หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: คนที่ว่าระบบ DRG ทำให้รพ.ขาดทุนควรอ่านไว้ซะครับ )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: samco โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 12:37:57
https://www.hfocus.org/content/2017/11/14934
 
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ยันโรงพยาบาลขาดทุนผู้ป่วยในไม่เกี่ยวกับระบบ DRG ชี้มี 4 ปัจจัยหลักต้องดูว่าขาดทุนเพราะอะไรแล้วไปแก้ตรงนั้น เช่นเดียวกับเงื่อนไขการจ่ายเงินของ สปสช.ก็เป็นเรื่องของหน่วยงานรัฐจ่ายเงินระหว่างกัน ไม่ใช่จ่ายแบบเอกชนจ่ายหนี้กัน
 
ศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ระบบการจ่ายแบบวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนในส่วนของผู้ป่วยในว่า ต้องเข้าใจหลักการก่อนว่าการจ่ายตาม DRG ถูกพัฒนาขึ้นเพราะการจ่ายเงินตามจริงแบบที่ให้โรงพยาบาลเบิกจ่ายไปเรื่อยๆ ตามที่ให้บริการผู้ป่วย ไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้โรงพยาบาลสนใจเรื่องประสิทธิภาพหรือการใช้ทรัพยากรอย ่างสมเหตุสมผลเท่าที่ควรเพราะใช้ไปเท่าไหร่ก็เบิกได้ จึงมีการคิดวิธีการจ่ายแบบ DRG เพื่อให้กระบวนการจ่ายเงินเป็นปลายปิด เหมือนตั้งราคากลางขึ้นมาโดยพิจารณาจากน้ำหนักการใช้ทรัพยากรเพื่อการรักษาโ รคแต่ละโรค
 
ด้วยเหตุนี้ การจ่ายเงินแบบ DRG จึงขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าเฉลี่ยตามกลุ่มโรค ซึ่งถ้าดูเป็นรายกรณีก็จะมีทั้งคนที่รักษาแล้วขาดทุนและคนที่รักษาแล้วได้กำ ไร แต่โดยเฉลี่ยถ้ารักษาคนไข้ได้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรก็จะเกลี่ยๆกันไ ปได้พอดีๆ
 
นพ.จิรุตม์ กล่าวต่อไปว่า การกำหนดค่าเฉลี่ยก็กำหนดเป็นสิ่งที่เรียกว่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของแต่ละกลุ่มโ รค ซึ่งคำนวณมาจากต้นทุนเฉลี่ยของการรักษาคนไข้ตามแต่ละกลุ่มโรค โดยอาศัยฐานข้อมูลจากโรงพยาบาลทั้งประเทศเข้ามาคำนวณค่าเฉลี่ย และไม่ใช่ค่าเฉลี่ยเฉพาะแค่กลุ่มโรคเท่านั้น แต่เป็นค่าเฉลี่ยที่สัมพัทธ์กับค่าเฉลี่ยของการรักษากลุ่มโรคอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้นตัวเลขน้ำหนักสัมพัทธ์จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าฐานข้อมูลในปีที่ผ่านๆ มาโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายอะไรที่ส่งเบิกไปบ้าง ถ้าส่งเบิกค่าใช้จ่ายไปน้อย ไม่ครบหรือคิดราคาถูกเกินไปในปีที่ผ่านๆ มา ก็จะทำให้ฐานข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณต่ำ รวมทั้งถ้าโรงพยาบาลที่เป็นเจ้าของข้อมูลไม่มีระบบบัญชีที่ดี เก็บตัวเลขไม่ครบ ฐานข้อมูลที่ส่งไปให้หน่วยงานที่คำนวณ DRG ก็จะคำนวณได้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
 
“ทีนี้ DRG ที่ผ่านๆ มาก็จะอาศัยฐานข้อมูลและวิธีการคำนวณแบบนี้ โดยทำให้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ สมัยก่อนมีแต่กลุ่มใหญ่ๆ 400-500 กลุ่ม แต่ตอนนี้ซอยย่อยเป็นหมื่นกลุ่ม พอละเอียดขึ้นก็หวังว่าจะช่วยกระจายตรงนี้ และ DRG แต่ละกลุ่มก็จะมีคะแนนซึ่งได้จากฐานข้อมูลที่โรงพยาบาลเป็นคนส่งเบิกเอง ถ้าโรงพยาบาลส่งข้อมูลไม่ดี ไม่ครบ ตัวเลขน้ำหนัก DRG ก็จะผิดและอาจส่งผลให้โรงพยาบาลขาดทุนได้” นพ.จิรุตม์ กล่าว
 
อย่างไรก็ดี หลักการค่าเฉลี่ยก็ทำให้โรงพยาบาลบางประเภทที่มีเทคโนโลยีสูงหรือต้นทุนการบ ริหารสูงกว่าโรงพยาบาลโดยเฉลี่ยของประเทศเกิดการขาดทุน เช่น ถูกส่งตัวคนไข้มาให้รักษา ซึ่งการรักษาด้วยยาง่ายๆ ทำไม่ได้แล้ว ต้องรักษาด้วยยายากๆ โรงพยาบาลประเภทนี้พอเจอระบบ DRG ก็จะขาดทุนเพราะค่าเฉลี่ยการรักษาสูงกว่าเสมอ
 
ขณะเดียวกัน การจ่ายในระบบ DRG ยังขึ้นอยู่กับ 2 ประการ 1.คือคะแนนตามกลุ่มโรค กลุ่มโรคไหนคะแนนเท่าไหร่ และ 2.อัตราการจ่ายพื้นฐาน (Base Rate) เช่น ถ้า DRG มีคะแนนเท่ากับ 1 แล้วจะจ่ายด้วยเงินเท่าไหร่ สมมุติ 1 คะแนน DRG จ่าย 10,000 บาท โรคที่มีคะแนน 1.5 ก็จะได้ 15,000 บาท แต่ถ้าในปีนั้นระบบสุขภาพไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ Base Rate ก็อาจลดลงเหลือ 8,000 บาท โรคที่คะแนน 1.5 แทนที่จะได้ 15,000 บาท ก็ได้ 12,000 บาท
 
“เพราะฉะนั้นการจ่ายด้วย DRG จะกำไรหรือขาดทุน นอกจากฐานข้อมูลที่เอามาใช้ในการคำนวณแล้วก็จะขึ้นอยู่กับว่าปีนั้นระบบ เช่น สปสช.หรือประกันสังคม ได้รับงบประมาณมาเท่าไหร่เพื่อเอามากำหนดอัตราฐาน ถ้าได้งบมาเยอะก็สามารถกำหนดอัตราฐานล่วงหน้าได้ว่าปีนี้จะจ่ายเท่าไหร่” นพ.จิรุตม์ กล่าว
 
นพ.จิรุตม์ กล่าวอีกว่า ระบบของ สปสช.จะมีความพิเศษอยู่ประการหนึ่ง คืออัตราฐานจะคำนวณโดยประมาณการจากข้อมูลของปีก่อนหน้า เช่น ปีก่อนดูแล้ว DRG เป็นแบบนี้ น่าจะใช้อัตราฐานประมาณ 8,000 บาท แล้วเอาไปของบจากสำนักงบประมาณ ถ้าได้งบมาเพียงพอก็สามารถประเมินได้ว่าจะจ่ายอัตราฐานที่ 8,000บาท แต่วงเงินงบประมาณถูกล็อคแล้ว สมมุติเช่น คิดว่าผู้ป่วยในจะมีการเบิก 100 คะแนน อัตราฐานคะแนนละ 10,000 บาท ก็จะใช้งบประมาณ 1,000,000 บาท แต่ถ้าปีนั้นมีคนป่วยเยอะกว่าค่าเฉลี่ยที่ประเมินไว้ก็ทำให้จำนวนคะแนนที่มา เบิกไม่ใช่ 100 คะแนนแต่อาจเพิ่มเป็น 200 คะแนน เมื่อเอามาหารกับงบประมาณ 1,000,000 บาท ก็จะเหลือคะแนนละ 5,000 บาท แทนที่จะเป็น 10,000 บาท ซึ่งการคิดแบบนี้เรียกว่า Global Budget คือมีวงเงินรวมไว้ให้ ถ้าเบิกเกินก็จะทำอัตราฐานที่จ่ายต่อ 1 คะแนนได้น้อยลง
 
นพ.จิรุตม์ กล่าวอีกว่าเมื่อเห็นภาพเช่นนี้แล้วจะพบว่าการที่โรงพยาบาลจะขาดทุนหรือกำไร จากระบบ DRG มี 4 ปัจจัย 1.ฐานข้อมูลที่ส่งมาเพื่อใช้คำนวณสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ 2.โรงพยาบาลมีเทคโนโลยีและการบริหารจัดการสูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่ 3.วงเงินงบประมาณรวมที่ได้ในปีนั้นมากหรือน้อย และ 4.คนไข้ป่วยมากกว่าที่ประเมินไว้หรือไม่
 
“เพราะฉะนั้นการจะบอกว่า DRG ดีหรือไม่ดีแล้วมาโทษ ก็ต้องดูว่ามันเกี่ยวกับใคร เช่น ถ้าโทษว่าข้อมูลที่เอามาคำนวณไม่ดี ก็ระบบบัญชีโรงพยาบาลนั่นแหละส่งตัวเลขมาไม่ครบแล้วขาดทุน ปัจจัยนี้ไม่เกี่ยวกับ DRG มันอยู่ที่ข้อมูลที่โรงพยาบาลส่งมาเอง หรือถ้าเกิดจากค่าเฉลี่ยต้นทุนการรักษาของโรงพยาบาลสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่ว ไป ถ้าเป็นเพราะความไม่มีประสิทธิภาพอันนี้โทษระบบไม่ได้ แต่ถ้าเป็นโรงเรียนแพทย์ มีทรัพยากร มีเทคโนโลยีที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ อันนี้ระบบต้องช่วยชดเชยไม่อย่างนั้นเขาจะขาดทุนเพราะรักษาแต่โรคยากๆ ทำให้มีต้นทุนสูง” นพ.จิรุตม์ กล่าว
 
นอกจากนี้ หากการขาดทุนเกิดจากอัตราฐานกำหนดไว้น้อยก็เป็นเพราะรัฐบาลให้เงินมาน้อย ระบบ DRG ก็เลยจ่ายได้น้อย ไม่เกี่ยวกับตัวระบบ DRG และสุดท้ายถ้ามีคนไข้ป่วยมารับบริการมาก อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกับ DRG อีก เพียงแต่โดยระบบการจัดการก็ต้องมีระบบสำรอง เช่น อาจต้องมีเงื่อนไขว่าถ้าคนไข้เยอะเกินกว่าที่ประเมินไว้ จะต้องทำเรื่องของบสำรองจากงบกลางของรัฐบาลเข้ามาชดเชยเพิ่มเติม ซึ่งก็อยู่ที่ระบบการจัดการว่าคิดถึงเรื่องนี้หรือไม่ แต่ไม่ได้เกี่ยวกับตัว DRGโดยตรง
 
นพ.จิรุตม์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเงื่อนไขการจ่ายเงิน การเรียกเก็บข้อมูลรหัสโรค หรือส่งข้อมูลช้าแล้วไม่จ่าย ต้องไม่ลืมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เอกชนจ่ายหนี้สินกัน สปสช.เป็นหน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาลก็เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นเรื่องของการตกลงกันว่าระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของรัฐจะจ่า ยเงินกันอย่างไร
 
“ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน มันเป็นเงื่อนไขการจ่ายระหว่างหน่วยงานของรัฐ ถ้าเขาตกลงกันแบบนี้มันก็จบ หรือแม้แต่เอกชนเองก็ตาม สมมุติพนักงานไม่สบายเอาค่าใช้จ่ายมาเบิกบริษัทก็ต้องมีใบเสร็จ ถ้าไม่มีก็จ่ายไม่ได้ มันเป็นข้อตกลงกัน แล้วถ้าเอาใบเสร็จที่ไม่ถูกระเบียบ เช่น ไม่มีเลขกำกับภาษี บริษัทก็ให้เบิกไม่ได้ หรือในประกันสุขภาพเอกชนก็ทำกันไม่ใช่แค่ สปสช. เช่น บางครั้งส่งใบเสร็จไปเบิก ประกันเอกชนก็บอกว่าอันนี้ไม่ตรงกับโรคไม่จ่ายให้ โรงพยาบาลหรือคนไข้ก็มี 2 ทางคือจะอุทธรณ์หรือร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประก อบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ผมกำลังบอกว่าหลักการแบบนี้เอกชนก็ทำ มันมีกระบวนการตกลงกันแบบนี้ หรือถ้าส่งเบิกช้าแล้วจะโดนตัดเงินก็ต้องไปดูว่า 1.มันมีเหตุผลอะไร 2.คนส่วนใหญ่เขาทำได้ไหม สมมุติคน 30% ทำไม่ได้ อย่างนี้ค่อยมาดู แต่ถ้า 1% ทำไม่ได้แล้วเอา 1% มาโวยก็คงไม่ถูก แบบนี้ก็ต้องไปดูในรายละเอียด” นพ.จิรุตม์ กล่าว
 
เช่นเดียวกับการวิจารณ์ในประเด็นที่ว่าเงื่อนไขการจ่ายเงินของ DRG ก้าวล่วงมาตรฐานการแพทย์และการรักษา ประเด็นนี้ต้องแยกก่อนว่าหมอจะรักษาคนไข้อย่างไร โรงพยาบาลมีอะไรให้หมอรักษา กับ สปสช.จะจ่ายหรือไม่จ่ายอะไร เป็นคนละเรื่อง ถ้าเอามาปนกันเมื่อไหร่ก็คุยกันไม่จบ
 
“หมอจะใส่ท่อช่วยหายใจก็เป็นหน้าที่ของคุณที่จะใส่ ถ้าไม่ใส่ก็คือไม่ใส่ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานวิชาชีพว่าต้องทำหรือไม่ทำ ไม่ใช่บอกว่าพอไม่มีคนจ่ายแล้วไม่ใส่ท่อช่วยหายใจให้ แล้วการจะมีท่อหรือไม่มีท่อให้หมอเอาไปใส่คนไข้ มันก็อยู่ที่โรงพยาบาลจะซื้อหรือไม่ซื้อ ถ้าโรงพยาบาลมีท่อให้ใช้หมอก็ใช้ ถ้าโรงพยาบาลไม่มีเงินก็เลยไม่ซื้อ หมอก็ไม่มีจะใช้ อันนี้ก็อีกเรื่อง ทีนี้โรงพยาบาลอาจจะพูดว่า สปสช.ไม่ยอมให้ค่าท่อก็เลยไม่มีเงินไปซื้อท่อ คำถามที่ตามมาคือเอาเงินก้อนอื่นซื้อได้ไหม” นพ.จิรุตม์ กล่าว
 
นพ.จิรุตม์ กล่าวย้ำว่า ประเด็นที่ สปสช.จะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าท่อช่วยหายใจ ต้องเข้าใจก่อนว่าจริงๆ แล้วระบบการจ่ายเงินของ สปสช.เป็นการจ่ายแบบรวมเหมาจ่าย เมื่อเหมาจ่าย สิ่งที่เกิดขึ้นคือในคนไข้บางรายที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษสูงกว่าค่าเฉลี่ย ก็จะเกิดปัญหาการขาดทุน จึงมีการสร้างกระบวนการจ่ายเพิ่มให้ว่าถ้ามีแบบนี้ๆ แล้วจะจ่ายเพิ่มให้ เมื่อมีการอนุมัติรายการจ่ายเพิ่มเข้าบ่อยๆ คนที่เกี่ยวข้องก็เข้าใจว่า “การอนุมัติรายการจ่ายเพิ่มแบบนี้คือการอนุมัติสิทธิประโยชน์ ถ้าไม่อนุมัติแบบนี้แปลว่าไม่ใช่สิทธิประโยชน์ หมอรักษาไม่ได้” ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะของเดิมถึงไม่มีรายการนี้ให้เบิก กระบวนการค่าใช้จ่ายก็เหมารวมอยู่แล้วในค่า DRG
 
“เพราะฉะนั้น การที่หมอจะรักษาหรือไม่รักษาตามมาตรฐานแพทยสภา ผมย้ำว่าไม่เกี่ยวกับ สปสช. แต่ถ้าหมอรักษาไปแล้วทำให้โรงพยาบาลขาดทุนแล้ว สปสช.ไม่สนใจ อันนี้เป็นความรับผิดชอบที่ สปสช.ต้องพิจารณา ดังนั้นต้องแยก 2 เรื่องนี้ออกจากกัน ถ้าตัดหัวตัดท้ายมารวมกัน แบบนี้มันตีกันมั่ว แก้ปัญหาไม่ได้” นพ.จิรุตม์ กล่าวทิ้งท้าย
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 13:01:02
ด่ากันไปมา
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 14:02:49
สรุป เบิกdrgได้ตามต้นทุนที่ใช้ไปจริงไหม  
ตอบแค่นี้ก่อนค่ะ  คนไข้ นอน นาน drgได้เพิ่มขึ้นไหม
คนไข้ไม่ยอมกลับบ้านdrgได้ เพิ่มไหม ตอบค่ะ
เลิกเป็น สปสช ไปราว วอเ จะได้ เห็นภาพมากขึ้น  อันนี้แนะนำนะ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 14:05:14
ถ้าจ่ายเงินไม่เท่าทรฝี่ใช้ไปยังไงก็ขาดทุน  ไม่ต้องมาคำนวนให้ยุ่งยากหรอกค่ะ   ขนาดควายยังไม่เชื่อเลย
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 14:06:12
เงินที่ รพ ควรได้ไม่ควรผ่าน สปสชค่ะ  ลดการขาดทุน ไม่ต้องสูตรหักตัง
จากคุณ: :: King of BANPU :: โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 14:07:36

หัวข้อ 36343: เมื่อ สปสช. ชักดาบไม่จ่ายหนี้โรงพยาบาลของรัฐ : ปัญหา DRG ที่พี่ตูนจะต้  
 
------------------------------------------------------------------------  
 
เหมาจ่ายแบบขาดทุน?   Roll Eyes
 
 
Smile
 
 
 
จากคุณ: megacure โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 15:51:51
อ่านปัจจัยที่ 3 และ 4 จบปุ๊บ ผมขอสรุปว่าระบบเฮงซวย ไม่ว่าจะเป็นผลจาก drg หรือไม่
 
มีงบลงมาน้อยเลยเกลี่ยน้อยลง ถูกต้องที่ไหน คนไข้จะใช้ยา ใช้เครื่องมือ นอนโรงพยาบาลน้อยลงเพราะงบน้อย
 
ไม่สมเหตุผลด้วยประการทั้งปวง
 
งบไม่พอ สปสช. ควรไปยืมเงิน เป็นหนี้ แล้วจ่ายเงินตามเกณฑ์ที่สมเหตุผล ไม่ใช่มาซุกหนี้ที่ รพ.
จากคุณ: dysthymia โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 18:34:48
คนแบบนี้
วางใจให้ทำงานใหญ่
ยากที่จะไดผลดี
จากคุณ: carter โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 23:02:09
ก้อแล้วยังไงเหรอครับ
 
ผลลัพธ์ ก้อรพ.ขาดทุนทั้งประเทศ
จะเหตุผลอะไรก้อตามเถอะ
จากคุณ: surapong98 โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 07:59:37
รพ.ขาดทุน น่าจะมีหลายสาเหตุ เช่น
 1 ใช้ของแพง ยาแพง
2  ใช้ของ ยา เกินจำเป็น
3 สรุปข้อมูลไม่ดี สรุปเวชระเบียน ใส่ข้อมูลไม่ครบ ทำให้ได้ drg ,rw น้อยกว่าความเป็นจริง (เคยมีงานวิจัยใน รพ.ใหญ่แห่งหนึ่งเมื่อ10กว่าปีก่อนพบว่าสรุป drg คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทำให้ได้เงินจาก drg น้อยลงไปจากความเป็นจริงประมาณ10-15% ของรายได้ ปีหนึ่งก็อาจเป็นร้อยล้านขึ้นกับขนาดโรงพยาบาล ทำให้มีมาตรการให้สรุปเวชระเบียนให้ถูกต้อง ครบถ้วน หลังจากนั้น เงินบำรุงโรงพยาบาลก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน)
4  drg หรือ rw บางโรค บางภาวะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ควรปรับเป็นระยะๆ
5 แต่ละrwให้เงินน้อยไป(8000-10000) ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ต้องแก้ที่ต้นทาง คือรัฐบาล
6 ต้องกันเงินรายหัวบางส่วนมาจ่ายเงินเดือน
 
แต่ข้อมูลแบบนี้สธ. สปสช. น่าจะรู้อยู่แล้ว
จากคุณ: Thiti17260 โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 08:53:54
คนขายตั้งราคา สิ้นปีมามีคนเบิกเยอะ ลดราคาอีก ถ้าเป็นค้าขายใครจะทำด้วย. ทำไมรพเอกชนเขาไม่เอา30บาททั้งที่ตอนแรกแย่งกันรับ. เหตุผลเดียว ขาดทุน เงินที่ให้รวมค่ายาค่าแรงแต่ค่าแรงเพิ่มในสัดส่วนมากกว่า ค่ายาก็ลดลงแน่ๆ
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 09:12:13
  อยู่ได้ครับ เงินเหลือด้วย  แค่รักษาตามมีตามเกิด ตายก็ไม่ต้องส่งไปไหน และ ผอ ไม่พยายามซื้อเครื่องมือหรือสร้างตึกเพื่อกินค่าคอม  แต่ประชาชน จะเอาด้วยไหม
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 09:43:36
เห็นใจและเข้าทั้งฝ่ายจ่ายเงิน คือ สปสช. (ที่ต้องสร้างกฎเกณฑ์/ กติกา/
 เพดานการจ่ายเงิน เพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายเงินมากเกินไป หรือจ่ายเงินแบบไม่สมเหตุสมผล) และฝ่ายขอเงินคือ รพ.ของรัฐ (ที่ต้องทำงาน/ ทำหัตถการที่จะได้เงินมาก จะดีต่อสภาพคล่องของรพ. มากกว่า ที่ได้เงินน้อยครับ)
 
เพราะงั้นจึงหาอะไรที่คิดว่าจะเป็น ค่ากลางคือจ่ายเงินตาม DRG. ที่น่าจะเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายครับ
 ไม่งั้น รพ.ไหนๆก็จะคงรักษา Acute Appendicitis/ Disc or Inguinal Herniation/ Acute Cholecystitis etc. ด้วยวิธี...Laparoscopic Surgery ซึ่งเป็น Gold Standard กันหมด เพราะว่ามันได้เงินมากกว่า (เพราะว่ามันแพงกว่า/ ต้นทุนสูงกว่า) Open Surgery เยอะครับ
จากคุณ: pracha โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 10:03:50
DRG เป็นเครื่องมือทางการเงินประการหนึ่งของกระบวนการ purchasingใน health care financing การคิดคำนวณและกำหนดอัตราจ่ายจะถูกผิดก็ว่ากันไป
 
การที่เงินไม่พอก็สะท้อนว่าองค์กรที่ทำหน้าที่เป็น Third Party ของบัตรทองคือ สปสช.ไม่ได้ทำหน้าที่จัดหาเงินมาให้เพียงพอกับสิทธิประโยชน์ที่กำหนดขึ้น การอ้างรัฐให้เงินมาน้อย การใช้ global budget เป็นเค่รื่องมือแล้วจ่ายเงินชดเชยไม่ครบตามค่าDRGที่กำหนดไว้  คือส่วนที่สปสช.ไม่รู้ว่าตนเองไม่ได้ปฏิบัติภาระกิจที่สำคัญอีกประการของ health care financing คือการ Collectng-จัดหา จัดเก็บเงินมาให้เพียงพอกับระบบ  เวลาจ่ายชดเชยไม่ครบ ความจริงแล้ว สปสช.ก็จะมีฐานะเป็นลูกหนี้ของโรงพยาบาล  
 
 
 
จากคุณ: 006 โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 10:40:43
มันผิดตั้งแต่สโลแกนหาเสียงแบบชุ่ยๆไม่รับผิดชอบว่า 30บาทรักษาทุกโรคแล้ว
 
มันทำได้จริงๆ โดยไม่มีเงื่อนไขอะไรเลยเหรอ  
 
แล้วพรรคที่แพ้พรรคหาเสียงตอแหล ก็สานต่อ รักษาฟรีทุกโรค !
 
ไทยแลนด์แดนตอแหล ปชช.ส่วนใหญ่ก็คล้อยตามคำตอแหลเสมอ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 11:30:43
รักษาอิงตามมาตรฐานค่ะ  หมอย่อมเลือกการรักษาที่ดีที่สุดแก่คนไข้อยู่แล้ว  ไม่เคยเลือกตามราคาของเลย  
ถ้าติง ว่า มาตรฐานมีปัญหา  ควรจับผิด แบะแก้ไขตรงนั้น  ไม่ใช่ไปแก้โดยการให้เงินน้อย  มันไม่ถูก เป็นการคิดโดยไม่มีหบักฐานค่ะ แบะมีผลกระทบต่อการรักษา
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 11:33:11
ประเด็นที่2 dtg มักพอเพียงจริงหรือ  ทำไม รพ ยังขาดทุน
ถ้าdrg พอ  ค่าเฉลี่ย ทำมา10ปี ก็ยังขาดทุน หมายความว่า มันใช้ไม่ได้ไง แถม drgยังลดลงเรื่อยๆ ก็ยิ่งซ้ำเติมปัญหามากขึ้น   รพ รอวันดับสูญ  
จากคุณ: <<BluE_BurN>> โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 11:34:31
เหมือนมีคนพึ่งตาสว่าง
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 19:11:11
on 11/20/17 เวลา 14:02:49, candy girl wrote:
สรุป เบิกdrgได้ตามต้นทุนที่ใช้ไปจริงไหม  
ตอบแค่นี้ก่อนค่ะ  คนไข้ นอน นาน drgได้เพิ่มขึ้นไหม
คนไข้ไม่ยอมกลับบ้านdrgได้ เพิ่มไหม ตอบค่ะ
เลิกเป็น สปสช ไปราว วอเ จะได้ เห็นภาพมากขึ้น  อันนี้แนะนำนะ

รพ อื่นไม่รู้นะ แต่ผมคำนวณต้นทุนแต่ละชาร์ทแล้วเทียบกับที่เบิกตาม drg ปรากฎว่า ได้กำไรเล็กน้อยครับ
จากคุณ: WeaReGroot โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 21:33:20
งานล้นมือ มาทำเอกสารละเอียด คนไข้รอตรวจอยู่ก็รอไป ทนไม่ไหวก็ตายไป งานเอกสารจะได้ไม่เยอะ .....  Lips Sealed
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/22/17 เวลา 07:08:41
ใช่ค่ะ  กำไรที่ รพข  ต้นทาง รีเฟอ  ขาดทุน ที่ รพศ ที่รับรีเฟอ     รพช ศักยภาพในการรักษาน้อย icu ccu ไม่มี เขียนโรคเดียวกัน ความรุนแรงเท่ากัน เบิก  drgได้เท่ากัน  แต่ รพช รักษาคนไข้ไม้ได้ ก็รีเฟอไป  แค่ยังได้ตังอยู่ ไป รพศ มีศักยภาพมากว่า  ดูแลคนไข้ หนักได้มากว่า
   ถ้าปล่อยให้ เหตุการณ์แบบนี้เกิดต่อไป  รพศ แย่  ขาด คน ขาด ยา ขาดของ   คนไข้ หนักก็โอกาศรอดน้อยลง  คนก็จะย้ายที่ไป รพที่ดีกว่าคือ รรพ  ซึ่งก็ไม่อยากรับ ยัตรทอง เพราะขาดทุน ผล คือ คนไจ้เดินทางไกลขึ้น
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/22/17 เวลา 07:38:25
ก็ถ้า ตรรกกะ  ยังคิดแบบนี้  100ชาติ รพ ก็เจ๊ง  
สปสช  คิดว่า จะอยู่ได้เหรอ ....ไม่มีทางค่ะ  
จริงก็ไม่ควรมีแต่แรกแล้ว
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 11/22/17 เวลา 11:52:44
on 11/22/17 เวลา 07:38:25, candy girl wrote:

ใช่ค่ะ  กำไรที่ รพข  ต้นทาง รีเฟอ  ขาดทุน ที่ รพศ ที่รับรีเฟอ     รพช ศักยภาพในการรักษาน้อย icu ccu ไม่มี เขียนโรคเดียวกัน ความรุนแรงเท่ากัน เบิก  drgได้เท่ากัน  แต่ รพช รักษาคนไข้ไม้ได้ ก็รีเฟอไป  แค่ยังได้ตังอยู่ ไป รพศ มีศักยภาพมากว่า  ดูแลคนไข้ หนักได้มากว่า  
   ถ้าปล่อยให้ เหตุการณ์แบบนี้เกิดต่อไป  รพศ แย่  ขาด คน ขาด ยา ขาดของ   คนไข้ หนักก็โอกาศรอดน้อยลง  คนก็จะย้ายที่ไป รพที่ดีกว่าคือ รรพ  ซึ่งก็ไม่อยากรับ ยัตรทอง เพราะขาดทุน ผล คือ คนไจ้เดินทางไกลขึ้น

ลองเอาชาร์ท รพศ มาสุ่มดูไหมครับ ถ้าสรุปถูกต้อง แปลงเป็น rw คูณเป็นเงิน แล้วเปรียบเทียบกับต้นทุน ว่าขาดทุนไหม
 
พวกเราสรุปชาร์ทได้ถูกต้องหรือยัง
จากคุณ: jengirl โพสเมื่อวันที่: 11/24/17 เวลา 01:20:55
on 11/22/17 เวลา 11:52:44, Echo wrote:

ลองเอาชาร์ท รพศ มาสุ่มดูไหมครับ ถ้าสรุปถูกต้อง แปลงเป็น rw คูณเป็นเงิน แล้วเปรียบเทียบกับต้นทุน ว่าขาดทุนไหม
 
พวกเราสรุปชาร์ทได้ถูกต้องหรือยัง

 
หน้าที่สรุปชาร์ทจริงๆมันหน้าที่ของหมอเหรอคะ ส่วนตัวดิฉันไม่เห็นด้วยเลย เราไม่ได้มีเวลาตามเรียนกฎเกณฑ์การ code ต่างๆพวกนี้นะคะ
 
ดิฉันทำงานในอเมริกาอยู่ค่ะ เรื่อง ICD, DRG, RW พวกนี้เป็นแนวคิดที่ลอกมาจากอเมริกาทั้งหมด แต่ต้องเล่าก่อนว่าในบริบทที่ต่างกับประเทศไทยมากๆจนเล่าไม่หมด สรุปคร่าวๆว่าก่อนมีระบบนี้ รพ.เรียกเก็บเงินมากเกินไปจนแพง บริษัทประกันและ Medicare (คล้ายๆประกันของรัฐ ให้เฉพาะคนที่เกษียณอายุมากกว่า 65 ปีที่เคยทำงานเสียภาษีให้รัฐมาก่อน)เลยออกเครื่องมือพวกนี้มาเพื่อจำกัดค่าใ ช้จ่าย
 
แค่ concept ก็ต่างกันมากแล้วเห็นมั้ยคะ บ้านเราคือขาดแคลนมาตลอด แต่ลอกระบบแบบนี้มาทำเพื่อไม่ให้ต้องจ่ายเยอะ พลักภาระไปให้รพ.แทน
 
ส่วนในระบบ DRG นี้ การลง code เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าลงให้ดีและครบก็จะได้เงินเยอะ ดิฉันทำงานทุกวันนี้ไม่ต้องทำเรื่องพวกนี้เลยค่ะ แค่ต้องเขียน progress note ให้ครบตามที่ทำปกติ จะมีเจ้าหน้าที่เรียนมาเรื่องนี้โดยตรง เรียก biller/coder จะอ่านจาก note และ review chart แล้วเค้าจะเป็นคนสรุปเป็น bill ไปเรียกเก็บเงินจากบริษัทประกัน Medicare หรือคนไข้เอง
 
เรื่องเงินไม่พอ ส่วนตัวมองว่าต้นเหตุคือเงินงบประมาณมันไม่พอมาตั้งแต่แรกนั่นแหละค่ะ "30 บาทรักษาทุกโรค"มันทำไม่ได้จริง เวลาผ่านไปๆก็ยิ่งติดลบมากขึ้นเรื่อยๆ แถมสปสชก็เอางบส่วนนึงไปผลาญกับอะไรที่หลายฝ่ายมองว่าไม่จำเป็นหลายๆอย่างด้ วย DRGนี่ก็เป็นแค่เครื่องมือที่จะออกมาหาเรื่องไม่จ่ายเงินหรือจ่ายให้น้อยที่ สุดตัวนึงเฉยๆแหละค่ะ
จากคุณ: Dr.D โพสเมื่อวันที่: 11/24/17 เวลา 07:04:41
แล้ว ร.พ.จุฬา มี PCU ไหม ?
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 11/24/17 เวลา 08:58:36
ที่ประเทศไทย สรุปชาร์ตเป็นหน้าที่แพทย์ครับ
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/24/17 เวลา 09:18:34
on 11/24/17 เวลา 08:58:36, Echo wrote:
ที่ประเทศไทย สรุปชาร์ตเป็นหน้าที่แพทย์ครับ

 
ใช่เลยครับ
ถ้าเป็นใน รพท. หน้าที่นี้ก็เป็นของ พชท./ Extern
ถ้าเป็นใน รรพ. หน้าที่นี้ก็เป็นของ Residents
 
ซึ่งถ้าเป็นรรพ. Residents ต้องทำหน้าที่ตรงนี้ให้ Complete มากๆๆๆด้วยครับ  (เพราะว่าเป็นส่วนนึงของการสอบบอร์ด/ Residents Training เลยครับ)
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/24/17 เวลา 21:22:55
มีสอบลง สาเหตุการตาย  แต่ไม่แน่ใจว่สเดวนี้ต้องสอบ บงdrgด้วยเหรอ  เป็นการผลักภาระ นโบาย ให้แพทย์ ไม่ได้มีประโยชน์ อะไรทางการรักษาเลย
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/24/17 เวลา 22:27:28
tps://www.thairath.co.th/content/975673
 
การมีอยู่ของ สปสช จะทำให้รพ ขนาดใหญ่ที่ศักยภาพสูงเจ๊งเร็วขึ้น
จากคุณ: Auikung โพสเมื่อวันที่: 11/25/17 เวลา 21:00:47
เอาคนที่ออกความเห็นมานั่งบริหาร
ถ้าคิดว่าแก้ปัญหาได้ ตัวเองเก่ง ให้มาทำดู
ถ้าผลลัพธ์มันเป็นอย่างที่เขียน ค่อยหัวเราะ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/26/17 เวลา 05:36:23
ก็ยุบไป  แล้วไปเป็นแบบเดิม ไม่มี สปสช
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/26/17 เวลา 05:39:12
สปสช เกิดมาจากอะไรก็ไม่รู้ ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่ได้สิทธิบริหารเงิน  เป็นแสนล้าน
สามารถให้เงินมูลนิธิต่างๆ ได้  โดยเจ้าของมูนิธิก็ดป็นกรรมการ สปสช  พอ สตง เรัยกสอบหลักฐานการใช้เงินก็ไม่มีให้ตรวจ  ตลกร้าย ...แต่เรื่องจริง  รพ ยิ่งเจ๊งทุกวัน
 ที่ไม่พอใจ คือ การบริหาร และไม่โปร่งใสทางการเงิน ค่ะ
และการผลักภาระค่าใช้จ่าย  ผลกระทยจากนโยบายให้ รพทั้งหมด
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/26/17 เวลา 05:43:48
ลอง ผู้หริหาร สปสช  ทำงาน ฟรีเหมือน ชาว รพก่อนไหม ห้ามเอาเงินให้มูลนิธิก่อน    ตัวเองแจกโบนัส แต่ค้างต่ายชาว รพ
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 11/26/17 เวลา 08:39:13
คำถามคือ ยุป สปสช แล้ว จะยุบเคลมแบบ DRG ด้วยไหม
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/26/17 เวลา 13:01:00
ยุบ สปสช อย่างน้อย ประหยัดเงินค่า บริหารได้1800ช้านค่ะ ได้แน่ๆ อันดับแรก
จากคุณ: Echo โพสเมื่อวันที่: 11/27/17 เวลา 07:33:47
ตกลงไม่เกี่ยวกับ drg เนาะ แค่ยิงยา เบียดเบียนเวลาหลวง ไปเที่ยวนอก บริหารขาดทุน แล้วหาแพะเฉยๆ
จากคุณ: surapong98 โพสเมื่อวันที่: 11/27/17 เวลา 08:05:18
ปกติ รพ.ศูนย์ ยิ่งรับrefer มากยิ่งรวยนะ ยกเว้นบางโรงพยาบาลที่คนไข้มากเกิน
    ข้อมูลต่างๆน่าจะมีอยู่ที่ สธ. และสปสช.แล้ว มีชุดทำงานเรื่องโรงพยาบาลขาดทุน แล้ว แต่ไม่เห็นมีอะไร ออกมาให้คนทั่วไปรับรู้  
    อาจจะไม่เปิดเผยด้วยเหตุผล ต่างๆ หรือเล่นการเมืองในระบบนี้กันอยู่  
   ซึ่งเรื่องบางอย่างที่ไม่ถูกไม่ควร ชาวบ้านเขารุ้เห็นกันชัดเจน ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจน จนเขามองว่าเป็นเรื่องปกติของระบบนี้ไปแล้ว
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/27/17 เวลา 12:18:03
ต้อรอ รพศมาเปิดข้อมูลค่ะ จริงเท็จเป็นอย่างไร ว่าที่เอโคพูดจริงป่าว  รพที่เจ๊งเกิดจาก ยิงยา หมอไปเที่ยว  รับรีเฟอมาได้ กำไร ไม่ขาดทุน ส่วนตัวเลิกทำงาน กะ รพ รัฐล่ะ  อยู่มา10กว่าปี มีแต่แย่ลงๆ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/27/17 เวลา 12:23:18
แสดงว่าจังหวัดที่คุณเอคโคอยู่ เป็นแบบนี้ น่าตะไปตรวจดูนะ
 
ส่วนตัวถ้าไปประชุมวิชาการ ก็โอเคอยู่นะ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/27/17 เวลา 12:32:57
รพ พัทลุง รพสต ด้วยป่าว
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/27/17 เวลา 12:34:14
แล้วถ้ายาในบัญชีไม่หาย  ไม่ให้ใช้ยานอกบัญี ให้ ส่งกลับ รพชเลยไหมค่ะ  
 อันนี้ไม่ได้กวนนะ เพราะ รพศ ต้องมีการใช้ยานอกบุญชีอยู่แล้ว เพราะยาเดิม คงไม่หาย ถ้าหายคงไม่ส่งมา  แล้ว รพศ ก็มี ใบdueป้องกันoveruse อยู่แล้ว ซึ้งใช้ยากมาก ขอบอก
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/27/17 เวลา 16:33:53
ได้ข่าวว่า ประชุม ของแพทย์ชนบท ได้ค่าเบี้ยเลี้ยง ด้วยจริงรึเปล่าค่ะ  จาก สสส หรือ สปสช ค่ะ  แล้ว โบนัสจากเงิน เหลือ ของ สปสช นี่เยอะไหมค่ะ


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by