หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: VI ต้องเป็นทั้งชีวิตและจิตใจ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 09/19/18 เวลา 11:22:24
"แนวทางการลงทุน กับแนวทางการใช้ชีวิตต้องไปด้วยกัน  
ไม่ใช่ว่าเราลงทุนตามแบบ VI แต่กลับใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือย  
ฟุ้งเฟ้อ ใช้เงินไม่คำนึงถึงความคุ้มค่า ไม่วางแผน  
อย่างนี้จะไม่ประสบความสำเร็จ  
เพราะความคิดกับการปฎิบัติจะขัดแย้งกันตลอดเวลา  
ดังนั้นเป็น VI ต้องเป็นทั้งชีวิตและจิตใจ
หรือพูดได้ว่าเป็น VI ต้องเป็นโดยจิตวิญญาณเท่านั้น"  
 
-โจ ลูกอิสาน-
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 09/19/18 เวลา 11:26:26
บัญญัติ 10 ประการของการลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
 
1. ศึกษาก่อนลงทุน ดร.ท่านว่าสำคัญที่สุด
2. การลงทุนที่เพียงพอ  
3. ลงทุนในหุ้นหรือตราสารทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนดีแบบทบต้นเป็นเวลายาวนาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เงินที่เอาไปลงทุนนั้น ห้ามเอาดอกผลมาใช้ เมื่อได้ผลตอบแทนก็เอาไปลงทุนต่อเรื่อยๆ
 
4. อย่าขาดทุน  
5. การลงทุนที่ดีต้องมีการกระจายความเสี่ยงที่ดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป
6. ในระยะยาวตั้งแต่ 3 - 4 ปีขึ้นไป ราคาหุ้นต้องขึ้นลงตามผลกำไรของบริษัทเสมอ ดังนั้น ต้องมองอนาคตให้ออก ว่ากำไรของบริษัทจะโตไปได้อย่างไร
 
7. การลงทุนที่จะมีความมั่นใจสูงสุดและให้ผลตอบแทนดีเยี่ยม คือการซื้อหุ้นบริษัทที่ดีเยี่ยมในช่วงที่ราคาหุ้นของบริษัทตกต่ำผิดปกติ เนื่องจากปัญหาบางอย่างที่แก้ไขได้ หรือก็คือบริษัทประเภท "ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้"
8. ควรจะมีเงินสดที่มีสภาพคล่องสูง(ประมาณว่าเงินสดที่เอามาใช้ได้เลย ไม่ใช่ที่อยู่ในบัญชีฝากประจำยาวๆ) อย่างน้อยเท่ากับรายจ่ายประจำ 6 เดือน
9. นักลงทุนที่แท้จริงต้องใจเย็น อดทน และมีเหตุผล หรือก็คือต้องไม่ตกใจง่ายเมื่อเกิดความผันผวน
 
10. ไม่ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยหรือซื้อสินค้าหรือบริการที่หรูหราราคาแพงเกินความจ ำเป็น
 
จากหนังสือ ก้าวเล็กๆ ในตลาดหุ้น ก้าวที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต หนังสือรวมสุดยอดบทความของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 09/19/18 เวลา 11:31:30
ระหว่างทำธุรกิจ VS ลงทุนซื้อหุ้น อันไหนดี
 
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
 
...........................................
 
ถ้ามีเพื่อนมาชวนลงทุนเปิดร้านอาหาร นอกจากจะต้องดูว่ากิจการจะดีหรือไม่ ต้องลงทุนเท่าไรและจะกำไรอย่างไรแล้ว สิ่งที่ควรจะทำก็คือ ลองเปรียบเทียบการทำร้านอาหารเองกับการลงทุนซื้อหุ้นเอสแอนด์พี (S&P) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
 
 
 
เพราะการทำร้านอาหารเองกับการซื้อหุ้น S&P ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัททำร้านอาหารในตลาดนั้นมีอะไรคล้ายกันมากแทบจะเป็นเรื่ องเดียวกันเพียงแต่ขนาดของธุรกิจแตกต่างกัน ผู้บริหารเป็นคนละคน โดยที่การเปิดร้านอาหารนั้นผู้บริหารอาจจะเป็นเพื่อนที่เรารู้จักหรือเป็นตั วเราเอง ในขณะที่ผู้บริหารบริษัท S&P นั้น เราอาจจะไม่รู้จักเลย
 
 
 
ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจเองกับการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกนั้นมีอยู่หลายข้อและจะต้องพิจารณาอย่างลึ กซึ้งก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะลงทุนทำธุรกิจเองหรือลงทุนซื้อหุ้นในตลาดดีกว่า  
 
 
 
ข้อดีของการทำธุรกิจเองข้อแรกที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ เราสามารถควบคุมกิจการได้อย่างเต็มที่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำจะต้องเป็นประโยชน์แก่ตัวธุรกิจและตัวเราเองที่เป็น ผู้ถือหุ้น เพราะฉะนั้นลูกจ้างตั้งแต่พนักงานจนถึงผู้จัดการจะเหลวไหล โกง หรือเอาเปรียบบริษัทยาก นอกจากนั้นถ้าเรามีหุ้นส่วน ก็คงจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่เราไว้ใจและพูดกันรู้เรื่อง และมีผลประโยชน์แบบเดียวกัน มิฉะนั้นเราคงไม่เข้าหุ้นทำธุรกิจด้วย
 
 
 
ข้อดีของการทำธุรกิจข้อสองก็คือ การทำธุรกิจในเมืองไทยนั้นสามารถหลบภาษีได้ง่ายโดยเฉพาะเวลามีกำไรก็มักจะทำ ตัวเลขไม่ให้มีกำไรเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคล ดังนั้นต้นทุนของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงมักต่ำกว่าบริ ษัทจดทะเบียน เจ้าของธุรกิจจึงได้กำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนต้องเสียภาษีสูงถึง 30% ของกำไร และภาษีอื่น ๆ เช่น VAT ก็ต้องจ่ายเต็มเช่นเดียวกัน
 
 
 
ข้อดีข้อที่สามของการทำธุรกิจเองก็คือ เวลาที่ธุรกิจประสบความสำเร็จ บริษัทหรือกิจการสามารถกู้เงินมาใช้ได้มาก ซึ่งการกู้เงินนี้สามารถที่จะทำให้เจ้าของร่ำรวยขึ้นได้อย่างรวดเร็วอย่างไม ่น่าเชื่อ ลองดูตัวเลขสมมุติต่อไปนี้
 
 
 
กิจการลงทุน 10 ล้านบาท แต่กู้เงินมา 20 ล้านบาท รวมเป็น 30 ล้านบาท เงินก้อนนี้ลงทุนเปิดร้านอาหาร 5 แห่ง ได้กำไรปีละ 20% หรือกำไรปีละ 6 ล้านบาท คิดแล้วลงทุนเพียง 10 ล้านบาท แต่กำไรปีละถึง 6 ล้านบาท หรือเท่ากับ 60% ต่อปี ซึ่งสูงมาก ทำเพียงไม่กี่ปีก็เห็นหน้าเห็นหลัง
 
 
 
แต่ข้อเสียของการทำธุรกิจเองก็มีหลายข้อเหมือนกันที่สำคัญก็คือ การลงทุนทำธุรกิจเองมักจะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก บ่อยครั้งต้องใช้เงินเก็บสะสมเกือบหมดเพื่อที่จะทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นถ้าธุรกิจล้มเหลวเราก็หมดตัว เผลอ ๆ อาจจะต้องเป็นหนี้ NPL บ้านช่องและทรัพย์สินถูกแบงค์ยึดอีกต่างหาก
 
 
 
ข้อเสียข้อที่สองก็คือ การทำธุรกิจเองนั้นเจ้าของจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจค่อนข้างลึกซึ้ ง และจะต้องเหน็ดเหนื่อยมากกับการดูแลธุรกิจ บางทีคิดจะไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจบ้างก็จะต้องคอยพะวงกับตัวธุรกิจตลอดเวลา คุณภาพของชีวิตอาจจะลดหย่อนลงโดยเฉพาะในยามที่ธุรกิจมีปัญหา
 
 
 
ข้อเสียข้อที่สามของการทำธุรกิจเองก็คือ ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นมามักเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ยังไม่แข็งแรงและมีคู่แข่งม าก ดังนั้นธุรกิจจึงต้องต่อสู้แข่งขันกันตลอดเวลา และเนื่องจากธุรกิจมักจะไม่มีจุดเด่นเฉพาะและไมสามารถป้องกันให้คู่แข่งเข้า มาได้ ธุรกิจส่วนตัวจำนวนมากจึงมีผลการดำเนินงานที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ และมักจะอยู่ได้ไม่นาน เมื่อธุรกิจล้มเหลว เงินลงทุนที่เหลืออยู่ก็จะสูญไม่สามารถจะไปขายให้คนอื่นได้เพราะไม่มีสภาพคล ่องเลย
 
มาดูด้านของการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์บ้างว่ามีข้อดีอย่างไร เทียบกับการทำธุรกิจเอง
 
 
 
ข้อดีข้อแรกก็คือ การซื้อหุ้นในตลาดนั้น เราสามารถเลือกธุรกิจได้มากตั้งแต่ธุรกิจร้านอาหาร สร้างบ้านขาย เลี้ยงและขายกุ้งไปจนถึงการทำโรงปูนซีเมนต์ กิจการโรงแรม สถาบันการเงิน ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โรงไฟฟ้า ร้านหนังสือ เกือบจะพูดได้ว่า คุณอยากลงทุนในธุรกิจอะไร ตลาดหลักทรัพย์มีให้หมด ดังนั้นจึงไม่มีข้อจำกัดว่าคุณจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงจะทำธุรกิจได้
 
 
 
ข้อดีข้อที่สองก็คือ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เราไม่ต้องใช้เงินมากในการซื้อหุ้นแต่ละตัว ดังนั้นเราสามารถกระจายลงทุนถึง 10 ธุรกิจได้โดยเงินเพียงไม่กี่แสนบาท และการลงทุนไม่ต้องลงทีเดียวเป็นก้อนใหญ่สามารถทะยอยลงทุนได้เรื่อย ๆ เมื่อเรามีเงินเพิ่มขึ้นจากการทำงานปกติของเรา
 
 
 
การกระจายการลงทุนออกไปได้หลาย ๆ ธุรกิจนั้นทำให้การลงทุนซื้อหุ้นนั้นปลอดภัยกว่าการทำธุรกิจด้วยตนเองมาก
 
 
 
ข้อดีข้อที่สามก็คือ เราสามารถขายหุ้นออกไปได้ทั้งในกรณีที่ลงไปแล้ว กิจการดีขึ้นทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นมีกำไรจากการลงทุน และในกรณีที่ลงทุนแล้วกิจการตกต่ำลงจนเราเห็นว่าถ้าลงทุนต่อจะอันตราย เราก็สามารถขาย "ธุรกิจ" นั้นทิ้งได้ถึงแม้ว่าจะต้องขาดทุนบ้าง เรียกว่าหุ้นนั้นมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือ
 
 
 
ข้อดีข้อที่สี่ก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นเราไม่เหนื่อย เราเพียงแต่คิดและวิเคราะห์กิจการให้ดี ดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายอยู่มีราคาถูกกว่าราคาที่ควรจะเป็นค่อนข้างมากและมี ความปลอดภัยหรือ Margin of Safety สูง เราก็สั่งซื้อหุ้น จากนั้นเราก็เพียงแต่ติดตามดูแลว่าธุรกิจยังดำเนินไปด้วยดี ทั้งหมดนี้ใช้เวลาและแรงงานน้อยมาก
 
 
 
ข้อเสียของการลงทุนซื้อหุ้นก็มีหลายข้อเช่นเดียวกัน ข้อแรกก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นนั้นมักจะให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก ในระยะยาวแล้วผลตอบแทนเฉลี่ยน่าจะได้ประมาณปีละ 10% ถ้าเราลงทุนโดยมีความรู้หรือความสามารถไม่สูงนักแต่ก็ไม่ถึงกับแย่ เพราะในระยะยาวแล้วผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของหุ้นในประเทศไทย ผมคิดว่าน่าจะโตประมาณปีละ 10% โอกาสมากกว่านี้มีน้อยเพราะกิจการของไทยที่ดีจริง ๆ มีไม่มาก
 
 
 
การที่ผมพูดว่าการลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนไม่สูงมากนี้ ผมเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการฝากเงินแล้ว การลงทุนซื้อหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่ามาก เพราะผมเชื่อว่านับจากนี้ไปอีกนับ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของไทยจะยังคงค่อนข้างต่ำอยู่ โดยเฉลี่ยน่าจะไม่เกิน 5% ต่อปี
 
ข้อเสียอื่น ๆ ของการลงทุนซื้อหุ้นซึ่งผมจะเขียนเหมารวมเลยก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นนั้นเรามักจะถูกเอาเปรียบหรือถูกโกงจากเจ้าของบริษัทหรือผู ้ถือหุ้นใหญ่ เพราะเราไม่มีข้อมูลหรือความใกล้ชิดว่าเขาทำอะไรกับบริษัท ตัวเจ้าของเองก็ถือว่าตนมีอำนาจควบคุมกิจการค่อนข้างเบ็ดเสร็จ และเห็นว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยมักไม่ค่อยสนใจว่าผู้บริหารหรือเจ้าของจะทำอะไร  หรือถึงจะสนใจก็คงทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น การที่เจ้าของหรือผู้บริหารจะฉกฉวยประโยชน์จากบริษัทจึงเป็นเรื่องปกติ
 
 
 
หลังจากวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการทำธุรกิจและของการลงทุนซื้อหุ้นแล้ว หน้าที่ของเราก็คือจะต้องตัดสินใจเลือกว่าจะไปทางไหน
 
 
 
ความชอบและคุณสมบัติส่วนตัวของแต่ละคนก็มีส่วนมากที่จะกำหนดว่าเขาควรเป็นคน ทำธุรกิจหรือควรเป็นนักลงทุน
 
 
 
โดยส่วนตัวผมคิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะมีความเหมาะสมที่จะเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้ นมากกว่า เพราะการทำธุรกิจส่วนตัวนั้น ต้องใช้ความสามารถและความอดทนสูงมาก ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงมหาศาล ซึ่งทำให้คนที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้น่าจะเป็นคนส่วนน้อยและเป็นค นที่พิเศษจริง ๆ เท่านั้น ส่วนการเป็นนักลงทุนนั้น คุณเพียงแต่ศึกษาหลักการลงทุนให้ดี ฝึกซ้อมวิธีการเลือกซื้อหุ้น และไม่ซื้อขายเก็งกำไรตามอย่างนักเล่นหุ้นทั่วไป เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
 
 
 
 
 
19 พฤศจิกายน 2545
 
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 09/19/18 เวลา 11:34:37
-ยากที่สุดของการเป็น VI คือ ความอดทน  
 
-มีคนสงสัยว่านักลงทุนไม่ขายหุ้นทำกำไรบ้างเลย แม้ว่า  
ราคาหุ้นจะขึ้นมาเป็นพันเป็นหมื่นเปอร์เซนต์ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาใช้  
 
-ผมใช้แต่เงินปันผล บางส่วนเท่านั้นเอง ที่เหลือก็นำไปสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  
จนสุดท้ายเงินปันผลที่ได้รับมากเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายประจำ  
 
-แล้วผมจะซื้อๆ ขายๆ หวังเงินกำไรระยะสั้นไปทำไม  
 
-ถ้ามัวแต่ซื้อขายเก็งกำไร แล้วเมื่อไหร่เงินจะทำงานให้คุณตอนหลับได้ล่ะ  
 
 
จากหนังสือเพาะหุ้นเป็นเห็นผลยั่งยืน  
คุณกวี ชูกิจเกษม
จากคุณ: :: King of BANPU :: โพสเมื่อวันที่: 09/19/18 เวลา 13:27:19
Smiley


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by