แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39762: ยาจีน Qili Qiangxin ช่วยลดความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ  (จำนวนคนอ่าน 106 ครั้ง)
« เมื่อ: 08/31/23 เวลา 15:32:29 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

IQ-OnAugust26localtime.jpg
งานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรปชี้ ยาจีน Qili Qiangxin ช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำค ัญ
 
 
 ผลการวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่า การเพิ่มยาแพทย์แผนจีน ฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล (TCM Qili Qiangxin Capsules) ซึ่งพัฒนาและผลิตโดยบริษัท อี้หลิง ฟาร์มาซูติคัล (Yiling Pharmaceutical) ให้เป็นมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถลดความเสี่ยงในการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหล วที่มีอาการแย่ลง และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว เรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญ
 
 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ศาสตราจารย์ ซินลี่ หลี่ (Prof. Xinli Li) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ เปิดเผยผลการวิจัยดังกล่าวในระหว่างการประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology (ESC) Congress) ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการชั้นนำระดับโลกในสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือด จัดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
 
 ศาสตราจารย์ ซินลี่ หลี่ ชี้ให้เห็นว่า ผลการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง มีกลุ่มควบคุมด้วยยาหลอก และดำเนินการแบบพหุสถาบัน ซึ่งมีผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจำนวน 3,119 รายในโรงพยาบาล 133 แห่งทั่วจีนแผ่นดินใหญ่และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เข้าร่วมการวิจัยตลอดระยะเวลาการรักษา 12-36 เดือน พบว่า ฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดผลลัพธ์หลักร่วม (primary composite endpoint) กล่าวคือ การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลงและการเ สียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ลงได้ถึง 22%
 
 เมื่อปี 2556 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยโรคหัวใจอเม ริกัน "Journal of the American College of Cardiology" (JACC) ซึ่งเป็นวารสารด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดย JACC ยกย่องให้ ฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล เป็นความสำเร็จทางวิชาการที่โดดเด่นสำหรับปีนั้น "งานวิจัยนี้ยืนยันประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ของฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล และผลการเสริมฤทธิ์เมื่อใช้ร่วมกับยาแผนตะวันตก โดยให้ประโยชน์หลายประการสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว"
 
 สำหรับงานวิจัยล่าสุดนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นการวิจัยแบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลสองทาง และมีกลุ่มควบคุมด้วยยาหลอกครั้งแรกที่มุ่งเป้าไปที่ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ขอ งการใช้ยาแพทย์แผนจีนในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม ศาสตราจารย์ แคโรลีน แลม (Prof. Carolyn Sp Lam) ที่ปรึกษาอาวุโสแห่งศูนย์หัวใจแห่งชาติสิงคโปร์ (National Heart Centre Singapore) และโรงเรียนแพทย์ หยง ลู่ หลิน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS Yong Loo Lin School of Medicine) ซึ่งได้รับเชิญให้เข้าร่วมการอภิปรายในครั้งนี้ เน้นย้ำว่า งานวิจัยนี้นำเสนอหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล ซึ่งเป็นยาแผนโบราณที่ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวหลายล้านคนในประเทศจีนใช้กันอ ย่างแพร่หลาย โดยหลักฐานดังกล่าวยืนยันว่ายานี้สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจใ นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจาก ภาวะหัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลง และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนยืนยันข้อมูลความปลอดภัยในระยะยาวของยาด้วย งานวิจัยนี้ยกระดับหลักฐานทางคลินิกให้กับวงการการแพทย์แผนจีน พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานใหม่ด้านหลักฐานทางคลินิกสำหรับการแพทย์แผนโบราณ
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2197845/On_August_26_local_time_Prof_Xi nli_Li_delivered_academic.jpg
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2197846/On_August_26_local_time_Prof_Ca rolyn_Sp_Lam_a.jpg
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
58.82.140.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by