แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 38548: SEA Mental Health Forum เผยกุญแจสำคัญรับมือความเจ็บป่วยทางจิตใจ  (จำนวนคนอ่าน 269 ครั้ง)
« เมื่อ: 10/29/20 เวลา 13:17:36 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การประชุมสุขภาพจิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ความร่วมมือ นวัตกรรม และการเข้าถึงการรักษา คือกุญแจสำคัญในการรับมือความเจ็บป่วยทางจิตใจช่วงโควิด-19 ระบาด
     - การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า และโรคทางระบบประสาท มีอาการย่ำแย่ลงทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     - ประเด็นหลักที่มีการพูดคุยประกอบด้วย การใช้ประโยชน์จากการแพทย์ทางไกลและการแพทย์จิตเวชทางไกล การจัดส่งยาถึงบ้าน การยกระดับการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานและสนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตระดับชุมชน รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สุขภาพจิต
     ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสองและสาม และผลกระทบก็กินวงกว้างไม่ใช่ในแง่เศรษฐกิจเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงสุขภาพจิตของคนไข้ ผู้ดูแล ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์
     เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ได้ร่วมมือกับสมาคมจิตเวชแห่งฟิลิปปินส์ จัดการประชุมสุขภาพจิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Mental Health Forum) ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ "การสร้างเสริมสุขภาพจิตในยุคชีวิตวิถีใหม่" (Building Capacity for Mental Health in the New Normal)
     การประชุมออนไลน์จัดขึ้นสองวันในเดือนตุลาคม โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 500 คน ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ คนไข้ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตจากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมในปีนี้ประกอบด้วยฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยแต่ละประเทศได้ร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความท้าทาย และคำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพจิตท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
     ระหว่างกล่าวเปิดงาน Raghu Krishnan กรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการประจำประเทศฟิลิปปินส์ บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ได้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการสร้างเสริมสุขภาพจิตและสนับสนุนการพูดค ุยประเด็นดังกล่าวในประเทศ
     Dr. Alessandra Baldini ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการด้านการแพทย์ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กล่าวว่า "ในการประชุมปีนี้ เราตั้งเป้าสร้างความร่วมมือกับหลายฝ่าย เพื่อหาวิธีการที่ยั่งยืนในการตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องต่อสู้กับควา มเจ็บป่วยทางจิตใจ และพัฒนากลยุทธ์แห่งอนาคตหลังการระบาดของโรคโควิด-19"
     ที่ประชุมเปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า และโรคทางระบบประสาท มีอาการย่ำแย่ลง [1] โดยในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคมปีนี้ สายด่วนศูนย์สุขภาพจิตแห่งชาติของฟิลิปปินส์ต้องรับโทรศัพท์เพิ่มขึ้นอย่างม าก เฉลี่ยอยู่ที่ 876 ครั้งต่อเดือน และมี 53 ครั้งที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย เทียบกับในช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 - กุมภาพันธ์ 2563 หรือก่อนที่จะมีการล็อกดาวน์ มีผู้โทรเข้ามาขอรับคำปรึกษาเฉลี่ยเพียง 400 ครั้งต่อเดือน
     เช่นเดียวกับในสิงคโปร์ ซึ่งพบว่ามีผู้โทรสายด่วนระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 เพิ่มขึ้น 30-35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว [2]
     ขณะเดียวกัน ตำรวจมาเลเซียรายงานว่ามีเหตุฆ่าตัวตายมากถึง 78 ครั้งทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 9 มิถุนายน 2563 หรือเพิ่มขึ้น 14 ครั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เช่นเดียวกับรายงายจากกรมสุขภาพจิตของไทยที่ระบุว่ามีเหตุฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้ น 22% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
     ในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2563 สมาคมจิตแพทย์อินโดนีเซียรายงานว่า มีการรักษาผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตใจมากถึง 14,619 ราย ซึ่งตรงกับช่วงที่มีการประกาศมาตรการล็อกดาวน์พอดี
     ทั้งนี้ ในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อรองรับอนาคต ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือ นวัตกรรม และการเข้าถึงการรักษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
     - ใช้ประโยชน์จากการแพทย์ทางไกลและการแพทย์จิตเวชทางไกลเพื่อลดการสัมผัส พร้อมสร้างความมั่นใจว่าคนไข้สามารถเข้าถึงบริการเฉพาะทางที่มีความพร้อมมาก ขึ้น
     - จัดส่งยาถึงบ้านเพื่อสร้างความมั่นใจว่าคนไข้จะได้รับยาทางจิตเวชอย่างต่อเน ื่องและมีค่าครึ่งชีวิตของยายาวนานขึ้น พร้อมกับสนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตขั้นพื้นฐานในระดับชุมชน ตลอดจนฝึกอบรมและให้คำแนะนำจากทางไกลแก่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนและลดภาระของผู้ให้บริการดูแลสุขภาพขั้นพ ื้นฐาน
     - เสริมสร้างความสามารถและฝึกอบรมผู้ให้บริการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไข้ที่มีความเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต พร้อมกับพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาในระดับชุมชน เพื่อมอบบริการด้านสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้ง่ายในราคาเอื้อมถึง
     - ให้ความสำคัญกับภูมิต้านทานของคนไข้ ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นและรัฐบาลระดับประเทศ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต
     ในฐานะผู้สนับสนุนและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมากประสบการณ์ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ตั้งเป้าเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับหลายฝ่ายที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อผลักดันประเด็นด้านสุขภาพจิตให้เป็นวาระสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโล ก
     Dr. Baldini กล่าวว่า "การสร้างเสริมสุขภาพจิตไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง เราต้องมองภาพรวมเพราะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกัน"
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.77.163.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by