แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39405: การสูญเสียการรับกลิ่นเพราะโควิด อาจทำให้เกิดปัญหากระบวนการรู้คิด  (จำนวนคนอ่าน 157 ครั้ง)
« เมื่อ: 08/05/22 เวลา 14:46:49 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


ข้อมูลจากการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ประจำปี 2565
 
การเข้ารักษาใน ICU อาจทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเท่าตัว
 
ผลวิจัยต่าง ๆ ที่นำเสนอในการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ประจำปี 2565 หรือ Alzheimer's Association International Conference(R) (AAIC(R)) 2022 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซานดิเอโกและออนไลน์ เผยให้เห็นข้อมูลเจาะลึกใหม่ ๆ เกี่ยวกับปัจจัยที่อาจช่วยคาดการณ์ เพิ่มโอกาส หรือป้องกันผลกระทบที่โรคโควิด-19 และการระบาดใหญ่มีต่อความจำและทักษะการคิด
 
ข้อค้นพบสำคัญที่รายงานในการประชุม AAIC 2022 มีทั้ง
 
การวิจัยจากอาร์เจนตินาพบว่า การสูญเสียการรับกลิ่นเป็นเวลานานอาจเป็นสิ่งที่บ่งชี้ปัญหาด้านการรู้คิดแล ะการทำกิจวัตรได้ดีกว่าความรุนแรงของโรคโควิด-19 ในระยะเบื้องต้นการเข้ารับการรักษาในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนักอาจทำให้ผู้สูงอาย ุมีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากการศึกษาของศูนย์โรคอัลไซเมอร์รัช (Rush Alzheimer's Disease Center) ที่ชิคาโกในระหว่างที่เกิดการแพร่ระบาด เพศหญิง ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน และสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่น้อยกว่า มีโอกาสที่จะพบอาการทางการรู้คิดมากกว่า ในการวิจัยกลุ่มใหญ่จากประเทศแถบลาตินอเมริกา 9 ประเทศผลการศึกษาอาสาสมัครกลุ่มเดียวกันในลาตินอเมริกาพบว่า ประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตในทางที่ดีขณะเกิดโรคระบาด (เช่น ได้ใช้เวลาดี ๆ กับเพื่อนและครอบครัวมากขึ้น หรือใช้เวลากับธรรมชาติมากขึ้น) ช่วยลดผลเสียที่การแพร่ระบาดมีต่อความจำและทักษะการคิด
 
"โควิด-19 ทำให้คนนับล้านทั่วโลกป่วยและเสียชีวิต และสำหรับบางคนแล้ว ผลการวิจัยใหม่บ่งชี้ว่า โรคนี้มีผลกระทบระยะยาวต่อความจำและการคิดด้วยเช่นกัน" ดร.เฮเธอร์ เอ็ม สไนเดอร์ (Heather M. Snyder) รองประธานฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ กล่าว "ไวรัสนี้น่าจะอยู่กับเราไปอีกนาน การหาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันอาการทางการรู้คิดจะช่วยรักษาและป้องกันไ ม่ให้อาการลองโควิด (long COVID) ลุกลามต่อไปได้"
 
การสูญเสียการรับกลิ่นเป็นเวลานานบ่งชี้ปัญหาด้านการรู้คิดได้ดีกว่าความรุน แรงของโรคโควิด-19
 
นักวิจัยในอาร์เจนตินาที่ทำงานร่วมกับกลุ่มพันธมิตรว่าด้วยผลกระทบทางด้านปร ะสาทจิตเวชเรื้อรังจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Association Consortium on Chronic Neuropsychiatric Sequelae of SARS-CoV-2 Infection) ได้ติดตามอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่อายุ 55-95 ปีที่มีโอกาสสัมผัสกับโรคโควิด-19 จำนวน 766 คนเป็นเวลา 1 ปี และได้ดำเนินการทดสอบทางกายภาพ การรู้คิด และประสาทจิตเวชหลายครั้ง โดยในการวิจัยกลุ่มนี้ มีอาสาสมัครที่ติดเชื้อเป็นสัดส่วน 88.4% ขณะที่อีก 11.6% อยู่ในกลุ่มควบคุม
 
ผลการประเมินทางคลินิกได้แสดงให้เห็นความบกพร่องด้านความจำในอาสาสมัครที่ติ ดเชื้อเป็นสัดส่วนสองในสาม ซึ่งครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง ขณะที่การทดสอบการรู้คิดในอาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งแบ่งผู้ที่มีสมรรถนะลดลงได ้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
 
11.7% มีความบกพร่องด้านความจำเพียงอย่างเดียว8.3% มีความบกพร่องเรื่องสมาธิและการบริหารจัดการตนเอง11.6% พบความบกพร่องหลายส่วน (ทั้งความจำ การเรียนรู้ สมาธิ และการบริหารจัดการตนเอง)
 
ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า การสูญเสียการรับกลิ่นเป็นเวลานานเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ปัญหาด้านการรู้ค ิดได้ ขณะที่ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ในระยะเบื้องต้นทำไม่ได้
 
ดร.กาเบรียลลา กอนซาเลซ-เอลแมน (Gabriela Gonzalez-Aleman), LCP ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งอาร์เจนตินา (Pontificia Universidad Catolica Argentina) กรุงบัวโนสไอเรส กล่าวว่า "ยิ่งเรามีข้อมูลบอกสาเหตุหรืออย่างน้อยก็คาดการณ์ได้ว่าใครจะมีปัญหาด้านกา รรู้คิดระยะยาวจากการติดเชื้อโควิด-19 มากเท่าใด เราก็จะติดตามและเริ่มพัฒนาวิธีป้องกันได้ดีเท่านั้น"
 
การเข้ารับการรักษาในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนักอาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมม ากขึ้น
 
นักวิจัยจากศูนย์โรคอัลไซเมอร์รัช (RADC) ในเครือระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยรัช (Rush University System for Health) เมืองชิคาโก ได้ใช้ข้อมูลจากการวิจัยผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมรวม 5 โครงการ (n=3,822) เพื่อสังเกตอาการขณะรักษาในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก (ICU) ซึ่งก่อนหน้านี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะรู้คิดบกพร่องในผู้สูงอายุ แต่มีการวิจัยไม่มากนักที่ประเมินว่าทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ ่มขึ้นหรือไม่
 
นักวิจัยได้ดูบันทึกข้อเรียกร้องในระบบเมดิแคร์ตั้งแต่ปี 2534 ถึงปี 2561 (ก่อนเกิดการระบาดใหญ่) และได้ตรวจเช็คดูอาการโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมทุกประเภททุกปี โดยใช้แบบประเมินการรู้คิดตามมาตรฐาน โดยจากการติดตามผลเฉลี่ย 7.8 ปีพบว่า อาสาสมัคร 1,991 คน (52%) เข้ารับการรักษาใน ICU อย่างน้อย 1 ครั้ง, 1,031 คน (27%) เคยเข้ารับการรักษาใน ICU ก่อนร่วมการวิจัย และ 961 คน (25%) เข้ารับการรักษาใน ICU ขณะร่วมการวิจัย
 
นักวิจัยพบว่า เมื่อประเมินตามอายุ เพศ การศึกษา และเชื้อชาติแล้ว การเข้ารับการรักษาใน ICU มีความสัมพันธ์กับการที่มีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้ น 63% และมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมทุกประเภทเพิ่มขึ้น 71% ส่วนในแบบจำลองที่ประเมินตามปัจจัยสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปัจจัยเสี่ยงและโรคด้านหลอดเลือด อาการทางการแพทย์เรื้อรังอื่น ๆ และความผิดปกติในการทำกิจวัตรแล้ว ความสัมพันธ์ที่ว่านี้ยิ่งสูงขึ้น โดยการเข้ารับการรักษาใน ICU มีความสัมพันธ์กับการที่มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 110% และมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมทุกประเภทเพิ่มขึ้น 120%
 
"เราพบว่า การเข้ารับการรักษาใน ICU ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเท่าตัว" ดร.ไบรอัน ดี เจมส์ (Bryan D. James) นักระบาดวิทยาประจำศูนย์ RADC กล่าว "ข้อค้นพบเหล่านี้อาจมีนัยสำคัญเมื่อประเมินจากการที่ผู้สูงอายุมีอัตราเข้า รับการรักษาใน ICU สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่มีผู้เข้ารับการรักษาใน ICU เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงโควิด-19 ระบาด การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเข้ารับการรักษาใน ICU กับการก่อตัวของโรคสมองเสื่อมได้เข้ามามีความสำคัญมากยิ่งกว่าที่เคย"
 
ดร.เจมส์ เสริมว่า "จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อค้นพบเหล่านี้และขยายความปัจจ ัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม ยกตัวอย่างเช่น ภาวะเจ็บป่วยวิกฤตเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่  หรือขั้นตอนที่ปรับเปลี่ยนได้ขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นสาเหตุที่ท ำให้เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมมากขึ้นหรือไม่"
 
ประสบการณ์ดี ๆ ในชีวิตเพียงครั้งเดียวในช่วงการแพร่ระบาด อาจเป็นเครื่องป้องกันอาการทางการรู้คิดได้
 
นักวิจัยจากประเทศต่าง ๆ ทั่วอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และในสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันประเมินว่า ปัจจัยทางสังคมประชากรและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชีวิตที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการระบาดใหญ่ มีความสัมพันธ์กับอาการด้านการรู้คิดหรือไม่ รวมถึงปัญหาเรื่องความจำ สมาธิ และทักษะการคิดอื่น ๆ ในการระบาดใหญ่ช่วงแรก ๆ
 
ในการวิจัยที่รายงานในการประชุม AAIC นั้น อาสาสมัครวัยผู้ใหญ่อายุ 55-95 ปีที่พูดภาษาสเปน จำนวน 2,382 คน (อายุเฉลี่ย 65.3 ปี ขณะที่ 62.3% เป็นเพศหญิง) จาก 9 ประเทศในลาตินอเมริกา ได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นทางออนไลน์และโทรศัพท์ เข้ารับการทดสอบการรู้คิดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกรอกแบบฟอร์มประเมินผลกระทบทางบวกและทางลบจากการระบาดใหญ่เมื่อช่วงเดือน พฤษภาคมถึงธันวาคม 2563 ซึ่งเมื่อนับรวมอาสาสมัครทั้งหมดแล้ว มี 145 คน (6.09%) ที่แสดงอาการของโรคโควิด-19
 
ผู้ร่วมการวิจัยมาจากอุรุกวัย (1,423 คน, 59.7%), เม็กซิโก (311 คน, 13.1%), เปรู (153 คน, 6.4%), ชิลี (152 คน, 6.4%), สาธารณรัฐโดมินิกัน (117 คน, 4.9%), อาร์เจนตินา (106 คน, 4.5%), โคลอมเบีย (50 คน, 2.1%), เอกวาดอร์ (39 คน, 1.6%), เปอร์โตริโก (19 คน, 0.8%) และอื่น ๆ (12 คน, 0.5%)
 
ข้อค้นพบสำคัญ
 
เพศหญิง ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน และผู้ที่มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจน้อยกว่า มีความสัมพันธ์กับการที่มีอาการทางการรู้คิดมากกว่าในการระบาดใหญ่ช่วงแรกกา รเปลี่ยนแปลงทางลบในชีวิตระหว่างการระบาดใหญ่ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ และไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม มีความสัมพันธ์อย่างเห็นได้ชัดกับการที่มีอาการทางการรู้คิดมากขึ้น อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ดังกล่าวแผ่วลงในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีในชีวิตอย่างน้อ ย 1 ครั้งระหว่างการระบาดใหญ่ เช่น การได้ใช้เวลาดี ๆ กับเพื่อน ๆ และครอบครัวมากขึ้น หรือใช้เวลากับธรรมชาติมากขึ้น
 
"การหาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันอาการทางการรู้คิดในช่วงระบาดใหญ่เป็นคว ามก้าวหน้าสำคัญในการพัฒนาแนวทางป้องกัน" ดร.มาเรีย มาร์กินี (Mar?a Marquine) รองศาสตราจารย์แผนกเวชกรรมและจิตเวชศาสตร์ และผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยความแตกต่าง แผนกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ชราภาพวิทยา และการดูแลบรรเทาอาการ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก กล่าว "ประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงที่ดีในชีวิตระหว่างการระบาดใหญ่ อาจช่วยบรรเทาผลกระทบที่ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ดีในชีวิตมีต่ออาก ารทางการรู้คิดได้"
 
ดร.มาร์กินี เสริมว่า "การวิจัยดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการรวมพลังของนักวิจัยจากหลาย ๆ ประเทศในลาตินอเมริกาและสหรัฐ ท่ามกลางสถานการณ์อันยากลำบาก ซึ่งหลาย ๆ คนไม่เคยได้ทำงานร่วมกันมาก่อนและมีทรัพยากรจำกัด แต่มีเป้าหมายเดียวกันในการยกระดับความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกั บโรคอัลไซเมอร์ และผลลัพธ์สำคัญที่ความร่วมมือข้ามวัฒนธรรมมอบให้ได้"
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
96.30.79.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by