หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: แพทย์ fulltime เอกชน ชีวิตเป็นอย่างไรครับ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
เลือกกลุ่มย่อย: อื่นๆ วิชาการ ข่าวสารทั่วไป กระทู้ไร้สาระ หุ้น เศรษฐกิจ การลงทุน ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไฮเทค สา'สุข CoolZone:ธรรมะ ศาสนาและปรัชญา
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: DocKannawat โพสเมื่อวันที่: 05/21/18 เวลา 17:16:13
ขอปรึกษาพี่ๆครับ  ผมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขา minor อยู่ ปริมณทล แต่ไม่มีเวรemer และ ไม่มี oncall  ตอนนี้รายได้จากรพ.รัฐก็หลักหมื่น  เสาร์ อาทิตย์อยู่เวรรวมๆก็เกือบแสนครับ (ทำ 7 วันเลยนะครับ) อยากปรึกษาถ้าเทียบกับfulltime เอกชน ทำงาน 45 ชม/สัปดาห์  เงินเดือนมากกว่าเดิม 1.5 เท่า  
ผมควรตัดสินใจยังไงดีครับ  
อยากถามพี่ๆเพื่อนๆ ที่เป็น minor fulltime เอกชน  ว่ากดดันเรื่องทำยอดหรือคนไข้บ้างมั้ยครับ ขอบคุณครับ
จากคุณ: positive โพสเมื่อวันที่: 05/21/18 เวลา 19:41:16
ผมไม่ทราบข้อมูลเฉพาะเจาะจงขนาดนั้นแต่
 
ผมคิดว่าถ้าได้ลองทำเป็น Part time น่าจะช่วยให้ จขกท.ให้ข้อมูลอย่างที่ต้องการเพิ่มขึ้นครับ  
 
 
จากคุณ: DocKannawat โพสเมื่อวันที่: 05/21/18 เวลา 21:10:45
ทุกวันนี้ผมก็ part-time เอกชนอยู่นะครับ ซึ่งผมแฮปปี้ดี แต่ถ้า fulltime ผมคิดเอาเองว่า อาจจะกดดันมากกว่า ( หรือเปล่า )  เลยลองถามผู้มีประสบการณ์ดูครับ ขอบคุณมากครับ
จากคุณ: Keyhole โพสเมื่อวันที่: 05/21/18 เวลา 23:19:59
Full time เอกชนมาสองปีกว่าละครับ
 
  ขอพูดกลางๆ
 
-ภาระงาน   ถ้ามีความสามารถ ภาระงานจะเยอะขึ้นเรื่อยๆ  แน่นอนว่ารายได้ก็มากขึ้น
-ความเครียด   ส่วนตัว เครียด เหนื่อยน้อยกว่าครับ  มีเวลาไปทำสวน ดูแลที่บ้านได้มากขึ้นเยอะเลย
 
-กดดัน  คงขึ้นกับแต่ละ รพ  และ ตัวเราเป็นหลัก  ถ้าเรามีความสามารถจริงๆ   รพ  จะให้เกียรติ และดูแลดีมากๆครับ
 
   เอกชน  ตอนนี้มีหมอจบใหม่มาเยอะ  อัตราการแข่งขัน  เข้า รพ เอกชนดีๆ จะยากขึ้นเรื่อยๆ  แน่นอนว่า เราต้องมีดี อาจจะต้องเทรนต่อ หรือมีอะไรที่น่าสนใจเป็นของตัวเอง  จะทำให้อยู่ได้สบายๆครับ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 07:54:09
มีเวลาคุยกับคนไข้เยอะขึ้น  
ส่งตรวจ อย่าง มี evident baseทุกอย่าง เพราะ คนไข้ถามละเอียด   ลำบากใจ ตรงคนไข้ ยากจน  แต่ มีข้อบ่งชี้ในการตรวจ  รีเฟอ ไปตามสิทธิ ยากมาก
จากคุณ: Sazuke โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 08:12:09
อย่ามาเลยครับถ้าไม่ร้อนเงินมาก โดนกดดันยอดแน่ๆ+เรื่องการทำงานอื่นๆ ถ้าทำงานไม่ถูกใจมีโอกาสโดนเขี่ยทิ้งทุกเมื่อ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 09:33:53
ถ้ามาอยู่รพ.เอกชนแบบเต็มตัว...แน่นอนว่า จะได้ค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนมากว่าแน่ๆ แต่ว่าก็จะสูญเสียสวัสดิการต่างๆ (เวลาตัวเอง/ ลูก เมีย เจ็บป่วยจะใช้สิทธิบัตรทอง เหรอครับ) และทำงานแบบเช้า- ชาม เย็น- ชาม ไม่ได้แน่นอน ครับ... ต้องจัดเต็มทั้งการตรวจและการรักษา ให้กับผู้ป่วยเงินสดทุกราย จะไปรักษาแบบขอไปที หรือ  Conservative ไม่ได้ครับ (ยิ่ง รพ.เอกชนชั้นนำ ซึ่งจ่ายค่าตอบแทนให้เราสูงมากเท่าไหร่ เราก็ต้องทำงานหนัก/ ทำเงินหนักให้ทาง รพ. มากขึ้นเท่านั้นครับ...ไม่งั้นถูกดีดออกภายใน 1 เดือน และมีหมอคนใหม่มาเสียบแทนทันทีครับ)
จากคุณ: megacure โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 10:12:25
ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย หยุดงาน(ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่)ไม่ได้ตัง มีเวลาเที่ยวมากกว่า
 
ส่วนตัวผมว่าแฟร์ดี ปัญหาก็มีบ้างเรื่องจรรยาแพทย์ปะทะความต้องการเงินขององค์กร
จากคุณ: drclinic โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 11:07:46

ชีวิตดี๊ดีค่ะ  ^ ^
 
แต่ก็ต้องปรับบุคลิคของเราให้เข้ากับสถานพยาบาลเอกชนด้วยนะคะ
 
เป็นยายเพิ้งก็จะโดนเรียกไปปรับทัศนคติ แฮ่ เลยลาออกเลย
จากคุณ: bridge โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 12:44:05
สบายมากครับ เงินดี ทำงาน 45 ชมต่อสัปดาห์ ได้มากกว่า รพ รัฐที่ต้องทำ 80 ชม 4 ถึง 5 เท่า  
สวัสดิการอาหารเช้า เที่ยง มีห้องออกกำลังกายที่ดีกว่าคอนโด
รายรับเป็น 40/6 เสียภาษีน้อยกว่า
ไม่ต้องมาบริหารเรื่องเตียงเต็มคนไข้ไม่ยอมกลับ หรือปฏิบัติ เสธการรักษาเองมีเจ้าหน้าที่ทำให้
 
จากคุณ: Head_transplant โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 13:34:41
เอกชน คำก็เงิน สองคำก็เงิน  
พอมีเงินแล้วก็เริ่มสงสัยว่าความสุขคนเรามันอยู่ตรงไหน
คนที่กลับไปรับราชการต่อน้อยมากเพราะ จมไม่ลง สบายจนเคยตัว
ชายหนุ่มที่เคยมีไฟยอมลำบากยากจนเพื่อคนยากไร้ตายไปแล้ว
จากคุณ: หมอโต โพสเมื่อวันที่: 05/22/18 เวลา 15:51:47
อาจารย์ผู้สอนวิชาการล่ามคนหนึ่ง พร่ำสอนนักเรียนว่า
 
"ไม่ว่าล่ามจะห่วยขนาดไหน ก็ยังดีกว่าไม่มีล่ามอยู่เลยนั่นแหละ ถ้าโดนลูกค้าตำหนิว่าไม่เอาไหนเลย มีแต่ล่ามแบบนี้ให้เลือกหรือไง ก็ลองขอตัวไปห้องน้ำนานๆ ดูสิ พอกลับมาจะเห็นว่าสายตาที่ลูกค้ามองมาเปลี่ยนไปเลยนะ เพราะเธอเป็นคนที่ขาดไม่ได้ยังไงล่ะ"
 
ลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งเชื่อถือคำพูดของอาจารย์อย่างยิ่ง หากขาดการประเมินตัวเองไปไม่น้อยทดลองทำตามที่อาจารย์สอน พอกลับมาจากห้องน้ำ สายตาที่ลูกค้ามองมาก็เปลี่ยนไปจริงๆ ระหว่างที่ล่ามไม่อยู่ คุณลูกค้าต่างก็ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสงูๆ ปลาๆ ขยับมือขยับไม้จนเกิดสื่อความกันได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้ภาษาเยอรมัน ล่ามจึงได้รับการบอกกล่าวว่า  
 
"พรุ่งนี้เธอไม่ต้องมาแล้วนะ"
 
จะเห็นได้ว่าในบางกรณี ล่ามก็
 
"ไม่จำเป็นเลยสักนิด หายตัวไปก็ไม่มีใครเดือดร้อน"
 
ได้เช่นกัน
 
จาก ; (หญิงงามผู้กลิ้งกลอกหรือหญิงอัปลักษณ์ผู้ซื่อสัตย์)  โดย โยเนฮาระ มาริ
 
แสนเจ็บปวด... Grin
จากคุณ: philosophy โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 09:27:26
ในอดีต   เอกชน  ดีกว่า  รัฐมาก
จนบอกได้เต็มปากเต็มคำว่า ลาออกไปอยู่เอกชน ดีกว่าแน่นอน
 
แต่ปัจจุบัน  
 
ไม่สามารถพูดอย่างนั้นได้แล้วเพราะบริบทโลกปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก
 
เอกชนอาจดีกว่ารัฐหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่ในแต่ละที่
 
เหตุผล  เพราะ  

1. คนเราอายุยืนขึ้น  
2.การฟ้องร้องมากขึ้น  
3.ปริมาณแพทย์มากขึ้น และเริ่มอื่มตัวโดยฌฉพาะ กทม และปริมณฑล
4.ความสามารถของหมอในการลงทุน
5.มีการปรับรายได้ภาครัฐใหมากขึ้น
6.อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตมีแนวโน้มต่ำลงจากประชากรโลกจะเข้าวัยผู้สูงอ ายุ จนอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้าศูนย์

ผมยกตัวอบ่างมุมมอง  เรื่องรายได้ หลังเกษียณ
 
แพทย์รัฐเมือทำงานครบ 25 ปี จะได้รับบำนาญ หรือบำเหน็จก็ได้
แต่หาเลือกรับบำนาญ  ซึ่งตอนนั้นแพทยจะมีอายุราว 48-50 ปี
 
ก็จะได้รับเงิน ประมาณ 20000-25000 บาทต่อเดือน เท่ากับ  240000-30000 บาทต่อปี
 
หากคิดดอกเบี้ยเงินฝากที่ 3% เทากับมีเงินฝากอยู่ที่ 8-10 ล้านบาท
 
หากคิดที่ดอกเบี้ยเงินฝาก 1.5 % ก็ต้องมีเงินอยู่ที่ 16-20 ล้านบาท
 
 
แต่หากคิดในแง่ อายุขัย  หากมีอายุยืนต่อไปอีก 30 ปี นับจากเกษียณอายุ 50 ปี   เท่ากับ ต้องมีเงินเก็บราว 7.2-9 ล้านบาท
ถึงจะมี สิทธิเท่าเทียม กับ รัฐบาล
 
 
เท่ากับว่าเอกชนต้องมีเงินเก็บเหลือต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 40000 บาทต้่อเดือนเป็ฯเวลาติดต่อกัน 20 ปี ถึงจะมีเงินเก็บอย่างน้อย 10 ล้าน เมื่ออายุครบ 50 ปี  คิดที่เก็บเงินเมื่ออายุ 30 ปี
 
นั่นเท่ากับ ว่า รายได้เอกชน ไม่ควรต่ำว่า 1 -1.2  แสน  ต่ำว่านี้ขาดทุนแน่ๆหากเทียบกับรัฐ คิดที่ฐานดอกเบี้ยเงินฝาก 3%  และรายได้หมอภาครัฐอยู่ที่ 6-8 หมื่นบาทต่อเดือน
 
หากคิดที่ฐาน 1.5 % ต้องไม่ต่ำว่า 2-2.4 แสน
 
โดยสมติฐานนี้ตั้งอยู่ที่ว่า

1.รัฐไม่ล้มละลาย และ สวัสดีการรักษาพยาบาลข้าราชการลดสิทธิเท่ากับ 30 บาทในอนาคต หากสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการยิ่งต่างกับ 30 บาทเท่าไหร่  หมอภาครัฐ ยิ่งได้เปรียบหมอเอกชน แบประเมินมูลค่าไม่ได้ อาจมากกว่า 10 ล้านบาท  
 
2.เสียชีวิตที่ 30 ปี หลังเกษียณ เพราะหากอายุยืนกว่านี้ หมอภาครัฐยิ่งได้เปรียบ ทุก 4 ปีจะเสียเปรียบหมอภาครัฐราว 1.2 ล้าน
และหากหมอภาครัฐ ยิ่งมีอายุสั้นหลัเกษียณยิ่งเสียเปรียบหมอเอกชน
3.หมอเอกชนเก็บ เงิน อย่างเดียว 20 ปีโดยเงินเก็บไม่ได้ลงทุนอะไร  ดังนั้น  หมอ ที่อยู่เอกชน ยิ่งลงทุนไม่เป็นยิ่งเสียเปรียบภาครัฐ
4.อัตราดอกเบี้ยเงืนฝากประจำในอนาคต อยู่ในช่วง 1.5-3%  หากยิ่งต่ำหมอภาครัฐยิ่งได้เปรียบ
 
 
 
หากดูจาก trend  เรื่องอายุขัยที่ยาวนานขึ้น  และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงในระยะยาว
  แนวโน้ม  ที่ หมอ อยู่ภาครัฐจะดีกว่าอยู่เอกชน เอกชน  ในอนาคต หากไม่ปรับค่าจ้างหมอเอกชนเพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่โดยเฉพาะที่ต่ำกว่า 2 แสน ต่อเดือน
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 10:34:23
เคยคิด เหมือน กันค่ะ แต่ที่ผ่นมา ตอนเรียน ตอนใช้ทุน ทำงานหนัก ไม่ได้พัก ไม่ได้หยุดลายาก
 มีความคิด ฆ่าตัวตายออกมาหลายครั้ง
 จนในที่สุด สรุปว่า  ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป คงอยู่ ไม่ถึงเกษียณ แย่ ไม่ ติดโรค ตาย เหนื่อย ตาย คงฆ่าตัวตาย ซักทาง
สาขา major งานหนัก เคสก็หนักตามนั้น
จากคุณ: Head_transplant โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 11:29:56
ถ้าหมอ cardio กลัวติดโรคจากคนไข้
 
หมอ chest หรือ infectious หรือแม้แต่ GP คงลาออกหมด
 
โรคหัวใจอะไรบ้างที่เป็นโรคติดต่อ ?
 
คาดีโอโลจ๋อยแน่นวล
จากคุณ: megacure โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 11:46:13
on 05/23/18 เวลา 09:27:26, philosophy wrote:
ในอดีต   เอกชน  ดีกว่า  รัฐมาก
จนบอกได้เต็มปากเต็มคำว่า ลาออกไปอยู่เอกชน ดีกว่าแน่นอน
 
แต่ปัจจุบัน  
 
ไม่สามารถพูดอย่างนั้นได้แล้วเพราะบริบทโลกปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก
 
เอกชนอาจดีกว่ารัฐหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่ในแต่ละที่
 
เหตุผล  เพราะ  

1. คนเราอายุยืนขึ้น  
2.การฟ้องร้องมากขึ้น  
3.ปริมาณแพทย์มากขึ้น และเริ่มอื่มตัวโดยฌฉพาะ กทม และปริมณฑล
4.ความสามารถของหมอในการลงทุน
5.มีการปรับรายได้ภาครัฐใหมากขึ้น
6.อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตมีแนวโน้มต่ำลงจากประชากรโลกจะเข้าวัยผู้สูงอ ายุ จนอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้าศูนย์

ผมยกตัวอบ่างมุมมอง  เรื่องรายได้ หลังเกษียณ
 
แพทย์รัฐเมือทำงานครบ 25 ปี จะได้รับบำนาญ หรือบำเหน็จก็ได้
แต่หาเลือกรับบำนาญ  ซึ่งตอนนั้นแพทยจะมีอายุราว 48-50 ปี
 
ก็จะได้รับเงิน ประมาณ 20000-25000 บาทต่อเดือน เท่ากับ  240000-30000 บาทต่อปี
 
หากคิดดอกเบี้ยเงินฝากที่ 3% เทากับมีเงินฝากอยู่ที่ 8-10 ล้านบาท
 
หากคิดที่ดอกเบี้ยเงินฝาก 1.5 % ก็ต้องมีเงินอยู่ที่ 16-20 ล้านบาท
 
 
แต่หากคิดในแง่ อายุขัย  หากมีอายุยืนต่อไปอีก 30 ปี นับจากเกษียณอายุ 50 ปี   เท่ากับ ต้องมีเงินเก็บราว 7.2-9 ล้านบาท
ถึงจะมี สิทธิเท่าเทียม กับ รัฐบาล
 
 
เท่ากับว่าเอกชนต้องมีเงินเก็บเหลือต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 40000 บาทต้่อเดือนเป็ฯเวลาติดต่อกัน 20 ปี ถึงจะมีเงินเก็บอย่างน้อย 10 ล้าน เมื่ออายุครบ 50 ปี  คิดที่เก็บเงินเมื่ออายุ 30 ปี
 
นั่นเท่ากับ ว่า รายได้เอกชน ไม่ควรต่ำว่า 1 -1.2  แสน  ต่ำว่านี้ขาดทุนแน่ๆหากเทียบกับรัฐ คิดที่ฐานดอกเบี้ยเงินฝาก 3%  และรายได้หมอภาครัฐอยู่ที่ 6-8 หมื่นบาทต่อเดือน
 
หากคิดที่ฐาน 1.5 % ต้องไม่ต่ำว่า 2-2.4 แสน
 
โดยสมติฐานนี้ตั้งอยู่ที่ว่า

1.รัฐไม่ล้มละลาย และ สวัสดีการรักษาพยาบาลข้าราชการลดสิทธิเท่ากับ 30 บาทในอนาคต หากสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการยิ่งต่างกับ 30 บาทเท่าไหร่  หมอภาครัฐ ยิ่งได้เปรียบหมอเอกชน แบประเมินมูลค่าไม่ได้ อาจมากกว่า 10 ล้านบาท  
 
2.เสียชีวิตที่ 30 ปี หลังเกษียณ เพราะหากอายุยืนกว่านี้ หมอภาครัฐยิ่งได้เปรียบ ทุก 4 ปีจะเสียเปรียบหมอภาครัฐราว 1.2 ล้าน
และหากหมอภาครัฐ ยิ่งมีอายุสั้นหลัเกษียณยิ่งเสียเปรียบหมอเอกชน
3.หมอเอกชนเก็บ เงิน อย่างเดียว 20 ปีโดยเงินเก็บไม่ได้ลงทุนอะไร  ดังนั้น  หมอ ที่อยู่เอกชน ยิ่งลงทุนไม่เป็นยิ่งเสียเปรียบภาครัฐ
4.อัตราดอกเบี้ยเงืนฝากประจำในอนาคต อยู่ในช่วง 1.5-3%  หากยิ่งต่ำหมอภาครัฐยิ่งได้เปรียบ
 
 
 
หากดูจาก trend  เรื่องอายุขัยที่ยาวนานขึ้น  และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงในระยะยาว
  แนวโน้ม  ที่ หมอ อยู่ภาครัฐจะดีกว่าอยู่เอกชน เอกชน  ในอนาคต หากไม่ปรับค่าจ้างหมอเอกชนเพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่โดยเฉพาะที่ต่ำกว่า 2 แสน ต่อเดือน

 
เห็นด้วยครับ ต้องมองภาพระยะยาวด้วย ส่วนตัวผมเก็บตังกับเอกชนก่อน รอ settle เรื่องบ้านเรื่องรถแล้วจะหาทางกลับเข้ารับราชการใกล้บ้านครับ ยังไงก็ยังอยู่กับราชการถึง 25 ปีได้ ตำแหน่งสูง ๆ ก็ไม่หวังอยู่แล้ว ได้บำนาญ สวัสดิการก็พอใจ
จากคุณ: carter โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 13:30:54
ตอบยากครับ มันมี variation มากๆ
ตั้งแต่ ดี จนถึง แย่
ที่สำคัญคือ ต่อให้ตอนนี้ดี ต่อไปถ้าเปลี่ยนผอ.หรือCEO นโยบายก้อเปลี่ยนได้อีก อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลงก้อได้ครับ
ท่องเอาไว้ว่า รายจ่ายเป็นของถาวร แต่รายได้มันไม่แน่นอน
จากคุณ: SantaNiCo โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 13:33:28
แต่ต้องคิด  ถึงความเสี่ยงอื่นเ้วยค่ะ  เช่น หมอบางคนไม่อยู่จนแก่ เป็นต้ล
จากคุณ: megacure โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 13:54:55
on 05/23/18 เวลา 13:33:28, SantaNiCo wrote:
แต่ต้องคิด  ถึงความเสี่ยงอื่นเ้วยค่ะ  เช่น หมอบางคนไม่อยู่จนแก่ เป็นต้ล

 
จริง อยู่รัฐอาจทนอยู่จนแก่ไม่ได้
 
อยู่เอกชนก็อาจโดนให้ออกก่อนแก่ ยิ่งแพทย์ผลิตล้น ๆ กันอยู่
 
คลินิกก็ใช่จะรุ่งไปได้ตลอด การแข่งขันรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
 
ประหยัดไว้ก่อน เก็บทรัพย์สินจำเป็นให้ครบ อย่างน้อยก็คงไม่ลำบากในบั้นปลาย
จากคุณ: only2b โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 16:24:27
อนาคตมี Reverse Mortgage ให้พึ่งได้
 
https://www.gsb.or.th/getattachment/e556625c-b325-46a5-ae75-7ed57a5d78ef /9IN_hotissue_RM_detail.aspx
จากคุณ: bridge โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 16:24:58
ถ้ารัฐบาลทำ 40 ชมต่อสัปดาห์ได้คงกลับครับ แต่ไม่มีทาง เกิดขึ้นแน่
เอาเวลาไปอยู่เวรไปศึกษาเรื่องลงทุน 10 ปีก็ได้ปันผลเกินบำนาญ 4 ถึง5 เท่าละ
 
จากคุณ: SantaNiCo โพสเมื่อวันที่: 05/23/18 เวลา 17:57:42
on 05/23/18 เวลา 13:54:55, megacure wrote:

 
จริง อยู่รัฐอาจทนอยู่จนแก่ไม่ได้
 
อยู่เอกชนก็อาจโดนให้ออกก่อนแก่ ยิ่งแพทย์ผลิตล้น ๆ กันอยู่
 
คลินิกก็ใช่จะรุ่งไปได้ตลอด การแข่งขันรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
 
ประหยัดไว้ก่อน เก็บทรัพย์สินจำเป็นให้ครบ อย่างน้อยก็คงไม่ลำบากในบั้นปลาย

ไม่อยู่จนแก่ คือ ไม่อยู่บนโลกนี้
ก๊าก
จากคุณ: Winter is coming โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 08:09:37
on 05/23/18 เวลา 09:27:26, philosophy wrote:
ในอดีต   เอกชน  ดีกว่า  รัฐมาก
จนบอกได้เต็มปากเต็มคำว่า ลาออกไปอยู่เอกชน ดีกว่าแน่นอน
 
แต่ปัจจุบัน  
 
ไม่สามารถพูดอย่างนั้นได้แล้วเพราะบริบทโลกปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก
 
เอกชนอาจดีกว่ารัฐหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่ในแต่ละที่
 
เหตุผล  เพราะ  

1. คนเราอายุยืนขึ้น  
2.การฟ้องร้องมากขึ้น  
3.ปริมาณแพทย์มากขึ้น และเริ่มอื่มตัวโดยฌฉพาะ กทม และปริมณฑล
4.ความสามารถของหมอในการลงทุน
5.มีการปรับรายได้ภาครัฐใหมากขึ้น
6.อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตมีแนวโน้มต่ำลงจากประชากรโลกจะเข้าวัยผู้สูงอ ายุ จนอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้าศูนย์

ผมยกตัวอบ่างมุมมอง  เรื่องรายได้ หลังเกษียณ
 
แพทย์รัฐเมือทำงานครบ 25 ปี จะได้รับบำนาญ หรือบำเหน็จก็ได้
แต่หาเลือกรับบำนาญ  ซึ่งตอนนั้นแพทยจะมีอายุราว 48-50 ปี
 
ก็จะได้รับเงิน ประมาณ 20000-25000 บาทต่อเดือน เท่ากับ  240000-30000 บาทต่อปี
 
หากคิดดอกเบี้ยเงินฝากที่ 3% เทากับมีเงินฝากอยู่ที่ 8-10 ล้านบาท
 
หากคิดที่ดอกเบี้ยเงินฝาก 1.5 % ก็ต้องมีเงินอยู่ที่ 16-20 ล้านบาท
 
 
แต่หากคิดในแง่ อายุขัย  หากมีอายุยืนต่อไปอีก 30 ปี นับจากเกษียณอายุ 50 ปี   เท่ากับ ต้องมีเงินเก็บราว 7.2-9 ล้านบาท
ถึงจะมี สิทธิเท่าเทียม กับ รัฐบาล
 
 
เท่ากับว่าเอกชนต้องมีเงินเก็บเหลือต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 40000 บาทต้่อเดือนเป็ฯเวลาติดต่อกัน 20 ปี ถึงจะมีเงินเก็บอย่างน้อย 10 ล้าน เมื่ออายุครบ 50 ปี  คิดที่เก็บเงินเมื่ออายุ 30 ปี
 
นั่นเท่ากับ ว่า รายได้เอกชน ไม่ควรต่ำว่า 1 -1.2  แสน  ต่ำว่านี้ขาดทุนแน่ๆหากเทียบกับรัฐ คิดที่ฐานดอกเบี้ยเงินฝาก 3%  และรายได้หมอภาครัฐอยู่ที่ 6-8 หมื่นบาทต่อเดือน
 
หากคิดที่ฐาน 1.5 % ต้องไม่ต่ำว่า 2-2.4 แสน
 
โดยสมติฐานนี้ตั้งอยู่ที่ว่า

1.รัฐไม่ล้มละลาย และ สวัสดีการรักษาพยาบาลข้าราชการลดสิทธิเท่ากับ 30 บาทในอนาคต หากสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการยิ่งต่างกับ 30 บาทเท่าไหร่  หมอภาครัฐ ยิ่งได้เปรียบหมอเอกชน แบประเมินมูลค่าไม่ได้ อาจมากกว่า 10 ล้านบาท  
 
2.เสียชีวิตที่ 30 ปี หลังเกษียณ เพราะหากอายุยืนกว่านี้ หมอภาครัฐยิ่งได้เปรียบ ทุก 4 ปีจะเสียเปรียบหมอภาครัฐราว 1.2 ล้าน
และหากหมอภาครัฐ ยิ่งมีอายุสั้นหลัเกษียณยิ่งเสียเปรียบหมอเอกชน
3.หมอเอกชนเก็บ เงิน อย่างเดียว 20 ปีโดยเงินเก็บไม่ได้ลงทุนอะไร  ดังนั้น  หมอ ที่อยู่เอกชน ยิ่งลงทุนไม่เป็นยิ่งเสียเปรียบภาครัฐ
4.อัตราดอกเบี้ยเงืนฝากประจำในอนาคต อยู่ในช่วง 1.5-3%  หากยิ่งต่ำหมอภาครัฐยิ่งได้เปรียบ
 
 
 
หากดูจาก trend  เรื่องอายุขัยที่ยาวนานขึ้น  และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงในระยะยาว
  แนวโน้ม  ที่ หมอ อยู่ภาครัฐจะดีกว่าอยู่เอกชน เอกชน  ในอนาคต หากไม่ปรับค่าจ้างหมอเอกชนเพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่โดยเฉพาะที่ต่ำกว่า 2 แสน ต่อเดือน

 
แล้วถ้าหมอเอกชนที่ลงทุนเป็นล่ะครับ จะไม่ยิ่งดีกว่าหรอครับ
ง่ายๆนะครับ สมมุติ ผมเงินเดือน400000
หักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วเหลือเงินลงทุน 250000ต่อเดือน
ปีนึงจะมีเงินลงทุน3,000,000บาททำงาน10ปี ก็มี30ล้าน
เอาไปลงทุนในหุ้นแบบDCA เลือกหุ้นที่ให้ปันผลสม่ำเสมอเช่นTVO เอาแบบต่ำๆแค่ได้ผลตอบแทนต่อปี 3%  จาก30ล้าน ปีนึงจะได้ปันผล900000บาทสรุปจะได้เงินเป็นpassive income75000ต่อปีครับ อันนี้คิดแบบหยาบๆ ไม่นับหุ้นเจ๊งหรือหุ้นgrowthมากขึ้น
ดังนั้นมันไม่ถูกต้องครับที่บอกว่าแพทย์ภาคเอกชนลงทุนไม่ได้
ที่ผมอยากบอกคือ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ภาครัฐหรือเอกชน ไม่ควรพึ่งใคร ควรยืนด้วยลำแข้งตัวเองครับ เพราะเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกอื่นๆได้  นโยบายอะไรก็เปลี่ยนแปลงได้ตลอดครับ
ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลอาจเลือกซื้อประกันสุขภาพดีๆแบบพี่JFKได้ครับ และสวัสดิการบัตรทองเองก็ในความคิดผมก็ไม่ได้แย่นะครับ ถ้าเรามีเงินร่วมจ่ายพอสมควรสำหรับยาหรืออุปกรณ์การแพทย์บางอย่างที่ต้องจ่า ยส่วนเกิน
อีกอย่างโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่แบบพี่น้อง สบายๆ ไม่โดนบีบให้ทำยอด ไม่โดนบีบให้ออกมันมีอยู่จริงๆครับ เผลอๆจะโดนให้ออกยากกว่าราชการอีกครับ โดยเฉพาะเอกชนต่างจังหวัด
จากคุณ: Hybrid VI โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 09:18:06
รพ.เอกชน จะดีสำหรับแพทย์ระดับ Elite ครับ พวก subboard ขึ้นไป ที่ได้การันตีเดือนละ 2-3 แสนบาท/เดือน จึงจะได้เปรียบพวกหมอ รพ.รัฐบาล อย่างที่คุณหมอ philosophy ว่าไว้ ภายใต้กฎเกณฑ์ว่า บำนาญจะยังอยู่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขย้อนหลัง (ซึ่งถ้ามี รบ.ไหนทำอย่างนั้นถือว่า here มาก และโดนประท้วงแน่นอน)
จากคุณ: megacure โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 09:35:59
on 05/24/18 เวลา 09:18:06, Hybrid VI wrote:
รพ.เอกชน จะดีสำหรับแพทย์ระดับ Elite ครับ พวก subboard ขึ้นไป ที่ได้การันตีเดือนละ 2-3 แสนบาท/เดือน จึงจะได้เปรียบพวกหมอ รพ.รัฐบาล อย่างที่คุณหมอ philosophy ว่าไว้ ภายใต้กฎเกณฑ์ว่า บำนาญจะยังอยู่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขย้อนหลัง (ซึ่งถ้ามี รบ.ไหนทำอย่างนั้นถือว่า here มาก และโดนประท้วงแน่นอน)

 
ประเทศกรีซทำมาแล้วครับ ตัด pension(ตัดบำนาญ)
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 11:23:23
  เรื่องน่าลำบากใจของเอกชน ที่เคยได้ยินมา  ก็มีแค่คนไข้อยากนอน รพ เพราะมีประกัน แต่ไม่ยักจะป่วยอะไร ก็ต้องเขียนใบรับรองให้นอนได้เบิกได้  
   ส่วนเรื่องยอดไม่ต้องห่วง มีทั้งคนป่วยจริง  และคนอยากป่วยให้ตรวจเรื่อยๆ  ไม่เคยได้ยินเพื่อนๆบ่นเลย
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 11:34:18
สมัยนี้ ข้าราชการที่จะเกษียณยังมีบำนาญอยู่เหรอครับ...ไม่ใช่มีแต่ บำเหน็จ หรือ อบข. แล้วเหรอครับ
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 13:41:59
การคำนวณว่าเราควรจะมีสินทรัพย์เท่าไหร่ที่พอจะมีอิสรภาพทางการเงินได้
 
คร่าวๆ สมมุติว่าค่าใช้จ่ายที่เราต้องการเดือนละ 100,000 บาท
 
ให้คูณด้วย 200 ถึง 300 ก็จะได้เงินต้นที่เราต้องมี = 20-30 ล้าน(คิดผลตอบแทน 5% จะได้เดือนละ 100,000)
 
แพทย์เรากว่าจะเรียนจบboardหรือsub-board น่าจะอายุ 30 ต้นๆ เท่ากับว่าเรามีเวลาราวๆ 30 ปีบวกลบในการทำงาน
 
จากนั้นต้องวางแผนที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ปัจจัยสำคัญ 3ประการ
 
 1 จำนวนเงินที่เก็บได้
 
 2 %ผลตอบแทนที่ได้รับ
 
 3 ระยะเวลา
 
จะช้าจะเร็วขึ้นกับ 3 ปัจจัยนี้ มีเครื่องมือให้คำนวณ
 
http://www.moneychimp.com/calculator/compound_interest_calculator.htm
จากคุณ: samco โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 15:49:19
on 05/24/18 เวลา 08:09:37, Winter is coming wrote:

 
แล้วถ้าหมอเอกชนที่ลงทุนเป็นล่ะครับ จะไม่ยิ่งดีกว่าหรอครับ
ง่ายๆนะครับ สมมุติ ผมเงินเดือน400000
หักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วเหลือเงินลงทุน 250000ต่อเดือน
ปีนึงจะมีเงินลงทุน3,000,000บาททำงาน10ปี ก็มี30ล้าน
เอาไปลงทุนในหุ้นแบบDCA เลือกหุ้นที่ให้ปันผลสม่ำเสมอเช่นTVO เอาแบบต่ำๆแค่ได้ผลตอบแทนต่อปี 3%  จาก30ล้าน ปีนึงจะได้ปันผล900000บาทสรุปจะได้เงินเป็นpassive income75000ต่อปีครับ อันนี้คิดแบบหยาบๆ ไม่นับหุ้นเจ๊งหรือหุ้นgrowthมากขึ้น
ดังนั้นมันไม่ถูกต้องครับที่บอกว่าแพทย์ภาคเอกชนลงทุนไม่ได้
ที่ผมอยากบอกคือ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ภาครัฐหรือเอกชน ไม่ควรพึ่งใคร ควรยืนด้วยลำแข้งตัวเองครับ เพราะเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกอื่นๆได้  นโยบายอะไรก็เปลี่ยนแปลงได้ตลอดครับ
ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลอาจเลือกซื้อประกันสุขภาพดีๆแบบพี่JFKได้ครับ และสวัสดิการบัตรทองเองก็ในความคิดผมก็ไม่ได้แย่นะครับ ถ้าเรามีเงินร่วมจ่ายพอสมควรสำหรับยาหรืออุปกรณ์การแพทย์บางอย่างที่ต้องจ่า ยส่วนเกิน
อีกอย่างโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่แบบพี่น้อง สบายๆ ไม่โดนบีบให้ทำยอด ไม่โดนบีบให้ออกมันมีอยู่จริงๆครับ เผลอๆจะโดนให้ออกยากกว่าราชการอีกครับ โดยเฉพาะเอกชนต่างจังหวัด

 
สอนวิธีเล่นหุ้นโดยได้ผลตอบแทนอย่างต่ำ 3 % ทบต้นไป 20 ปีหน่อยครับ     ของผมเล่นยิ่งเงินสะสมมากขึ้น ช่วงที่เติมเข้าไปจะยากมากเลยที่จะได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอเท่าเดิมครับ   เพราะการเอาเงินเดือนมาเล่น  มันต้องทบต้นซื้อไปตลอด    รักษาระดับผลตอบแทนยากมากเลยครับ
จากคุณ: samco โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 16:00:39
แต่จากข้อมูลท่าน Winter is coming จริงๆได้กัน  
 
ออกไปอยู่เอกชนได้เดือนละ 4 แสนกัน   จขกท.ไม่น่าต้องมาตัดสินใจอะไรให้ยุ่งยากแล้วนะครับว่าชีวิตจะเป็นยังไง  Grin
 
หมอรัฐบาลอย่างเราเห็นเงินเดือนเอกชนได้แต่มองตาปริบๆกับคุณภาพชีวิต   Cry
จากคุณ: Winter is coming โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 17:17:59
on 05/24/18 เวลา 15:49:19, samco wrote:

 
สอนวิธีเล่นหุ้นโดยได้ผลตอบแทนอย่างต่ำ 3 % ทบต้นไป 20 ปีหน่อยครับ     ของผมเล่นยิ่งเงินสะสมมากขึ้น ช่วงที่เติมเข้าไปจะยากมากเลยที่จะได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอเท่าเดิมครับ   เพราะการเอาเงินเดือนมาเล่น  มันต้องทบต้นซื้อไปตลอด    รักษาระดับผลตอบแทนยากมากเลยครับ

 
หุ้นที่ปันผลมาก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยgrowth ครับพี่samco ทำให้รักษาระดับผลตอบแทนจากปันผลได้สม่ำเสมอ เช่นPREB TVO KGI ASP ไรงี้  แต่จริงๆผมก็ไม่ค่อยชอบหุ้นแนวปันผลครับ ชอบหุ้นgrowth ทำกำไรจากcapital gainมากกว่าครับ
จากคุณ: SeReE โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 18:12:05
ตามอ่าน
จากคุณ: bridge โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 19:26:03
on 05/24/18 เวลา 15:49:19, samco wrote:

 
สอนวิธีเล่นหุ้นโดยได้ผลตอบแทนอย่างต่ำ 3 % ทบต้นไป 20 ปีหน่อยครับ     ของผมเล่นยิ่งเงินสะสมมากขึ้น ช่วงที่เติมเข้าไปจะยากมากเลยที่จะได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอเท่าเดิมครับ   เพราะการเอาเงินเดือนมาเล่น  มันต้องทบต้นซื้อไปตลอด    รักษาระดับผลตอบแทนยากมากเลยครับ

 
ซื้อหุ้นดีติดตามงบทุกไตรมาศ และกระจายความเสี่ยง 5-10 ตัวครับ
เริ่มดู VDO ของคุณกวี ชูกิจเกษม แล้วหาหนังสืออ่านครับ
จากคุณ: crv01 โพสเมื่อวันที่: 05/24/18 เวลา 19:56:22
ผมว่าอยู่รัฐก็โอ๋นะ.  เปิดคลินิกของตนเองด้วย.   ได้รับบำนาญอีก.  สบายตอนแก่.   และลงทุนด้วยหลายๆทาง
จากคุณ: Omo โพสเมื่อวันที่: 05/26/18 เวลา 16:44:45
เป็น FT เอกชนควรมีรายได้ 2.5 แสน/เดือน
ถ้าน้อยกว่านี้อยู่ราชการดีกว่า
ข้าพเจ้าเป็น FT Med ตั้งแต่อายุ 29
ตอนนี้ผ่านไป 13 ปีแล้ว อายุ 42
มีอสังหาคอนโด 12 ห้อง ( ราคาตั้งแต่ 1.5 ลบ- 6 ลบ)
 อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 1 คูหา( 4 ลบ)
D/E < 0.5 กู้แบงค์น้อยกว่า 50%จองราคาอสังหา
คอนโดอยู่เอง 3 ห้องซื้อด้วยเงินสด ที่เหลือปล่อยเช่า
ลงทุนซื้อประกันสะสมทรัพย์ ได้เงินคืนแบบำนาญ 12 กรมธรรม์
จ่ายเบี้ยปีละ 5 แสน ใกล้ครบแล้ว เริ่มได้บำนาญอายุ 50
ซื้อ RMF และ LTF ตั้งแต่อายุ 29 สะสมมาเรื่อยๆ
ยังไม่เคยลงทุนหุ้น
เรียนเพิ่มหลักสูตรอื่นๆอีกมากมาย ใช้เงินส่งตัวเองเรียนเกือบ 2 ลบ
แค่ค้องการบอกว่าสำหรับข้าพเจ้าแล้วการอยู่เอกชนถือว่ามาถูกทาง
แต่เราต้องมีฐานคนไข้มากพอ และสร้างจุดแข็งให้ตัวเอง
ที่สำคัญต้องมีความรู้ด้านการลงทุน และมีรายได้หลายทาง
การมีรายได้ทางเดียว...เครียดและเหนื่อย
ณ จุดนี้ ข้าพเจ้ามีความมั่นคง มั่นใจ และภูมิใจในตัวเองมาก Cheesy


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by