แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 38409: โรงพยาบาลในสหรัฐประเดิมใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจรุ่นใหม่ให้ผู้ป่วย  (จำนวนคนอ่าน 348 ครั้ง)
« เมื่อ: 08/10/20 เวลา 11:31:41 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

โรงพยาบาลในสหรัฐประเดิมใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจรุ่นใหม่ให้ผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
 
- สถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute ในสังกัดศูนย์การแพทย์ St. David's Medical Center และสถาบัน Los Robles Health System ได้ทำหัตถการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย WATCHMAN FLX(TM) Left Atrial Appendage Closure (LAAC) เกือบจะในเวลาเดียวกัน
 
เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2563 สถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) แห่งศูนย์การแพทย์ St. David's Medical Center ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส และสถาบัน Los Robles Health System ในเมืองเทาเซินด์โอ๊กส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย กลายเป็นโรงพยาบาลสองแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใส่อุปกรณ์เพียงหนึ่งเดียวที่ ได้รับการรับรองจาก FDA เพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (A Fib) ชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (non-valvular) โดยคณะแพทย์ของทั้งสองโรงพยาบาล ซึ่งต่างก็อยู่ในเครือของบริษัท HCA Healthcare ได้ทำหัตถการใส่อุปกรณ์ WATCHMAN FLXTM Left Atrial Appendage Closure (LAAC) ให้กับผู้ป่วยเกือบจะในเวลาเดียวกัน
 
นายแพทย์อันเดรอา นาตาเล (F.H.R.S., F.A.C.C., F.E.S.C.) แพทย์ผู้ชำนาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจและผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการแพทย์ประจ ำสถาบัน TCAI และนายแพทย์ ไซบัล คาร์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือดแห่ง Los Robles Health System ทำหัตถการครั้งแรกในเทาเซินด์โอ๊กส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะที่นายแพทย์รอดนีย์ ฮอร์ตัน แพทย์ผู้ชำนาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจที่สถาบัน TCAI ได้ทำหัตถการผู้ป่วยแรกแรกในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ทั้งนี้ นอกจากร่วมทำหัตถการแล้ว นพ.คาร์ยังเป็นผู้วิจัยหลักของโครงการวิจัยขั้นพรีคลินิก PINNACLE FLX ก่อนที่อุปกรณ์ WATCHMAN FLX จะได้รับการรับรองจาก FDA การศึกษานี้เป็นการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เพื่อเป็นทางเลือกห นึ่งในการใช้แทนยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดที่ไม่ออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค (non-vitamin K antagonist oral anticoagulants หรือ NOACs) รวมไปถึงยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานกลุ่มอื่น ๆ ได้ในระยะยาว
 
"อุปกรณ์ใหม่นี้พัฒนาต่อยอดมาจากอุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย (LAAC) ที่มีการศึกษาวิจัยและใช้มากที่สุดในโลก เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ไม่ได้มีสาเ หตุมาจากลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ non-valvular A Fib" นพ.คาร์ กล่าว "อุปกรณ์นี้ทำให้เราสามารถช่วยรักษาผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นได้อย่างปลอดภัยและม ีประสิทธิภาพ เพื่อรับรองผลการรักษาที่ดีที่สุด"
 
โดยประมาณการว่ามีชาวอเมริกันสูงถึง 6 ล้านคนป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งเป็นอาการหัวใจเต้นผิดปกติที่ทำให้รู้สึกใจสั่น ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนปกติถ ึง 5 เท่า
 
"อุปกรณ์นี้เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงโรคหลอ ดเลือดสมองสำหรับผู้ป่วย non-valvular A Fib โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีเหตุจำเป็นให้ไม่สามารถใช้ยาละลายลิ่มเลือดได ้" นพ.ฮอร์ตัน กล่าว
 
เทคโนโลยีนี้ถูกออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองด้วยการปิดผนึกถา วรบริเวณรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย (LAA) เพื่อกันไม่ให้ลิ่มเลือดที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ การปิดผนึกรยางค์หัวใจห้องบนซ้ายจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสม อง และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยอาจสามารถหยุดใช้ยาละลายลิ่มเลือด อย่างเช่นยาวาร์ฟารินได้
 
"ดีไซน์ที่เป็นทรงกลมทำให้เราสามารถนำอุปกรณ์เข้าไปภายในรยางค์หัวใจห้องบนซ ้ายได้อย่างปลอดภัย ส่งผลให้การใส่อุปกรณ์มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความเสถียรในระยะยาว" นพ.นาตาเลกล่าว "นอกจากนี้ อุปกรณ์รุ่นใหม่ยังมีขนาดให้เลือกหลายขนาดกว่าอุปกรณ์รุ่นก่อนอีกด้วย จึงทำให้เรารักษาผู้ป่วยได้กว้างขึ้น"
 
การทำหัตถการเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการวางยาสลบ (general anesthesia) และใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งโดยทั่วไป ผู้ป่วยจะพักฟื้นที่โรงพยาบาลหนึ่งคืนและออกจากโรงพยาบาลได้ในวันรุ่งขึ้น
 
สื่อมวลชนติดต่อ:
Erin Ochoa
St. David's HealthCare
EOchoa@EChristianPR.com
512-788-1616
 
Daphne Yousem
Los Robles Health System
805-390-7111
Daphne.Yousem@HCAHealthcare.com
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.77.162.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by