แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39882: หลักลงทุน 10 ข้อ  เซียนหุ้น VI พอร์ต 15,000 ล้าน ปริญญา เธียรวร  (จำนวนคนอ่าน 106 ครั้ง)
« เมื่อ: 03/31/24 เวลา 07:17:06 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

หลักลงทุน 10 ข้อ  
เซียนหุ้น VI พอร์ต 15,000 ล้าน
ปริญญา เธียรวร
 
 
หากพูดถึงนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่มีมูลค่าพอร์ตหลักหมื่นล้านบาทขึ้นไปนั้น ชื่อแรก ๆ ที่เรามักจะนึกถึงก็คือดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
 
แต่ยังมีนักลงทุนระดับหมื่นล้านบาทอีกคนหนึ่ง ที่ชื่ออาจไม่ค่อยคุ้นหู ของใครหลาย ๆ คน แต่มีหลักการลงทุนที่น่าสนใจ นั่นก็คือ คุณปริญญา เธียรวร
ปัจจุบัน คุณปริญญา มีมูลค่าพอร์ตการลงทุน สูงกว่า 15,000 ล้านบาท มีชื่อติดอยู่ในรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย ์ อยู่ในหลาย บริษัท

"Whether you think you can,
or you think you can't--you're right."

-- Henry Ford--
ส่งโดย: <<GOOD LIFE>>
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 952  
   
125.25.233.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 03/31/24 เวลา 07:18:24 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

มาดูว่าคุณปริญญามีหลักการลงทุนที่น่าสนใจอย่างไร จึงสามารถปั้นพอร์ตการลงทุน ให้เติบโตมาได้ขนาดนี้ ?
 
หลักการลงทุนของคุณปริญญา เธียรวร สามารถสรุปออกมาได้เป็น 10 ข้อ
 
1.รู้จักตัวเองว่า เราเป็นนักลงทุนประเภทไหน
จุดเริ่มต้นสำคัญของการลงทุนนั้น เราควรเริ่มต้นจากการรู้จักตัวเราเองก่อนว่า เรามีความสนใจในแนวทางการลงทุนแบบไหน จากนั้นก็ทำการศึกษาแนวทางการลงทุนแบบนั้นอย่างตั้งใจ และนำหลักการลงทุนนั้นมาใช้ไปตลอด อย่างกรณีของคุณปริญญา ที่เลือกเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ซึ่งเน้นลงทุนในระยะยาว โดยมีหลักในการลงทุนในหุ้น เสมือนว่าตัวเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัท

"Whether you think you can,
or you think you can't--you're right."

-- Henry Ford--
ส่งโดย: <<GOOD LIFE>>
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 952  
   
125.25.233.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 03/31/24 เวลา 07:19:04 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

2.รู้จักประเภทหุ้นต่าง ๆ เพื่อเลือกลงทุน
ก่อนที่จะลงทุนในหุ้นของบริษัทใดก็ตาม เราต้องรู้จักจำแนกประเภทของหุ้น เพื่อที่เราจะได้สามารถเลือกวิธีการวิเคราะห์ธุรกิจ ได้อย่างเหมาะสม
โดยหุ้นนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภทหลัก ๆ คือ
-หุ้นเติบโตช้า เป็นธุรกิจที่มั่นคง แต่ไม่เติบโต
-หุ้นเติบโตเร็ว เป็นธุรกิจที่ยอดขาย และกำไรเติบโตเร็ว
-หุ้นวัฏจักร เป็นธุรกิจที่ผลประกอบการ ขึ้นลงเป็นวัฏจักร
-หุ้นฟื้นตัว เป็นบริษัทที่กลับมาได้ จากการล้มละลาย
-หุ้นสินทรัพย์เยอะ เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ซ่อนอยู่
-หุ้นแข็งแกร่ง เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่ทนทานต่อวิกฤติ
 
หุ้นที่คุณปริญญาเลือกลงทุนนั้น จะมีเพียงแค่ หุ้นแข็งแกร่ง, หุ้นสินทรัพย์เยอะ และหุ้นเติบโตช้า เท่านั้น เพราะหุ้นทั้ง 3 ประเภทนี้ มีความปลอดภัยสูง และในระยะยาว พื้นฐานธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างช้า สาเหตุเพราะคุณปริญญาเอง ก็มีธุรกิจส่วนตัว ที่ต้องใช้เวลาในการบริหารจัดการมากพอสมควร จึงต้องออกแบบพอร์ตการลงทุน ที่ไม่ต้องใช้เวลาในการติดตามมากนัก

"Whether you think you can,
or you think you can't--you're right."

-- Henry Ford--
ส่งโดย: <<GOOD LIFE>>
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 952  
   
125.25.233.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 03/31/24 เวลา 07:19:37 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

3.ลงทุนในบริษัท ที่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทที่คุณปริญญาจะลงทุนนั้น จะต้องมีประวัติในการจ่ายเงินปันผลมาอย่างยาวนาน สม่ำเสมอ และจะต้องจ่ายเงินปันผลอย่างน้อย 5% ต่อปี
 
4.มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เป็นบวก อย่างสม่ำเสมอ และต้องไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิมากเกินไป
การที่บริษัทมีกระแสเงินสด จากกิจกรรมการดำเนินงาน น้อยกว่ากำไรสุทธิมากเกินไป มักจะมีอยู่ 2 กรณี คือ บริษัทมีลูกหนี้การค้ามากเกินไป หรือมีปัญหาเรื่องการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป ซึ่งปัญหาทั้ง 2 อย่างนี้ ถ้าหากบริษัทจัดการได้ไม่ดี ก็จะส่งผลต่อกระแสเงินสดจากการทำธุรกิจ และสร้างปัญหาสภาพคล่องให้กับบริษัท ในอนาคตได้

"Whether you think you can,
or you think you can't--you're right."

-- Henry Ford--
ส่งโดย: <<GOOD LIFE>>
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 952  
   
125.25.233.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 03/31/24 เวลา 07:20:28 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

5.ลงทุนในบริษัท ที่มีวงจรเงินสด สั้นกว่าค่าเฉลี่ย
วงจรเงินสด เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดว่า ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าที่เงินสดจะเข้าบริษัท โดยวัดตั้งแต่วันที่บริษัทเริ่มสั่งวัตถุดิบมาผลิตสินค้า ไปจนถึงวันที่ขายสินค้าออก โดยถ้าหากบริษัทมีวงจรเงินสดสั้น หมายความว่า บริษัทมีสภาพคล่องสูง มีเงินสดไหลเข้าบริษัทอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหากบริษัทมีวงจรเงินสดยาว หมายความว่า บริษัทมีสภาพคล่องต่ำ และอาจจะต้องไปกู้เงินมาหมุนเวียนในธุรกิจ ซึ่งหุ้นที่คุณปริญญาเลือกลงทุนนั้น จะต้องมีวงจรเงินสดที่สั้นกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ที่บริษัททำธุรกิจอยู่
 
6.ลงทุนในบริษัทที่มีหนี้สินน้อย
บริษัทที่คุณปริญญาสนใจนั้น จะต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ต่ำกว่า 2 เท่า
โดยวิธีการหาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ D/E Ratio สามารถคำนวณหาได้จาก นำหนี้สินรวม มาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Interest Bearing Debt to Equity Ratio จะคำนวณหาจาก การนำหนี้สินที่มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ย เช่น เงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมธนาคาร และหุ้นกู้ มารวมกัน แล้วหารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น

"Whether you think you can,
or you think you can't--you're right."

-- Henry Ford--
ส่งโดย: <<GOOD LIFE>>
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 952  
   
125.25.233.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 03/31/24 เวลา 07:21:04 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

7.ลงทุนในบริษัทที่มีผู้บริหารที่เก่ง และมีความซื่อสัตย์
คุณปริญญาบอกว่า บริษัทที่จะลงทุนนั้น จะต้องมีผู้บริหารที่เก่งด้วย เพราะการมีผู้บริหารที่เก่ง จะช่วยให้บริษัทมีผลประกอบการที่เติบโต และสามารถเอาตัวรอดได้ ในยามที่เกิดสถานการณ์ที่ยากลำบาก ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารที่เก่งอย่างเดียวก็ยังไม่พอ ผู้บริหารจะต้องมีความซื่อสัตย์ และมีธรรมาภิบาลสูงอีกด้วย
 
8.รอซื้อหุ้นของบริษัทพื้นฐานดี ในเวลาที่เหมาะสม
คุณปริญญาแนะนำว่า ถ้าหากเราหาหุ้นที่เข้าเงื่อนไขไม่ได้ สิ่งที่เราควรทำก็คือ การรอ และเก็บเงินสดเอาไว้ก่อน เพราะราคาของหุ้นจะไม่มีทางขึ้นไปได้ตลอดกาล สักวันหนึ่งราคาหุ้นจะตกลงมา และเมื่อราคาหุ้นอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยมากพอ จึงค่อยนำเงินที่เก็บออมไว้มาซื้อหุ้น
 
9.มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอย่างเหมาะสม
ในการลงทุนนั้น เราจะต้องคำนึงถึงเรื่องความเสี่ยงที่จะขาดทุนเอาไว้ตลอดเวลา วิธีในการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุด ก็คือ การกระจายความเสี่ยง โดยการลงทุนในหุ้นหลาย ๆ ตัว เหมือนอย่างคุณปริญญา ก็มีการกระจายการลงทุนไปในหุ้นหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น หุ้น MBK, หุ้น DMT, และหุ้น QH

"Whether you think you can,
or you think you can't--you're right."

-- Henry Ford--
ส่งโดย: <<GOOD LIFE>>
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 952  
   
125.25.233.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 03/31/24 เวลา 07:21:39 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

10.อดทนรวย และเป็นนักลงทุนแบบระยะยาว
การลงทุนนั้นเป็นเรื่องของเวลา คุณปริญญาจึงได้ให้คำแนะนำไว้ว่า เราต้องอดทนลงทุน ให้ได้มากกว่า 10 ปีขึ้นไป และเมื่อเราได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ในรูปแบบของทั้งเงินปันผลและส่วนต่างของราคาหุ้นมาแล้ว เราจะต้องนำกลับไปลงทุนเพิ่ม เพื่อให้ผลตอบแทนจากการลงทุนของเรา ทบต้นได้ต่อไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ เราควรสนใจความผันผวนระยะสั้นของราคาหุ้นที่เราถือให้น้อยลง เพราะการสนใจเรื่องราคาหุ้นมากเกินไป จะส่งผลให้จิตใจของเราหวั่นไหว และทำให้เราไม่มีความสุขในการลงทุนได้
 
หลักการลงทุนของคุณปริญญา เธียรวร ค่อนข้างเรียบง่ายและมีผลตอบแทนที่โดดเด่น  ด้วยหลักการ 10 ข้อนี้ หากเราสามารถนำหลักการลงทุนเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งของเราได้มากเลยทีเดี ยว

"Whether you think you can,
or you think you can't--you're right."

-- Henry Ford--
ส่งโดย: <<GOOD LIFE>>
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 952  
   
125.25.233.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by