แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39481: NCCN เผยแพร่แบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยฉบับปรับปรุง  (จำนวนคนอ่าน 169 ครั้ง)
« เมื่อ: 10/10/22 เวลา 11:12:35 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

แบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยจากเครือข่ายมะเร็งครบวงจรแห่งชาติ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกได้รับการดูแลรักษาที่ดีขึ้น ผ่านการพูดคุยและแนะนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการสุขภาวะทางจิต
 
เครือข่ายมะเร็งครบวงจรแห่งชาติ (National Comprehensive Cancer Network(R) หรือ NCCN(R)) ประกาศว่า แบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วย (NCCN Distress Thermometer) ฉบับปรับปรุง พร้อมให้ใช้งานฟรีในกว่า 70 ภาษา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยทั่วโลกสามารถระบุและจัดการกับสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดควา มเครียด ซึ่งอาจทำให้การรับมือกับการป่วยด้วยโรคมะเร็ง อาการของโรค หรือการรักษา มีความท้าทายมากกว่าเดิม ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นเนื่องในวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความต้องการด้านสุขภาพจิตทั่ว โลก และทรัพยากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
"แบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยช่วยให้การพูดคุยเกี่ยวกับความทุกข์ของผู้ป่ วยกลายเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นมาตรฐานของการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็งมาตั ้งแต่ปี 2540" พญ. มิเชล ริบา (Michelle Riba) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จากศูนย์มะเร็งโรเกลแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan Rogel Cancer Center) ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการด้านการจัดการภาวะทุกข์ ฝ่ายแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านมะเร็งวิทยา (NCCN Guidelines(R)) กล่าว "เราเพิ่งยกเครื่องแบบประเมินฟรีที่ยาวเพียงหนึ่งหน้าเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้ นและมีความครบถ้วนมากขึ้น การประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยควรเป็นสิ่งที่ทำเป็นประจำในการดูแลผู้ป่วยโร คมะเร็งทุกคนและทุกที่ เราหวังว่าการปรับปรุงแบบประเมินให้ใช้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น และเข้าถึงง่ายขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคนได้รับการดูแลอย่างที่ต้องการ เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"  
 
แบบประเมินดังกล่าวประกอบด้วยสเกลง่าย ๆ สำหรับวัดระดับความทุกข์ของผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมีรายการตรวจสอบ (checklist) ที่เข้าใจง่ายและครอบคลุมหลายส่วน ได้แก่
 
ทางร่างกาย
ทางอารมณ์
ทางการปฏิบัติ
ทางสังคม
ทางจิตวิญญาณหรือศาสนา
นอกเหนือจากแบบประเมินภาวะทุกข์และรายการปัญหาของผู้ป่วย (NCCN Distress Thermometer and Problem List) ความยาวหนึ่งหน้าแล้ว ยังมีแนวปฏิบัติเพื่อจัดการความทุกข์ (NCCN Guidelines(R) for Distress Management) ที่ประกอบด้วยคำแนะนำที่มีหลักฐานอ้างอิงและได้รับฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะ และยังมีแนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย : การรับมือกับความทุกข์ระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง (NCCN Guidelines for Patients(R): Distress During Cancer Care) ซึ่งให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันแต่เข้าใจง่ายกว่า เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องการดูแลรักษา
 
แบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยฉบับปรับปรุงที่ได้รับการแปลหลายภาษา นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามอย่างต่อเนื่องของ NCCN ในการช่วยให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเข้าถึงแนวปฏิบัติของ NCCN และทรัพยากรทางคลินิกที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น โดยนอกเหนือจากภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีการเผยแพร่แบบประเมินในภาษาต่าง ๆ ดังนี้
 
อาฟรีกานส์   ฮินดี   โปรตุเกส *
แอลเบเนีย     ม้ง   ปัญจาบ
อัมฮารา  ฮังการี   โรมาเนีย
อาหรับ     ไอซ์แลนด์   รัสเซีย
อาร์มีเนีย   อิกโบ  เซอร์เบีย
เบงกอล   อินโดนีเซีย   สโลวัก
บัลแกเรีย   อิตาลี   สโลวีเนีย
พม่า   ญี่ปุ่น   โซมาลี
กาตาลา   ชวา   สเปน *
จีน *   เขมร   สวาฮีลี
โครเอเชีย     เกาหลี   สวีเดน
เช็ก   เคิร์ด  ตากาล็อก
เดนมาร์ก   ลัตเวีย   ทมิฬ
ดัตช์   ลิทัวเนีย   เตลูกู
เอสโตเนีย   มาซิโดเนีย   ไทย
ฟินแลนด์   มาเลย์  ตุรกี
ฝรั่งเศส *   มลยาฬัม   ยูเครน
กาลิเซีย  มราฐี  อูรดู
จอร์เจีย   เนปาล  เวียดนาม
เยอรมัน   นอร์เวย์   โยรูบา
กรีก   โอโรโม   ซูลู
ฮัวซา  เปอร์เซีย  
ฮีบรู   โปแลนด์  
* แบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยในภาษาเหล่านี้มีการเผยแพร่หลายเวอร์ชัน
 
"ในวันสุขภาพจิตโลกและทุก ๆ วัน เราต้องการตอกย้ำข้อเท็จจริงที่ว่า การจัดการกับความทุกข์ทางอารมณ์คือส่วนสำคัญของการดูแลรักษาผู้ป่วย" นพ. โรเบิร์ต ดับเบิลยู. คาร์ลสัน (Robert W. Carlson) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ NCCN กล่าว "เราหวังว่างานของเราจะช่วยลดการตีตราหรือภาระ ด้วยการช่วยให้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับสุขภาวะทางอารมณ์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง"
 
เมื่อไม่นานมานี้ คณะนักวิจัยอิสระได้เผยแพร่ผลการศึกษาด้านจิตวิทยา-มะเร็งวิทยา (Psycho-Oncology) โดยมีการพิจารณาบทความที่ตรวจสอบการใช้แบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยใน 25 ประเทศ รวม 39 บทความ และระบุว่า "เครื่องมือนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุน ให้เกิดการพูดคุยกัน"
 
ดาวน์โหลดแบบประเมินภาวะทุกข์ของผู้ป่วยฉบับแปลได้ที่ https://www.nccn.org/global/what-we-do/distress-thermometer-tool-transla tions
 
กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ https://www.nccn.org/global/global-program เพื่อเข้าถึงทรัพยากรฟรีในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งในหลายภูมิภาคและหลายภาษา  และร่วมพูดคุยออนไลน์ด้วยการติดแฮชแท็ก #NCCNGlobal
 
เกี่ยวกับเครือข่ายมะเร็งครบวงจรแห่งชาติ
เครือข่ายมะเร็งครบวงจรแห่งชาติ (National Comprehensive Cancer Network(R) หรือ NCCN(R) ) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เกิดจากความร่วมมือของบรรดาศูนย์มะเร็งชั้นนำท ี่อุทิศตนเพื่อการดูแลผู้ป่วย การวิจัย และการศึกษา โดยมีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการเข้าถึงการรักษา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านมะเร็งวิทยา (NCCN Guidelines(R)) และโครงการอื่น ๆ สามารถดูได้ที่ NCCN.org หรือติดตามเฟซบุ๊ก @NCCNorg อินสตาแกรม @NCCNorg และทวิตเตอร์ @NCCN
 
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
ราเชล ดาร์วิน ( Rachel Darwin)
โทร : 267-622-6624
อีเมล : darwin@nccn.org
 
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1913527/2022_Distress_Thermometer_horiz ontal.jpg
 
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/441768/NCCN_Logo.jpg
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
96.30.79.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by