หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ***** เรื่องยุ่ง ๆ ของอาการปวดหัว กับ 7-11 ****** )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: doctorlawyer. โพสเมื่อวันที่: 10/20/18 เวลา 09:17:51
ปวดหัว (Headache)
 
เรื่องปวดหัว ของทั้งคนไข้ และของหมอ
 
ปวดหัวแบบไหน ควรไปห้องฉุกเฉินเพื่อพบแพทย์โดยด่วน ....แบบไหนเข้าseven เพื่อซื้อพาราทานเองไปก่อนได้Huh
 
เรื่องปวดหัวเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่สุดประจำ OPD ทุก รพ.
 
แต่ปัญหาคือคนไข้ปวดหัวส่วนหนึ่งไม่ได้ไปแบบคนไข้นอก (OPD) ซึ่งมักมีแพทย์อาวุโสอยู่ช่วยดูแลให้ความเห็น.....แต่กลับไปปรากฎกายที่ห้อง ฉุกเฉิน (ER) ซึ่งมักมีแพทย์แค่คนเดียวอยู่เวร และที่สำคัญมักเป็นแพทย์ที่ "มือใหม่หัดขับ" ประมาณว่า เพิ่งจบหมาด ๆ ...หมายความว่า คนไข้ปวดหัวส่วนหนึ่งไปหาแพทย์ที่ประสบการณ์น้อยที่สุดใน รพ. ทั้ง ๆ ที่คนไข้ปวดหัวบางคน มีโรคร้ายแรงซ่อนอยู่
 
....
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ร้อยละ90 ของคนไข้ปวดหัวมักไม่ใช่เคสหนัก ไม่ใช่เร่งด่วน ไม่ฉุกเฉินจริง แต่คิดว่ากรณีของตนเองนั้นฉุกเฉิน หรือหนัก เพราะเรื่องปวด..ไม่เข้าใครออกใคร...ยิ่งเรื่องตนเอง ยิ่งด่วนทุกกรณี....เลยมีปัญหา 7-11 เกิดขึ้น
 
ในความเป็นจริงทางการแพทย์แล้ว มีแค่ประมาณ 10% เท่านั้นที่อาจมีโรคร้ายซ่อนอยู่ บางรายต้องรับไว้ในรพ. บางรายต้องรีบส่งต่อ บางรายต้องแนะนำให้กลับมาพบแพทย์ระบบประสาทในเวลาราชการ
 
ปัญหาของหมอจบใหม่คือ ....จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำอย่างไร...จะส่ง CTทุกราย...ก็ทำไม่ได้ ...จะปรึกษาแพทย์เฉพาะทางตอนกลางคืนทุกรายก็โดน.....X!?*+-
 
คนไข้เองก็ไม่รู้ว่าแบบไหนฉุกเฉินจริง แบบไหนแวะไปรอไปOPDในเวลาราชการ หรือแวะไปคลินิก 7-11 ของ เครือ CP ได้ : )
 
และแทบจะทุกสองสามเดือน จะมีเคสร้องเรียนมายังแพทยสภาว่า...แพทย์ให้การรักษาคนไข้ที่มาด้วยอาการปวด หัวล่าช้า ทำให้ถึงแก่ชีวิต!!!!!
จากคุณ: doctorlawyer. โพสเมื่อวันที่: 10/20/18 เวลา 09:35:00
สำหรับแพทย์จบใหม่ หรือแม้แต่แพทย์อาวุโสที่ไม่ใช่อายุรแพทย์ระบบประสาท ก็ปวดหัวไม่น้อย เพราะในตำราแพทย์ จะพูดเรื่องอาการปวดหัวไว้เป็นร้อย ๆ หน้า
 
สรุปอาการแต่ละอย่างที่สำคัญเต็มไปหมด...แต่เข้าใจได้ยาก ใช้งานไม่practical
 
สอนนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านตลอดว่า ให้ใช้หลักเกณฑ์ ๔ กลุ่มนี้ในการตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า เป็นอาการปวดหัวแบบที่ ......."ต้องทำอะไรสักอย่าง" "อย่าแค่ให้ยาparaหรือไปบอกว่าเครียดแล้วให้กลับบ้านไป!!!!"   (รูปประกอบที่ทำขึ้นไว้เตือนความจำสำหรับแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางระบบปร ะสาท น่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ดีกว่าไปอ่านตำราที่สรุปมาหลายหน้ากระดาษแต่ใช้งานไม่practical)
 
1. ****สำคัญที่สุด*** ปวดหัวที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก แขนขาอ่อนแรง หมดสติ คอแข็ง(meningeal sign) ปากเบี้่ยว.. .....
แทบทุกรายที่ฟ้องร้องแพทย์ด้วยเรื่องปวดหัวแล้ววินิจฉัยล่าช้า...เมื่อย้อนอ ดีตretrospectiveกลับไป... มักพบว่าผู้ป่วยที่ฟ้องร้องจะอยู่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่
 
2. ปวดหัวรุนแรง+เฉียบพลัน...ที่ ***สำคัญ****คนไข้มักพูดเหมือนกันหมดว่า  
"เกิดมาไม่เคยปวดขนาดนี้มาก่อนในชีวิต"
 
 ข้อสังเกตอีกอย่างคือ "เป็นอาการปวดหัวที่ทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดทุกอย่างทันทีแล้วรีบมาหาแพทย์" หรือไม่ก็โดนเพื่อนหามมา!!! ที่น่ากลัวที่สุดคือเส้นเลือดในสมองแตก (Stroke, Ruptured aneurysm, Ruptured AVM)
ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวรุนแรงทุกราย ต้องบันทึกเรื่อง "มีหรือไม่มี อาการคอแข็ง (Stiff neck)" ไว้ในเวชระเบียนทุกราย
ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มที่ทำให้แพทย์โดนร้องเรียนหรือฟ้องร้อง เพราะมักมีประวัติ Hypertension แล้วแพทย์วินิจฉัยแต่เพียงว่า Hypertensive headache!! เฉย ๆโดยให้กลับบ้านไป หรือadmitรักษาแต่Hypertension จนเกิดปัญหา Delayed diagnosis และ deathในที่สุด (ส่งต่อไม่ทัน หรือ apnea ในward)
 
3. ปวดหัวที่เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ (Chronic + Progressive headache) ที่อาจเป็น Slow growing expanding lesion เช่นเนื้องอกสมอง เลือดคั้งในสมองแบบค่อยเป็นค่อยไป (Chronic subdrual hematoma) ...ดังนั้นต้องบันทึกเรื่อง อาการของ Increased intracranial pressureไว้ด้วยทุกราย
 
4. ปวดหัวในเด็ก... "ห้ามโดยเด็ดขาด" กับการวินิจฉัยผู้ป่วยเด็กที่ปวดหัวว่าเป็น Tension headache หรือไมเกรน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังไม่ได้rule outโรคทางsurgicalอื่น ๆ ไปก่อน .....เนื้องอกสมองในเด็ก พบได้บ่อยมากพอควร....เด็กไม่มีเรื่องเครียดมากมายแบบผู้ใหญ่ ....ปวดหัวในเด็ก ถ้าไม่แน่ใจ ส่งปรึกษาอายุรแพทย์ทุกราย!!!!
 
แต่ไม่ใช่ทั้ง 4 กลุ่มนี้จะต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน (Real emergency) .. 4 กลุ่มนี้แค่เตือนแพทย์ว่าต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ถ้าไม่แน่ใจก็CT brainได้เลย หรือไม่ก็ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
 
ปัญหาที่พบในทางปฏิบัติของผู้ป่วย 4 กลุ่มนี้คือ ... หากอยู่ในสถานที่ที่ทำ CTไม่ได้จะทำอย่างไร...คำตอบคือแนะนำไปรพ.ที่มีศักยภาพในการทำ CT
 
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ + ราชวิทยาลัยประสาทศัลยศาสตร์...น่าจะเน้นเรื่องนี้กับแพทย์จบใหม่ทุก ๆ ปี เพราะมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่ แพทยสภา สปสช. ประกันสังคม กระทรวงสธ. เรื่อย ๆ ...เนื้อเรื่องเดิม ๆ แค่เปลี่ยนตัวละคร เปลี่ยนสถานที่...เคยมีรายหนึ่ง ..ศาลลงโทษไม่รอลงอาญาทั้งแพทย์และพยาบาล!!!!
จากคุณ: doctorlawyer. โพสเมื่อวันที่: 10/20/18 เวลา 09:38:41
ในต่างประเทศ ...รัฐบาล + ผู้บริหารสาธารณสุข ล้วนให้ความรู้ต่อประชาชนว่า "ห้องฉุกเฉิน สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น!!!"
 
แต่บ้านเรา...ออกมาขอโทษแต่ไม่ให้ความรุ้ที่ถูกต้องกับประชาชน!!!!
 
สิ่งที่ กท.สธ. + สปสช  +  "สพฉ" ต้องทำอย่างยิ่งคือ การให้ความรุ้เรื่องการใช้ห้องฉุกเฉิน อาการแสดงของโรคที่อนุญาตให้ใช้ห้องฉุกเฉินได้   ....แต่ไม่มีใครทำ !!!!
 
หลายประเทศ ห้ามเดินเข้าห้องฉุกเฉินด้วยตนเอง
หากจะไปห้องฉุกเฉิน ..ต้องโทรสายด่วน แล้วจะมีคนscreenว่าจะอนุญาตให้ใช้ห้องฉุกเฉินได้หรือไม่....ถ้าใช่..จะส่งร ถพยาบาลมารับถึงที่...แต่หากไปถึงแล้วไม่ใช่ฉุกเฉินจริง ๆ ...อาจโดนเด้งออก หรือไม่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าปกติมากๆๆๆๆ
 
เพราะเขาถือว่าห้องฉุกเฉินสำหรับผุ้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้้น ..ห้องฉุกเฉินไม่ใช่OPDนอกเวลา หรือ OPDสำหรับคนเลิกงาน....ห้องฉุกเฉินเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะคนที่ใกล้ตายหรือมีภา วะคุกคามของโรคร้ายแรงเท่านั้น  การใช้ห้องฉุกเฉินโดยไม่ฉุกเฉินจริงคือการใช้ทรัพยากรอย่างไร้ความรับผิดชอบ  
 
ที่สำคัญที่สุด ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น เขามีconceptและรณรงค์อย่างกว้างขวางว่า "การไปใช้ห้องฉุกเฉินโดยที่ไม่ได้มีโรคฉุกเฉินจริง ๆ ถือว่าเป็นการรอนสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินรายอื่น ซึ่งอาจเป็นญาติเราเองก็ได้"....ดูposterในอังกฤษเป็นตัวอย่าง
จากคุณ: doctorlawyer. โพสเมื่อวันที่: 10/20/18 เวลา 09:44:07
ที่น่าแปลกใจคือ ยังมีอาการปวดหลายอย่างที่ปวดมากจริง ๆ แต่คนไข้ก็ยอมรับได้ที่ต้องรอในเวลาราชการหรือเวลาทำงานปกติ จึงจะพบแพทย์ได้ ...ระหว่างที่รอก็ต้องทนปวดและหาทางเยียวยาด้วยตนเองก่อน โดยไม่มีการpostด่าหรือร้องสื่อเลยสักครั้ง...ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!ปวดฟัน!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!  
 
 
 
 ราชวิทยาลัยทันตแพทย์ทำอย่างไร คนไทยทั้งประเทศจึงเข้าใจและยอมรับได้ว่าต้องดูแลตนเองไปก่อน จนกว่าเวลาทำการจะมาถึงในวันรุ่งขึ้น
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 10/20/18 เวลา 11:23:51
ชาวบ้าน(ส่วนใหญ่) มักจะคิดว่า/ มองว่า ER= OPD. นอกเวลาจริงๆ นั่นแหละครับ
เพราะว่าใน รพช./ แผนกปกส. ของรพ.เอกชน ยังมีคนมารับยาประจำ จำพวก anti HT, anti DM โดยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคดังกล่าวอยู่บ่อยๆ
...ซึ่งแพทย์/ พยาบาล/ จนท. ของรพ. ก็ได้แต่บ่น/ บอกเบาๆว่า " หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ กรุณามารับยา ในวัน เวลาที่ระบุ ไว้ด้วย นะครับ/ คะ" เป็นต้น
จากคุณ: anantom โพสเมื่อวันที่: 10/20/18 เวลา 13:25:36
อ่านหนังสือเวียนของกระทรวงด้วยนะครับ ผมจำได้และติดในห้องตรวจทุกห้อง เพราะข้อกำหนดฉุกเฉินมีอยู่หนึ่งข้อว่า"เมื่อคนไข้รู้สึกว่าโรคที่เป็นฉุกเฉ ิน"
ยังไงตรวจไป ถ้าสงสัยให้นอนที่ระเบียงก็ไม่มีคนไข้ว่าครับ
จากคุณ: crv01 โพสเมื่อวันที่: 10/21/18 เวลา 13:49:21
ตรวจทุกราย.  สงสัยต้องเพิ่มวิชาการแสดงทางการแพทย์.   แพทย์ทุกคนอย่าพูดมาก.  จงแสดงว่าใส่ใจคนไข้อย่างดี. เอาใจทุกๆเรื่อง. จะได้ไม่มีปัญหาร้องเรียน
จากคุณ: doreus โพสเมื่อวันที่: 10/22/18 เวลา 09:47:48
นอกเวลาจ่ายตังค์เองทุกสิทธิ์และมีdfแพทย์500บาทเท่าเอกชนจะยุติปัญหานี้ครั บ. เคยเจอแบบไปเที่ยวงานวัดกลับมาตี2 ปวดเท้าเพราะใส่ส้นสูงเดินเที่ยวงานวัดมาขอยาพารา. อื้อหืออื้อหือ
จากคุณ: Sazuke โพสเมื่อวันที่: 10/22/18 เวลา 11:24:36
on 10/20/18 เวลา 09:44:07, doctorlawyer. wrote:
ที่น่าแปลกใจคือ ยังมีอาการปวดหลายอย่างที่ปวดมากจริง ๆ แต่คนไข้ก็ยอมรับได้ที่ต้องรอในเวลาราชการหรือเวลาทำงานปกติ จึงจะพบแพทย์ได้ ...ระหว่างที่รอก็ต้องทนปวดและหาทางเยียวยาด้วยตนเองก่อน โดยไม่มีการpostด่าหรือร้องสื่อเลยสักครั้ง...ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ
 
      
 
  !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!ปวดฟัน!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!! !
 
 
 
 ราชวิทยาลัยทันตแพทย์ทำอย่างไร คนไทยทั้งประเทศจึงเข้าใจและยอมรับได้ว่าต้องดูแลตนเองไปก่อน จนกว่าเวลาทำการจะมาถึงในวันรุ่งขึ้น

    จริงๆแล้วบางคนก้ทนไม่ไหว ไปคลินิกเอกชนเองนะ  เพราะนอกเวลารัฐไม่มีopdฟัน คนไข้เลยไม่รู้จะไปบังคับหมอคนไหนมาถอนให้  
  อีกกรณีพอปวดมากๆ+หาหมอฟันที่ไหนนอกเวลาไม่ได้ ไม่มีตังไปเอกชน ก็มาหาหมอGPไง ต้องมารับหน้าแก้ปัญหาฉีดยาให้
   ถ้าGpไม่ดูให้ก็โดนร้องเรียนแทนหมอฟัน   ไม่ใช่ว่าคนไข้เขาเข้าใจว่าปวดฟันไม่ด่วน
จากคุณ: Sazuke โพสเมื่อวันที่: 10/22/18 เวลา 11:29:00
ขอถามความเห้นหน่อย ไม่ได้ว่าฝ่ายไหนผิดนะ  
 - ถ้าอาการคนไข้ปวดมากเช่นไมเกรนปวดรุนแรงตลอด นอกเวลาร้านขายยาปิดหมด คนไข้จะทนถึงเช้าไหวไหม  ถ้าERไม่ตรวจสั่งยาให้ ? กรณีนี้จะแก้ปัญหายังไง  
 - บางคนอาจจะมีเลือดออกในหัวนิดๆ แต่ยังปวดไม่มาก ถ้ามารพ แต่ERไม่รับตรวจให้มาอีกวัน แล้วบังเอิญคนไข้ไปตายที่บ้าน  จะอธิบายยังไงให้คนไข้เข้าใจ?
  เรื่องนี้แก้ยากนะ  คือดูเหมือนมีแต่ต้องทำใจ+ยอมให้่คนไข้ตัดสินใจเอง ว่าอาการตัวเองหนักขนาดต่้องมาERไหม ถ้าคนไข้มาก็ตรวจๆไป อย่างน้อยก็ยังเจอหมอแล้ว ถึงวินิจฉัยพลาดก็ยังอธิบายได้ว่า ตรวจตามมาตรฐานแล้วแต่ไม่เจอโรคที่เร่งด่วน   แต่ถ้าไล่กลับบ้านเฉยๆแล้วดันไปตายที่บ้านนี่ยังไงรพ.ก็ซวยอ่ะ
 
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 10/22/18 เวลา 15:01:46
ตามความรู้สึกของ ผู้ป่วย/ ญาติ มักจะคิดว่าอาการป่วยของตัวเอง/ ญาตินั้น รุนแรง/ ฉับพลัน เสมอแหละครับ
เพราะงั้นถึงแม้ในครั้งนี้ได้ตรวจแล้ว/ จ่ายยาแล้ว/ อธิบายแล้วว่า อาการ/ โรคไม่ได้ฉุกเฉินหรอกนะครับ ถ้าเป็นแบบนี้ ควรมาตอนเวลาราชการ
แต่ถ้าปวดหัว/ ปวดท้องอีกที ผู้ป่วย/ ญาติ/ แพทย์...จะแน่ใจได้ยังไงว่ามันเป็นโนคเดียวกัน/ คนละโรคกันจากคราวที่แล้ว (ซึ่งไม่ด่วน/ ไม่ร้ายแรง) ซึ่งแพทย์ก็ต้องตรวจ- รักษา-อธิบาย อีกครั้งอยู่ดีแหละครับ
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 10/24/18 เวลา 11:21:23
  ไปห้าม หรือไปพูดว่าไม่ฉุกเฉิน เปลืองตัวเปล่าๆ  อาการเปลี่ยนแย่ลง แพทย์จะเจ็บหนักกว่าเดิม
    ปัญหามันง่ายๆ คือจ้างให้รักษาคนไข้ ER แต่ดันต้องตรวจ opd นอกเวลาด้วย  ห้ามคนไข้มันลำบาก  ก็จ่ายหรือจ้างหมอให้ครบ ตามที่ตรวจจริง ก็จบ   คนไข้เขาไม่รู้หรอกว่ามาเอาเปรียบหมออยู่ แต่คนมีอำนาจสั่งการ รู้เต็มอกว่าโกงค่าแรง แต่ไม่สนอะนะ


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by