แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 37825: IAS และ R3i เผยแพร่คำแถลงอย่างเป็นเอกฉันท์  (จำนวนคนอ่าน 347 ครั้ง)
« เมื่อ: 09/11/19 เวลา 09:07:51 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

IQ-33.jpg

     ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับโลกกว่า 50 รายจากสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแข็งระดับนานาชาติ (IAS) และโครงการริเริ่มเพื่อลดความเสี่ยงคงเหลือ (R3i) ระบุว่าการรักษาความเจาะจงสูงแบบใหม่ นั่นคือ อะโกนิสต์ของเพอรอกซิโซมโพรลิเฟอเรเตอร์แอกติเวตรีเซปเตอร์อัลฟามอดูเลเตอร์  หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า สเพิร์มอัลฟา (peroxisome proliferator-activated receptor alpha modulator agonist, SPPARM-alpha) อาจช่วยเติมเต็มช่องว่างในการจัดการความเสี่ยงคงเหลือของโรคหัวใจล้มเหลวและ โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงคงเหลือของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดนี้ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะมีการปฏิบ ัติตามแนวทางการรักษาที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต ระดับคลอเลสเตอรอล และระดับกลูโคสสูง สิ่งที่คำแถลงร่วมอย่างเป็นเอกฉันท์ระหว่าง IAS และ R3i มุ่งเน้นนี้เป็นเป้าหมายที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี และมีการปรึกษาหารือกันที่ปารีส ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2019
 
     หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่เป็นไปได้เพื่อลดความเสี่ยงคงเหลือของโรคหัวใจร่วมห ลอดเลือดนี้คือโรคไขมันในเลือดสูงแบบแอตเธอโรเจนิก (atherogenic dyslipidaemia) ซึ่งมีนิยามว่าเป็นไลโปโปรตีนที่มีไตรกลีเซอไรด์ (TG) สูง และมีการสะสมไลโปโปรตีนคลอเลสเตอรอลความหนาแน่นสูง (HDL-C) ในระดับต่ำ โรคไขมันในเลือดสูงแบบแอตเธอโรเจนิกพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทท ี่ 2 และ/หรือในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ศาสตราจารย์ราอูล ซานตอส ประธานของ IAS กล่าวว่า: "โรคไขมันในเลือดสูงแบบแอตเธอโรเจนิกเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงคงเหลือของโรคห ัวใจร่วมหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ตัวเลือกการรักษาในปัจจุบันยังมีอยู่จำกัด เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยและปฎิกิริยาต่อกันกับยาอื่นๆ"
 
     ผู้เชี่ยวชาญหาคำตอบด้วยการเลือกแนวทาง "หลักการแพทย์แม่นยำ" โดยสังเคราะห์และคัดกรองสารประกอบกว่า 1,300 ชนิดก่อนจะพบสารชนิดใหม่ที่มีกิจกรรมของสเพิร์มอัลฟา (SPPARM-alpha) ชื่อว่า พรีมาไฟเบรต (pemafibrate) "เพราะพรีมาไฟเบรตกระตุ้นและกดยีนส์ชุดเฉพาะ จึงมีฤทธิ์และความเจาะจงสูงกว่าเมื่อเทียบกับไฟเบรต (fibrate) ซึ่งเป็นอะโกนิสต์ของพีพาร์อัลฟา (PPAR-alpha) แบบไม่เจาะจงตัวเดิม" ศาสตราจารย์ยีนส์ชาร์ลส์ ฟรูชาร์ต ประธานของมูลนิธิ R3i กล่าว
 
     ในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 พรีมาไฟเบรตปรับปรุงตัวชี้วัดทั้งหมดของโรคไขมันในเลือดสูงแบบแอตเธอโรเจนิก  โดยลดไตรกลีเซอไรด์สูงสุดถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และลดคอเลสเตอรอลที่สะสม ซึ่งเป็นปัจจัยความเสี่ยงทางหัวใจร่วมหลอดเลือดเชิงสาเหตุลงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ พรีมาไฟเบรตยังลดตัวชี้วัดอาการอักเสบด้วย เช่น โปรตีนซีรีแอกทีฟ (C-reactive protein) ที่สำคัญ พรีมาไฟเบรตไม่ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์กับตับหรือไต และไม่ไปเพิ่มซีรัมครีอะตินีน "การทดลองเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับความเสี่ ยงสำหรับพรีมาไฟเบรตเทียบกับไฟเบรตในผู้ป่วยหลายคน รวมถึงผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังด้วย" ศาสตราจารย์ทัตสุฮิโกะ โคดามะจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแพทย์ผู้วิจัยหลักในการทดลองเหล่านี้ให้ความเห็น
 
     พรีมาไฟเบรตยังลดการเกิดรอยโรคภาวะหลอดเลือดแข็งในการศึกษาวิจัยระดับก่อนมี อาการ ศาสตราจารย์ชิซูยะ ยามาชิตะ ประธานของสมาคมโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็งประจำประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่ า "จากหลักฐานทั้งหมด พรีมาไฟเบรตเสนอแนวทางใหม่ในการลดความเสี่ยงคงเหลือของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือ ดในผู้ป่วยความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงแบบแอตเธอโรเจนิก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2"
 
     นี่ก็คือสิ่งที่การศึกษาวิจัยโพรมิแนนต์ (PROMINENT มีที่มาจาก พรีมาไฟเบรตเพื่อลดผลของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดโดยการลดไตรกลีเซอไรด์ในผู้ป่ วยเบาหวาน) มุ่งมั่นหาคำตอบ การทดลองในระดับนานาชาติกำลังทดสอบว่า การลดไลโปโปรตีนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงด้วยพรีมาไฟเบรตจะลดเหตุจากโรคหัวใจร่ วมหลอดเลือดในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง 10,000 คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งได้รับการรักษาด้วยกลุ่มยาสแตตินอยู่แล้วได้หรือไม่ โครงการโพรมิแนนต์ไม่เหมือนกับการทดลองไฟเบรตก่อนหน้านี้ตรงที่มีเป้าหมายเจ าะจงที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคไขมันในเลือดสูงแบบแอตเธอโรเจนิก ซึ่งกำลังได้รับการรักษาร่วมตามมาตรฐาน รวมถึงการรักษาด้วยกลุ่มยาสแตติน "วงการวิทยาศาสตร์รอคอยผลลัพธ์จากโพรมิแนนต์อย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งมีกำหนดในอีก 4-5 ปี เพื่อประเมินว่าการแปลงแนวคิดของสเพิร์มอัลฟาเป็นการดำเนินการทางคลินิกจะช่ วยปรับปรุงผลลัพธ์ของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดหรือไม่" ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ลิบบี้แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และโรงพยาบาลบริกแฮมแอนด์วิแมน สหรัฐอเมริการะบุ
 
     เกี่ยวกับ IAS
 
     International Atherosclerosis Society (IAS) หรือสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแข็งระดับนานาชาติคือสหภาพของสมาชิกสมาคมส่งเสริมก ารวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ภารกิจหลักของ IAS คือการส่งเสริมความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมุฏฐาน การป้องกัน และการรักษา โรคหลอดเลือดแดงแข็ง IAS ประสานงานการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในหมู่สมาคมที่เป็นสมาชิก สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการเกิด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และช่วยแปลงความรู้เหล่านี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของโครงการที่ออกแบบมาเพื่ อป้องกันและรักษาโรคดังกล่าว
 
     เกี่ยวกับ R3i
 
     R3i (Residual Risk Reduction Initiative) หรือโครงการลดความเสี่ยงคงเหลือเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านวิชาการระดับโ ลกที่ประกอบด้วยผู้คนจากหลากหลายสาขา วัตถุประสงค์หลักขององค์กรคือการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนในหัวใจร่วมหลอดเลือด และหลอดเลือดขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงสูงมากที่คงอยู่ในผู้ป่วยซึ่งได้รับการ ดูแลตามมาตรฐานปัจจุบันอยู่แล้ว เพื่อแก้ไขระดับไขมันผิดปกติ R3i มุ่งมั่นที่จะบรรลุผลลัพธ์ดังกล่าวด้วยโครงการริเริ่มในการวิจัย การศึกษา และการสนับสนุนเชิงวิชาการระดับโลก
 
     ติดต่อ: info@r3i.org
 
     ที่มา: IAS และ R3i
 
     ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
 
     https://www.athero.org/
     https://www.r3i.org/
     https://cardiab.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12933-019-0864-7
     https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT03071692
 
     อ้างอิง
 
     Fruchart JC. et al. The selective peroxisome proliferator-activated receptor alpha modulator (SPPARM?) paradigm: conceptual framework and therapeutic potential. A consensus statement from the IAS and the R3i Foundation. Cardiovasc Diabetology (2019) 18:71.  
 
     โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/968628/IAS_Logo.jpg  
     โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/968629/R3i_Logo.jpg
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
134.236.150.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by