แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39738: ความก้าวหน้าในการรักษา วินิจฉัย ลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์  (จำนวนคนอ่าน 136 ครั้ง)
« เมื่อ: 07/26/23 เวลา 08:33:37 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

งานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ชูความก้าวหน้าในกลยุทธ์การรักษา วินิจฉัย และลดความเสี่ยง
 
 
ผลการวิจัยครั้งใหม่ที่รายงานในงานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Association International Conference(R) หรือ AAIC(R)) ประจำปี 2566 เผยให้เห็นความครอบคลุมของงานวิจัยด้านโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม รวมถึงในเรื่องความก้าวหน้าในการรักษา ความรวดเร็วและแม่นยำในการวินิจฉัย และความเข้าใจของเราเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อ มอื่น ๆ
 
งานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์เป็นเวทีชั้นนำที่จัดทุกปี เปิดโอกาสให้นำเสนอและอภิปรายเกี่ยวกับการวิจัยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื ่อม โดยการประชุมในปีนี้จัดขึ้นทั้งแบบออนไลน์และตัวต่อตัวที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ดึงดูดผู้เข้าร่วมประชุมได้กว่า 10,000 ราย และมีการนำเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 3,000 รายการ
 
ความก้าวหน้าในการรักษา ผลการทดลองทางคลินิก สมาคมโรคอัลไซเมอร์ได้เผยให้เห็นผลลัพธ์จากการทดลอง ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ด้วยยาและไม่ใช้ยาที่งาน AAIC ประจำปี 2566
 
งาน AAIC ประจำปี 2566 ได้มีการเผยข้อมูลที่ใหม่และสมบูรณ์มากขึ้นโดยอีไล ลิลลี่ (Eli Lilly) จากการทดลองทางคลินิกในโครงการเทรลเบลเซอร์-เอแอลแซด 2 (TRAILBLAZER-ALZ 2) เฟส 3 ซึ่งนำยาโดนาเนแมบ (Donanemab) ไปใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการระยะแรก ซึ่งเมื่อได้ภาพรวมที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลลัพธ์ของยาโดนาเนแมบในเฟส 3 นี้แล้ว เราก็เห็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือเพิ่มเติมว่า การขจัดเบตาแอมีลอยด์ (beta amyloid) ออกจากสมองอย่างสิ้นเชิงสัมพันธ์กับการชะลอการลุกลามของโรคอย่างมีนัยสำคัญใ นผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์ระยะแรกเริ่ม ผลของการทดลองนี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า การเริ่มรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้นั้นช่วยให้เกิดผลประโยชน์ที่มา กขึ้น แต่ก็มีความเป็นไปได้ในการชะลอการลุกลามของโรคแม้เริ่มรักษาในภายหลังก็ตาม ความก้าวหน้าที่เราได้เห็นในการรักษาประเภทนี้ ตลอดจนความหลากหลายของวิธีการรักษาใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มอบความหวังให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคร้ายแรงนี้ได้
 
ภายในการประชุม AAIC ครั้งนี้ยังได้มีการเผยสองแนวทางใหม่ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยอาศัยการตัด ต่อยีน CRISPR ด้วย เพื่อลดผลกระทบจากยีนที่เสี่ยงทำให้เกิดอัลไซเมอร์มากที่สุดอย่าง APOE-e4 และมุ่งลดการผลิตโปรตีนที่เป็นพิษในสมองอย่างเบตาแอมีลอยด์ ซึ่งเป็นจุดเด่นของโรคอัลไซเมอร์และเป็นเป้าหมายของการรักษาที่เพิ่งได้รับก ารอนุมัติ เทคโนโลยี CRISPR ทำให้ระบุเป้าหมายของยาได้เร็วขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งกระบวนการค้นคว้ายา และสร้างแพลตฟอร์มไว้พัฒนาการรักษาแบบใหม่ ๆ ต่อไป
 
ภายในงาน AAIC ยังได้เผยให้เห็นการรักษาแบบไม่ใช้ยาด้วย รวมถึงผลลัพธ์จากการประเมินความสูงวัยและสุขภาพทางปัญญา (Aging and Cognitive Health Evaluation in Elders หรือ ACHIEVE) ซึ่งเป็นการทดลองเครื่องช่วยฟังทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่ใหญ่ที่ สุด เพื่อลดการเสื่อมของความรู้ความเข้าใจระยะยาวในผู้สูงอายุ แม้ผลลัพธ์เป็นลบในประชากรที่ศึกษาทั้งหมด แต่การแทรกแซงการได้ยินก็ช่วยชะลอการลดลงของความรู้ความเข้าใจในผู้สูงอายุท ี่มีการสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลางได้ถึง 48% ในกลุ่มอาสาสมัครที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งประกอบด้วยผู้เข้าร่วมการศึกษาสุขภาพหัวใจเชิงสังเกตอย่างต่อเนื่องทั้ง สิ้น 238 คน โดยการแทรกแซงเป็นเวลา 3 ปีนี้ อาศัยการใช้เครื่องช่วยฟัง "ชุดเครื่องมือ" สนับสนุนการได้ยิน ตลอดจนคำแนะนำและการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องกับนักตรวจการได้ยิน
 
การตรวจเลือด: นวัตกรรมใหม่ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่รายงานเป็นครั้งแรกที่งาน AAIC ประจำปี 2566 นั้นแสดงให้เห็นความเรียบง่าย ความสามารถในการส่งต่อ และคุณประโยชน์ในการวินิจฉัยของเครื่องมือทางชีวภาพที่ใช้เลือดในการตรวจโรค อัลไซเมอร์
 
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ได้รายงานผลจากการตรวจเลือดด้วยปลายนิ้วแบบง่าย ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพในการตรวจหาสัญญาณโรคอัลไซเมอร์โดยใช้เลือดหยดเดียวบ นสปอตการ์ดและจัดส่งข้ามคืนระหว่างสองประเทศ โดยไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิหรือทำให้เย็นลง ซึ่งหากวิจัยเพิ่มเติมจนยืนยันได้แน่ชัดแล้ว การทดสอบนี้อาจเสนอทางเลือกที่รวดเร็ว แผลเล็ก และประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งง่ายพอที่จะดำเนินการได้เองหรือให้ผู้ดูแลช่วยทำ อาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับใช้ในเขตชนบทหรือพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้อยกว ่า
 
ด้านทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน ได้ทำการศึกษาเพื่อตรวจสอบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพจากเลือดสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอ ร์ในการดูแลเบื้องต้นเป็นครั้งแรก และเปรียบเทียบกับความแม่นยำในการวินิจฉัยของแพทย์ระดับปฐมภูมิ ผลที่ได้คือการตรวจเลือดมีความแม่นยำมากกว่า 80% ในการระบุการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์ ซึ่งดีกว่าแพทย์ในการศึกษาวิจัยที่ไม่สามารถเข้าถึงการทดสอบแบบใหม่นี้ได้อย ่างมีนัยสำคัญ การตรวจเลือดสำหรับโรคอัลไซเมอร์มีศักยภาพที่ดีในการปรับปรุงการวินิจฉัยในร ะยะเริ่มต้น เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย และมอบการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างเหมาะสม
 
การใช้ยากลุ่มโอปิออยด์และการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
การวิจัยที่นำเสนอในการประชุม AAIC ปี 2566 พบว่า การใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความสัมพันธ์กับคว ามเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในการเสียชีวิต ซึ่งรวมถึงการเพิ่มขึ้น 11 เท่าในช่วงสองสัปดาห์แรก โดยนักวิจัยจากศูนย์วิจัยภาวะสมองเสื่อมแห่งเดนมาร์ก (Danish Dementia Research Center) ใช้ข้อมูลจากทุกคนในเดนมาร์กที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมระหว่างปี 2551 ถึง 2561 รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านและบ้านพักคนชรา ซึ่งในกลุ่มนี้ 42% ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมได้นำใบสั่งยาไปขอยาโอปิออย ด์ที่ร้านขายยา
 
ผลการศึกษาพบว่า 33.1% ของผู้เข้าร่วมการศึกษาเสียชีวิตภายใน 180 วันหลังจากเริ่มสั่งยาโอปิออยด์ครั้งแรก เทียบกับ 6.4% ของผู้ที่ไม่ได้รับโอปิออยด์เลย ซึ่งหลังจากปรับความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มต่าง ๆ แล้ว นักวิจัยพบว่าความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตนั้นเพิ่มขึ้นสี่เท่า ความเสี่ยงที่ว่านี้พบมากที่สุดในช่วง 14 วันแรก ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้ได้รับโอปิออยด์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 11 เท่า การค้นพบเบื้องต้นเหล่านี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการหารือระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวด
 
อาการท้องผูกเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของความรู้ความเข้าใจ งานวิจัยใหม่ซึ่งได้รับการเปิดเผยที่งาน AAIC นั้นแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพลำไส้กับสมอง โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิสต์ พบว่าผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง (ขับถ่ายทุก 3 วันหรือมากกว่า) มีการรับรู้ที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ เทียบเท่ากับอายุที่มากขึ้นตามลำดับเวลา 3 ปี เมื่อเทียบกับผู้ที่มีรูปแบบการเคลื่อนไหวของลำไส้ตามปกติ
 
นอกจากนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ซานอันโตนิโอ ยังพบแบคทีเรียในลำไส้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมอง เสื่อม เช่นเดียวกับแบคทีเรียในลำไส้ที่อาจมีผลหยุดยั้งชะลอความเสื่อมของระบบประสา ท โดยการวิจัยก่อนหน้านี้พบความสัมพันธ์ของสุขภาพและไมโครไบโอมในลำไส้ ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเรา ประกอบกับการทำงานที่สำคัญอื่น ๆ ของร่างกาย
 
การประมาณการความชุกของโรคอัลไซเมอร์ระดับเคาน์ตีครั้งแรกของสหรัฐอเมริกา
การประมาณการความชุกของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระดับเคาน์ตีทั่วประเทศเป็นคร ั้งแรกนี้ ครอบคลุม 3,142 เคาน์ตีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการเปิดเผยที่งาน AAIC ปี 2566 นักวิจัยจากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยรัชในชิคาโกพบว่า ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ มีความชุกสูงสุดของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โดยจำนวนผู้สูงอายุ คนผิวดำ และคนกลุ่มฮิสแปนิกที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อาจอธิบายความชุกที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเหล่านั้น จากที่แต่เดิมทุกกลุ่มที่ว่านี้ก็มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนี้อยู่แล้ว การค้นพบนี้สามารถช่วยแนะนำการจัดสรรทรัพยากรให้กับโครงการด้านสาธารณสุขสำห รับบุคคลและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโรคอัลไซเมอร์ในภูมิภาคเหล่านั้น
 
การเป็นอาสาสมัครในบั้นปลายชีวิตอาจส่งเสริมสุขภาพสมองได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ได้ประเมินพฤติกรรมการเป็นอาสาสมัครในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีความหลากห ลายทางเชื้อชาติ ซึ่งผลดังกล่าวรายงานเป็นครั้งแรกที่งาน AAIC ปี 2566 โดยพบว่าการเป็นอาสาสมัครมีความสัมพันธ์กับคะแนนพื้นฐานที่ดีกว่าในการทดสอบ ความจำ การคิด และการวางแผน นักวิจัยระบุว่าการเป็นอาสาสมัครอาจมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการรับรู้ในช่ วงบั้นปลายชีวิต และอาจเป็นวิธีง่าย ๆ ในการช่วยผู้สูงอายุป้องกันอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ
 
เกี่ยวกับการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ (AAIC(R))
การประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ (AAIC) เป็นการประชุมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโล ก และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ โดยนักวิจัยจากทั่วโลกจะมารวมตัวกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม รวมถึงให้การสนับสนุนชุมชนนักวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
โฮมเพจของ AAIC 2023: www.alz.org/aaic/ ห้องข่าวของ AAIC 2023: www.alz.org/aaic/pressroom.asp
แฮชแท็ก AAIC 2023: #AAIC23
 
เกี่ยวกับสมาคมโรคอัลไซเมอร์ สมาคมโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Association) เป็นองค์กรอาสาสมัครด้านสุขภาพชั้นนำของโลก ซึ่งอุทิศตนให้กับการดูแลรักษา การสนับสนุน และการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการกำจัดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมให้หมดไป ด้วยการสนับสนุนการวิจัยระดับโลก การลดความเสี่ยงของการเกิดโรค การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงการยกระดับคุณภาพการดูแลรักษา เพื่อทำให้โลกของเราปราศจากโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมทั้งหมด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ alz.org หรือโทรสายด่วน 800.272.3900
 
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/215508 ... 3_Logo.jpg
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
118.174.70.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 08/02/23 เวลา 21:34:51 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ส่งโดย: Meeraksa
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 511  
   
49.228.96.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by