แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39207: Octapharma นำเสนอปัญหาการจัดการสารต้านในโรคฮีโมฟีเลีย เอ  (จำนวนคนอ่าน 199 ครั้ง)
« เมื่อ: 01/21/22 เวลา 14:55:46 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยที่จะจัดขึ้นทางออนไลน์ในวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 18.00 น. ตามเวลายุโรปกลาง (CET) นี้ จะเผยเรื่องราวของครอบครัวโรดริเกซที่มีลูกชาย 2 คนเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เอ และการรับมือกับปัญหาการจัดการสารต้านแฟคเตอร์ของพวกเขา
 
การก่อสารต้านแฟคเตอร์ทดแทน VIII (FVIII) ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ และครอบครัวผู้ป่วยวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีประวัติการก่อสารต้านอยู่แล้ว ซึ่งต้องเผชิญปัญหาในการใช้ชีวิต โดยมีความเสี่ยงที่จะเลือดออกสูงขึ้นและต้องพึ่งพาวิธีการรักษาอาการเลือดออ กที่ได้ผลน้อย ดังนั้นทางการแพทย์จึงต้องการลดความเสี่ยงในการก่อตัวของสารต้านและหาแนวทาง ที่ได้ผลในการกำจัดสารต้านที่ก่อตัวขึ้นแล้ว
 
งานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยทางออนไลน์ระดับรองในชื่อ "A family story: Navigating key inhibitor management challenges in haemophilia A" (เรื่องเล่าจากครอบครัว: การข้ามผ่านความท้าทายสำคัญในการจัดการกับสารต้านในโรคฮีโมฟีเลีย เอ) จะเผยให้เห็นถึงความยากลำบากของคุณแจ็กเกอลีนกับจัสติน และลูกชายทั้ง 2 คนของพวกเขา จัสติน-เรกับเจซ โดยประธานของช่วงดังกล่าวได้แก่ ดร.วิลเลียม โบ มิตเชลล์ จากโรงพยาบาลเด็กที่มอนเตฟิโอเร เขตบรองซ์ เมืองนิวยอร์ก ผู้ทำการรักษาเด็กชายทั้ง 2 "สำหรับผู้ปกครองแล้ว เด็ก ๆ จะต้องได้รับการห้ามเลือดด้วยวิธีการรักษาที่ดีเยี่ยมรอบด้าน ดังนั้นการปลอดสารต้านจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการรักษาให้ได้ผล" ดร.มิตเชลล์กล่าว
 
ในงานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าว คณะแพทย์ชั้นนำจากนานาชาติจะอภิปรายถึงเรื่องราวของครอบครัวโรดริเกซและประส บการณ์ในด้านเซลล์ไลน์ของมนุษย์ที่มาจากผลิตภัณฑ์ recombinant FVIII ตลอดจนนำเสนอและอภิปรายถึงปัญหาทางคลินิกต่าง ๆ อาทิ ความจำเป็นในการห้ามเลือดและการลดสารต้านในเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาก่อนหน้ านี้ การใช้ immune tolerance induction (ITI) เพื่อกำจัดสารต้าน รวมถึงงานวิจัยทางคลินิกต่าง ๆ ในอนาคตสำหรับการจัดการสารต้าน
 
คุณลาริสา เบเลียนสกายา หัวหน้าแผนกโลหิตวิทยา IBU แห่ง Octapharma ให้ความเห็นว่า "เมื่อได้พูดคุยกับผู้ป่วยและครอบครัวแล้ว เราทราบว่าการก่อตัวของสารต้าน FVIII ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ พวกเราที่ Octapharma จึงมุ่งหาวิธีช่วยลดสารต้านในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ"
 
คุณโอลาฟ วอลเตอร์ กรรมการบริษัท Octapharma กล่าวเสริมว่า "พวกเราที่ Octapharma อุทิศตนเพื่อยกระดับชีวิตของผู้ป่วย และเมื่อได้ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ป่วยและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโรคฮี โมฟีเลีย เอแล้ว ก็ยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของผลงานของเรา"
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมของ Octapharma ในงานประชุมระดับสูงทางออนไลน์ EAHAD 2022 ได้ที่ https://www.octapharma.com/engagement/international-events/2022/eahad-20 22
 
เกี่ยวกับ Octapharma
 
Octapharma มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองลาเคิน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โปรตีนมนุษย์รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นผู้พัฒนาและผลิตโปรตีนมนุษย์จากพลาสมาและเซลล์ไลน์ของมนุษย์
 
Octapharma มีพนักงานกว่า 9,000 คนทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยใน 118 ประเทศ ด้วยผลิตภัณฑ์ครอบคลุมการรักษา 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ภูมิคุ้มกันบำบัด โลหิตวิทยา และการดูแลขั้นวิกฤติ
 
Octapharma มีศูนย์วิจัยและพัฒนา 7 แห่ง และมีโรงงานผลิตล้ำสมัย 6 แห่งในออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี เม็กซิโก และสวีเดน โดยบริหารงานในศูนย์บริจาคพลาสมากว่า 160 แห่งทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา
 
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1727966/Octapharma_logo.jpg
 
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
171.101.110.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by