แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39183: Re: แจ้งจับหมอ ทำเด็กวัย12 ปีตาย  (จำนวนคนอ่าน 2581 ครั้ง)
« เมื่อ: 12/26/21 เวลา 23:51:38 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

time line จากข่าวนะครับ
21/12/64  
11.00 น ไปตรวจน่าจะติดเที่ยง รอตรวจตอนบ่าย admit
22.00 น ตรวจเลือดน่าจะเจอ PMN 72% อาเจียนปนเลือด หายใจติดขัด  
** ในภาพข่าว มีการใส่ NG + ให้ IV fluid น่าจะ observe อาการ
 
22/12/64
8.00 น หมอ (น่าจะเวรดึก) บอกว่าจะส่งตัวไปรักษาต่อ
12.40 น ชัก arrest ปั๊มไม่ขึ้น ลงสาเหตุการตายว่าติดเชื้อในกระแสเลือด
 
ถ้าอาการตามข่าวบอกจริง สงสารคนไข้และญาติมากๆ  
เพราะมี clue หลายอย่างที่บอกว่าต้อง investigation เพิ่มเติม
ถ้า รพ.ผมที่น้องค่อนข้าง over investigation น่าจะได้ CT whole abdomen ตั้งแต่วันที่ 21 แล้ว  
ต้องไปสอบล่ะว่า บอกจะส่งตัวตั้งแต่ 8.00 น แล้วทำไม 12.40 น ยังอยู่
- โทรไป refer แต่ไม่รับ --> อันนี้ staff เตรียมตัวซวย
- บอกจะส่ง แต่ไม่ส่ง --> อันนี้แพทย์ รพช.รับเต็มๆ  
 
เรื่อง investigation CT ผู้บริหารให้ผมมาตรวจสอบว่า มีการส่งตรวจแบบไม่มี indication ไหม  
ผมตรวจดูแล้วหลายๆ เคส ก็ไม่มี indication ในการส่งเลย แต่ผล CT ออกมาก็บอกการวินิจฉัยส่งผลต่อการรักษาประมาณครึ่งต่อครึ่งเลย
ส่งโดย: Hybrid VI
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 6180  
   
1.47.136.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 12/27/21 เวลา 06:21:55 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

รอโรงพยาบาลมาชี้แจง จากข่าว ดูหมอจะเกินเบอร์ไปมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 12/27/21 เวลา 06:22:53 by doreus »
ส่งโดย: doreus
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 10681  
   
49.228.110.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 12/27/21 เวลา 08:48:40 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

-เรื่องแบบนี้ ยาว
 
เพราะเรื่องเกิดในหน่วยงานของรัฐ ต้องดูต่อว่า ถ้ามีการฟ้องร้อง จะฟ้องเป็นดดีแพ่ง หรืออาญา  
 
-แต่ผู้กระทำเป็นพนักงานของรัฐ ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย ""หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตน ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้อง หน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ "  ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ หมายถึงถ้าฟ้องแพ่ง ผู้อำนวยการจะต้องเป็นจำเลย เนื่องจากเป็นผู้บังคับบัญชา และต้องกันตัวผู้กระทำไว้ก่อน และมีอัยการเป็นทนายให้
 
-แต่ถ้าฟ้องอาญาก่อน เพื่อชนะแล้วค่อยฟ้องแพ่ง ก็ต้องแล้วแต่สำนวนการฟ้อง ว่าสามารถเข้าข่ายพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙  ถ้าเข้าก็วนลูปเดิม
 
-เรื่องแบบนี้เมื่อเกิด ผู้อำนวยการต้องทำเรื่องรายงานแพทย์ใหญ่ในจังหวัด  และถ้าเป็นเรื่องครึกโครม ต้องรายงานถึงส่วนกลาง อาจจะถึงปลัดฯ หรือ รัฐมนตรี ในข้อเท็จจริงทั้งหมด และส่วนมาก ส่วนกลางจะเป็นคนดูแลเรื่องทั้งหมด ซึ่งส่วนมากจะจบแบบสวยๆ ไม่ต้องเป็นศพ ตัวระบบจะคุ้มครองได้มากเกินครึ่ง ทำให้รอดปลอดภัย ไม่ต้องห้อยหลวงพ่ออะไร  
 
-ข้อแนะนำ ถ้าหากสื่อต้องการให้ออกรายการ  ไม่ควรจะออก เพราะส่วนมากจะโดนขยี้คารายการ  โดนคำถามว่า คุณทำหรือไม่ทำ ใช่หรือไม่ใช่  ไม่น่าจะดีกับจำเลย
ส่งโดย: 6699
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1520  
   
223.205.233.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 12/27/21 เวลา 15:50:10 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ส่วนตัวในฐานะเป็นGI เคสที่มาด้วยacute abdominal pain หลายเคสsignหน้าท้องไม่ได้ชัด แต่ได้คำตอบจากการทำCT abdomen โดยเฉพาะเคสที่เป็น vascular thrombosis ในช่องท้อง
 
Key word คือ acute severe abdominal pain ควรรีบหาสาเหตุให้เจอทุกราย ไม่ควรobserve signหน้าท้องเพราะจะdelay diagnosisและตามมาด้วยdelay treatment ทำให้เกิดmorbidityและmorbidityตามมา โดยเฉพาะ ควรexclude acute surgical abdominal conditionโดยการทำimaging มันคล้ายเคสheadache ที่มีred flag sign คือ first episode sudden severe headache
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 12/27/21 เวลา 15:51:41 by น้ำเน่าในเงาจันทร์ »

ส่งโดย: น้ำเน่าในเงาจันทร์ male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 6054   Email
   
110.170.76.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 12/27/21 เวลา 23:42:57 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

on 12/27/21 เวลา 15:50:10, น้ำเน่าในเงาจันทร์ wrote:
ส่วนตัวในฐานะเป็นGI เคสที่มาด้วยacute abdominal pain หลายเคสsignหน้าท้องไม่ได้ชัด แต่ได้คำตอบจากการทำCT abdomen โดยเฉพาะเคสที่เป็น vascular thrombosis ในช่องท้อง
 
Key word คือ acute severe abdominal pain ควรรีบหาสาเหตุให้เจอทุกราย ไม่ควรobserve signหน้าท้องเพราะจะdelay diagnosisและตามมาด้วยdelay treatment ทำให้เกิดmorbidityและmorbidityตามมา โดยเฉพาะ ควรexclude acute surgical abdominal conditionโดยการทำimaging มันคล้ายเคสheadache ที่มีred flag sign คือ first episode sudden severe headache

 
แต่ใน condition รพช.ที่ไม่มี CT นี่แหละครับที่มันยาก  
แล้วถ้าพื้นที่นั้น staff ศัลย์แบบกินหัวนี่ แทบจะปิดประตูการ refer ไปได้เลยถ้าไม่ระบุโรคชัดเจนจริงๆ (ขนาดชัดเจนแล้วมันยังถามย้ำว่าแน่ใจเหรอ)
ส่งโดย: Hybrid VI
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 6180  
   
1.47.0.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 12/28/21 เวลา 07:53:39 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

on 12/27/21 เวลา 23:42:57, Hybrid VI wrote:

 
แต่ใน condition รพช.ที่ไม่มี CT นี่แหละครับที่มันยาก  
แล้วถ้าพื้นที่นั้น staff ศัลย์แบบกินหัวนี่ แทบจะปิดประตูการ refer ไปได้เลยถ้าไม่ระบุโรคชัดเจนจริงๆ (ขนาดชัดเจนแล้วมันยังถามย้ำว่าแน่ใจเหรอ)

 
ผมเลยลาออกมาอยู่เอกชนนี่แหละครับ ในเอกชนส่งCTส่งกันบ่อยมาก แถมส่งCTค่าใช้จ่ายน้อยกว่านอนโรงพยาบาลสังเกตอาการ1วันอีก

ส่งโดย: น้ำเน่าในเงาจันทร์ male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 6054   Email
   
27.55.73.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 12/28/21 เวลา 11:01:42 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Acute Abdomen Conditions ถ้าไม่มี Trauma dHต้องคิดถึง Acute Appendicitis เป็นอันดับแรกq แล้วก็ Acute Gastritis, Gut; Obstruction/ Perforation ฯลฯ เป็นอันดับถัดๆมา นิ
แพทย์ผู้เข้าเวรต้องรีบมาดู+ รีบ Investigations/ managements/ Consult Staffs เลยครับ
ส่งโดย: Dr._Panya male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1916  
   
58.11.3.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 12/29/21 เวลา 15:05:29 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

  เด็ก 12  ใส่ NG  มีอาเจียนเป็นเลือด ก็น่าตื่นเต้นมากแล้ว
   แต่อย่างว่าพอตายแล้ว จะด่าอะไรตรงไหนมันก็ง่ายไปหมดแหละครับ
   22.00-8.00  ทำไมถึงเว้นว่างไปเลย  สมมุติ ว่าต้องเจาะ LAB แต่ LAB ปิดไปแล้ว ระบบบอกว่าจะส่งได้ WBC ต้องเกินหมื่น หรือไม่มี lab ปลายทางไม่รับ รอlabซ้ำ เช้าผลออก ปลายทางเตียงไม่ว่าง เที่ยงก็แล้วไม่ได้ไปสักที รอปลายทาง D/C คนไข้ก่อนค่อยรับใหม่ ก็มีเรื่อยๆเรื่องแบบนี้  
   ชีวิตจริงมันไม่ง่ายนะ  และผมว่า ใครๆก็ไม่อยากซวย  ส่งได้ก็ส่งอยู่แล้ว เขียนใบส่งง่ายจะตาย  ง่ายกว่ามานั่งเครียดงานเข้าตั้งเยอะ  ปัญหาคือ พยายามสร้างกำแพงให้ส่งยากขึ้นเรื่อยๆมากกว่า
ส่งโดย: blitzs
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 2998  
   
110.164.66.*


« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: 12/29/21 เวลา 23:57:28 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

on 12/29/21 เวลา 15:05:29, blitzs wrote:
  เด็ก 12  ใส่ NG  มีอาเจียนเป็นเลือด ก็น่าตื่นเต้นมากแล้ว
   แต่อย่างว่าพอตายแล้ว จะด่าอะไรตรงไหนมันก็ง่ายไปหมดแหละครับ
   22.00-8.00  ทำไมถึงเว้นว่างไปเลย  สมมุติ ว่าต้องเจาะ LAB แต่ LAB ปิดไปแล้ว ระบบบอกว่าจะส่งได้ WBC ต้องเกินหมื่น หรือไม่มี lab ปลายทางไม่รับ รอlabซ้ำ เช้าผลออก ปลายทางเตียงไม่ว่าง เที่ยงก็แล้วไม่ได้ไปสักที รอปลายทาง D/C คนไข้ก่อนค่อยรับใหม่ ก็มีเรื่อยๆเรื่องแบบนี้  
   ชีวิตจริงมันไม่ง่ายนะ  และผมว่า ใครๆก็ไม่อยากซวย  ส่งได้ก็ส่งอยู่แล้ว เขียนใบส่งง่ายจะตาย  ง่ายกว่ามานั่งเครียดงานเข้าตั้งเยอะ  ปัญหาคือ พยายามสร้างกำแพงให้ส่งยากขึ้นเรื่อยๆมากกว่า
    

 
นั่นแหละครับ ... ก็เลยอยากจะรู้รายละเอียด
เท่าที่อ่าน timeline เหมือนว่า plan จะส่งแล้ว ทำไมตอนเที่ยงถึงยังอยู่ ปกติกระบวนการ refer ไม่เกิน 1 ชม. รถ refer ก็พร้อมไปแล้ว
ส่งโดย: Hybrid VI
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 6180  
   
182.232.97.*


« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 09:09:48 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผมว่าคงต้องหารือกันแก้ไขระบบในจังหวัด
เหมือนจังหวัดหนึ่งที่ผ่าไส้ติ่งแล้วตายเป็นคดีฟ้องร้อง ตอนนี้staffศัลย์ก็รับreferง่ายมาก  
ปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้นมาก referมาน่าจะง่ายกว่านอนobserve รพช

ส่งโดย: น้ำเน่าในเงาจันทร์ male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 6054   Email
   
49.237.9.*


« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 09:49:32 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การ Refer...
ต้นทางพร้อมส่ง/ อยากจะส่ง(ใจจะขาด)
แต่ปลายทาง(ส่วนใหญ่)ไม่ค่อยอยากรับ(ใจจะขาด)
อิ อิ อิ
ส่งโดย: Dr._Panya male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1916  
   
124.120.16.*


« ความเห็นที่ #11 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 09:53:56 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ต้องสร้าง ระบบ ที่ รับไป ประเมิน แล้วถ้าไม่ด่วนรับกลับทันทีค่ะ จะได้ไม่เป็นภาระ work load รพ ใหญ่  รพ ใหญ่ เตียมเจฝต็มตลอด แต่เพราะคนไข้เรื้อรังก็เยอะไงค่ะ คนไข้ไหม่ ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเร่งด่วนเลยเข้าไปไม่ได้  สงสารเด็ก  แล้วอยากให้มีfast track เด็ก ด้วยค่ะ เด็กเค้า รอได้น้อยกว่าผู้ใหญ่ มีโอกาส หายเร็ว กว่าคนแก่  ตอนนี้ รพ เป็นแบบ คนแก่ กินเตียง ดันเด็กหลุดออกจากการรักษาค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 12/30/21 เวลา 09:55:20 by jumpoo »
ส่งโดย: jumpoo
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 400  
   
1.47.23.*


« ความเห็นที่ #12 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 09:56:18 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

แต่เคสนี้ ก็ Delayed Managements จริงๆแหละ
จากเวลาที่เด็กมา รพ. จนเด็กตายก็ประมาณ 1 วันเอง...signs and symptoms ต่างๆก็น่าจะชัดแล้วล่ะ คือน่าจะมี Sepsis/ Peritonitis เยอะมากๆๆแล้ว
ส่งโดย: Dr._Panya male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1916  
   
124.120.16.*


« ความเห็นที่ #13 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 15:07:16 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

  มองเป็น ระบบ มี key  2 ข้อแหละครับ
   active management
   second opinion
 
   จะสร้างบรรยากาศการทำงานอย่างไร ให้ ตื่นตัวเสมอ  ไม่ใช่เวรดึกมาก็พักไว้ก่อน
   จะสร้างโอกาศอย่างไร ให้คนไข้เข้าถึงการปรึกษา หรือ ตรวจเบื้องต้น จากหมอเฉพาะทางในสาขานั้นๆ หรือ GP ที่มีประสบการณ์กว่าก็ยังดี  แต่ส่วนใหญ่กลายเป็นให้ GP จบใหม่วินิจฉัยให้ได้ชัด ถึงจะไปต่อได้ นอกเวลาก็ตัวคนเดียว อยู่กะพยาบาล consult คนนี้ไม่ได้คำตอบก็เกมเลย  
  ส่วนปลายทางที่เต็มๆล้นๆก็เป็นอีกบริบท ที่ทำให้การเข้าถึง และความ active ยากขึ้นไปอีก
   
    ถ้ามองตัวบุคคล  ไม่เก่ง  หรือ ไม่รับผิดชอบ พอเจอเรื่องแบบนี้ก็ เละแบบไม่ต้องสืบ
ส่งโดย: blitzs
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 2998  
   
110.164.66.*


« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 19:40:14 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

จะพูดถึง 2 ประเด็น
 
1.
คุณรู้เหตุผล ที่ทำไม  เขาจึงให้แพทย์จบใหม่ ถึงให้ไปใช้ทุน ที่ รพช
 
 
1  ใน เหตุผลที่สำคัญ ที่สุด  ก็คือ จะได้  เข้าใจ  เขา   และ เข้าใจเรา เมื่อไปอยู่ตรงจุดนั้น  
 
และเมื่อ  เราเปลี่ยนไปอยู่ตรงจุดอื่นและมองมาตรงจุดนั้น
 
 
เข้าใจ ในที่นี้  หมายถึง  ทั้ง แพทย์ และผู้ป่วย
 
 
 
แพทย  ที่  ไม่เคยผ่าน  รพช  เมื่อเป็น สตาฟ รพศ  มักขอบกินหัว  หมอ รพช
 
แต่หากเป้นหมอที่เคยผ่านและเข้าใจ  สภาพการณ์  มักจะไม่เป้นแบบนั้น ถึงมีบ้างแต่น้อยกว่า
 
 
ขณะเดียวกัน  ในบริบท หมอใน โรงพยาบาลเอกชน  ก็จะไม่เข้าใจสภาพ  
 
ท่ามกลางความจำกัด  ของ   หมอใน รพช
 
2.การวิจารณ์ timeline ย้อนหลัง หรือ retrospective
 
เหมือนกรณี dead case conference
 
กรรณีทีชัดที่สุด คือ  กรณี  ที่นักบินเอาเครื่องลงจอดกลางแม่น้ำฮัดสัน จนมาทำเป็นหนัง เรื่อง
Sully ที่มีการสอบสวนนักบินว่าตัดสินใจผิดพลาดที่เอาเครื่องบินจอดกลางแม่น้ำแทนที ่จะลงจอด ที่สนามบินได้
 
ลองไปหาสารคดี มาดูครับ
 
เขาพุดถึง เสี้ยววินาที ในการตัดสินใจ  ทุกอย่าง
ตั้งแต่การสื่อสารกับผุ้โดยสาร หอบังคับการบิน
มุมองศาที่เลี้ยวลำกลับระหว่างตัดสินใจ
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไประวังรอตัดสินใจ
 
 
 
สิ่งที่อยากบอก  คือ    การ retrospective เป้นการมองจากหลังมาหน้า
 
และการอยู่ในบริบท ท่ามกลางความจำกัด  และเมื่อจะส่งต่่อ
 
เราไม่รู้หรอกว่า มีการติดต่อส่งต่อไปกี่ครั้ง
 
และมีการตอบว่าอย่างไร
 
ดังนั้นการวิจารณ์อะไรก็ควรใช้ความระมัดระวังเพราะเป้นสื่อสาธารณะ
 
ยังมีข้องมูลบางอย่างที่เราไม่รุ้ และใช้สภาพการณ์ของความพร้องของสถานพยาบาลมาตัดสินใจ ว่า สิ่งนั้น ถุก หรือผิด ไม่ได้
ส่งโดย: philosophy
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 419  
   
58.11.92.*


« ความเห็นที่ #15 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 21:01:28 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

สรุปโรงพยาบาลออกมาชี้แจงหรือยังครับ
ส่งโดย: doreus
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 10681  
   
124.122.91.*


« ความเห็นที่ #16 เมื่อ: 12/30/21 เวลา 21:38:13 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

หลายๆคนเป็นสตาฟ ตอนอยู่รพช.เคยลำบากก็ไม่ได้เห็นใจรพช.นะ  เกี่ยวไม่รับรีเฟอ คอนเซ้ายาก อ้างโน่น อ้างนี่ตลอด
ส่งโดย: Pandermonium
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 662  
   
49.230.142.*


« ความเห็นที่ #17 เมื่อ: 01/18/22 เวลา 09:30:57 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

หลายๆที่ นอกจากเวลาจะ Refer จาก รพช. ไป รพท./ รพศ. จะให้ Interns โทรศัพท์บอก/ ปรึกษา Staff แผนกนั้นๆ/ แผนกฉุกเฉินก่อนว่า ผป. มีอาการอะไร/ คิดถึงอะไร/ ทำไมต้องส่งตัว/ ถ้าไม่ส่งตัวได้มั้ย แล้วจะให้รักษายังไงต่อไป...เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของ Interns+ ลดการส่งตัวมาอัดกันที่ รพท./ รพศ.+ ญาติๆของผู้ป่วยสะดวกในการมาเยี่ยม/ ร่วมดูแลผู้ป่วยมากขึ้น+ ลดการเกิดอุบัติเหตุ/ เสียชีวิตระหว่างการส่งตัว( บางแห่ง รพท./ รพศ. นั้นอยู่ห่างจาก รพช. มากมาย ถนนหนทางเป็นภูเขา คดเคี้ยว มืดมากๆ ฯลฯ) นั่นเองครับ เมื่อ Staff ที่ รพท./ รพศ. รับจากแล้วเห็นว่า ควรจะส่งตัวมา ค่อยพิมพ์ใบส่งตัว(เป็นลายลักษณ์อักษร/ เป็นหลักฐาน นั่นแหละ)
 
ป.ล. แต่ Staffs หลายๆคน ก็มักจะ "รับประทานศีรษะ" Interns ตอที่โทรรีเฟอร์ นั่นแหละ อิ อิ อิ
 
ส่งโดย: Dr._Panya male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1916  
   
124.120.12.*


« ความเห็นที่ #18 เมื่อ: 02/10/22 เวลา 15:13:10 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


ข้อจำกัด ของรพช. หรือ รพ.รัฐ มีเยอะ  
เคสปวดท้องรพช. ที่ไม่มี CT จะลำบากหน่อยๆ  
หรือ คิว CT ที่เยอะมากๆ ในบางรพ. อาจเสียชีวิตก่อนได้ CT
 
ทบทวน เพื่อ พัฒนาต่อไปค่ะ  
 
 
ปล. แนะนำไปทำ CT เอกชนเลย ถ้าคนไข้พอมีกำลังทรัพย์
ส่งโดย: luzeus
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1170  
   
183.88.217.*


« ความเห็นที่ #19 เมื่อ: 04/11/22 เวลา 14:30:41 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Shocked Shocked Shocked
ส่งโดย: ชายไทย อาชีพทำสวน
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 12  
   
14.207.113.34 fwd for 172.16.1.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by