แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 38326: deCODE เผยการกลายพันธุ์ใน FLT3 เพิ่มความเสี่ยงโรคไทรอยด์  (จำนวนคนอ่าน 312 ครั้ง)
« เมื่อ: 06/25/20 เวลา 10:28:07 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

- การบูรณาการระหว่างการศึกษาชีววิทยาเชิงระบบในระดับดีเอ็นเอ (genomics) ระดับอาร์เอ็นเอ (transcriptomics) และระดับโปรตีน (proteomics) ได้เผยแง่มุมใหม่เกี่ยวกับโรคไทรอยด์แบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองโรคอื่น ๆ และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์
 
นักวิทยาศาสตร์ของ deCODE Genetics บริษัทในเครือของ Amgen และผู้ร่วมวิจัยจากระบบบริการสุขภาพของไอซ์แลนด์ University of Iceland และ Karolinska Institute ในสวีเดน ได้ตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร Nature งานวิจัยดังกล่าวได้เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยโรคไทรอยด์กว่า 30,000 รายจากไอซ์แลนด์และสหราชอาณาจักร โดยมีกลุ่มควบคุม 725,000 ราย โรคไทรอยด์แบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (AITD) เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีแนวโน้มที่จะถ่ายท อดทางพันธุกรรมได้สูง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบการกลายพันธุ์ของลำดับสารชีวโมเลกุล 99 รูปแบบที่มีความเชื่อมโยงกับโรคไทรอยด์แบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โดยที่ 84 รูปแบบในจำนวนนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับโรคนี้มาก่อนแต่อย่างใด
 
หนึ่งในการกลายพันธุ์ของลำดับที่เพิ่งค้นพบอยู่ในยีนที่รหัสตรงกับยีน FLT3 (fms-related tyrosine kinase 3) ในเซลล์เม็ดเลือดและเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน และกำลังเป็นที่สนใจอย่างมากด้วยเหตุผลหลายประการ
 
ประการแรก รูปแบบลำดับดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไทรอยด์แบบภูมิคุ้มกันทำลา ยตัวเองและโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองอื่น ๆ ได้เป็นอย่างมาก ทั้งโรคเอสแอลอี (systemic lupus erythematosus - SLE) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) และโรคเซลิแอค โรคเหล่านี้ล้วนมีสารภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเอง (autoantibody) และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเหล่านี้ยังมักจะเป็นโรคไทรอยด์แบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ด้วยเช่นกัน
 
ประการที่สอง เป็นที่รู้กันว่าการกลายพันธุ์แบบโซมาติกในยีน FLT3 สัมพันธ์กับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (AML) นักวิทยาศาสตร์จึงทำการทดสอบว่าการกลายพันธุ์ใน FLT3 ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรค AML เหมือนที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองหรือไม่ ผลการทดสอบชี้ว่ามันเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค AML เกือบสองเท่า แต่ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งทั้งหมด
 
ประการที่สาม การกลายพันธุ์ใน FLT3 ซึ่งเป็นอินตรอนของยีนและไม่ได้ส่งผลต่อลำดับของรหัสพันธุกรรมโดยตรง อาจส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคได้อย่างมาก การกลายพันธุ์นี้ทำให้เกิดโคดอนหยุดในรหัสพันธุกรรม ซึ่งส่งผลเป็นโปรตีนที่สั้นลงเพราะไม่มีส่วนที่เป็นไคเนส ซึ่งสำคัญสำหรับการทำหน้าที่ของโปรตีน
 
ประการสุดท้าย การกลายพันธุ์ใน FLT3 นี้ส่งผลต่อระดับพลาสมาและโปรตีนอื่น ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะลิแกนด์ของ FLT3 จึงส่งผลให้มีระดับสูงขึ้นเกือบสองเท่าในผู้ที่เป็นพาหะ คู่สารชีวโมเลกุล FLT3 และลิแกนด์มีบทบาทสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ช่วยตอบสนองต่อโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์และโรคภูมิคุ้มกัน การกลายพันธุ์นี้จึงทำให้เซลล์ไม่สามารถทำหน้าที่ซึ่งมีการชดเชยด้วยระดับลิ แกนด์ที่เพิ่มขึ้น
 
“รายงานนี้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงจากยีนในการเกิดโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ซึ่งค้นพบได้จากการศึกษาวิจัยการแสดงออกของยีนทั้งหมดในจีโนมเกี่ยวกับโรคไท รอยด์แบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง นอกจากนี้ยังชี้ว่าความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์ส่งผลต่อยีน FLT3 อย่างไร ตลอดจนผลของระดับลิแกนด์ต่อยีน FLT3 ในเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบหน้าที่” ศาสตราจารย์ Saedis Saevarsdottir นักวิทยาศาสตร์ของ deCODE genetics และผู้นิพนธ์ชื่อแรกของงานวิจัยกล่าว
 
“การค้นพบในงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากการบูรณาการระหว่างการศึกษาชีววิทยาเชิงร ะบบในระดับดีเอ็นเอ (genomics) ระดับอาร์เอ็นเอ (transcriptomics) และระดับโปรตีน (proteomics) และเป็นการศึกษาที่ไม่ขึ้นอยู่กับสมมติฐาน ทำให้เกิดแนวทางศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคในมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ ่ง” Kari Stefansson ซีอีโอบริษัท deCODE genetics และผู้นิพนธ์หลักของงานวิจัยกล่าว
 
deCODE มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ บริษัทเป็นผู้นำระดับโลกในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจจีโนมมนุษย์ ด้วยการใช้ความชำนาญเฉพาะตัวในด้านพันธุศาสตร์มนุษย์ ประกอบกับความเชี่ยวชาญที่เพิ่มขึ้นในด้านทรานสคริปโตมิกส์ (transcriptomics) และโปรตีโอมิกส์ (proteomics) ในกลุ่มประชากร รวมถึงข้อมูลลักษณะปรากฏ (phenotypic) จำนวนมาก deCODE จึงค้นพบปัจจัยเสี่ยงของโรคที่พบได้บ่อยหลายสิบโรค และทำให้เกิดความเข้าใจในเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับพยาธิกำเนิดของโรคเหล่านั ้น จุดประสงค์ในการทำความเข้าใจพันธุศาสตร์ของโรคก็คือ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้คิดค้นวิธีใหม่ ๆ ในการวินิจฉัย รักษา และป้องกันโรค deCODE เป็นบริษัทในเครือของ Amgen (NASDAQ: AMGN)
 
Video - https://www.youtube.com/watch?v=Wa4OGAejKTs
Photo - https://mma.prnewswire.com/media/1195282/deCODE_genetics_headquarters.jp g
Logo - https://mma.prnewswire.com/media/974116/deCODE_genetics_Logo.jpg
 
ติดต่อ:
 
Thora Kristin Asgeirsdottir
 
PR and Communications
 
deCODE genetics
 
thoraa@decode.is
 
+354 894 1909
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
124.120.140.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by