แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 37851: สมาพันธ์หัวใจโลกเรียกร้องความเท่าเทียมในการรักษาโรคหัวใจ  (จำนวนคนอ่าน 531 ครั้ง)
« เมื่อ: 10/01/19 เวลา 11:48:45 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

IQ-World.jpg
   - สมาพันธ์หัวใจโลก (WHF) ชวนผู้คนหลายล้านทั่วโลกมาร่วมเป็น "ฮีโร่หัวใจ" ด้วยการให้คำมั่นสัญญาและปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาว่าจะดูแลหัวใจของตนเอง คนในครอบครัว และเพื่อนฝูง
 
     - โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโลก โดยคร่าชีวิตประชากรโลกมากถึง 17.9 ล้านคนต่อปี ขณะที่เอชไอวี/เอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค คร่าชีวิตประชากรโลกรวมกัน 3 ล้านคน (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก)
 
     ร่วมกันทำให้ทุกหัวใจเท่าเทียมกัน
 
     วันหัวใจโลกเป็นวันสำคัญในการรณรงค์สร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคหัวใจและหล อดเลือด สำหรับปีนี้ เราใช้โอกาสนี้รณรงค์เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมในการรักษาโรคหัวใจ เนื่องจากการเข้าถึงยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาเร่งด ่วนที่สุด ข้อมูลระบุว่า ประชากร 2 พันล้านคน หรือราวหนึ่งในสามของประชากรโลก ยังคงเข้าไม่ถึงยารักษาโรคที่จำเป็น โดยเฉพาะในประเทศด้อยโอกาสหรือพื้นที่ห่างไกลในเมืองต่างๆ [1]
 
     ในทุกกลุ่มรายได้ มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นที่บ่งชี้ว่า อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาที่เพิ่มมา กขึ้น มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่กำหนดสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการศึกษาและความตระหนักเกี่ยวกับสุขภาพ [2]
 
     ศาสตราจารย์คาเรน สลีวา ประธานสมาพันธ์หัวใจโลก กล่าวว่า "ที่บ้านเกิดของฉันในแอฟริกาใต้ รวมทั้งอีกหลายที่ทั่วโลก กลุ่มคนรวยได้รับการศึกษาและการรักษาอย่างดีเลิศ แต่คนส่วนใหญ่ยังคงด้อยโอกาสทางการศึกษา มีฐานะยากจนมากหรือค่อนข้างยากจน ไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่กำหนดสุขภาพรวมถึงความยากจนยังคงส่งผลกระทบอย่ างลึกซึ้งต่อรูปแบบการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและการป้องกันโรค ขณะที่การวินิจฉัยโรคล่าช้าและข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาโรคด้วยวิธีการต ่างๆ ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง ด้วยเหตุนี้ วันหัวใจโลกจึงมีบทบาทสำคัญภายใต้กลยุทธ์ของสมาพันธ์หัวใจโลกในการรณรงค์สร้ างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ พร้อมส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพหัวใจในประชากรทุกกลุ่ม"
 
     หัวใจของฉัน หัวใจของคุณ
 
     วันหัวใจโลกมีจุดมุ่งหมายในการรับมือกับจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที ่เพิ่มมากขึ้น และสร้างความเท่าเทียมในการรักษาโรคหัวใจ ในวันที่ 29 กันยายนของทุกปี ผู้คนทั่วโลกจะรวมตัวกันต่อสู้กับโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งสร้างสรรค์และแชร์โปสเตอร์รณรงค์ จัดกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย แชร์คลิปวิดีโอ จัดกิจกรรมระดมทุนให้มูลนิธิโรคหัวใจในท้องถิ่น รวมถึงประดับตกแต่งอาคาร สถานที่สำคัญ และอนุสรณ์ต่างๆ
 
     ร่วมให้คำมั่นสัญญาว่าจะส่งเสริมสุขภาพหัวใจในวันหัวใจโลกได้ที่ worldheartday.org รวมถึงสร้างสรรค์และแชร์โปสเตอร์ของคุณเองโดยใช้แฮชแท็ก #WorldHeartDay และแท็ www.facebook.com/worldheartfederation
 
     อ้างอิง
 
     1. Veronika Wirtz et al, "Essential Medicine for Universal Health Coverage," The Lancet Commissions, The Lancet, (2017):422
     2. Mayagah Kanj and Wayne Mitic, "Health Literacy," paper presented as a working document for discussion at the 7th Global Conference on Health Promotion, "Promoting Health and Development: Closing the Implementation Gap," Nairobi, Kenya, October 2019, 20.
 
     โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/999931/World_Heart_Federation_Logo.jpg
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.77.161.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by