังนั้นโอกาสที่จะปะทะคารมกับจนท.ของรพ. จึงมีมากครับ

 
ทำแบบ USA UK สิ ใครมา aggressive behavior หน้า ER เรียกตำรวจ จับกดใส่กุญแจมือ บางคนโดนกระบองทุบด้วย เลิกห้าวเลย
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 10/31/18 เวลา 13:30:29
  ฉุกเฉิน คือญาติรอไม่ได้ เขาไม่สนข้อความอื่นใดหรอกครับ ถ้ารัฐไม่สามารถปฎิเสธประชาชนได้ รัฐก็มีหน้าที่จัดหา เจ้าหน้าที่และทรัพยากรมาให้พอ
    ถ้ารัฐกล้าพอ ก็แค่ตั้งกำแพงเล็กๆ เช่นจะเข้าฉุกเฉิน ต้องจ่ายค่าเข้าพันบาท เอาเงินนี้ไปแจก จนท.  รับรอง win win ลดคนมากร่างโดยไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพ จนท  ไม่ต้องใช้ความรุนแรงหรือธิบายอะไรมาก แค่มันจะกีดกันคนจนและทุนนิยมไปหน่อย
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 10/31/18 เวลา 20:10:56
    คนไข้เตะก้านคอแพทย์ ?  - คู่สวรรค์อุ้มสม ครับ...
จากคุณ: cmumed โพสเมื่อวันที่: 11/01/18 เวลา 08:09:04
ยุทธศาสตร์มีคนคิดมานานและมากแล้วครับในการแก้ปัญหา ความรุนแรง
ออกเป็นแนวทางปฏิบัติแล้วด้วยซ้ำ
แต่วิธีปฏิบัติทำอย่างไร และมีการปฏิบัติเป็นรูปธรรมหรือไม่อย่างไร
มันมีทั้งฝั่งผู้ใช้บริการ และฝั่งผู้้ให้บริการ เขาเรียกว่ามี Strategy มี action plan
แต่ไม่มี Operation plan และสุดท้ายคือ Plan นิ่ง
แค่เรื่อง การวางระบบ ECS การวางระบบ Triage และ Double door ER
ทั้งๆที่รู้และมีข้อเสนอแนะสั่งการ แต่มีกี่โรงพยาบาลครับที่ทำจริง
ผมไม่คิดว่าจะต้องมีแผนอะไรหรือข้อเสนอแนะอะไรใหม่นะ
แต่ผมคิดว่า ต้องลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่างหาก
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/01/18 เวลา 13:47:36
  ทำไงดี ? - " ติดป้ายโตๆทั่วโรงพยาบาล....ระวังผู้ป่วยประเภทดุร้าย..."
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/02/18 เวลา 11:05:07
จริงๆแล้วก็น่าจะรักษาโรคทั่วๆไป ที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ แก่ผู้ป่วยบัตรทอง ในวัน-เวลาราชการ เท่านั้น
ส่วนนอกเวลาราชการก็จัดเต็มทั้ง มาตรฐานการรักษาและราคา ก็คงจะดีครับ จนท. รพ.+ ผู้ป่วย ก็น่าจะ Happy ทั้งสองฝ่าย (เหมือนเวลาไปรักษาที่ รพ.เอกชน เค้าพูดจา+ บริการดีีดี ก็เพราะเห็นว่าผู้ป่วยเป็นคนเอาเงินมาให้เค้า ไม่ใช่มาใช้งานเค้าฟรีๆ แบบ บัตรทอง) เรื่องร้องเรียนในห้องฉุกเฉิน หรือนอกเวลาราชการรับรองว่าจะน้อยลงแน่นอนครับ
 
 
แต่ว่า ชาวบ้านคงจะไม่ยอมแน่นอน เพราะว่า "เสพติด" กับของฟรีตลอด 24 ชั่วโมงจนเคยชินแล้วครับ 555
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/03/18 เวลา 13:00:00
 เจอคนไข้ดุร้าย (ไอ้กุ๊ย) ? - " มีเหตุผลยาวเป็นหางว่าวที่จะวิ่งหนี ครับ   ยกเว้นจวนตัว "
จากคุณ: Ines_de_BK โพสเมื่อวันที่: 11/03/18 เวลา 20:11:24
กีดกันคนไข้ไม่ด่วนที่คิดว่าตัวเองด่วนไม่ได้ถ้าไม่ใช่นโยบายหรือกฎมาบังคับ  
 
ให้บุคลากรอบรมการต่อสู้ระยะประชิดกับฝึกสมาธิความอดทนกับการรับมือAbusive word. แล้วมีซ้อมบ่อยๆ เหมือนซ้อมอุบัติเหตุหมู่ ไฟไหม้ น่าจะมีประโยชน์เป็นรูปธรรมมากกว่า  
 
จากคุณ: Ines_de_BK โพสเมื่อวันที่: 11/03/18 เวลา 20:14:39
เวลาหวังพึ่งใครไม่ได้  ควรคิดพึ่งตัวเองให้มากที่สุด
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/06/18 เวลา 11:40:13
      เจอคนไข้ประเภทดุร้าย ทำไง? - " พวกถังขยะ....อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ  แค่นั้น"
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/07/18 เวลา 22:21:22
      คนไข้-ญาติที่ดุร้าย ? - " น่าเตะ ครับ"
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/08/18 เวลา 11:51:42
    เจอคนไข้ดุร้ายโวยวาย ? - " แจ้งตำรวจ  ครับ  บอกว่า  โทรเรียกตำรวจแล้วมีอะไรให้ผู้ป่วยแจ้งตำรวจได้ "....
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/09/18 เวลา 10:59:22
      คนไข้ประเภทดุร้าย(ทุบตีแพทย์) ? - " ก้อแค่คนชั้นต่ำคนนึง ครับ   ไม่คุ้มที่จะแลก(กำปั้น)ด้วย "


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by