แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39403: ประวัติภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อม  (จำนวนคนอ่าน 171 ครั้ง)
« เมื่อ: 08/05/22 เวลา 11:16:51 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การมีประวัติภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงเ พิ่มขึ้นที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองและการเสื่อมถอยของสมอง เร็วกว่าที่ควร จากงานศึกษาวิจัยที่นำเสนอวันนี้ภายในงานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ ประจำปี 2565 (Alzheimer's Association International Conference(R) (AAIC(R)) 2022) ซึ่งจัดขึ้นในเมืองซานดิเอโกและทางออนไลน์
 
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( HDP) ประกอบด้วย ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว และภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ได้รับการเชื่อมโยงอย่างมากเข้ากับการเกิดโรคหัวใจในช่วงอายุที่มากขึ้น แต่ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยน้อยมากที่เชื่อมโยงภาวะเหล่านี้เข้ากับการทำงานรู ้คิดของสมอง ในแง่นี้ ข้อค้นพบสำคัญที่นำเสนอภายในงานประชุม AAIC ประจำปี 2565 มีดังนี้
 
สตรีที่เคยมีประวัติภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีแนวโน้มสูงกว่าที่จะเ กิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหมายถึงการเสื่อมถอยในทักษะการคิดที่เกิดจากภาวะที่ไปอุดตันหรือลดการไห ลเวียนของเลือดเข้าสู่สมอง เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดยเปรียบเทียบกับสตรีที่เคยตั้งครรภ์โดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง
การมีประวัติภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีความเชื่อมโยงกับพยาธิสภาพของสสารสีขาวในสมอง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การเสื่อมถอยของการทำงานรู้คิดของสมองเร็วกว่าที่ควร เมื่อเวลาผ่านไป 15 ปีหลังจากการตั้งครรภ์
สตรีที่เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรงมีระดับของเบตาแอมีลอยด์ ( beta amyloid) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์ซึ่งวัดในโลหิต เมื่อเทียบกับสตรีที่เคยตั้งครรภ์โดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้น 1 ใน 7 ของการคลอดบุตรในโรงพยาบาล โดยเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในบุคคลผู้ตั้งครรภ ์ให้กำเนิดและตัวอ่อนในครรภ์ในทั่วโลก ภาวะดังกล่าวเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประชากรชาวผิวดำ ชาวลาติน ชาวเอเชีย/ชาวเกาะในแปซิฟิก และชาวอเมริกันพื้นเมืองในอัตราที่สูงอย่างไม่สมส่วน
 
"นี่เป็นข้อมูลจากการศึกษาระยะยาวชุดแรก ๆ ที่เชื่อมโยงภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เข้ากับภาวะสมองเสื่อมในการศึก ษาตามรุ่นในกลุ่มคนที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค (cohort study) ขนาดใหญ่" แคลร์ เซ็กซ์ตัน (Claire Sexton) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโครงการและบริการสู่ภายนอกเชิงวิทยาศาสตร์ สมาคมอัลไซเมอร์ กล่าว "เมื่อคำนึงถึงนัยที่รุนแรงทั้งระยะสั้นและระยะยาวของภาวะความดันโลหิตสูงขณ ะตั้งครรภ์ การตรวจพบและการรักษาแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปกป้องทั้งบุคคลผู้ตั้งครรภ์และเด็กที่จะ เกิดมา"
 
"ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการดูแลสตรีตั้งครรภ์และการเฝ้าระวัง สุขภาพระยะยาวของบุคคลผู้ตั้งครรภ์" เซ็กส์ตันกล่าว "ผู้ที่ประสบกับความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความจำและการทำงานรู้คิดของสมองควรปรึกษาผู้ให้การดูแลรักษ าสุขภาพ"
 
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เชื่อมโยงกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดภ าวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
 
เพื่อสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์กับภาวะสมอง เสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ดร.แคเรน ชลีป ( Karen Schliep) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตด้านสาธารณสุขศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน มหาวิทยาลัยสุขภาพแห่งยูทาห์ (University of Utah Health) และเพื่อนร่วมงาน ได้ดำเนินการศึกษาตามรุ่นย้อนหลังกับสตรี 59,668 คนที่เคยตั้งครรภ์
 
สตรีที่มีประวัติภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงเกิดภาวะสมองเ สื่อมจากทุกสาเหตุสูงกว่า 1.37 เท่า เมื่อคำนวณโดยคำนึงถึงวัยขณะให้กำเนิด ปีที่ให้กำเนิด และความเหมือนกัน เมื่อเทียบกับสตรีที่ตั้งครรภ์โดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เชื่อมโยงกับความเสี่ยงสูงกว่า 1.64 เท่าที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง และความเสี่ยงสูงกว่า 1.49 เท่าที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราวขณะตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษและครรภ์เป็นพิ ษรุนแรงซึ่งมีภาวะชักร่วม ( eclampsia) แสดงระดับของความเสี่ยงที่ใกล้เคียงกันสำหรับภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคหล อดเลือด
 
"ผลจากการศึกษาของเรายืนยันข้อค้นพบก่อนหน้านี้ว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดส มองเมื่อเทียบกับอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ" ชลีปกล่าว "ผลดังกล่าวนี้ชี้ว่าความเสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองอาจสู งพอกันระหว่างสตรีที่เคยมีประวัติภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราวขณะตั้งครรภ์ก ับสตรีที่เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษ"
 
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เชื่อมโยงกับพยาธิสภาพของสสารสีขาวในสมอง 15 ปีหลังการตั้งครรภ์
 
เมื่อคำนึงถึงความเชื่อมโยงที่พิสูจน์ชัดเจนระหว่างภาวะความดันโลหิตสูงขณะต ั้งครรภ์กับสุขภาพหลอดเลือดสมองในระยะยาว โรวินา ฮุสไซนาลี ( Rowina Hussainali) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต นักศึกษาปริญญาเอกด้านระบาดวิทยาและสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ศูนย์การแพทย์อีราสมุส เอ็มซี (Erasmus MC Medical Center) เนเธอร์แลนด์ และเพื่อนร่วมงาน ได้มุ่งศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์กับตัวบ่ง ชี้พยาธิสภาพของหลอดเลือดสมอง 15 ปีหลังจากการตั้งครรภ์
 
คณะผู้วิจัยได้สำรวจสตรี 538 ราย โดย 445 รายเคยตั้งครรภ์โดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง และ 93 รายเคยมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ จากการศึกษาเจเนอเรชัน อาร์ ( Generation R) โดยได้ศึกษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีวันกำหนดคลอดระหว่างเดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนมกราคม 2549 เมื่อผ่านไป 15 ปีหลังจากนั้น สตรีกลุ่มนี้บางส่วนได้เข้ารับการตรวจแสดงภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็ มอาร์ไอ (MRI) เพื่อประเมินปริมาตรเนื้อเยื่อสมองและตัวบ่งชี้อื่น ๆ ที่สามารถบ่งชี้พยาธิสภาพ
 
ฮุสไซนาลีและทีมงานพบว่า สตรีที่เคยมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีพยาธิสภาพของสสารสีขาวในสมอง  (ตัวบ่งชี้ของเนื้อเยื่อสมองเสื่อมสภาพ) สูงกว่าสตรีที่เคยตั้งครรภ์โดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ 38% ความเชื่อมโยงนี้พบในสตรีที่เคยมีภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราวขณะตั้งครรภ์เ ป็นหลัก ซึ่งมีพยาธิสภาพในสสารสีขาวในสมองสูงกว่า 48% เมื่อเทียบกับสตรีที่เคยตั้งครรภ์โดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างในแง่ของตัวบ่งชี้อื่น ๆ ของพยาธิสภาพในสมอง อย่างเช่น เนื้อสมองตายจากขาดการไหลเวียนโลหิต (infarct) หรือจุดเลือดออกขนาดเล็กที่บริเวณเนื้อสมอง (cerebral microbleed) การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังหลังจากการตั้งครรภ์ยิ่งตอกย้ำผลการศึกษ าดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีที่เคยมีภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราวขณะตั้งครรภ์
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.77.196.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by