แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39372: อ็อคตาฟาร์มา ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยที่งาน ISTH 2022  (จำนวนคนอ่าน 148 ครั้ง)
« เมื่อ: 07/05/22 เวลา 14:55:10 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อ็อคตาฟาร์มาเตรียมนำเสนอข้อมูลใหม่จากการทดลองทางคลินิกและทางวิทยาศาสตร์ก ลุ่มผลิตภัณฑ์โลหิตวิทยาและเวชบำบัดวิกฤตของอ็อคตาฟาร์มาที่การประชุม ISTH 2022
ข้อมูลการวิจัยจะถูกนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ 11 แผ่น และในงานประชุมวิชาการย่อย 2 กลุ่ม
ข้อมูลใหม่จากโครงการทดลองยา Nuwiq(R) (simoctocog alfa) ทางคลินิกที่ครอบคลุม จะได้รับการนำเสนอที่งานนี้ ซึ่งยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Nuwiq(R)
การพัฒนาล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหิตวิทยาและเวชบำบัดวิกฤตของอ็อคตาฟาร์มา (Octapharma) จะได้รับการนำเสนอในการประชุมสมาคมนานาชาติว่าด้วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันและกล ไกการห้ามเลือด (International Society on Thrombosis and Haemostasis (ISTH) Congress) ครั้งที่ 30 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 กรกฎาคม 2565 ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ข้อมูลการวิจัยจะถูกนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ 11 แผ่น และในการประชุมวิชาการย่อย (Supported Symposia) 2 กลุ่ม ที่การประชุม ISTH 2022 ซึ่งอ็อคตาฟาร์มาภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้สนับสนุนระดับทอง (Gold Supporter) ของงานประชุมระดับนานาชาติรายการนี้
 
การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ที่งานนี้จะประกอบด้วยการนำเสนอข้อมูลจากโคร งการทดลองยา Nuwiq(R) ทางคลินิก ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ผลรวมของข้อมูลระยะยาวจากการทดลองทางคลินิก และการนำเสนอผลการศึกษายา Nuwiq เป็นครั้งแรก โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากการดำเนินโครงการ GENA-99 ระดับโลกในการปฏิบัติทางคลินิกจริง การศึกษาเหล่านี้ยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ได้รับการพิสูจน์แล้ วของ Nuwiq(R) ในการรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ นอกจากนี้ ผลการศึกษาความปลอดภัยและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายจากการศึกษาทดลองย า OCTA101 ในระยะ I/II จะได้รับการนำเสนอที่งานนี้ด้วยเช่นกัน OCTA101 เป็นโปรตีนแฟกเตอร์ VIII สายผสม (recombinant FVIII) ที่พัฒนาขึ้นสำหรับการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยเมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งมีการตัดสินใจที่จะยุติการศึกษาเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัย ขณะที่ข้อมูลอัปเดตจากโครงการพัฒนา Octaplex(R) ซึ่งเป็นยากลุ่ม four-factor prothrombin complex concentrate (4F-PCC) และ Atenativ(R) ซึ่งเป็นแอนติทรอมบิน III เข้มข้น ชนิดแห้ง เชื้อตายและมีความบริสุทธิ์สูง จะได้รับการนำเสนอด้วยเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอ็อคตาฟาร์มาที่มีต่อการวิจัยและพัฒนาทาง คลินิกในสาขาเวชบำบัดวิกฤต
 
การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์จะมีขึ้นตามวันและเวลาดังนี้
 
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม เวลา 18.30-19.30 น.
 
PB0690. การปรับขนาดยาในเด็กที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เอ รุนแรง เพื่อการให้ยา octanate(R) ในระยะยาว นำเสนอโดย เอฟเจนี ดมิเทรียฟ (Evgeny Dmitriev)
PB0672. ความปลอดภัยและเภสัชจลนศาสตร์ของแฟกเตอร์ VIII สายผสมสำหรับฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (OCTA101) ในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เอ รุนแรง นำเสนอโดย ซิเกิร์ด น็อบ (Sigurd Knaub)
PB0559. โครงการ LEX-210 ซึ่งเป็นการวิจัย 4F-PCC แบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลการรักษาทั้งสองทางในระยะที่ 3 เพื่อศึกษาการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกรุนแรงเฉียบพลันด้วยยาต้านการแข ็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ออกฤทธิ์ยับยั้งแฟกเตอร์ Xa ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดโดยตรง นำเสนอโดย รวี สาโรด (Ravi Sarode)
PB0560. การใช้ชุดตรวจด้วยวิธีปรับเทียบเฮปาริน (heparin-calibrated assays) เพื่อประเมินการออกฤทธิ์ยับยั้งแฟกเตอร์ Xa ของยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งแฟคเตอร์ Xa (FXaI): การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ในงานนิพนธ์ นำเสนอโดย รวี สาโรด
PB0716. การวิจัยระยะที่ 3 ชนิดไปข้างหน้า เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และเภสัชจลนศาสตร์ของแอนติทรอมบิน III เข้มข้นในผู้ที่มีภาวะพร่องแอนติทรอมบินแต่กำเนิดในระหว่างการผ่าตัดหรือการ คลอดบุตร นำเสนอโดย คริสตินา โซโลมอน (Cristina Solomon)
PB0541. การพัฒนาพลาสมาแบบฟรีซดรายและการประเมินคุณภาพทางชีวเคมี นำเสนอโดย อันเดรีย เฮเจอร์ (Andrea Heger)
VPB0492. โครงการ LEX-211 (FARES-II) แบบสุ่มที่มีการควบคุมไปข้างหน้า ระยะที่ 3  เพื่อศึกษา 4F-PCC เทียบกับพลาสมาแช่แข็งในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะเลือดออก นำเสนอโดย จีนนี คอลลัม (Jeannie Callum)
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม เวลา 18.30-19.30 น.
 
PB1149. การวิเคราะห์ผลรวมประสิทธิภาพและความปลอดภัยระยะยาวของยา simoctocog alfa ในผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย เอ ที่เคยได้รับการรักษามาก่อน นำเสนอโดย จิตา เปเซชกี (Gita Pezeshki)
PB1134. โครงการวิจัย Protect-NOW ซึ่งเป็นการศึกษาการใช้แฟกเตอร์ VIII เข้มข้นของอ็อคตาฟาร์มาในผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย เอ ที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน หรือได้รับการรักษาน้อยที่สุด ก่อนเข้าร่วมการรักษาทางคลินิก นำเสนอโดยซูซาน ฮาลิเมห์ (Susan Halimeh)
PB1126. ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้ simoctocog alfa กับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ ในเวชปฏิบัติประจำวัน (GENA-99) นำเสนอโดยแคลร์ เบอร์เกอร์ (Claire Berger)
VPB0996. โครงการ FiiRST-2 แบบสุ่มไปข้างหน้า เพื่อศึกษาแฟกเตอร์เข้มข้น เทียบกับแนวทางการรักษามาตรฐานสำหรับภาวะตกเลือดปริมาณมากในผู้ป่วยที่ประสบ อุบัติเหตุและมีภาวะเลือดออกรุนแรง นำเสนอโดย จีนนี คอลลัม
"เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้แบ่งปันข้อมูลใหม่และความคืบหน้าของเราที่งาน ISTH" โอลาฟ วอลเตอร์ (Olaf Walter) สมาชิกคณะกรรมการของอ็อคตาฟาร์มา กล่าว "แม้ว่ามีความก้าวหน้า แต่การจัดการภาวะเลือดออกฉุกเฉินและภาวะเลือดออกผิดปกติยังคงเต็มไปด้วยความ ท้าทาย เราจึงพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้โดยตรง และลดภาระของผู้ป่วยเพื่อปรับปรุงชีวิตประจำวันของพวกเขาให้ดีขึ้น"
 
นอกจากการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ดังที่กล่าวมาแล้ว จะมีการนำเสนอข้อมูลใหม่ในการประชุมวิชาการย่อย 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ 'อันเดอร์ เดอะ สปอตไลต์' (Under the Spotlight) ของอ็อคตาฟาร์มา
 
ปัจจัยสำคัญ: มุ่งเป้าไปที่การป้องกันเลือดออกแบบรอบด้านในผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย เอ  วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม เวลา 11.30-12.45 น. ตามเวลา BST
ประธาน: ดร.จอร์จินา ฮอลล์ (Dr Georgina Hall) จากโรงพยาบาลจอห์น แรดคลิฟฟ์ (John Radcliffe Hospital) เมืองออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร
การประชุมจะเน้นไปที่ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ทั้งทางคลินิกและทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการใช้ Nuwiq(R) เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ การประชุมประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ การใช้การเปรียบเทียบทางอ้อมแบบ matching-adjusted เพื่อประเมินผลกระทบทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคเฉพาะบุคคลด้วยผ ลิตภัณฑ์ FVIII ที่แตกต่างกัน และการใช้การรักษาแบบผสมผสานเพื่อควบคุมภาวะเลือดออกในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย  เอ ที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ นอกจากนี้ ยังนำเสนอข้อมูลใหม่ที่ได้จากการศึกษาในหลอดทดลองเกี่ยวกับการจับ FVIII กับเกล็ดเลือด และการใช้วิธีการจัดลำดับ RNA แบบใหม่ เพื่อช่วยทำนายความเสี่ยงสำหรับการพัฒนายายับยั้งในเด็กที่รับการรักษาด้วย FVIII เป็นครั้งแรก
 
ว่าด้วยสตรี: ประสบการณ์ของผู้ป่วยและแนวทางการรักษาแบบใหม่สำหรับผู้ป่วยภาวะเลือดออกผิด ปกติ วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม เวลา 13.15-14.30 น. ตามเวลา BST
ประธาน: ดร.เวโรนิกา ฟลัด (Dr Veronica Flood) จากวิทยาลัยการแพทย์วิสคอนซิน (Medical College of Wisconsin) เมืองมิลวอกี สหรัฐอเมริกา
ผู้หญิงที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติต้องเผชิญกับความท้าทายที่ต่างออกไป หลายคนไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการวินิจฉัยช้า ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเลือดออกและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ในระหว่างการประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย คณะผู้อภิปรายจะอภิปรายเกี่ยวกับความท้าทายที่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ป่วย เป็นโรควอนวิลลิแบรนด์และฮีโมฟีเลีย เอ ต้องเผชิญ ผู้บรรยายจะเน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการเพิ่มความตระหนัก และความจำเป็นของการมีข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับผู้หญิงโดยเฉพาะ ตลอดจนแนวทางการรักษาเพื่อให้แพทย์มีข้อมูลสำหรับใช้ในการตัดสินใจรักษาผู้ป ่วยหญิงที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ ทั้งนี้ จะมีการนำเสนอการศึกษา wilate(R) และ Nuwiq(R) ทั้งการศึกษาใหม่และการศึกษาต่อเนื่องที่ดำเนินอยู่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการจัดการผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรควอนวิลลิแบรนด ์หรือฮีโมฟีเลีย เอ
 
"เรามุ่งหวังที่จะสานต่อความพยายามของเราในการสร้างความตระหนัก และปรับปรุงการดูแลผู้หญิงที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยเหล่านี้สามารถรับการจัดการอาการได้อย่างปลอดภัยแล ะมีประสิทธิภาพ" คุณลาริซา เบลยานสกายา (Larisa Belyanskaya) หัวหน้าฝ่ายโลหิตวิทยาของอ็อคตาฟาร์มา กล่าว
 
เกี่ยวกับอ็อคตาฟาร์มา อ็อคตาฟาร์มา (Octapharma) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองลาเคิน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โปรตีนมนุษย์รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นผู้พัฒนาและผลิตโปรตีนมนุษย์จากพลาสมาและเซลล์ไลน์ของมนุษย์
 
อ็อคตาฟาร์มามีพนักงานประมาณ 10,000 คนทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยใน 118 ประเทศ ด้วยผลิตภัณฑ์ครอบคลุมการรักษา 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ภูมิคุ้มกันบำบัด โลหิตวิทยา และการดูแลขั้นวิกฤติ
 
อ็อคตาฟาร์มามีศูนย์วิจัยและพัฒนา 7 แห่ง และมีโรงงานผลิตล้ำสมัย 5 แห่งในออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และสวีเดน โดยบริหารงานในศูนย์บริจาคพลาสมากว่า 180 แห่งทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา
 
เกี่ยวกับ Nuwiq(R)
Nuwiq(R) (simoctocog alfa) เป็นโปรตีน recombinant factor VIII (rFVIII) รุ่นที่ 4 ผลิตขึ้นในเซลล์ไลน์มนุษย์โดยไม่มีการดัดแปลงทางเคมีหรือเชื่อมเข้ากับโปรตีนอื่น[1] เพาะเลี้ยงโดยไม่ได้เติมสารที่ได้มาจากมนุษย์หรือสัตว์เข้าไป ไม่มีเอพิโทปโปรตีนที่ไม่ได้มาจากมนุษย์ในลักษณะที่กระตุ้นการสร้างแอนติบอด ี และมีความใกล้เคียงสูงกับ von Willebrand factor[1] การรักษาด้วย Nuwiq(R) ได้รับการประเมินทางคลินิกจนเสร็จสิ้นไปแล้ว 7 ครั้ง ซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ อาการรุนแรง 280 ราย ในจำนวนนี้เคยได้รับการรักษาแล้ว 190 ราย (PTP; 190 ราย) และไม่เคยได้รับการรักษา (PUP) 90 ราย [1] Nuwiq(R) มีวางจำหน่ายในขนาด 250 IU, 500 IU, 1000 IU, 2000 IU, 2500 IU, 3000 IU และ 4000 IU[1] Nuwiq(R) ได้รับการอนุมัติสำหรับใช้รักษาและป้องกันอาการเลือดออกในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเ ลีย เอ (ขาดแฟคเตอร์ FVIII ตั้งแต่กำเนิด) ในทุกกลุ่มอายุ[1]
 
เกี่ยวกับ wilate(R)
วิเลท (wilate(R)) เป็นวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์ (VWF) และแฟคเตอร์ แปด (FVIII) เข้มข้นความบริสุทธิ์สูงที่มาจากมนุษย์ โดยผ่านการทำลายไวรัส 2 ขั้นตอนระหว่างการผลิต[2] และไม่มีการเสริมอัลบูมินเพื่อใช้เป็นสารให้ความคงตัว[2] กระบวนการทำให้บริสุทธิ์เหล่านี้ก่อให้เกิดอัตราส่วน 1:1 ระหว่างวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์กับแฟคเตอร์ แปดที่คล้ายคลึงกับพลาสมาปกติ[2] วิเลทประกอบด้วยโครงสร้างวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์แบบคู่สาม และมีมัลติเมอร์น้ำหนักโมเลกุลสูงจำนวนมากที่ใกล้เคียงกับพลาสมาปกติของมนุษย์[2] วิเลทสร้างขึ้นมาจากพลาสมามนุษย์ที่รวบรวมไว้ในศูนย์บริจาคพลาสมาที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น[3] วางจำหน่ายในขนาด 500 IU และ 1000 IU วิเลทมีข้อบ่งใช้ในการป้องกันและรักษาอาการตกเลือดหรือภาวะเลือดออกขณะผ่าตั ดรักษาโรควอนวิลลิแบรนด์ (VWD) เมื่อรักษาด้วยยาเดสโมเพรสซิน (DDAVP) อย่างเดียวแล้วไม่ได้ผลหรือห้ามรักษาด้วยวิธีนี้ และเพื่อใช้รักษาและป้องกันภาวะเลือดไหลในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ (ขาดแคลนแฟคเตอร์ แปด มาตั้งแต่กำเนิด)[3]
 
เอกสารข้อมูลยา Nuwiq(R)
สแตดเลอร์ เอ็ม (Stadler M) และคณะ Biologicals 2006; 34:281-8
เอกสารข้อมูลยา wilate(R)
ข่าวประชาสัมพันธ์ของอ็อคตาฟาร์มามีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่สื่อสายสุขภาพ/การแ พทย์ มิใช่ผู้บริโภคทั่วไป
 
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1802873/Octapharma_Logo.jpg
 
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
171.101.104.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by