แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39751: ผู้บริหารทีทีวาย ไบโอฟาร์ม เผยกลยุทธ์ยกระดับการวิจัย mRNA ของไต้หวัน  (จำนวนคนอ่าน 118 ครั้ง)
« เมื่อ: 08/21/23 เวลา 15:31:17 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

สำรวจหาความต้องการ สร้างความร่วมมือ และผนึกกำลังกับภาครัฐ
 
เมื่อการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาทำให้ทั่วโลกตระหนักถึงศักยภาพของยา mRNA และอนุภาคนาโนไขมัน (LNP) ต่อภูมิคุ้มกันของมนุษย์มากขึ้น บรรดาผู้นำในอุตสาหกรรมต่างยอมรับความสามารถของเทคโนโลยี LNP ในการปรับปรุงการนำส่งยา mRNA โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพที่ว่านี้นับเป็นขอบเขตใหม่ในการคิดค้นทางเลือกเพ ื่อป้องกันและรักษา และดัน LNP ให้เป็นตัวแทนเทคนิคการรักษารุ่นใหม่ที่ก้าวล้ำ
 
โอกาสที่ปรากฏให้เห็นใหม่เหล่านี้ ทำให้มูลนิธิถังไพรซ์ (Tang Prize Foundation) เลือกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเทคโนโลยีชีวภาพไต้หวัน ถังไพรซ์ (Tang Prize Taiwan Biotechnology Forum) โดยเชิญผู้ได้รับรางวัลถังไพรซ์ ครั้งที่ 5 ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวเภสัชกรรมอย่างคุณคาทาลิน คาริโก (Katalin Karik?) ดรูว์ ไวส์แมน (Drew Weissman) และปีเตอร์ คัลลิส (Pieter Cullis) มาร่วมสำรวจภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยี mRNA กับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงจากสถาบันเคมีชีวภาพในสังกัดสถาบันอคาเดเมีย ซินิกา (Academia Sinica หรือ AS) อย่างคุณแอนดรูว์ เอช เจ หวัง (Andrew H.-J. Wang) ไปจนถึงคุณอี้จวง เฉิน (Yi-Juang Chern) รัฐมนตรีช่วยว่าการสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTC) และคุณซารา โฮว (Sara Hou) ซีอีโอของทีทีวาย ไบโอฟาร์ม (TTY Biopharm) โดยคุณซารา โฮว เป็นกระบอกเสียงสำคัญในอุตสาหกรรมนี้ และได้เข้ามากล่าวถึงประเด็นสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การจัดการกับความต้องการทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง การสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ และการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
 
ศาสตราจารย์หวังได้เข้ามาเผยทิศทางเชิงกลยุทธ์ของสถาบันอคาเดเมีย ซินิกา โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งทีมวิจัยและสร้างศูนย์นำร่อง GMP เพื่อบุกเบิกเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขณะที่คุณไวส์แมนนำเสนอข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างแข็งแกร่งในการควบคุมโรงงานผลิตระดับ GMP ในภูมิภาคต่าง ๆ ในฐานะที่ปรึกษาให้กับโครงการริเริ่มดังกล่าว
 
ส่วนทีทีวาย ไบโอฟาร์ม เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไลโปโซมที่เข้าร่วมการประชุมนี้ด้วย โดยคุณโฮวเน้นย้ำถึงความจำเป็นเบื้องต้นในการสำรวจหาความต้องการทางคลินิกที ่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง รวมถึงความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและโรคหายาก เพื่อผลักดันความก้าวหน้าในการพัฒนายา mRNA นอกจากนี้ คุณโฮวยังเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการส่งเสริมความร่วมมือเชิงกลย ุทธ์หลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมของตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้นซึ่งต้องหาทาง ลดเวลาในการออกสู่ตลาด สุดท้ายนี้ เธอเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของการแทรกแซงจากรัฐบาล เพื่อรวมและอำนวยความสะดวกในเรื่องทรัพยากร กฎระเบียบ และแพลตฟอร์มที่จำเป็น
 
คุณโฮวได้กล่าวคำปราศรัยปิดท้าย โดยเน้นย้ำว่า การใช้แนวทางแบบบูรณาการที่ครอบคลุมอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถาบันการศึกษา ทำให้ไต้หวันมีศักยภาพในการเร่งการวิจัยและพัฒนา (R&D) และเปิดตัวยานวัตกรรมใหม่ ๆ ในตลาด ซึ่งไม่เพียงแต่เข้ามาเปลี่ยนผลลัพธ์ให้ผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังยกระดับสถานะของไต้หวันในเวทีเทคโนโลยีชีวภาพระดับโลกอีกด้วย
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2189873/Sara_Hou___5___________________ _____Katalin_Karik_______Drew_Weissman.jpg
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.77.166.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by