หน้าแรกเว็บบอร์ด หน้าแรกเว็บบอร์ด
   For MD.
   Doctor Room l ห้องพักแพทย์
   Post reply ( Re: เมื่อ สปสช. ชักดาบไม่จ่ายหนี้โรงพยาบาลของรัฐ : ปัญหา DRG ที่พี่ตูน )
ขอเชิญเพื่อนแพทย์พูดคุย แสดงความคิดเห็นครับ
หัวข้อ:
ใส่ชื่อ:
Email:
Add YABBC tags:
Add Smileys: <more...>
ข้อความ:

Disable Smilies




Topic Summary
จากคุณ: soon_soon โพสเมื่อวันที่: 11/18/17 เวลา 17:37:04
เผยแพร่: 16 พ.ย. 2560 12:58:00   โดย: อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์  
ผู้อำนวยการศูนย์คลังปัญญาและสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
 
ปัญหาขาดทุนของโรงพยาบาลในส่วนของผู้ป่วยในนั้นเกิดจากการใช้กลุ่มวินิจฉัยโ รคร่วม (Disease related group: DRG) ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  
 
ในการจ่ายเงินแบบเหมารวมตามกลุ่มโรค เช่น เป็นกลุ่มโรคหัวใจมาจ่ายเงินให้เท่านั้นเท่านี้ อาจจะมีปรับนิดหน่อยตามน้ำหนักสัมพัทธ์ (Relative weight : RW) ตามความหนักเบา ซับซ้อนของโรคและจำนวนวันนอน
 
ปัญหามีดังนี้
 
ประการแรก การตั้งราคากลาง DRG ไม่ได้ทำอย่างถูกหลักวิชาการบัญชี  
สปสช. ตั้งคณะกรรมการที่ตนเองเลือกเองมาตั้งราคากลาง DRG และเปลี่ยนราคากลางดังกล่าวเองทุกปีตามอำเภอใจ  
ไม่มีที่ใดในโลกที่ราคากลางกำหนดโดยผู้ซื้อแล้วมัดมือชกซื้อของในราคาที่ตัว เองต้องการ จะกดราคาลงไปอย่างไรก็ได้ โรงพยาบาลของรัฐจะเจ๊งเท่าไหร่ก็ทำได้
จากคุณ: soon_soon โพสเมื่อวันที่: 11/18/17 เวลา 17:39:50
ประการที่สอง การตั้งราคากลาง DRG แล้วไม่ทำตามราคากลาง  
 
กล่าวคือพอเบิกไปมากๆ สปสช. ก็หน้าหนาพอทีจะชักดาบโดยการเกลี่ยเอาราคากลางทั้งหมดมารวมกัน  
แล้วบอกว่ามีงบประมาณรวมเท่านี้หรือ Global budget แล้วก็จับหารยาวจ่ายเท่าที่มีเงิน กดราคากลางลงไปอีก  
 
โรงพยาบาลของรัฐ ถ้าไม่เจ๊งวันนี้ด้วยมือของ สปสช. แล้วจะไปเจ๊งวันไหน?  
มีที่ไหนในโลกที่เมื่อผู้ซื้อ ได้ตกลงราคากับผู้ขาย แต่เมื่อผู้ซื้อมีเงินไม่เพียงพอโดยหลักการคือผู้ซื้อจะต้องมีสถานะเป็นหนี้ ผู้ขาย แต่นี่กลับตีหัวและกดราคาของคนขายลงไปแล้วชักดาบ  
 
ประการที่สาม
 สปสช. ตั้งกฎเกณฑ์ก้าวล่วงเข้าไปยังมาตรฐานการแพทย์และการรักษา ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่ของแพทยสภา เป็นการละเมิดและทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายและตัวเองไม่ได้มีอำนาจ  
 
เช่น หากแพทย์จะใส่ท่อช่วยหายใจคนไข้แล้วโรงพยาบาลจะเบิกเงินได้ก็ต่อเมื่อมีผลกา รตรวจแก๊สในเลือด หรือ blood gas ก่อน  
 
คำถามคือคนไข้พะงาบๆ จนตัวเขียว เล็บเขียว หน้าเขียวแล้ว ยังไม่เจาะเลือดตรวจดู blood gas ถ้าหมอใส่ท่อช่วยหายใจจะเบิกเงิน สปสช. ไม่ได้  
 
และถ้าไม่มี blood gas สปสช. ไม่ให้เบิกเงิน ก็ควรให้ สปสช. มาถอดท่อช่วยหายใจของคนไข้ออกไปเอง
 
 การตั้งกฎเกณฑ์ในการเบิกจ่าย DRG แบบนี้ทำให้เกิดการวินิจฉัยเกินความจำเป็น (Over diagnosis) และทำให้หมดเปลืองยิ่งกว่าเก่า เป็นการตั้งกฎเกณฑ์โดย สปสช. ผู้ไม่เคยรักษาคนไข้มานานมากแล้วและก่อให้เกิดความเสียหายต่อมาตรฐานการรักษ าพยาบาลของไทย
 
ประการที่สี่
 สปสช. ยังเรียกร้องข้อมูลต่างๆ ที่โรงพยาบาลต้องกรอกข้อมูลการรักษา รหัสโรค รหัสยา เพื่อเบิกเงิน
 
 การทำหน้าที่นี้ของ สปสช. ทำหน้าที่เหมือนพัสดุที่ต้องตรวจรับการจัดซื้อ ต้องดูข้อมูลว่าได้จัดซื้อมาตรงตามที่ต้องการหรือไม่แล้วจึงจะจ่ายเงิน
 และถ้าส่งข้อมูลให้ช้า สปสช. ก็จะตัดหนี้ออกไปและไม่จ่ายเงิน
 
 สปสช. มีสถานะเป็นลูกหนี้ ตามหลักการบัญชี การที่เจ้าหนี้เรียกเก็บเงินช้า ลูกหนี้ไม่มีสิทธิในการไม่จ่าย ลูกหนี้จะชักดาบเช่นนี้ไม่ได้  
 
ประการที่ห้า
 
 สปสช. นั้นโดยความเป็นจริงแล้วต้องเป็นลูกหนี้การค้าของโรงพยาบาล เพราะตกลงราคาไม่อย่างแต่ไม่ยอมจ่ายตามราคา DRG ที่ตกลงไว้  
แต่โรงพยาบาลของรัฐก็หน้าบาง ไม่กล้าที่จะลงบัญชีว่า สปสช. เป็นลูกหนี้การค้าที่เบี้ยวหนี้ DRG  
 
อันที่จริงโรงพยาบาลของรัฐต้องรวมตัวกันไปฟ้องศาลปกครอง ว่า สปสช. เบี้ยวหนี้หน่วยงานของรัฐก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชน ทำให้คุณภาพมาตรฐานการรักษาพยาบาลของคนไทยตกต่ำลง ทำให้โรงพยาบาลของรัฐขาดทุน  
 
แต่กระทรวงสาธารณสุขตกอยู่ในสภาพของสองนคราสาธารณสุข ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขเอง จำนวนมากตัวรับราชการในกระทรวงสาธารณสุข แต่ใจนั้นเป็นขี้ข้าตระกูล ส. และ สปสช.  
 
ด้วยหวังว่าเมื่อตัวเองเกษียณอายุราชการแล้วจะได้ไปเป็นที่ปรึกษาหรือผู้บริ หารของตระกูล ส. ต่อไป ทำให้ปัญหานี้ไม่เคยไปถึงศาลปกครอง และไม่แม้กระทั่งจะมีการลงบัญชีว่า สปสช. เป็นลูกหนี้การค้าค้างจ่าย หรือเป็นหนี้สูญ แต่อย่างใด
จากคุณ: soon_soon โพสเมื่อวันที่: 11/18/17 เวลา 17:40:59
กล่าวโดยสรุปปัญคือ
 
1. สปสช. จัดซื้อโดยการกำหนดราคากลางเองผ่าน DRG แล้วเกลี่ย Global Budget เอง
 
เมื่อเงินไม่พอหักคอโรงพยาบาลของรัฐที่ปกติก็ร่อแร่จวนเจ๊งแหล่ไม่เจ๊งแหล่ มีหนี้สินล้นพ้นตัว
 
 (นี่ยังไม่ได้รวมปัญหาที่ สปสช. ซื้อยาเองจากองค์การเภสัชกรรมแล้วได้เงินทอนมาแจก NGO ในนามของเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐร้อยละ 5 ซึ่งรัฐบาลเพิ่งทุบโต๊ะให้เลิกทำเพราะผิดกฎหมาย)
 
2. สปสช. ทำหน้าที่พัสดุ โดยบังคับให้โรงพยาบาลกรอกข้อมูลเป็นการตรวจรับพัสดุก่อนการจ่ายเงิน
 
3. สปสช. ทำหน้าที่การเงินและบัญชีโดยถือเงินเองและจ่ายยาเอง  
 
ไม่มีบริษัทใดในโลก ที่เบ็ดเสร็จ ให้จัดซื้อ การเงิน และพัสดุ เป็นคนๆ เดียวกัน เพราะจะลุแก่อำนาจและทำให้เกิดการทุจริตได้ง่ายที่สุด
จากคุณ: soon_soon โพสเมื่อวันที่: 11/18/17 เวลา 17:41:51
มีอื่นๆ อีก ตามไป https://mgronline.com/daily/detail/9600000115874
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/18/17 เวลา 19:35:35
ก็ สปสช มีไว้ทำไม ไม่รุ
จากคุณ: know555 โพสเมื่อวันที่: 11/18/17 เวลา 22:04:23
Grinถูกต้องนะคร้าบ
จากคุณ: soon_soon โพสเมื่อวันที่: 11/19/17 เวลา 06:38:44
โรงพยาบาลของรัฐต้องรวมตัวกันไปฟ้องศาลปกครอง ว่า สปสช. เบี้ยวหนี้หน่วยงานของรัฐก่อให้เกิดความเสียหาย
 
เคยมีเเล้ว หรือยัง
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/19/17 เวลา 11:15:10
       เงินบริจาค  ๑๑รพ.(จะ)ได้รับเท่าไหร่ ? - กรณีคล้ายๆกันนี้   เอาเข้าจริงๆส่วนใหญ่ได้รับไม่ถึงครึ่งของยอดเงินบริจาค ครับ ( ๑๐%ก็มากโขแล้ว )     ลึกๆเรื่องมันซับซ้อนกว่าที่เห็น
จากคุณ: Ines_de_BK โพสเมื่อวันที่: 11/19/17 เวลา 15:39:41
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง  สาธา
ตูนเหนื่อยจรจักขา     วิ่งสู้
ดังสุราเก่าเอามา  ขวดใหม่
เงียบฉี่นายกอู้     ด่วนแท้ รถถัง
 
เสียงลือสั่งเล่าอ้าง   สารพัน
ตูนวิ่งการเมืองมันส์   เล่นลิ้น
บริจาคบ่เท่าทัน  เล่นเล่ห์  
ขอวิ่งบริจาคสิ้น   ไม่แพ้ กลโกง
 
จากคุณ: Ines_de_BK โพสเมื่อวันที่: 11/19/17 เวลา 15:51:15
หมอเมา?โยงข่าวขึ้ง     เสียงดัง
กลบวิ่งชะงัดจัง     ช่างเศร้า
กดทีหนึ่งโอนตัง     To พี่ ตูนเอย
พูดช่างหัวคนเฝ้า    เอ่ยอ้าง เหน็บแนม
 
จากคุณ: zinc โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 09:55:41
ผุ้เขียนคงไม่เข้าใจว่าเงินไม่ไห้คว้ามาจากอากาศหรือสป.สช.พิมพ์แบงค์เองได้ ขอรับถึงจะขอเทาไหร่จ่ายไม่อั้น  
แต่ได้จากการของบประมาณปีต่อปีแล้วเอามาจัดสรรเป็นหมวดๆไปดังที่ได้ชี้แจงให ้หน่วยบริการรับทราบทุกปีเช่นปีนี้ก็ดำเนินการแล้ว
ถ้าขืนให้กระทรวงสาสุขบริหารเงินเองก็นรกชัดๆผู้เขียนคงยังเด็กไร้เดียงสาอย ู่กระมัง เรื่องนี้คลี่คายไปในทางที่ดีมากแล้ว
ส่วนไอ้ที่น่าปวดหัวคือส่วนผู้ใช้เงินก็ใช้แบบไม่พอเพียงและกระทรวงก็เพิ่มป ัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอย่างมากเช่นการปรับแก้ฉ.8เป็นฉ.11
ดันใส่กลุ่มอื่นๆเข้าไปอีกก็ชิบ...หายกันซิขอรับ นี่ก็ไหนจะปรับเงินเดือนของลูกจ้างที่จะปรับทีรวบเดียวเต็มขั้นตามว.47อีก
ว่ากันจริงๆสายงานสาสุขมีรายจ่ายหยุมหยิมหลายส่วนน่าจะปรับแก้ให้มันไม่ลักห ลั่นกับสายในกระทรวงอื่นๆ
จากคุณ: zinc โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 10:01:21
ส่วนเรื่องDRGนั่นจะใช้ค่าเฉลี่ยประมาณการขอปีก่อนมาตั้งแล้วจ่ายไปถ้าเหลือ ก็เฉลี่ยคืนเหมือนปีที่แล้ว
แต่ถ้าขาดตอนปลายๆปีก็ต้องหารเงินที่เหลือไม่มีการแปะหนี้กันไว้เอาเงินปีหน ้ามาจ่ายเพราะจะกลายเป็นดินพอกหางหมู
รพ.แถวอีสานร่ำรวยกันมากมีเงินเหลือกันบางที่ถึง2000ล้านก็มีก็เพราะสะสมส่ว นต่างไว้มากครับ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 10:44:14
ทำไม รพ แถบ อีสาน รวยจังค่ะ  สงสัยอยู่  
แต่ได้ข่าว รพ ใหญ่ ก็เจ๊งเหมือนกัน เช่น รพ ศูนย์ ขอนแก่น
อันเป็นข่าวจากเพื่อนนะค่ะ  
แล้วทำไม ไม่จ่ายตามการใช้จริงอะค่ะ จะได้ สมดุล
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 10:45:03
เงินจำกัด แต่ คนไข้ไม่อ้น  อันนี้ ก็ไม่สมดุลตั้งแต่นโนบายแล้วค่ะ
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 10:51:52
สรุป ว่า สปสช เงินเหบือ แต่ บางรพ กำละงจะล้มละลายเหรอค่ะ
จากคุณ: หมอเมืองสยาม โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 12:18:54
    ยอดรับบริจาคสูงลิ่ว , ๑๑รพ.ยิ้มกริ่ม ? -" อย่ายิ้ม...ลงท้ายหักค่าใช้จ่ายเหี้ยนเตียน (เหลือขี้ปะติ๋ว)   เรื่องเดิมๆ "
จากคุณ: :: King of BANPU :: โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 14:03:27
on 11/20/17 เวลา 10:51:52, candy girl wrote:
สรุป ว่า สปสช เงินเหบือ แต่ บางรพ กำละงจะล้มละลายเหรอค่ะ

 
สปสช. เงินเหลือ เค้าเอาไปทำอะไรบ้างเหรอครับ?   Smiley
 
จากคุณ: candy girl โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 14:08:16
สนับสนุน ความ ไม่มีประโยชน์ของ สปสช   เก็บเงินไว้ ทำอะไร  ใน เมื่อ รพ ที่ รักษาคนไข้ บัตรทองกำลังจะล้มละลาย
จากคุณ: Dr._Panya โพสเมื่อวันที่: 11/20/17 เวลา 14:19:58
1. สปสช. เกิดมาจาก นโยบายประชานิยมของนักการเมือง/ พรรคการเมือง...ไม่ได้มีความจริงใจต่อ ชาติ/ ผู้ป่วยจริงๆหรอกครับ (เพราะว่า สมัยยังไม่มี สปสช. ประเทศไทย/ สาธารณสุขไทย ก็ยังอยู่กันได้ โดยที่ไม่มีปัญหาด้านสาธาณสุข เท่าปัจจุบันหลังจากที่ สปสช.เกิดแล้ว)
2. สปสช. เองก็เหลือเงิน/ มีเงินไม่มากนักหรอกครับ เพราะว่าเงินจำนวนที่ดูเหมือนมหาศาลนี้ ต้องจัดสรรให้พอกับ รพ. ของรัฐทั่วประเทศไทย จึงจ่ายเงิน/ จ่ายหนี้ทุกงวด ที่ถูกตามเก็บไม่ได้หมดหรอกครับ เพราะงั้นถ้าเหนียวได้ก็ต้องเหนียว ถ้ายืดได้ก็ต้องยืด ถ้าเบี้ยวได้ก็ต้องเบี้ยว อิ อิ อิ
 
ป.ล. อุตสาห์ตั้งกฎเกณฑ์/ DRG ไว้เพื่อจะได้ง่ายเงินไม่ Over นักแล้วนะครับ อิ อิ อิ (ถ้าจ่ายเงิน ตามจำนวนที่รักษาตามจริง ก็จะยิ่งถูกตามเก็บเงินมากมายกว่านี้อีกเยอะมากๆๆๆครับ )
จากคุณ: blitzs โพสเมื่อวันที่: 11/21/17 เวลา 09:29:44
on 11/19/17 เวลา 06:38:44, soon_soon wrote:
โรงพยาบาลของรัฐต้องรวมตัวกันไปฟ้องศาลปกครอง ว่า สปสช. เบี้ยวหนี้หน่วยงานของรัฐก่อให้เกิดความเสียหาย
 
เคยมีเเล้ว หรือยัง

 
   ไม่กล้าทำกันหรอก ใช่ว่าจะใจซื่อมือสะอาดกันทุกคน   ถูกขุดขึ้นมา จะแย่ ต่างคนต่างอยู่ เงินไม่มีจ่ายเป็นเรื่องของลูกน้อง ที่ต้องต้มมาม่ากินกันเอง  ผู้บริหารจะเครียดทำไม
จากคุณ: jubjeab โพสเมื่อวันที่: 01/23/18 เวลา 21:33:07
เอวัง


  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by