แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 37613: ศูนย์มะเร็ง APCC เมืองเจนไน ฉายรังสีที่ไขกระดูกสำเร็จครั้งแรกในอินเดีย  (จำนวนคนอ่าน 625 ครั้ง)
« เมื่อ: 05/16/19 เวลา 15:50:08 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

IQ-Apollo.2.jpg
ศูนย์มะเร็ง APCC เมืองเจนไน บรรลุกระบวนการฉายรังสีที่ไขกระดูกเป็นครั้งแรกในอินเดีย
     ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Center (APCC) ในเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย ประสบความสำเร็จในการฉายรังสีที่ไขกระดูก (Total Marrow Irradiation หรือ TMI) ซึ่งเป็นขั้นตอนเตรียมการก่อนปลูกถ่ายไขกระดูก โดยความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นความก้าวหน้าครั้งแรกของการรักษาโรคมะเร็งในอิ นเดีย
 
     ดร. Preetha Reddy รองประธาน Apollo Hospitals Group กล่าวว่า "ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Centre ได้เปิดขอบข่ายใหม่ในการดูแลรักษามะเร็ง และนับเป็นช่วงเวลาที่ภาคภูมิใจที่ได้เห็น APCC บรรลุเป้าหมายสำคัญเป็นครั้งแรกในประเทศ หลังจากที่เปิดตัวเพียงไม่กี่เดือน ความสำเร็จนี้เป็นการพิสูจน์การลงทุนของเราใน APCC ในการนำเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีและทันสมัยที่สุดมาสู่อินเดีย เรามั่นใจว่า ในอนาคตจะได้เห็น APCC บรรลุเป้าหมายสำคัญอีกมากมาย และต่อสู้กับโรคมะเร็งไม่ใช่เพื่อผู้ป่วยในอินเดียเท่านั้น แต่ยังเพื่อผู้ป่วยที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย"  
 
     พยาบาลวัย 35 ปีจากประเทศโอมาน ได้เข้ารับการรักษาที่ศูนย์รักษาด้วยอนุภาคโปรตอนแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเ ฉียงใต้ เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบไมอิรอยด์ (CML) และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันฟีโนไทป์ผสม โดยหลังจากการวินิจฉัย เธอถูกส่งตัวไปยัง Apollo Hospitals เพื่อปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งคณะแพทย์ที่ Apollo ได้ตัดสินใจเตรียมการก่อนปลูกถ่ายด้วยการฉายรังสีที่ไขกระดูก
 
     ดร. Jose M Easow กล่าวว่า "ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในเดือนที่แล้ว และหลังจากการวินิจฉัยอย่างละเอียด เราได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการรักษาต่อด้วยการฉายรังสีที่ไขกระดูก ตามด้วยการทำคีโมและปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด ซึ่งพี่ชายของผู้ป่วยเป็นผู้บริจาคที่มีคุณสมบัติตรงกันทั้งหมด โดยผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างดีและกำลังเตรียมพร้อมเพื่อออกจากโรง พยาบาล"
 
     คุณ Fatima ผู้ป่วย กล่าวว่า "ฉันรู้สึกขอบคุณรัฐบาลโอมาน ประเทศโอมาน ที่เลือกและส่งฉันไปที่ Apollo Hospitals เมืองเจนไน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งในอินเดีย ดิฉันได้รับการแนะนำให้ปลูกถ่ายไขกระดูก และพี่ชายของฉันได้รับเลือกเป็นผู้บริจาค ฉันเข้ารับการรักษาในวันที่ 5 เม.ย. และรู้สึกเหมือนอยู่บ้านนับตั้งแต่วันแรก ในฐานะพยาบาล ฉันรู้ว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีมีผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ ป่วยอย่างไร แต่กระบวนการฉายรังสีที่ไขกระดูกที่ฉันได้รับนั้นแตกต่างและช่วยชีวิตฉันไว้  โดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก การรักษานี้ทำให้ฉันมั่นใจและมองโลกในแง่ดีมากขึ้น"
 
     ดร. Srinivas Chilukuri ที่ปรึกษาอาวุโสด้านรังสีมะเร็ง กล่าวว่า "ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสีที่ทันสมัยในปัจจุบัน จึงมีความเป็นไปได้ที่การฉายรังสีที่ไขกระดูกนั้น จะปกป้องอวัยวะปกติจากความเสียหายที่เกิดจากรังสีได้"
 
     โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/887694/Apollo_Proton_Logo.jpg  
     รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/887695/APCC_TMI.jpg
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
49.228.78.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by