หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: มีใครบางคนเคยกล่าวไว้ว่า..... )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 02/28/18 เวลา 14:01:02
ข้อผิดพลาด ของนักลงทุนส่วนใหญ่
 
มักจะเกิดจาก การสนใจในราคาหุ้นมากเกินไป
 
แทนที่จะมุ่งให้ความสนใจผลประการของบริษัท
 
แต่ถึงแม้จะสนใจผลประกอบการ ก็มักจะสนใจกำไรรายไตรมาสมากเกินไป
 
ทำให้เรามองข้ามศักยภาพในระยะยาวของบริษัท
 
นักลงทุนจึงพลาดโอกาสในการสร้างความมั่งคั่ง
 
ด้วยการเป็นเจ้าของบริษัทดีเหล่านั้น ในจังหวะที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า
จากคุณ: :: King of BANPU :: โพสเมื่อวันที่: 03/02/18 เวลา 12:44:53

เหมือนหลายคนพลาด พี่ปู   Roll Eyes
 
จากคุณ: Hybrid VI โพสเมื่อวันที่: 03/04/18 เวลา 21:48:29
จะไม่โฟกัสที่ราคา แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า บริษัทนี้ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหรือยัง  
แล้วจะรู้ได้ไงว่า บริษัทนี้ ราคาหุ้นเกินกว่าพื้นฐานหรือยัง
อ่านดูแล้วย้อนแย้ง ไม่ให้โฟกัสที่ "ราคา" หุ้น
แต่ให้หาหุ้นที่ "ราคา" ต่ำกว่ามูลค่า
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 03/04/18 เวลา 23:12:13
on 03/04/18 เวลา 21:48:29, Hybrid VI wrote:
จะไม่โฟกัสที่ราคา แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า บริษัทนี้ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหรือยัง  
แล้วจะรู้ได้ไงว่า บริษัทนี้ ราคาหุ้นเกินกว่าพื้นฐานหรือยัง
อ่านดูแล้วย้อนแย้ง ไม่ให้โฟกัสที่ "ราคา" หุ้น
แต่ให้หาหุ้นที่ "ราคา" ต่ำกว่ามูลค่า

 
การลงทุนในมุมมอง ที่คิดเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท (ที่มีคนบริหารทำงานแทน) โดยไม่ต้องไปทำเอง
 
หลังจากเราคัดเลือกบริษัทที่ดี ที่เราอยากเป็นเจ้าของแล้ว
 
ต่อมาเราต้องประเมินมูลค่า เพื่อจะให้รู้ว่าราคาไหนคุ้มค่าที่จะซื้อ
 
หลังจากนั้น ให้เราโฟกัสที่ผลงานของบริษัทโดยมองที่ศักยภาพระยะยาว
 
หากเขายังทำผลงานได้ดี แม้ว่าราคาในระยะสั้นอาจขึ้นๆลงๆ บ้าง  
 
แต่ตราบเท่าที่พื้นฐานยังไม่เปลี่ยน เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขาย
 
เหมือนเราเปิดคลินิค คลินิคเรายังสร้างรายได้กระแสเงินสดให้เราได้ดี
 
เราก็ไม่เห็นจำเป็นที่จะขายกิจการของเราไปทำไม ในเมื่อมันยังสร้างรายได้ให้เราทุกๆวัน
 
 
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 03/04/18 เวลา 23:32:00
ขอยกตัวอย่างละกันครับ  
   
เช่น Beauty ต้นทุนที่ 2 บาท(หลังแตกพาร์)  
   
ระหว่างทาง ราคาขึ้นๆลงๆ ชนิดที่ว่าใครใจไม่แข็งพอ คงได้ขายระหว่างทางไปบ้างแล้วหล่ะ  
   
แต่หากเราคอยติดตามที่ผลประกอบการ เดินเข้าไปในร้าน ถามข้อมูลจากพนักงานขายเป็นระยะๆ ว่ายอดขายเป็นยังไงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว  
   
ลองใช้ผลิตภัณฑ์ดู ลูกค้าชื่นชอบสินค้าไหม พนักงานทำงานแล้วมีความสุขหรือไม่  
   
ลองเข้าไปถามร้านคู่แข่ง เพื่อเปรียบเทียบกัน etc  
   
เมื่อทุกอย่างยังไปได้ดี ยังแข่งขันได้ เราก็ถือไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่มันยังดีโดยไม่ต้องไปสนใจราคา  
   
แต่ให้สนใจที่ตัวกิจการ ที่ผลประกอบการ  
   
ทุกวันนี้ราคาก็ขึ้นมารับกับผลประกอบการที่ 20บาทต้นๆ    
   
คิดเป็น capital gain ราว 10 เท่า (1000%)  
   
ปันผลคิดจากทุน 2 บาท ราว 20% ต่อปี โดยที่เราแทบไม่ต้องเหนื่อยไปทำอะไรมากเลย
จากคุณ: Hybrid VI โพสเมื่อวันที่: 03/05/18 เวลา 00:30:58
on 03/04/18 เวลา 23:12:13, <<GOOD LIFE<< wrote:

 
การลงทุนในมุมมอง ที่คิดเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท (ที่มีคนบริหารทำงานแทน) โดยไม่ต้องไปทำเอง
 
หลังจากเราคัดเลือกบริษัทที่ดี ที่เราอยากเป็นเจ้าของแล้ว
 
ต่อมาเราต้องประเมินมูลค่า เพื่อจะให้รู้ว่าราคาไหนคุ้มค่าที่จะซื้อ
 
หลังจากนั้น ให้เราโฟกัสที่ผลงานของบริษัทโดยมองที่ศักยภาพระยะยาว
 
หากเขายังทำผลงานได้ดี แม้ว่าราคาในระยะสั้นอาจขึ้นๆลงๆ บ้าง  
 
แต่ตราบเท่าที่พื้นฐานยังไม่เปลี่ยน เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขาย
 
เหมือนเราเปิดคลินิค คลินิคเรายังสร้างรายได้กระแสเงินสดให้เราได้ดี
 
เราก็ไม่เห็นจำเป็นที่จะขายกิจการของเราไปทำไม ในเมื่อมันยังสร้างรายได้ให้เราทุกๆวัน
 
 

 
ยกตัวอย่าง  
คุณทำคลินิค มีรายได้ปีละ 1,000,000 บาท
มีคนมาถามเซ้งคลินิคคุณ ให้เงิน 10 ล้านบาท
คุณจะขายมั้ย..
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 03/05/18 เวลา 10:33:55
on 03/05/18 เวลา 00:30:58, Hybrid VI wrote:

 
ยกตัวอย่าง  
คุณทำคลินิค มีรายได้ปีละ 1,000,000 บาท
มีคนมาถามเซ้งคลินิคคุณ ให้เงิน 10 ล้านบาท
คุณจะขายมั้ย..

 
 
 
ถ้ากิจการเรายังดีอยู่ และยังสามารถสร้างรายได้ให้เราสม่ำเสมอ หรือดีกว่านั้นคือเติบโตขึ้นเรื่อยๆ วันข้างหน้าผลตอบแทนมากกว่านี้  
 
ไม่จำเป็นต้องขายครับ  
 
เทียบกับ ถ้าปันผลปี 1 ล้าน อยู่ได้สบายพอสมควร
 
ถ้าเหลือใช้เราสามารถเก็บปันผลไว้ รอโอกาสลงทุนใหม่ได้
 
ชีวิตสบายกว่ากันเห็นๆ
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 03/05/18 เวลา 10:59:50
on 03/05/18 เวลา 00:30:58, Hybrid VI wrote:

 
ยกตัวอย่าง  
คุณทำคลินิค มีรายได้ปีละ 1,000,000 บาท
มีคนมาถามเซ้งคลินิคคุณ ให้เงิน 10 ล้านบาท
คุณจะขายมั้ย..

 
ว่าแต่ปีละล้าน นี่น้อยไปหรือเปล่าสำหรับคลินิก
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 03/05/18 เวลา 12:49:19
หรือถ้าปีต่อๆ ไปรายได้เพิ่มเป็นปีละ 2 ล้าน 5 ล้าน หรือ 10 ล้าน
 
ถึงวันนั้นมูลค่าคงไม่อยู่ที่ 10 ล้านแล้วหล่ะ คงวิ่งไปไกลกว่านั้น
 
จากคุณ: <<GOOD LIFE<< โพสเมื่อวันที่: 03/05/18 เวลา 12:50:19
หมอพงษ์ศักดิ์ บอกวิธีเลือกหุ้น?ไว้
 
จะมองว่าถ้าจะสร้างบริษัทแบบนี้ หรือแข่งกับบริษัทนี้ทำได้ง่ายหรือยาก
ซึ่งถ้ามีความยากอาจมาจากความพิเศษ หรือลอกเลียนแบบได้ยาก เช่น แบรนด์ ขนาด สัมปทาน  
ซึ่งความยากจะทำให้มีความยั่งยืน ถือยาวๆได้ และสบายใจ
บางธุรกิจจะทำให้ใหญ่ได้แบบนี้ต้องใช้เวลา ทรัพยากรมาก หรือไม่ได้รับอนุญาตให้เวลาทำ
หุ้นเหล่านี้จะอยู่ใน scope ที่ติดตามอยู่ตลอด
แต่ก็ต้องดูด้วย หุ้นสัมปทานบางอย่างก็ไม่ได้ป้องกันคู่แข่งได้  
หรือธุรกิจกึ่งสัมปทานบางอย่างรัฐบาลก็ไม่ได้อยากให้แข่งขัน
หุ้นโรงพยาบาลก็เคยลงทุนอยู่ช่วงหนึ่ง ถ้าวิเคราะห์ดูก็มีความเข้มแข็ง เพียงแต่จังหวะราคายังไม่เหมาะสม  
หุ้นทุกตัวจะมีความผิดพลาด และตลาดให้ราคาผิดไป  
ถ้าเรามองได้ไกลกว่าคนอื่น และเห็นว่ามันจะกลับมาปกติ ก็จะเข้าไปซื้อมัน
ซื้อเมื่อไร ขายเมื่อไร?
จะมองก่อนว่าบริษัทดีหรือไม่ดี  
ถ้าดี ขนาดธุรกิจจะใหญ่กว่านี้ไหม? ถ้าใหญ่กว่านี้ก็สนใจ ซึ่งถ้าโตไปอีกหลายๆปี ลงทุนตอนนี้คุ้มก็ซื้อ  
ถ้าบริษัทที่ดีมาก เป็น super stock แต่ราคาตกลง แล้วไม่ได้ทำให้พื้นฐานเปลี่ยน ก็เป็นจังหวะที่ดี
พยายามหามุมมองที่ตลาดยังไม่เห็น ก็น่าจะเป็นจุดลงทุนได้ หรือมองได้ไกลกว่าตลาด ก็เป็นจุดซื้อ
 
#จุดขาย  
ข้อแรก ที่เจอบ่อยอันแรกคือวิเคราะห์ผิด อาจจะมองว่าเขาเข้มแข็ง  
แต่ที่จริงไม่ได้อย่างที่คิด หรือผู้บริหารไม่ได้ไว้วางใจ  
ข้อสอง เมื่ออยากซื้อหุ้นตัวอื่น ที่น่าจะราคาหรือคุณภาพน่าสนใจกว่าก็ขายหุ้นตัวเดิม  
ข้อสาม คือถ้าราคาแพงเกินไป ซึ่งไม่ค่อยเจอข้อนี้


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by