แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 37811: Strekin AG ระดมทุนพัฒนายา STR001 รักษาโรคหูตึงเฉียบพลัน  (จำนวนคนอ่าน 313 ครั้ง)
« เมื่อ: 09/03/19 เวลา 14:38:28 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

IQ-Strekin.jpg
Strekin AG ประสบความสำเร็จในการระดมทุนพัฒนายา STR001 สำหรับรักษาโรคหูตึงเฉียบพลัน เตรียมยื่นขอขึ้นทะเบียนยาในยุโรป
 
 
     Strekin AG(www.strekin.com) บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับคลินิก ประกาศว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการระดมทุนรอบ Series A ด้วยการคว้าเงินทุนรวม 2.82 ล้านฟรังก์สวิสจากกลุ่มนักลงทุนเอกชน โดยเงินทุนดังกล่าวจะทำให้บริษัทสามารถสรุปการทดลอง RESTORE ซึ่งเป็นการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของยา STR001 ในการรักษาโรคหูตึงเฉียบพลัน และเตรียมยื่นขอขึ้นทะเบียนยาในยุโรปต่อไป
 
 
     STR001 เป็นยาที่อยู่ระหว่างการทดลองตัวสำคัญของ Strekin ข้อมูลพรีคลินิกที่เผยแพร่โดย Strekin และกลุ่มผู้ประสานงานของบริษัทแสดงให้เห็นว่ายา STR001 สามารถปกป้องการได้ยินในสัตว์ทดลองอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการขัดขวางภาวะเครียดจากออกซิเดชัน (oxidative stress) และลดการเกิดภาวะอักเสบในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (cochlea) ทั้งนี้ RESTORE เป็นการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แบบสุ่ม มีการควบคุมด้วยยาหลอก และจัดทำในหลายประเทศ เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของยา STR001 ในการรักษาผู้ป่วยโรคหูตึงเฉียบพลัน โดยพบว่าผู้ป่วยทนยาได้ดีโดยไม่มีอาการข้างเคียง และคาดว่าจะมีการเปิดเผยผลสรุปจากการทดลอง RESTORE ในช่วงต้นปี 2563
 
 
     Alexander Bausch ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท Strekin กล่าวว่า "เม็ดเงินจากการระดมทุนรอบ Series A ทำให้เราสามารถเดินหน้าทำการศึกษาทางคลินิกให้เสร็จสมบูรณ์ เตรียมยื่นขอขึ้นทะเบียนยาใหม่ในยุโรป ตลอดจนผลักดันการขายหุ้น IPO หรือการขายธุรกิจ การทดลอง RESTORE เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของยา STR001 เพื่อตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่อาจสูญเสียการได้ยินไปตลอด ชีวิต หากประสบความสำเร็จ ข้อมูลจากการทดลอง RESTORE ประกอบกับสถานะยากำพร้าของ STR001 สำหรับรักษาโรคหูตึงเฉียบพลัน อาจทำให้ Strekin สามารถเปิดตัวยา STR001 ในยุโรปได้อย่างรวดเร็ว"  
 
 
     เกี่ยวกับโรคหูตึงเฉียบพลัน  
 
     โรคหูตึงเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss: SSNHL) คือการสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลันอันเป็นผลมาจากความเสียหายของเซลล์ขนรับ เสียงของหูชั้นใน ซึ่งอาจเกิดจากการผ่าตัด การได้รับเสียงดังเกินไป หรืออาการหูหนวกเฉียบพลัน ซึ่งเป็นการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน โดยอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เสียงอื้อในหูและวิงเวียนศีรษะ (อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน) ทั้งนี้ การสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการได้ยินแบบเฉียบพลันควรพบแพทย์ทันที การสูญเสียการได้ยินจะทำให้กิจวัตรประจำวันกลายเป็นเรื่องยากหรือเป็นไปไม่ไ ด้เลย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย การฟังเพลง หรือการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน ปัจจุบัน ยังไม่มียาตัวใดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาโรคหูตึงเฉียบพลัน
 
 
     เกี่ยวกับ Strekin
 
     Strekin AG(www.strekin.com) คือบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์จากสวิตเซอร์แลนด์ที่มุ่งพัฒนายารักษาโรคเพื่อประโยช น์ของผู้ป่วยโรคต่างๆ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองทางการแพทย์ Strekin ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาใหม่ ทั้งนี้ Strekin ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุนหลายราย
 
 
     โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/967922/strekin_Logo.jpg
 
     Alexander Bausch
     ซีอีโอบริษัท Strekin AG  
     อีเมล: Alexander.Bausch@strekin.com
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
27.145.147.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by