แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39507: "เอ็มจีไอ" พร้อมหนุนโรดแมปเวชศาสตร์จีโนมไทย  (จำนวนคนอ่าน 131 ครั้ง)
« เมื่อ: 11/02/22 เวลา 12:18:57 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

"เอ็มจีไอ" พร้อมหนุนโรดแมปเวชศาสตร์จีโนมไทย ภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย
 
 
บริษัท เอ็มจีไอเทค จำกัด (MGI) ผู้พัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีหลักในการขับเคลื่อนชีววิทยาศาสตร์ (life sciences) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์*ในการวิเคราะห์ลำดับจีโนมของคนไทย 50,000 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย ที่มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการวิจัยเวชศาสตร์จีโ นม (Genomic Medicine) พร้อมพัฒนามาตรฐานการจัดการทางการแพทย์แก่ประชาชนทั่วไป
 
ดร.รอย ตัน ผู้จัดการทั่วไป MGI Asia Pacific กล่าวว่า "MGI มีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยด้านจีโนมและพัฒนานวัตกรรมในประเ ทศไทย และพร้อมส่งมอบเครื่องจัดลำดับจีโนมสมรรถนะสูงรุ่น DNBSEQ-T7RS* จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ล้ำหน้าทั้งในด้านการรองรับปริมาณตัวอย่างจำนวนมากขึ้น และมีราคาเหมาะสมสำหรับนักวิจัย เราเชื่อมั่นว่าจะมีการใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภา พ สามารถตอบโจทย์การพัฒนาบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ให้มีคุณภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในประเทศไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม"
 
โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย เปิดตัวในปี 2562 โดยการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 5 ปีนี้ มีเป้าหมายในการสร้างคลังข้อมูลทางการแพทย์ที่สมบูรณ์และครบถ้วนที่สุดแห่งห นึ่งในภูมิภาค โดยการจัดระบบข้อมูลจีโนมของคนไทย 50,000 คน ซึ่งการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขและเสริมขีดความสามารถในการแข่งขั นด้านเวชศาสตร์จีโนมของไทยนี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจีโนมเฉพาะของคนไทยที่มีความซับซ้อนได้ดียิ่ งขึ้น อันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสู่การวินิจฉัยจำเพาะบุคคล (personalized diagnostics) การเลือกใช้ยา และการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคหายากและไม่ได้รับการวินิจฉัย โรคไม่ติดต่อ และโรคเภสัชพันธุศาสตร์
 
แพลตฟอร์มวิเคราะการจัดลำดับจีโนมรุ่น DNBSEQ-T7RS* ทั้งสองเครื่องติดตั้งไว้ที่มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย จะมีบทบาทช่วยเสริมขีดความสามารถในการจัดลำดับจีโนม และภาพรวมด้านขีดความสามารถในการป้องกัน วินิจฉัย และการรักษาที่แม่นยำ นอกจากนี้ นักวิจัยของไทยยังสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ในการศึกษาข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ด้านชีววิทยา ทำความเข้าใจโรคมะเร็งที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่นวัตกรรมหรือการค้นพบใหม่ ๆ ได้ในขณะเดียวกัน
 
แพลตฟอร์มวิเคราะห์การจัดลำดับจีโนม DNBSEQ-T7RS* ทำงานด้วยสมองกลของชิป 4 ตัวที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหลัก DNBSEQTM ของ MGI สามารถประมวลข้อมูลต่อวันได้ถึง 6 เทระไบต์ (Tb) และวิเคราะห์ 60 จีโนมมนุษย์อย่างครบถ้วนได้ในแต่ละวัน ความสามารถในการรองรับข้อมูลปริมาณมากเป็นพิเศษ พร้อมด้วยประสิทธิภาพและการประมวลผลที่ตอบโจทย์ ทำให้ DNBSEQ-T7RS* เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการนำไปใช้ในหลายด้าน อาทิ การถอดรหัสทั้งจีโนม (whole genome sequencing) ถอดรหัสเอ็กโซมเชิงลึก (deep exome sequencing) วิเคราะห์เอพิจีโนมหรือกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenome sequencing) วิเคราะห์ลำดับเบสของอาร์เอ็นเอ (transcriptome sequencing) วิเคราะห์กลุ่มโรคมะเร็ง (tumor panel) รวมทั้งรองรับโครงการถอดรหัสพันธุกรรมขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทที่โดดเด่นในด้านการแพทย์คลินิก (clinical medicine) การป้องกันและควบคุมโรค การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และด้านอื่น ๆ ด้วย เทคโนโลยีนี้จึงเป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมมีความแม่นยำสูง
 
ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับวิเคราะห์การจัดลำดับจีโนมที่มีต้นทุนลดต่ำล ง ทำให้รัฐบาลทั่วโลกให้การสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินโครงการวิเคราะห์ลำดับจ ีโนมในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ และส่งผลให้มีความต้องการที่สูงขึ้นสำหรับแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสมรรถนะสูงเพื่ อวิเคราะห์การจัดลำดับจีโนม ทั้งในด้านปริมาณข้อมูล (throughput) ต้นทุน ความถูกต้องแม่นยำ และความอัจฉริยะของระบบ ซึ่งแพลตฟอร์ม DNBSEQTM ของ MGI* ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถรองรับการวิเคราะห์ลำดับจีโนมได้มากเป็นพิเศษ มีต้นทุนต่ำ และทำงานด้วยระบบอัตโนมัติทั้งหมด ครอบคลุมการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างจนถึงการจัดทำรายงาน เทคโนโลยีนี้จึงมีประสิทธิภาพสูงและตอบโจทย์การวิจัยจีโนมในประชากรขนาดใหญ่  โดยเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 เทคโนโลยีวิเคราะห์การจัดลำดับจีโนมและระบบอัตโนมัติของ MGI ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้โครงการจีโนมแห่งชาติ ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ MGI ในการส่งเสริมให้เทคโนโลยีวิเคราะห์การจัดลำดับจีโนมสามารถเข้าถึงได้มากขึ้ นในยุคของจีโนมิกส์
 
เกี่ยวกับ MGI
 
บริษัท เอ็มจีไอเทค จำกัด (MGI) มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีหลักในการขับเคลื่อนชีววิทย าศาสตร์ (life sciences) ให้ก้าวหน้า ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมอัจฉริยะ การมีเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของ MGI ส่งผลให้บริษัทสามารถวิจัยและพัฒนา ผลิตและจำหน่ายเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์จัดลำดับ ตัวทำปฏิกิริยา และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์ การเกษตร การแพทย์และการดูแลสุขภาพที่แม่นยำหรือจำเพาะ MGI นับเป็นผู้ผลิตชั้นนำด้านเครื่องมือวิเคราะห์การจัดลำดับจีโนมประสิทธิภาพสู งที่ใช้ในทางการแพทย์* และมีแพลตฟอร์มมัลติโอมิกส์รองรับการวิเคราะห์ลำดับพันธุกรรม (genetic sequencing)* การสร้างภาพทางการแพทย์ (medical imaging) และระบบอัตโนมัติในห้องปฏิบัติการ MGI มีพันธกิจในการพัฒนาและส่งเสริมเครื่องมือหรือเทคโนโลยีขั้นสูงด้านชีววิทยา ศาสตร์ เพื่อรองรับการดูแลสุขภาพในอนาคต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามทางเว็บไซต์ของ MGI หรือทาง Twitter, LinkedIn หรือ YouTube  
 
*หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ตัวทำปฏิกิริยาในระบบ StandardMPS และ CoolMPS และเครื่องวิเคราะห์การจัดลำดับที่ใช้กับตัวทำปฏิกิริยาดังกล่าว ไม่มีให้บริการในเยอรมนี สเปน สหราชอาณาจักร ฮ่องกง สวีเดน เบลเยียม อิตาลี ฟินแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สวิตเซอร์แลนด์ โปรตุเกส ออสเตรีย และโรมาเนีย และจะไม่สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ StandardMPS ในสหรัฐอเมริกาได้จนกว่าจะหลังวันที่ 1 มกราคม 2566 ไปแล้ว
 
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
124.120.140.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by