แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 37270: ขอไฟล์หนังสือคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ปี2549หน่อยครับ ใครมีบ้าง  (จำนวนคนอ่าน 8106 ครั้ง)
« เมื่อ: 11/03/18 เวลา 09:29:20 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ใครพอจะมีลิ้งค์ดาวน์โหลด หรือมีไฟล์รบกวนส่งให้ทางemailหน่อยครับ
nong-dan@hotmail.com
 
ขอบคุณครับ
ส่งโดย: nong-dan
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 9  
   
182.232.231.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 11/03/18 เวลา 12:37:55 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

   คู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ ,ดีมั้ย ?- " ไม่เข้าท่า ครับ"
ส่งโดย: หมอเมืองสยาม
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 11432  
   
171.96.189.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 11/06/18 เวลา 11:20:02 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

  คู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์  ดีมั้ย ? - " แพทยสภาเรื่องควรไม่ทำ  ทำแต่เรื่องไม่ควร"
ส่งโดย: หมอเมืองสยาม
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 11432  
   
171.96.191.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 11/09/18 เวลา 11:14:47 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

       แนวคิด ควบคุมค่าธรรมเนียมแพทย์ ? - " ไม่เต็มเต็ง ครับ"
ส่งโดย: หมอเมืองสยาม
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 11432  
   
171.96.189.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 11/16/18 เวลา 22:50:37 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ถ้อยแถลง
 
  สืบเนื่องจาก แพทยสภา ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาปัญหาค่ารักษาพยาบาล  
ตามประกาศแพทยสภาที่ 13/2540 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2540 เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล     โดยคณะอนุกรรมการได้มอบหมายให้นายแพทย์ศุภสิทธิ์  พรรณารุโณทัยและคณะ ทำการศึกษาวิจัยปัญหา
ค่ารักษาราคาแพง : ราคารวมของค่ารักษาและค่าธรรมเนียมแพทย์  ได้ข้อสรุปว่า ค่าธรรมเนียมแพทย์และ
ค่ารักษาพยาบาลในภาพรวม มีความแตกต่างกันมาก ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยผู้ใช้บริการ 34–55 % มีความเห็นว่า ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแพงปานกลางถึงแพงมาก  และ 75% ของแพทย์เห็นควรจัดทำค่าธรรมเนียมแพทย์เพื่อใช้อ้างอิง ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้ จะไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในหัตถการ  ค่าห้องผ่าตัด เป็นต้น
 คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมร่วมกับผู้แทนราชวิทยาลัยต่างๆ เพื่อพิจารณาจัดทำ (ร่าง)  
ค่าธรรมเนียมแพทย์ ฉบับเดือนมีนาคม 2543  เสนอคณะกรรมการแพทยสภาพิจารณา ในการประชุมครั้งที่  
4 /2543  เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543  คณะกรรมการแพทยสภามีความเห็นว่า เพื่อให้เกิดการพิจารณา
อย่างรอบด้านโดยเฉพาะจากผู้รับบริการ และแพทย์ผู้ให้บริการ ที่จะถูกกระทบจากการกำหนดเพดานขั้นสูงนี้  
จึงเห็นควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเสนอคณะกร รมการแพทยสภา  
  คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องค่าธรรมเนียมแพทย์ที่เหม าะสม
ที่แพทยสภาแต่งตั้งขึ้น ได้พิจารณามาตรการหลายประการ  เพื่อให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านที่สุดโดย  
 การสำรวจความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องทั่วประเทศโดยใช้แบบสอบถาม
 การประชุมระดมสมอง  ภาคีกองทุนประกันสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากกลุ่มสมาคมประกันชีวิต  กลุ่มสมาคมประกันวินาศภัย  เครือข่ายบริษัทประกันสุขภาพ และกลุ่มสำนักงานประกันสังคม
 การสำรวจความคิดเห็นจากราชวิทยาลัยต่างๆ
 การประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง  
ซึ่งได้ผลสรุปว่า ส่วนใหญ่มีความเห็นในด้านบวกกับ (ร่าง)อัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ฉบับเดือนมีนาคม 2543 โดยเห็นว่า ควรมีอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์เป็นราคาอ้างอิงขึ้นใช้ในประเทศไทย และกำหนดเป็นราคาสูงสุด  แต่มีความเห็นจากหลายฝ่ายว่า ราคาอ้างอิงดังกล่าวยังสูงเกินไป  
คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 9/2543 วันที่ 14 กันยายน 2543ได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้มีการประกาศใช้เป็นแนวทางและข้อมูลอ้างอิงในกร ณีมีปัญหาร้องเรียนเรื่องค่าธรรมเนียมแพทย์
เกิดขึ้น แต่มิใช่เป็นการบังคับอย่างมีบทลงโทษ โดยค่าธรรมเนียมนี้ ให้กำหนดเป็นอัตราสูงสุดเพียงอัตราเดียว
หากมีการเรียกเก็บสูงกว่านี้ จะต้องมีคำชี้แจงประกอบ นอกจากนี้ มอบหมายให้อนุกรรมการฯ นำไปปรับปรุง
ในประเด็นต่างๆ ดังนี้    
 
 ปรับรหัสให้เป็นระบบ  ICD-10-TM
 ปรับค่าธรรมเนียมเป็นอัตราเพดานและเป็นยอดเงินสุทธิ  
 เสนอปรับค่าธรรมเนียมในหัตถการที่เหมือนกัน  
 ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพทย์  
 จัดทำโครงสร้างค่าธรรมเนียมตรวจรักษาทั่วไปของแพทย์  
(Evaluation & Management)  
 จัดรูปเล่มให้เป็นระบบ  
คณะทำงานซึ่งมีนายแพทย์นิพิฐ  พิรเวช เป็นประธานฯได้ประชุม และสัมมนาปฏิบัติการร่วมกับผู้แทนราชวิทยาลัย / วิทยาลัยต่างๆ เพื่อปรับปรุงคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ ฉบับที่ 1  เสนอคณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วในการประชุมครั้งที่ 8/2544 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544
คู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ ฉบับที่ 1 เป็นความพยายามและความตั้งใจอย่างยิ่งที่แพทยสภาและราชวิทยาลัยต่างๆ ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น  ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการถึง 4 ปี โดยพยายามให้ครอบคลุมหัตถการและมีความสมบูรณ์ถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได ้ในขณะนี้ และจะได้มีการปรับปรุงคู่มือนี้ให้สมบูรณ์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากท่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อมูลเพิ่มเติมประการใด ก็สามารถเสนอผ่านทางราชวิทยาลัย หรือวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องได้ เพื่อคณะอนุกรรมการฯ จะได้พิจารณานำไปปรับปรุงพัฒนาให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป
ท้ายสุดนี้  ขอขอบพระคุณ  นายแพทย์ศุภชัย  คุณารัตนพฤกษ์ (เลขาธิการแพทยสภา พ.ศ. 2538 –2543) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มในการดำเนินการ   คณะกรรมการแพทยสภา คณะอนุกรรมการฯ  คณะทำงานฯ โรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน เจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและแผนฯ กระทรวงสาธารณสุข  เจ้าหน้าที่แพทยสภา  ที่ช่วยให้คู่มือเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
 
 
        นายแพทย์สงวน  นิตยารัมภ์พงศ์
            ประธานคณะอนุกรรมการฯ
         กันยายน  2544
 

ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 35073 63156014 63156014   หมอหมู หมอหมู WWW Email
   
125.24.255.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 11/16/18 เวลา 22:51:19 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ประกาศแพทยสภา
ที่  60  / 2544
เรื่อง  คู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์  ฉบับที่ 1
---------------------------
 
ตามมติคณะกรรมการแพทยสภา  ในการประชุมครั้งที่ 8 /2544 เมื่อวันที่  9  สิงหาคม 2544 ให้มีการประกาศใช้คู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ ฉบับที่ 1 เป็นแนวทาง แต่มิใช่เป็นการบังคับอย่างมี
บทลงโทษ  โดยมีหลักเกณฑ์  ดังนี้
 
1. กำหนดเป็นราคาสูงสุดเพียงราคาเดียว  
2. หากมีการกำหนดราคาสูงกว่านี้หรือเป็นหัตถการที่มิได้ระบุในคู่มือค่าธรรมเนี ยมแพทย์  ฉบับที่ 1   แพทย์ผู้นั้นจะต้องมีคำอธิบายประกอบ
3. ใช้เป็นแนวทางอ้างอิง หากมีปัญหาในเรื่องราคาเกิดขึ้น
 
 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่   13   กันยายน  2544  เป็นต้นไป
     
ประกาศ  ณ  วันที่    13   กันยายน  2544
 
 
(นายแพทย์สมศักดิ์    โล่ห์เลขา)
นายกแพทยสภา
 
 

ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 35073 63156014 63156014   หมอหมู หมอหมู WWW Email
   
125.24.255.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 11/16/18 เวลา 22:56:40 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ลองโหลดดูนะครับ ..  
 
http://www.mediafire.com/file/y47q4t18gnjl8et/doctor_fee.zip/file
 
ปล. ผมส่งไฟล์ไปทางเมล์ให้ด้วยแล้ว

ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 35073 63156014 63156014   หมอหมู หมอหมู WWW Email
   
125.24.255.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 11/22/18 เวลา 06:15:52 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ขอบคุณมากนะครับ ได้รับเรียบร้อยครับ
ส่งโดย: nong-dan
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 9  
   
49.229.42.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by