หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ พ.ศ. .... กำลังรับฟังความคิดเห )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 03/09/18 เวลา 11:50:28
http://www.lawamendment.go.th/index.php/laws-independent-entity/item/120 4-2018-02-19-01-51-50
 
โปรดให้ความสนใจ
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 03/09/18 เวลา 11:54:33
ได้ทราบมาว่ากระทรวงสาธารณสุขที่เป็นผู้รับผิดชอบในการยกร่างพ.ร.บ.นี้ กำลังทำการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป (public hearing)  ไปร่วมประชุมประชาพิจารณ์หรือออกความเห็นได้ที่ http://www.lawamendment.go.th/index.php/laws-independent-entity/item/120 4-2018-02-19-01-51-50
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 03/09/18 เวลา 11:55:27
http://www.consumerthai.org/news-consumerthai/ffc-news/4149-%E0%B8%B8610 304_news.html
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 03/12/18 เวลา 12:20:41
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/1015543536122520 8
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 03/12/18 เวลา 12:21:34
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/1015543823186520 8
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 03/12/18 เวลา 12:23:11
วิเคราะห์ ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ พ.ศ. ....
จากมุมมอง (ส่วนตัว) ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้หนึ่ง
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
11 มีค. 2561
ผู้เขียนได้รับทรบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อทำการยกร่างพ.ร.บ. วิธีคดีพิจารณาคดีทางการแพทย์ พ.ศ. .... และได้กำหนดวันรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ทั้งทาง website และทางการประชุม โดยผู้เขียนไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น แต่มีน้องๆในวงการแพทย์ได้มาขอให้ผู้เขียนอ่านร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ และเชิญชาวนให้ผู้เขียนไปร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพ.ร.บ.นี้ด้วย
ผู้เขียนเพิ่งมีเวลาอ่านร่างกฎหมายนี้ และขอสรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ดังนี้
หลักการและเหตุผล : ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยต้องการความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ประกอบการพิจารณาพิพากษาของศา ล มีระบบการไกล่เกลี่ย และให้พิจารณาคดีโดยหลักการไต่สวน
ในส่วนมาตราต่างๆ ผู้เขียนขออ้างเฉพาะหลักการหรือจความสำคัญที่จะมีผลต่อการพิจารณาคดีดังนี้
มาตรา 4 กำหนดให้มีเจ้าพนักงานคดี ทำหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการดำเนินคดีทางการแพทย์ โยมีหน้าที่
(1) ไกล่เกลี่ยคดีทางการแพทย์
(2) ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน
(3) บันทึกคำให้การพยาน
(4) ดำเนินการให้มีการคุ้มครองสิทธิของคู่ความทั้งก่อนและระหว่างการพิจารณษ
(5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พ.ร.บ.นี้หรือตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาในการช่ว ยเหลือนั้น
กำหนดให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งเจ้าพนักงานคดต ามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในมาตรา 5
มาตรา 6 ให้ประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการตามพระรา ชบัญญัตินี้
มาตรา 7 กระบวนการพิจารณาคดีทางการแพทย์ให้ใช้วิธีการไต่สวน
มาตรา 8 ถ้ามีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีทางการแพทย์หรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา 10 ผู้ใช้บริการต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มูลเหตุเกิดขึ้น
 
มาตรา 11 ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าความเสียหายระหว่าง 2 ฝ่าย ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่จนกว่าจะมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกเจรจา
มาตรา 12 ศาลสามารถย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามที่คู่ความร้องขอ
มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ประกอบด้วย
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ มูลเหตุแห่งคดีจำนวน 2 คน
(2) คณบดีในมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับมูลเหตุแห่งคดีจำนวน 1 คน
(3) ผู้อำนวยการสถานพยาบาลในสังกัดแห่งรัฐจำนวน 2 คน
(4) ผู้แทนสภาวิชาชีพหรือกรรมการวชาชีพที่เกี่ยวข้องกับมูลเหตุแห่งคดีจำนวน 2 คน
การแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งของแต่ละคดี ให้ศาลเป็นผู้แต่งตั้งจากบัญ
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจัดทำขึ้นตาม ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา
มาตรา 14 กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะมาเป็นกรรมการ
มาตรา 15 ให้คณะกรรมการตามมาตรา 13ทำความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพและข้อเท็จจริงทางการแพทย์และ สาธารณสุข เพื่อเสนอต่อศาล
มาตรา 18 การฟ้องคดีจะฟ้องด้วยวาจาและหนังสือก็ได้
มาตรา 20 ภายหลังการฟ้องคดีทางการแพทย์แล้ว ถ้ามีการฟ้องเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นวิธีใด ให้นำมาพิจารณารวมกันได้
มาตรา 21 คู๋ความอาจขอให้ศาลสั่งให้สืบพยานหลักฐานนั้นไว้ทันทีก็ได้
มาตรา 22 ผู้ยื่นคำขอตามมาตรา 21 อาจขอให้ศาลยึดหรืออายัดเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานเอกสารไว้ตามที่ศาล เห็นสมควร
มาตรา 23 ศาลต้องกำหนดวันนัดพิจารณษโดยเร็ว และให้เรียกโจทก์ละจำเลยมาเพื่อการไกล่เกลี่ย
มาตรา 24 ให้ศาลแต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา13
มาตรา 25 ในกรณีคดีทางการแพทย์ที่เป็นการละเมิดให้ศาลทำการไกล่เกลี่ยก่อน หรือหาทางระงับข้อพิพาทตามที่ศาลเห็นสมควร
มาตรา 26 ให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้
มาตรา 29 ให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
มาตรา 30 ในการสืบพยานให้ศาลเป็นผู้ซักถาม ไม่ให้คู่ความหรือทนายซักถามพยานเอง
มาตรา 31 การสืบพยาน ไม่ให้ศาลเลื่อนการสืบพยาน ยกเว้นมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ให้ศาลเลื่อนได้ครั้งละไม่เกิน 15 วัน
มาตรา 32 ศาลอาจจะเรียกผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นได้ และต้องให้คู่ความสามารถเรียกผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในฝ่ายตนมาให้คว ามเห็นโต้ย้งได้
มาตรา 34 ศาลอาจวินิจฉัยจำนวนค่าเสียหายให้เหมาะสมได้
มาตรา 35 ศาลอาจกำหนดว่ายังคงสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาได้ในระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษา
วิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ พ.ศ. ....
ที่มาของการร่างพ.ร.บ.นี้ ทราบมาว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมายนี้ นัยว่า เพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากการไปรับการบริการดูแลรักษาสุขภาพ แล้วเกิดผลที่ไม่ดีตามที่คาดหมายไว้ สามารถได้รับการช่วยเหลือเยียวยาโดยเร็ว และทำให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ป่วยที่ไปขอรับการรักษา และฝ่ายแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลที่ได้ทำการรักษาผู้ป่วย
ความแตกต่างระหว่างวิธีการพิจารณาคดีทางการแพทย์แบบเดิม (คดีละเมิดทางแพ่ง) มีอยู่เพียงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ มาช่วยทำความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการแพทย์ให้แก่ศาล รวมทั้งการขยายเวลาอายุความเป็น 10 ปี
ส่วนประเด็นอื่นๆ ก็ดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาคดีละเมิดทั่วไป ยกเว้นยึดหลักการไต่สวน คือให้ศาลไปสืบหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ให้ศาลกำหนดอัตราค่าสินไหมทดแทนได้ตามสมควรแห่งความเป็นธรรม และให้โจทก์สามารถฟ้องด้วยวาจาได้
ความเห็นของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นว่า เป็นการยกร่างกฎหมายที่ไม่จำเป็น และเป็นการออกระเบียบบังคับให้ศาลทำโน่น นี่นั่น ซึ๋งศาลทำอยู่แล้ว
ผู้เขียนเสนอว่า น่าจะขอแก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ ที่เป็นคดีละเมิด เพิ่มเติมในประกาศกฎกระทรวงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 6 ที่ได้บัญญัติไว้แล้วมาเพิ่มเติมในการพิจารณาคดีทางการแพทย์ ก็น่าจะครอบคลุมกระบวนการพิจารณาคดีทางการแพทย์ได้ตามที่ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจา รณาคดีทางการแพทย์ พ.ศ. .... ยกร่างไว้ โยไม่ต้องไปยกร่างกฎหมายใหม่เพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็น
กล่าวคือกำหนดให้ศาลเรียกพยานผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็น แต่ศาลสามารถชั่งน้ำหนักเองว่าพยานผู้เชี่ยวชาญนั้นสมควรเชื่อหรือไม่ และศาลสามารถแสวงหาพยานได้เอง รวมทั้งขอให้ศาลใช้วิธีการไต่สวนในการพิจารณาคดี
ข้อสังเกตุ ผู้เขียนไม่ได้เรียนจบทางกฎหมาย จึงอาจเสนอความเห็นไปโดยอาจจะไม่ “เข้าท่า”ก็เป็นได้ ขอผู้รู้โปรดช่วยแนะนำต่อไปด้วย
จากคุณ: yellow_bird โพสเมื่อวันที่: 03/12/18 เวลา 12:23:54
กฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีทางการแพทย์ของไทยมีมากพอหรือยัง?
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
(ความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับองค์กรใดๆ)
12 มีนาคม 2561
 
สืบเนื่องจากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้ยกร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณษคดีทางการแพท ย์ พ.ศ. .... ที่ตั้งใจจะเพิ่มช่องทางการฟ้องร้องในคดีทางการแพทย์ เพื่อไให้เป็นศูนย์รวมของการฟ้องคดีทางการแพทย์ในศาล
 
คดีทางการแพทย์ในสหรัฐมีอายุความแค่ 3 ปีหลังจากเกิดเหตุ (ยกเว้นในกรณีการคลอดที่อาจจะต้องรับผิดชอบความผิดปกติของเด็กจนถึงอายุ 18 ปี)
และคดีทางการแพทย์ไม่ได้ถือว่าเป็นคดีผู้บริโภค
 
แต่การฟ้องร้องที่มีมากขึ้น เป็นผลให้แพทย์ต้องทำการตรวจรักษาผู้ป่วยอย่างระมัดระวังจน "มากเกินไป" ที่เรียกว่า "Defensive Medicine" กล่าวคือ แพทย์จะต้องส่งตรวจ "พิเศษ" ให้หมดทุกวิธี เพื่อ "ปิดจุดอ่อน" ที่จะถุกผู้ป่วย/ทนาย/ผู้พิพากษาจะมองเห็นว่า "แพทย์ทำไมไม่คิดถึงโรคอื่นๆหรือทำไมไม่ส่งตรวจ โน่นนี่นั่น" ซึ่งการที่แพทย์ต้องระมัดระวัง "เกินกว่าเหตุ"นี้ เกืดขึ้นจากบทเรียนในคดีทางการแพทย์ ที่ถูกศาลตัดสินให้แพทย์แพ้คดี ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ป่วย ทั้งๆที่อาจเป็นกรณีที่ไม่ได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็มี
และการส่งตรวจพิเศษเกินความจำเป็นดังกล่าว ทำให้ "ค่าใช้จ่ายในการไปรับบริการตรวจรักษาจากแพทย์"สูงมากขึ้น
 
ซึ่งในประเทศสหรัฐ ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรับบริการส่วนใหญ่คือบริษัทรับประกันสุขภาพ ส่วนน้อยเป็นงบประมาณรัฐบาล แต่ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการรับบริการสาธารณสุขมาจากงบประมาณแผ่นดิน จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ที่สูงขึ้นทุกปีแต่ก็ไม่พอใช้ในการดูแลรักษาประชาชนทุกปี)
 
สำหรับประเทศไทยแล้ว มีกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งสามารถชักจูงให้เกิดกระบวนการนำคดีทางการแพทย์ไปเข ้าสู่ "วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค"
ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนี้ เนื่องจากการบริการโดยทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่คือการ "แลกเปลี่ยน/ซื้อขายสินค้า หรือซ่อมแซมสินค้า"
 
แต่การบริการทางการแพทย์ เป็นการ "ดูแลรักษาซ่อมแซมร่างกายและจิตใจมนุษย์" ที่แพทย์ไม่สามารถจะ "ทำให้สุขภาพของทุกคนกลับคืนดีเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิมได้ทุกกรณี" เพราะอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บบางอย่าง มันมากเกินกว่ามนุษย์ปุถุชน เช่นแพทย์ จะสามารถรักษาเยียวยาได้ แม้ว่าแพทย์จะได้ทำการรักษาถูกต้องครบถ้วนตามกกระบวนการและตามมาตรฐานทางการ แพทย์แล้ว
 
ถ้าประชาชนไม่ยอมรับความจริงข้อนี้ อยากจะฟ้องร้องเพื่อขอค่าชดเชย "ความเสียหายจากการไปรับบริการทางการแพทย์" ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีปรากฏการณ์ในการฟ้องร้องเหมือนในสหรัฐอเมริกา และแพทย์ไทยก็คงเดินตามรอย "Defensive Medicine" และค่าใช้จ่ายในระบบการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขก็คงเพิ่มมากขึ้นเป็นเ งาตามตัวอย่างแน่นอน
และจะเป็นภาระอันหนักต่องบประมาณแผ่นดินอย่างไม่ต้องสงสัย
 
มีประชาชนส่วนหนึ่งเข้าใจว่า การที่ประเทศไทยนำกิจการโรงพยาบาลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ จึงถือว่า "เป็นการบริกาที่แสวงหากำไร" เหมือนการบริการอื่นๆ จึงสมควรจะนับเข้าเป็น "คดีผู้บริโภค"ได้
 
แต่สหรัฐอเมริการเอง ก็มีโรงพยาบาลอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และเขียนไว้เลยว่า "Hospital for Profit"
 
แต่คดีทางการแพทย์ ก็มิได้นำเข้าพิจารณาเป็นคดีผู้บริโภคแต่อย่างใด
 
เนื่องจากการบริการทางการแพทย์นั้น ในประเทศไทยเอง ต้องมีการควบคุมบังคับจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ที่ควบคุมกำกับ บังคับบัญชามาตรฐานของโรงพยาบาล ในขณะที่สภาวิชาชีพก็ควบคุม กำกับการทำงานในวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ทุกวิชาชีพ
 
ประเทศสหรัฐอเมริกา นั้นแพทย์มีจำนวนมากจึงสามารถใช้เวลาตรวจ/รักษา/ให้การปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่ว ยได้คนละอย่างน้อยคนละครึ่งชั่วโมง จึงสามารถทำการตรวจรักษาผู้ป่วยได้อย่างละเอียดรอบคอบ และทำความเข้าใจกับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการตรวจรักษาที่ผิดพลาดน้อย ทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจอาการเจ็บป่วยของตน และสามารถให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตนตามการแนะนำของแพทย์ได้อย่างถูกต้อง/ ครบถ้วน
 
แต่แพทย์ไทยในกระทรวงสาธารณสุขนั้น มีภาระการรักษาผู้ป่วยจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้แพทย์มีเวลาตรวจร่างกาย/ วินิจฉัยโรค/ สั่งยาและให้การปรึกษาในการรักษาแก่ผู้ป่วยเพียงแค่คนละ 2-4 นาที ทำให้มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการตรวจ วินิจฉัย รักษา และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วย และผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายมากขึ้น
 
การแก้ปัญหาการ "เยียวยาความเสียหายของผู้ป่วย" โดยการเพิ่มช่องทางการฟ้องร้องแพทย์และโรงพยาบาล จึงไม่ควรจะเป็น "วิธีการที่สำคัญที่สุด" ในการดูแลช่วยเหลือประชาชน
 
แต่รัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต้องเร่งรีบแก้ปัญหา "ความเสี่ยงต่อความเสียหายของประชาชนจากการไปขอรับการตรวจรักษาสุขภาพในโรงพ ยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข" โดยการจัดสรรทรัพยากรในการทำงานให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เหมาะสม กับจำนวนผู้ป่วย ได้แก่ "บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่/เวชภัณฑ์/เครื่องมือแพทย์" เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ มีเวลาอย่างเหมาะสม /เพียงพอ/ทำงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยจากการไปรับบริการสาธารณสุข แล้วก็ไม่ต้องไปคิดออกกฎหมายมาช่วยให้ฟ้องร้องแพทย์ได้เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากตามปกติแล้ว ผู้ป่วยสามารถฟ้องร้องแพทย์ได้หลายช่องทางแล้ว ได้แก่
1.ฟ้องแพทยสภา
2.ฟ้องบอร์ดสปสช. ตามมาตรา 41 และสปส.
3.ฟ้องศาลปกครอง
4.ฟ้องตามพ.รงบ.ความรับผิดทางละเมิดพ.ศ. 2539
5.ฟ้องศาลแพ่ง
7.ฟ้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
8.ฟ้องศาลอาญา
9.ฟ้องตำรวจ
10.ฟ้องสื่อมวลชน
 
ในสหรัฐ การพิจารณษคดีทางการแพทย์นั้น จะต้งอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ รวมทั้งความเห็นจากคณะ "ลูกขุน"ในการช่วยลงความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานทางการแพทย์ เพื่อช่วยให้ผู้พิพากษาตัดสินคดีตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย
ประเทศไทยนั้น การแก้ไขกระบวนการตัดสินคดีทางการแพทย์คือ ถ้าศาลมีการแต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางมาให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐ านการรักษา และวิเคราะห์ความเห็นจากพยานผู้เชี่ยวชาญทั้งของโจทก์และจำเลยอย่างตรงไปตรง มา อาจจะช่วยให้ประชาชนหายข้องใจได้มากขึ้น
จากคุณ: :: King of BANPU :: โพสเมื่อวันที่: 03/14/18 เวลา 10:19:03

 

 
ผู้บริโภคจี้ สธ.ยุติร่าง กม.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์  
 
Quote:

ผู้บริโภคบุก สธ. ขอยุติร่าง กม. วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ ชี้ มี กม. วิธีพิจารณาคดีทางผู้บริโภคอยู่แล้ว จี้ออก กม. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะดีกว่า
 

 
https://mgronline.com/qol/detail/9610000025267

 
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 03/17/18 เวลา 10:16:28
มีแนวทางแก้ไขไหมค่ะ ให้พวกกลุ่มngoที่มุ่งหาประโยชน์จากการข่มขู่ฟ้องร้อง


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by