แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 39037: คลังข้อมูลแรกของโลกสำหรับโรคปอดอินเตอร์สติเชียล  (จำนวนคนอ่าน 287 ครั้ง)
« เมื่อ: 09/08/21 เวลา 12:26:37 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

แวดวงวิชาการและภาคอุตสาหกรรมผนึกกำลังเปิดตัวคลังข้อมูลแรกของโลกสำหรับโรค ปอดอินเตอร์สติเชียล
 
ฐานข้อมูล Open Source Imaging Consortium (OSIC) อันเป็นที่ตั้งตารอนี้ ขับเคลื่อนโดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกทั้งในด้านระบบการหายใจ รังสีวิทยา และปัญญาประดิษฐ์ โดยเป็นคลังข้อมูลที่ใหญ่และหลากหลายที่สุดสำหรับโรคพังผืดปอดที่เกิดขึ้นได ้ยากเช่นนี้
 
Open Source Imaging Consortium (OSIC)  ประกาศเปิดตัวคลังข้อมูลระดับโลกที่ประกอบด้วยภาพสแกน HRCT และข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับโรคปอดอินเตอร์สติเชียล (ILD) ที่ทำให้เป็นนิรนามแล้ว โดยเป็นฐานข้อมูลแรกในสาขาโรคปอดอินเตอร์สติเชียล ทั้งยังใหญ่และหลากหลายที่สุดในโลก ด้วยข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลภาพในโลกจริงที่มาจากหลายชาติพันธุ์และหลายศูน ย์ ปัจจุบัน OSIC Data Repository มีภาพสแกนที่ผ่านการควบคุมคุณภาพและทำให้เป็นนิรนามแล้วเกือบ 1,500 รายการพร้อมข้อมูลประกอบ และยังมีอีก 5,000 รายการอยู่ระหว่างการตรวจเพื่อควบคุมคุณภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมภาพสแกนนิรนามให้ได้ 15,000 ภาพสำหรับสมาชิก OSIC ภายในไตรมาสแรกของปี 2565
 
OSIC เป็นองค์กรความร่วมมือแบบไม่แสวงผลกำไรระดับโลกประเภท 501(c)(3) ระหว่างภาควิชาการ อุตสาหกรรม และกลุ่มพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ป่วย โดยมีขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในลักษณะโอเพนซอร์ส เพื่อต่อสู้กับโรคพังผืดสะสมในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ (IPF), โรค ILD แบบมีพังผืด และโรคอื่น ๆ ในระบบหายใจ รวมถึงโรคถุงลมโป่งพอง โดยแพทย์รังสีวิทยา ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และคู่แข่งในวงการจากทั่วโลก ได้ร่วมมือร่วมใจกันมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีในการพัฒนาฐานข้อมูลนี้ และกำลังทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพผ่านภาพดิจิทัล เพื่อให้วินิจฉัย พยากรณ์โรค และคาดการณ์การตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ภาพถ่ายได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ อัลกอริทึมที่ OSIC สร้างขึ้นจะเปิดให้อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยทุกที่
 
"การสร้างคลังข้อมูลของ OSIC นับเป็นความร่วมมืออันแน่แท้ของผู้คนจากหลาย ๆ สาขา องค์กร และประเทศ ที่มาร่วมมือร่วมใจกันในนามของผู้ป่วยทุกที่ ความสามารถในการรวบรวมและจัดการข้อมูลภาพและข้อมูลทางคลินิกแบบนิรนามจากทั่ วโลกนับเป็นอนาคตของวงการวิทยาศาสตร์ทางคลินิก" ดร. Kevin Brown จากโรงพยาบาล National Jewish Health และหัวหน้าแพทย์โรคระบบหายใจของ OSIC กล่าว "เราเคยเห็นความร่วมมือลักษณะนี้มาแล้วกับโรคอื่น ๆ ที่พบได้ทั่วไป แต่ไม่เคยมีความร่วมมือแบบนี้กับโรคหายาก และเมื่อฐานข้อมูล OSIC เติบโตและทำให้เราเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ แล้ว เราก็จะวินิจฉัยได้เร็วขึ้น คาดการณ์ผลลัพธ์ได้ดีขึ้น และวัดการตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้นอย่างมาก"
 
"ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ขั้นสูง แต่อุปสรรคสำคัญในการงัดใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ใช้กันในการศึกษาพังผืดป อด อยู่ที่การขาดแคลนคลังภาพที่ใหญ่และหลากหลายเพื่อนำไปฝึกฝนกับคอมพิวเตอร์" ดร. Simon Walsh จากสถาบัน National Heart and Lung Institute ในสังกัด Imperial College London และหัวหน้าฝ่ายรังสีวิทยาของ OSIC กล่าว "OSIC ตอบรับกับความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองนี้ ด้วยการมอบข้อมูลที่จำเป็นแก่นักวิจัยในการนำไปพัฒนาเทคนิคทาง AI เพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยและรองรับการแพทย์แบบแม่นยำ ความสามารถในการคาดการณ์การก่อตัวของพังผืดที่ปอดอย่างน่าเชื่อถือในผู้ป่วย แต่ละราย จะเปิดโอกาสให้แพทย์เริ่มการรักษาที่ให้ผลดีได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมชะลอไม่ให้โรคลุกลาม สิ่งนี้ยังคงเป็นปัญหาท้าทายเร่งด่วนอันดับต้น ๆ ในการรักษาผู้ป่วยโรคปอดเป็นพังผืดให้ได้ผลดี"
 
OSIC Data Repository  สร้างขึ้นด้วยภาพและข้อมูลทางคลินิกจากหลายแหล่งด้วยกัน ภาพสแกนทุกภาพถูกทำให้เป็นนิรนามด้วยการตรวจเช็คควบคุมคุณภาพทั้งแบบอัตโนมั ติและด้วยตนเอง ทางองค์กรกำลังหาภาพสแกนเพิ่มเติมจากหน่วยงานรัฐ กลุ่มพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ป่วย และจากการเข้าหาผู้ป่วยโดยตรง ฐานข้อมูลดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจากบริษัทด้านความเป็นส่วนตัวตามมาตรฐาน GDPR/HIPAA ระดับโลก 2 แห่ง ทั้งยังได้รับการรับรองจาก IRB ส่วนกลางและ IRB ประจำสถาบันมาแล้วหลายครั้ง โดยจะบริหารจัดการตามกฎหมายด้านความเป็นส่วนตัว กฎข้อบังคับ ความยินยอม และข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
 
"อนาคตของแวดวงวิจัยทางการแพทย์ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการเรียบเรียง ข้อมูลจำนวนมาก และทำให้ข้อมูลนั้นเป็นที่เข้าถึงได้เพื่อนำไปศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่า งลงลึกและเปิดกว้าง OSIC ภูมิใจอย่างยิ่งที่อยู่แถวหน้าของความเคลื่อนไหวนี้" ดร. David Barber จาก University College London และหัวหน้าฝ่ายวิทยาการคอมพิวเตอร์ของ OSIC กล่าว "ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และ OSIC Data Repository ก็มีข้อมูลเบื้องต้นมากพอในการทำความเข้าใจสาเหตุของโรคให้ดีขึ้น เพื่อรักษาผู้ป่วยและให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น"
 
OSIC บริหารงานโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงของตนเอง ทั้งดร. Kevin Brown, ดร. Simon Walsh และดร. David Barber ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันและพันธมิตรที่ร่วมเป็นสมาชิกจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น American Lung Association, EU-IPFF, PF Warriors, Action for Pulmonary Fibrosis, Boehringer Ingelheim, Siemens Healthineers, CSL Behring, Galapagos, FLUIDDA, Brainomix, National Jewish Health, National and Kapodistrian University of Athens, Universite de Lyon, Hospices Civils de Lyon, University of Vienna, National Hospital Organization Kinki-Chuo Chest Medical Center, Royal Brompton and Harefield Foundation Trust, University of Arizona College of Medicine - Phoenix, Pavilh?o Pereira Filho - Santa Casa de Miseric?rdia de Porto Alegre, The Research Institute of St. Joe's Hamilton, Thirona, Universita di Genova, Fondazione Policlinico Universitario Agostino Gemelli, VIDA Diagnostics และ imvaria
 
ติดตามข้อมูลข่าวสารอัปเดตจาก OSIC ได้ที่ OSICILD.org  หรือติดตามเราทาง Twitter ที่  @OSICild
 
ติดต่อ: Theresa Hennessey Barcy, theresa@tmhpublicrelations.com, 773-960-7276
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
171.7.64.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by