แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39406: การเหยียดเชื้อชาติเชื่อมโยงกับความจำไม่ดีและการเสื่อมถอยของสมอง  (จำนวนคนอ่าน 191 ครั้ง)
« เมื่อ: 08/05/22 เวลา 14:56:47 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การมีประสบการณ์เผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติเชิงโครงสร้าง ระหว่างบุคคล และเชิงสถาบัน มีความเชื่อมโยงกับคะแนนความจำที่ต่ำกว่าและการทำงานรู้คิดของสมองที่เสื่อม ถอยลงในช่วงวัยกลางคนและวัยชรา โดยเฉพาะในกลุ่มชาวผิวดำ จากการศึกษาวิจัยที่นำเสนอในวันนี้ภายในงานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร ์ ประจำปี 2565 หรือ Alzheimer's Association International Conference(R) (AAIC(R)) 2022 ซึ่งจัดขึ้นในเมืองซานดิเอโกและทางออนไลน์
 
ข้อค้นพบสำคัญที่มีการรายงานภายในงานประชุม AAIC ประจำปี 2565 นี้ ประกอบด้วย
 
ในการศึกษาวิจัยกับผู้ใหญ่วัยกลางคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนจำนวนเกือบ 1 ,000 คน (ชาวลาติน 55%, ชาวผิวดำ 23% และชาวผิวขาว 19%) พบว่าการเผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติระหว่างบุคคลและเชิงสถาบันมีความเชื่อมโ ยงกับคะแนนความจำที่ต่ำกว่า และความเชื่อมโยงเหล่านี้พบในกลุ่มบุคคลผิวดำ ขณะที่การมีประสบการณ์เผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติเชิงโครงสร้างมีความเชื่อม โยงกับความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) ที่ต่ำกว่าในทุกกลุ่มสีผิวและชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องในการศึกษาวิจัยนี้
ในการศึกษาวิจัยกับบุคคลชาวเอเชีย ผิวดำ ลาติน ผิวขาว และบุคคลหลายเชื้อชาติอายุ 90 ปีขึ้นไปจำนวน 445 คน พบว่าบุคคลที่เคยประสบกับการเลือกปฏิบัติหลากหลายรูปแบบตลอดชีวิตมีความจำอา ศัยความหมาย ( semantic memory) ในตอนปลายของชีวิตต่ำกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่เคยประสบกับการเลือกปฏิบัติในระดับน้อยถึงไม่เคยเลย
"เพื่อที่จะบรรลุความเสมอภาคด้านสุขภาพ เป็นก้าวหนึ่งของการมุ่งสู่การให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มคนอย่างสมบูรณ์ ปัจเจกบุคคลและสังคมต้องระบุและลดการเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติในรู ปแบบอื่น ๆ" คาร์ล วี ฮิลล์ (Carl V. Hill) ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความหลากหลาย ความเสมอภาค และการให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มคน สมาคมอัลไซเมอร์ กล่าว "เราต้องสร้างสังคมที่ผู้ขาดแคลนการเข้าถึงบริการ ผู้ได้รับผลกระทบอย่างไม่สมส่วน และผู้ไม่ได้รับโอกาส ได้รับการดูแลและมีคุณค่า"
 
รายงานหัวข้อ "ข้อเท็จจริงและตัวเลขเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ประจำปี 2565" (2022 Alzheimer's Disease Facts and Figures) ของสมาคมอัลไซเมอร์ พบว่า ชาวผิวดำมีแนวโน้มสูงกว่าสองเท่าตัวและชาวฮิสแปนิก/ชาวลาตินมีแนวโน้มสูงกว่ าหนึ่งเท่าตัวครึ่งที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือมีภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ
 
ประเภทและประสบการณ์ที่หลากหลายของการเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติเชิ งโครงสร้างมีส่วนก่อความไม่เสมอภาคทั้งระบบ รวมถึงสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ การศึกษาช่วงต้นของชีวิตที่มีคุณภาพต่ำกว่า และการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพและบริการการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมในร ะดับที่น้อยกว่า ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและโดยรวม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมองระหว่างช่วงชีวิตในกลุ่มประชากรชา วผิวดำ/แอฟริกันอเมริกัน ฮิสแปนิก/ลาติน และกลุ่มชุมชนอื่น ๆ
 
"ความแตกต่างเหลื่อมล้ำกันทั้งระบบเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับการมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรปกป้องสุขภาพที่สำคัญได้น้อยกว่า อย่างเช่น การดูแลคุณภาพสูงและเครือข่ายทางสังคมที่ให้ข้อมูลและการสนับสนุนด้านสุขภาพ ที่มีประโยชน์" บาทหลวงมิเรียม เจ เบอร์เน็ตต์ (Rev. Miriam J. Burnett) แพทย์หญิง สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ประจำคณะกรรมาธิการสุขภาพระหว่างประเทศ คริสตจักรเอพิสโกพัลเมธอดิสต์แอฟริกัน (African Methodist Episcopal Church International Health Commission) กล่าว
 
"การขาดแคลนทรัพยากรที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดและแพร่หลาย ประกอบกับปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความแตกต่างในผลลัพธ์ทางสุขภาพอื่น ๆ อย่างเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และเบาหวาน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ" ดร.อาดรีอานา เปเรซ (Adriana Perez) ประกาศนียบัตรพยาบาลเวชปฏิบัติ CRNP, ANP-BC, FAAN และ FGSA ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) และสมาชิกสมาคมพยาบาลฮิสแปนิกแห่งชาติ (National Association of Hispanic Nurses) กล่าว
 
การเหยียดเชื้อชาติหลายระดับเชื่อมโยงกับคะแนนความจำที่ต่ำกว่า
 
งานวิจัยชี้ว่าการเหยียดเชื้อชาติระหว่างบุคคลและเชิงโครงสร้างเป็นปัจจัยก่ อความแตกต่างเหลื่อมล้ำระหว่างเชื้อชาติและชาติพันธุ์ในการเสื่อมถอยของการท ำงานรู้คิดของสมอง อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจน้อยเกี่ยวกับอิทธิพลของการเหยียดเชื้อชาติหลายระดับต่อการท ำงานรู้คิดของสมองตลอดช่วงชีวิต เพื่อจัดการกับช่องว่างทางความรู้นี้ ดร.โดมินิก้า เชโบลวา ( Dominika ?eblov?) นักวิจัยหลังปริญญาเอก ศูนย์เกอร์รูด เอช เซอร์เจียฟสกี (Gertrude H. Sergievsky Center) ศูนย์การแพทย์เออร์วิง มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University Irving Medical Center) ร่วมกับทีมนักวิจัยสหวิทยาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านความเสมอภาคทางสุขภาพ ได้ประเมินประสบการณ์การเหยียดเชื้อชาติระหว่างบุคคล เชิงสถาบัน และเชิงโครงสร้างในผู้ใหญ่วัยกลางคนจำนวน 942 ราย (อายุเฉลี่ย = 55 ปี เพศหญิง 64% ชาวลาติน 55% ชาวผิวดำที่ไม่ใช่ชาวลาติน 19% ชาวผิวขาวที่ไม่ใช่ชาวลาติน 19%)
 
ผู้เข้าร่วมการวิจัยชาวผิวดำเคยเผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติสูงที่สุดในทุกระ ดับ และเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเติบโตและอาศัยอยู่ในพื้นที่แบ่งแยกที่ขึ้นชื่อว ่าขาดแคลนทรัพยากรเนื่องจากการขาดการลงทุนเชิงสถาบันในย่านที่อยู่อาศัยของช าวผิวดำ ผู้เข้าร่วมการวิจัยชาวผิวดำเคยประสบกับการละเมิดสิทธิพลเมืองเฉลี่ย 6 ครั้งตลอดช่วงชีวิต และเคยเผชิญกับการเลือกปฏิบัติระหว่างบุคคลอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ประสบการณ์เหล่านี้เชื่อมโยงกับคะแนนความจำที่ต่ำกว่า โดยระดับของการเชื่อมโยงอยู่ที่ 1-3 ปีของอายุทางปฏิทิน ขณะที่การเหยียดเชื้อชาติเชิงโครงสร้างเชื่อมโยงกับความจำอาศัยเหตุการณ์ที่ ลดลงในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
 
"การเผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติระหว่างบุคคลติดต่อกันเป็ นเวลานานในกลุ่มคนชายขอบ นำไปสู่ความเครียดที่ส่งผลต่อร่างกายและมีอิทธิพลต่อสุขภาพเชิงสรีรวิทยาโดย รวม และมีแนวโน้มจะส่งผลต่อการพัฒนาของการเสื่อมถอยของสมอง" ดร.เจนนิเฟอร์ แมนลี (Jennifer Manly) อาจารย์ด้านประสาทจิตวิทยา ศูนย์การแพทย์เออร์วิง มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และผู้นิพนธ์อาวุโสของงานนี้ กล่าว "โดยรวมแล้ว ข้อค้นพบของเราบ่งชี้ว่าการเหยียดเชื้อชาติส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมอง และมีส่วนก่อให้เกิดปัญหาโรคอัลไซเมอร์อย่างไม่เป็นธรรมในกลุ่มคนชายขอบ"
 
การทำงานรู้คิดของสมองที่ด้อยกว่าในกลุ่มผู้สูงอายุตอนปลายเชื่อมโยงกับประส บการณ์เผชิญกับการเลือกปฏิบัติ
 
การเลือกปฏิบัติเป็นสาเหตุพื้นฐานของความไม่เสมอภาคทางสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการเลือกปฏิบัติมีผลต่อความแตกต่างในการเสื่อมถอ ยของสมองระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุตอนปลายหรือไม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่บางครั้งเรียกว่าผู้สูงอายุระดับสุดยอด ( super ager) เพื่อตอบคำถามนี้ ดร.คริสเตน จอร์จ (Kristen George) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (University of California, Davis) และเพื่อนร่วมงาน ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเผชิญกับการเลือกปฏิบัติครั้งใหญ่ ตลอดชีวิตกับการทำงานและการเสื่อมถอยของสมองในกลุ่มประชากรที่หลากหลายชาวเอ เชีย ผิวดำ ผิวขาว ลาติน และบุคคลหลายเชื้อชาติ ในการศึกษาวิจัยชื่อว่าชีวิตหลัง 90 (Life After 90 หรือ LA90)
 
ในผู้เข้าร่วมจำนวน 468 ราย (ชาวเอเชีย 20.5% ชาวผิวดำ 21.8% ชาวลาติน 14.5% ชาวผิวขาว 35.7% และบุคคลหลายเชื้อชาติ 7.5%) มีอายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมอยู่ที่ 93 ปี ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้ทำแบบประเมินการทำงานรู้คิดของสมอง 3 ครั้งในระยะเวลาเฉลี่ย 1.2 ปี และผู้เข้าร่วมรายงานประสบการณ์การเผชิญกับการเลือกปฏิบัติครั้งใหญ่ตลอดชีว ิตในแบบสอบถาม และได้รับการจัดกลุ่มจากคำตอบ
 
กลุ่ม 1 รายงานว่าเคยเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน (ได้แก่ ถูกไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ได้รับการว่าจ้าง ไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง) และประกอบด้วยผู้ชายผิวขาวเป็นส่วนใหญ่
กลุ่ม 2 รายงานว่าเคยเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในระดับน้อยถึงไม่เคยเลยตลอดช่วงชีวิต ประกอบด้วยผู้หญิงผิวขาว ผู้ใหญ่สูงวัยชาวเอเชีย ผิวดำ และลาติน
กลุ่ม 3 รายงานว่าเคยประสบกับการเลือกปฏิบัติในหลายบริบท (ที่ทำงาน การเงิน ที่อยู่อาศัย ฯลฯ) และทั้งหมดในกลุ่มนี้ไม่ใช่ชาวผิวขาว
ผู้วิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมในกลุ่ม 1 (การเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน) มีเส้นฐานความสามารถของสมองในระดับสูงกว่าในแง่ของความสามารถของสมองด้านการ บริหารจัดการ ( executive function) และความจำอาศัยความหมายเมื่อเทียบกับกลุ่ม 2 (ไม่เคยประสบกับการเลือกปฏิบัติ) ขณะที่กลุ่ม 3 (เคยประสบกับการเลือกปฏิบัติอย่างหลากหลาย) มีความจำอาศัยความหมายที่ระดับเส้นฐานแย่ที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่ม 2 ทั้งนี้ระหว่างทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างด้านการเสื่อมถอยของสมองเมื่อเวลาผ่ านไป
 
"ข้อค้นพบเหล่านี้เน้นย้ำว่าในกลุ่มผู้สูงอายุตอนปลาย ความไม่เสมอภาคด้านการทำงานรู้คิดของสมองยังคงมีอยู่หลังจากพิจารณาประสบการ ณ์การเผชิญกับการเลือกปฏิบัติครั้งสำคัญตลอดชีวิต" จอร์จ กล่าว "แม้ประชากรกลุ่มนี้จะมีอายุยืนยาว แต่การเลือกปฏิบัติก็ได้ส่งผลกระทบที่ไม่อาจย้อนคืนได้ต่อสุขภาพของสมอง เช่นนี้ผู้ใหญ่ที่เป็นผู้สูงอายุตอนปลายยังคงได้รับประโยชน์จากความพยายามใน การขจัดและแก้ไขความแตกต่างเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ"
 
เกี่ยวกับการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ (AAIC(R))
 
การประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ ( AAIC) เป็นการประชุมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโล ก และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ โดยนักวิจัยจากทั่วโลกจะมารวมตัวกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม รวมถึงให้การสนับสนุนชุมชนนักวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
โฮมเพจของ AAIC 2022: www.alz.org/aaic/
ห้องข่าวของ AAIC 2022: www.alz.org/aaic/pressroom.asp
แฮชแท็ก AAIC 2022: #AAIC22
 
เกี่ยวกับสมาคมโรคอัลไซเมอร์
 
สมาคมโรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Association) เป็นองค์กรอาสาสมัครด้านสุขภาพชั้นนำของโลก ซึ่งอุทิศตนให้กับการดูแลรักษา การสนับสนุน และการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการกำจัดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมให้หมดไป ด้วยการสนับสนุนการวิจัยระดับโลก การลดความเสี่ยงของการเกิดโรค การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงการยกระดับคุณภาพการดูแลรักษา เพื่อทำให้โลกของเราปราศจากโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมทั้งหมด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ alz.org หรือโทรสายด่วน 800.272.3900
 
โลโก้ -  https://mma.prnewswire.com/media/1869584/AAIC22_purple_font_rgb_Logo.jpg  
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.77.196.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by