« ความเห็นที่ #13 เมื่อ: 04/23/22 เวลา 18:53:47 » |
|
***ผมเคยเขียนบทความยาวๆไว้ครับ เผื่ออยากอ่าน*** สวัสดีครับ อาจารย์ครับ ผมเปิดคลินิกทั่วไปครับ ผมเคยเขียนความเห็นในกระทู้เก่าๆครับ เลยขอมาแชร์ครับ ไม่แน่ใจจะเป็นประโยชน์บ้างไหมครับ ************************************ การเปิดคลินิก ก็เป็นการทำธุรกิจแบบนึงครับ ไม่ใช่แบบโรงพยาบาลรัฐที่จะเป็นสวัสดิการให้กับคนไข้ เพราะการทำธุรกิจก็มีต้นทุน คิอว่าเงินงบเรามีแค่ไหนที่จะลงทุนกับคลินิกเราครับ ก่อนอื่นผมว่ากำหนดงบที่เรามีก่อนครับ ปกติเปิดร้านลงทุน3แสนถึง1ล้านขึ้นไปครับ ขึ้นกับว่าเรามีงบประมาณแค่ไหน ถ้าเรารวยอยู่แล้ว ตกแต่งร้านให้สวยเลิศ ลงทุนเป็นล้านแบบคลินิกสกินก็ได้ครับ แต่ถ้างบน้อยๆ สามแสนก็อยู่แล้วครับ ซึ่งงบจะเป็นตัวกำหนดขนาดของคลินิก และบริการเองครับว่าเราจะตรวจรักษาทำได้แค่ไหน. เราปฏิเสธคนไข้ได้นะครับ ไม่ได้แปลว่าเราไม่ตรวจเขานะ เช่น เราไม่มีเครื่องตรวจเลือด หากเราสงสัยdengue เราก็ปฏิเสธคนไข้ได้ คือ เราบอกให้เขาไปโรงพยาบาลดีกว่า. ก็คือเราตรวจเหมือนกัน แต่เรามีงบลงทุนจำกัด เราไม่ดูแลคนไข้บางคนที่เราไม่มีอุปกรณ์หรือศักยภาพจะดูแลได้ครับ ซึ่งคนไข้เขาก็โอเคครับ. เขามาคลินิกเขาไม่ได้คาดหวังจะได้ทุกอย่างแบบโรงพยาบาล. คลินิกไม่จำเป็นต้องให้น้ำเกลือ หรือฉีดยาเข้าเส้นเลือด หรืออื่นๆก็ได้. ถ้าเราคิดว่าคลินิกเราไม่พร้อม. ซึ่งต่างกับโรงพยาบาลที่ควรรักษาหรือดูแลจัดการได้ทุกโรค ก็เพราะโรงพยาบาลมีรัฐสนับสนุนงบ หรือเอกชนมีนายทุนใหญ่ครับ. คลินิกมีแต่เราคนเดียว มีเงินแค่ไหน ก็ทำแค่นั้นครับ เราต้องคิดก่อนว่าเราอยากให้คลินิกเราใหญ่แค่ไหน. จะเอาเล็กๆ แบบให้ยากินอย่างเดียว ตรวจโรคง่ายๆ ไข้หวัด ใบรับรองแพทย์. จะฉีดยาไหม? หรือจะให้น้ำเกลือไหม หรือจะทำคลืนิกขนาดกลาง มีเครื่องเอกซเรย์ ? แล้วงบเรามีแค่ไหนล่ะ? ของผมเริ่มด้วยงบ3แสนครับ ค่าตกแต่งและเครื่องมือ รวมค่ายาทั้งหมด ซื้อยาไม่มากครับ. แล้วเอากำไรที่ได้มาต่อยอดซื้อยาเพื่มเรื่อยๆ ลงทุนยา แล้วเอากำไรมาซื้อเครื่องอัลตราซาวด์ครับมือสอง ช่วงแรกๆแทบไม่มีกำไรเป็นเงินเลยครับ เพราะหมดไปกับลงทุนซื้อยา แบบเงินต่อเงิน แต่ข้อดีคือไม่ต้องควักเงินส่วนตัวมาใช้กับธุรกิจ ธุรกิจต้องลดต้นทุนให้มากที่สุด แต่ยังคงคุณภาพครับ. ยาเป็นต้นทุนที่มากเลยครับ. เราควรซื้อยาจากยี่ปั้วหรือบริษัทยาให้มากที่สุดครับ เพราะจะได้ราคาต่ำที่สุดครับ ซึ่งดีกว่าไปซื้อปลีกตามร้านขายยาครับ. และการซื้อยาจากบริษัทยาก็ได้ยาที่หมดอายุนานด้วยครับ. การค้นหาบริษัทยาค่อนข้างเหนื่อยพอสมควรครับ เพราะยามีหลายตัว หลายบริษัทครับ. แต่เหนื่อยหน่อยและคุ้มครับ. สั่งยาทีละมากๆยิ่งถูก และแถมเยอะครับ. ไม่ควรใช้ยาที่ราคาถูกแต่คุณภาพต่ำเกินไปครับ. เพราะคนไข้กินแล้วไม่หาย. เราอาจจะลดต้นทุนได้ แต่เป็นวงจรไม่ดีครับ เขาไม่หาย เขาก็ไม่กลับมาอีกครับ เลือกยาที่ดีหน่อย ไม่แพง เพราะเราซื้อกับบริษัทยาครับ. ถ้าซื้อปลีกก็แพงครับ อีกงานที่ต้องเอาใจใส่คือ การสต้อกยาครับ ยาที่สั่งมาจะหมดเร็ว ถ้าคนไข้เราเยอะ เราก็ต้องกะว่าเราควรสั่งยามาตุนไว้แค่ไหน. ไม่ใช่ตะบี้ตะบันสั่งมาเยอะเงินมันจะจมครับ แล้วยามันมีอายุด้วย. แต่ถ้าเราสั่งมาน้อยไป ยาก็หมดไว หรืออาจจะขาดไม่มีให้คนไข้ก็เป็นได้ครับ เรื่องสต็อกยาเป็นเรื่องจุกจิกมาก ที่ต้องดูแทบทุกวันในคลินิกครับ ยกเว้นเราจะจ้างคนมาคุมสต็อกนะครับ ของพื้นฐาน คือ ออกซิเจนพ่นยาต้องมีครับ เพราะหอบฉุกเฉินเราต้องเอาให้อยู่ครับ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน ถ้าไม่ไหวก็รีเฟอร์ครับ จะเย็บแผลไหม? แต่จะเจอปัญหาเรื่องเครื่องนึ่งครับ. ราคาแปดหมื่นถึงแสนบาท จะคุ้มไหมถ้าเราต้องเย็บแผลเดือนหนึ่งไม่กี่เคส. ถ้างบไม่มีก็ปฏิเสธไม่เย็บแผล ปิดแผล ส่งไปรพ ครับ. ส่วนทำแผลใช้อุปกรณ์ใช่แล้วทิ้งครับ ชุดทำแผลแบบทิ้งไปเลย ประหยัดไม่ต้องซื้อ เครื่องออโต้เครปครับ ถ้าอยากทำแล็ป ก็ได้ครับพวกrepaid test เช่นตรวจน้ำมูก ดูInfluenza, RSV, Adeno, ตรวจก้นอุจจาระดูRotar virus แต่อย่างว่า พวกนี้ไม่มียารักษาเฉพาะ ยกเว้นไข้หวัดใหญ่. ตรวจที่คลินิกอาจจะสิ้นเปลืองเงินคนไข้ครับ ทำให้ค่าใช้จ่ายคนไข้สูงขึ้นโดยไม่จำเป็นหรือเปล่าก็ต้องลองคิดดูก่อนครับ? ถ้ากลุ่มลูกค้ามีฐานะดีและพร้อมจะจ่าย ถ้าเราตรวจได้เขาก็จะชอบมากครับ ได้รู้ไปเลยว่าป่วยอะไร. แต่ถ้ากลุ่มลูกค้าฐานะไม่มาก. เอาเงินไปลงทุนยายี่ห้อดีๆคุณภาพดีๆ จะกว่าไหมครับ? ต้องลองคิดดูครับ ตรวจHIV ผมไม่ทำครับ เพราะหลักการมันควรมีการให้คำปรึกษาเป็นเรื่องเป็นราว อย่างโรงพยาบาลเขามีหน่วยงานเฉพาะดูแลจนถึงพาไปกินยาต้านไวรัส เขามีนักจิตบำบัดเยียวยาอีก. ไม่ใช่มาเจาะเลือดที่คลินิก แล้วก็บอกว่า คุณมีเชื้อเอสไอวีนะ แล้วก็จบแยกย้าย. มันไม่ใช่แบบนี้ ไม่ควรครับ ให้ไปโรงพยาบาลดีกว่านะผมว่า หรือไม่คลินิกก้ต้องสร้างระบบมารับผิดชอบดูแลคนไข้ที่ผลเลือดเป็นบวกครับ ถ้างบน้อย ช่วงแรกไม่ควรลงทุนมากครับ. บางทีเราก็มองตลาดผิดเหมือนกันนะครับ? คนอาจจะไม่เยอะช่วงแรก หรือไม่เยอะตลอดไปก็เป็นได้ครับ. ลงทุนให้น้อยไว้ก่อน. แล้วค่อยๆโตตามตลาด ตามการตอบสนองของคนไข้ครับ. เราต้องนั่งตบยุงอย่างน้อย6เดือนครับ ถึงจะเริ่มมีคนไข้มานั่งคอยเราตรวจเยอะๆครับ เราจริงจังกับคลินิกแค่ไหน? กะอยู่ยาว หรือเปิดเล่นๆรอไปเรียนต่อ รอย้ายจังหวัด. ถ้าไม่คิดจะยึดเป็นอาชีพที่สอง ก็อย่าลงทุนเยอะครับ มันจะไม่คุ้มค่าเช่าที่เอานะครับ. แต่อย่างไรก็ดีเครื่องมือแพทย์นี่เก็บได้นานเลยครับ ผมเคยเปิดคลินิก10ปีก่อน แล้วไปเรียนเลยปิดไป10ปีเลย ตอนนั้นซื้ออุปกรณ์สแตนเลส เช่น รถทำแผล รถให้IV กรรไกร forceps เตียงคนไข้ ตู้. ของอย่างดี. ผ่านไป10ปี เอามาใช้ได้อีกครับ ยังทนทานมาก. เรียกว่าเปิดอีกครั้ง ลดต้นทุนไปเยอะครับ EKG AED ถ้างบไม่ถึง ไม่ควรลงทุนครับ แพงเอาเรื่อง เป็นแสนครับ ถ้าอยากมีลองหามือสองดูครับ. ส่วนคลินิกผม สงสัยหัวใจ รีเฟอร์โล้ดครับ. ชาตินึงมั้งจะเจอคนไข้ในคลินิกที่ควรทำอีเคจี. ผมว่าคนไข้ก็พอรู้ว่าอาการอะไรควรมาคลินิก อะไรควรไปโรงพยาบาลครับ. ยิ่งเขาเหันคลินิกเล็กๆ. เขาก็พอเดาๆได้อยู่ครับ อุปกรณ์ใช้กู้ชีพต้องมีครับ พวกทิ้วแอมบู ยาอะดรีนาลิน. หาซื้อได้อยู่ครับ มีร้านขายเฉพาะอยู่ครับ AEDกำหนดมาตรฐานต้องมีเฉพาะคลินิกที่ทำผ่าตัดครับ คลินิกทั่วไปไม่ได้กำหนดว่าต้องมี , AED เครื่องละห้าหมื่นบาทได้ครับ จะลงทุนต้องคิดให้ดีเลยครับ ถ้างบเรามีจำกัดครับ อาจเป็นเครื่องมือที่เราไม่ได้ใช้เลยก็ได้ครับ อีกอย่างที่หินมาก คือการจดทะเบียนร้านครับ ระเบียบค่อนข้างเยอะ. ควรศึกษาระเบียบการเปิดคลินิกก่อน ว่าต้องสร้างอย่างไร ประตูกว้างแค่ไหน มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ขยะติดเชื้อเก็บยังไง. ไม่ใช่ว่าทำคลินิกไปแล้ว ทำเองมั่วไป. แต่จดทะเบียนไม่ผ่าน ต้องมาแก้ร้าน มาทุบประตูนะครับ. กว่าจะขออนุญาตเสร็จใช้เวลาเป็นเดือนครับ. คิดถึงจุดนี้ไว้ด้วยครับ จะจ้างใครเป็นผู้ช่วย พยาบาลไหม หรือผู้ช่วย เภสัช หรือใครก็ได้มาทำหน้าร้าน? ขึ้นกับงบประมาณที่เรามีครับ ยิ่งความสามารถสูงก็ยิ่งต้องจ่ายมากครับ อาจกระทบต่อรายได้กำไรคลินิกด้วยครับ ถ้าความสามารถไม่สูงนัก หมอก็ต้องเหนื่อยมากหน่อยที่ต้องคุมคุณภาพร้านครับ เพราะยามที่คลินิกมีรายได้น้อย หรือวันที่ไม่มีคนไข้. พนักงานจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องเสียครับ แม้ว่าเราจะไม่ได้กำไรสักบาทในวันนั้นเลยครับ ถ้าไม่คิดให้ดี จะขาดทุนสะสมแล้วเราจะเสียกำลังใจด้วยครับ เอาไว้คลินิกลอยตัว รายได้ดี แล้วค่อยลงทุนจ้างพนักงานที่ความสามารถสูงๆก็ได้ครับ อีกเรื่องคือโควิดครับ. อยากให้คำนึงด้วยว่าคลินิกเรารับมือโควิดได้แค่ไหน ห้องตรวจเราระบายอากาศไหม แยกคนไข้มีไข้ออกจากไม่มีไข้ได้ไหม มันไม่ใช่ข้อกำหนดอะไรจากรัฐว่าคลินิกต้องใส่ใจเรื่องโควิดนะครับ แต่เราควรคิดว่าคลินิกส่วนตัวของเราก็เหมือนบ้านของเราเอง. เราเอาคนไข้ที่อาจเป็นโควิดเข้าในบ้านเรา. เราหายใจร่วมกับพวกเขา แล้วเราจะติดโควิดไหม? อย่างโรงพยาบาลเขามีระบบนี้อยู่แล้ว เขามีห้องARI เฉพาะ. ผมเห็นหลายๆคลินิกคนไข้นั่งรอติดกันเป็นพืดๆ. ให้ห้องแอร์แคบๆ ไม่มีระบบระบายอากาศเลย. เราก็พูดกับตลอดว่า social distancing แต่ทำไมคนไข้มานั่งติดๆกับไปหมดในคลินิก อย่างนี้คนไม่ป่วยไม่ต้ดกันไปหมดเหรอครับ? แล้วหมอเราเองจะติดไหมละครับ? ถ้าเราป่วยเราก็ต้องปิดร้าน. รายได้ก็หายอีก ไม่มีสวัสดิกราอะไร? คลินิกผมทำห้องแยกคนไข้มีไข้ออกไป แม้แต่นั่งคอยก็ไม่ให้ปนกันครับ ตรวจแยกห้อง. และใช้พัดลมระบายอากาศมาก คำนวณทิศทางลมที่จะระบายออกไป ไม่เปิดแอร์ครับ ทำห้องให้โปร่งมากที่สุดครับ ที่ผ่านมาช่วงโควิด คลินิกหลายแห่งปิดครับ เพราะกลัวโควิดในคลินิก. ถ้าตอนนี้เราออกแบบคลินิกเราดี ให้ระบายอากาศได้ดี แยกคนไข้มีไข้ออกจากกัน. ในอนาคตไม่ว่าจะมีเชื้อบ้าบออะไร. คลินิกเราก็ยืนยัดอยู่ได้ไม่ต้องกลัวครับ และปลอดภัยด้วย เปิดคลินิกไม่ง่ายแต่สนุกครับ ไม่รวยมากแต่รวยก็มีและเจ้งก็มีครับ หัวใจหลักที่ต้องสร้างให้ได้คือ ความศรัทธาครับ คลินิก อยู่ได้เพราะคนไข้ศรัทธาในหมอคนนั้นครับ ใช้เวลานานในการสร้างความศรัทธาครับ แต่มันคุ้มค่าครับ เพราะคนไข้จะอยู่กับเราไปอีกนาน และบอกต่อๆๆๆไปเรื่อยๆครับ สร้าง แบรนด์ให้ตนเอง แล้วเราจะครองพื้นที่ตรงนั้น. แม้ว่ามีคู่แข่ง. เขาก็จะกินเรายากครับ ปล .ยาน้ำของเด็ก ผมเปิดชิมเองทุกชนิดครับ ถ้ารสชาดขม ไม่อร่อย ไม่เอาเข้าร้านครับ ผมเลือกซื้อมาหลายยี่ห้อมากครับ เอามาชิม แล้วคิดว่าเด็กๆจะชอบรสไหน เช่น ยาฆ่าเชื้อรสกล้วยหอม. ยาแก้ไอรสเชอรี่ ยาลดน้ำมูกรสครีมโซดา แล้วจะเปลี่ยนยี่ห้อยาทุกสามเดือนครับ เพราะคนไข้เด็กกลับมา จะได้รู้สึกว่าไม่ได้ยาขวดเดิมๆ. เป็นความโรคจิตอันนึงหรือจะเรียกว่าการใส่ใจบริการจนเกินไปก็ได้มั้งครับ อ่านจบแล้ว คิดจะเลิกทำหรือเปล่าครับ?
|
|