แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 38733: มว.-รพ.จุฬาฯ–ม.ศิลปากร พัฒนานวัตกรรมรักษาโรคผิวหนัง  (จำนวนคนอ่าน 421 ครั้ง)
« เมื่อ: 02/11/21 เวลา 14:35:07 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

IQ-IMG_0348__22_.jpg
มว. - รพ.จุฬาฯ – ม.ศิลปากร เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมรักษาโรคผิวหนังด้วยรังสียูวีจากแสงอาทิตย์  
 
 
พุ่งเป้าการรักษาให้มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากการรักษาด้วยยา และลดความแออัดของจำนวนผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
 
ชี้ในอนาคตผู้ป่วยสามารถประยุกต์ใช้เครื่องต้นแบบมาตรวัดยูวีในการติดตามค่า ความรับรังสียูวี เพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยตัวเองที่บ้านได้
 
ย้ำมาตรรังสียูวีสำหรับการวัดแสงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลถึงประสิทธิ ภาพของการรักษา
 
ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับหน่วยผิวหนัง ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกันวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบและวิธีการสอบเทียบมาตรรังสียูวี สำหรับการวัดรังสียูวีจากแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพสำหรับการรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยรังสียูวีจ ากแสงอาทิตย์ โดยมุ่งเน้นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วยยา ลดความแออัดของจำนวนผู้มารับการรักษาในโรงพยาบาล ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางผู้ป่วย
โรคผิวหนัง ถึงแม้ว่ามีความเสี่ยงต่ำที่จะก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็ก่อให้เกิดความรำคาญรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน มีผลต่อจิตใจ ความมั่นใจและบุคลิกภาพของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคสะเก็ดเงิน”  เมื่อป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน ความรุนแรงของผื่นผิวหนังอักเสบจะเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่มากระทบ โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่สภาวพอากาศเต็มไปด้วยฝุ่นละออง PM2.5 อาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินลุกลาม สร้างความทรมาน และเพิ่มความทุกข์ทางใจให้ผู้ป่วยได้
ที่ผ่านมา การรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยวิธีการฉายแสงอาทิตย์เทียมนั้นให้ผลทางการรักษาได ้ดีในระดับหนึ่ง แต่ยังคงมีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น โรงพยาบาลที่เปิดให้บริการรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยเครื่องฉายแสงอาทิตย์เทียม ทั่วประเทศมีเพียง 30 แห่งเท่านั้น ซึ่งนั่นกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้มีคิวรักษาที่ยาวนาน จึงทำให้มีผู้ป่วยสะสมเพิ่มมากขึ้น สร้างความแออัดให้กับพื้นที่ในโรงพยาบาล อีกทั้งอาจมีความเสี่ยงที่เกิดจากการรักษาหากเครื่องมือที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน  ตลอดจนผู้ป่วยบางรายที่เป็นผู้มีรายได้ต่ำ ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่มากในการเดินทางเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล
จากข้อจำกัดดังกล่าว ทางคณะนักวิจัย จากฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ริเริ่มงานวิจัยเพื่อทดลองใช้แสงอาทิตย์ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน (Helio-therapy for anti-psoriasis treatment) ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรรังสียูวี (UV meter) ในการตรวจวัดเพื่อหาค่าความรับรังสีที่มีประสิทธิผลต่อการรักษาโรคสะเก็ดเงิ น (Anti-psoriasis effective UV irradiance measurement) ดังนั้นจึงได้เข้าหารือกับนักวิจัยจากฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง (มว.) เพื่อดำเนินการวิจัยร่วมกันโดยนำองค์ความรู้ด้านมาตรวิทยาสร้าง “นวัตกรรมต้นแบบมาตรวัดรังสียูวี” เพื่อตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาหรือข้อจำกัดที่มีมาก่อนหน้านั้น โดยทีมวิจัยจากทั้ง 3 หน่วยงานได้ร่วมกันออกแบบฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องเพื่อให้ครอบคลุมและเห มาะสมกับวิธีการรักษา
 
นอกจากฟังก์ชั่นการทำงานที่ตอบโจทย์การรักษาแล้ว วิธีการสอบเทียบมาตรรังสียูวีสำหรับการวัดแสงอาทิตย์นั้น เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลถึงประสิทธิภาพของการรักษา ซึ่งในเรื่องนี้ ทางทีมวิจัยจาก มว. ได้มีการพัฒนาต้นแบบมาตรวัดรังสียูวีมาตั้งแต่ปี 2563 (เริ่มโครงการ) โดยมีการเขียนซอฟต์แวร์ สร้างเครื่องมือค้นแบบและทำการสอบเทียบ (Calibration) เครื่องต้นแบบ ก่อนนำไปทดลองใช้จริงเพื่อให้ตรงกับความต้องการต่อการใช้งานและเพื่อสร้างคว ามมั่นใจในการรักษา  
อย่างไรก็ตาม เครื่องต้นแบบมาตรวัดรังสียูวียังอยู่ในช่วงของการพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภ าพ และสะดวกกับการใช้งาน ทาง มว. ได้มีแผนพัฒนาเครื่องต้นแบบดังกล่าวให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ประมวลผลให้สามารถส่งข้อมูลการวัดแบบไร้สาย (Wireless transfer data) ผ่านระบบ Wi-Fi เพื่อนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์อย่างทันท่วงที (Semi-real time) ซึ่งจะทำให้แพทย์ ผู้ป่วยหรือประชาชน หรือนักวิจัย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที
ในอนาคตจะมีการประยุกต์ใช้เครื่องต้นแบบมาตรวัดยูวีมาเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วย สามารถนำมาใช้ในการติดตามค่าความรับรังสียูวี เพื่อทำการรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยตัวเองที่บ้านได้ ซึ่งจะช่วยลดความแออัดของพื้นที่ในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินทางไปโรงพยาบา ล แต่ทั้งนี้ยังคงต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการวางแผนรักษาและการให้คำแนะนำในการรั กษาโดยแพทย์ผิวหนังที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง  
 
รายชื่อนักวิจัย  
หน่วยผิวหนัง ฝ่ายอายุรศาตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อ.พญ.ไอณภัค บุญทวียุวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้แสงในการรักษาโรคทางผิวหนัง
คุณจารุวรรณ เพิ่มเจริญ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
 
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผศ.ดร.สุมามาลย์ บันเทิง  
ผศ.ดร.สมเจตน์ ภัทรพานิชชัย
 
ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ  (มว.)  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  
นายพลวัฒน์ จำปาเรือง
นายชยุฒม์ เจริญกิจ
นายพิเชษฐ์ วงษ์นุช
นางสาวจารุวรรณ พรมสิงห์
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
96.30.79.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by