แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 37087: สิงคโปร์อนุมัติการทดลองเพื่อศึกษาการรักษามะเร็งตับด้วย TCR-T cell  (จำนวนคนอ่าน 532 ครั้ง)
« เมื่อ: 08/20/18 เวลา 10:49:22 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

    Lion TCR Pte. Ltd. บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติสิงคโปร์ ประกาศว่า กรมวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งสิงคโปร์ (HSA) ได้อนุมัติให้บริษัททำการวิจัยทางคลินิกแบบหลายศูนย์ในระยะ Phase I/II เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ทดลอง (LioCyx(TM)) ในการรักษาโรคมะเร็งตับที่กลับมาเป็นอีกหลังการปลูกถ่ายตับ โครงการดังกล่าวเป็นการทดลองครั้งแรกในสิงคโปร์และเอเชียแปซิฟิกที่ใช้เทคนิ คการบำบัดรักษาด้วย TCR-T cell ที่มีความแม่นยำ เพื่อรักษาโรคมะเร็งตับที่มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ซึ่งเป็นมะเร็งตับที่พบมากกว่า 80% ในเอเชีย ทุกวันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับเพิ่มขึ้นปีละ 800,000 รายทั่วโลก และ 80% จากทั้งหมดพบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงจีน เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ทั้งนี้ มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก ทว่ามีตัวเลือกการรักษาน้อยมาก และผลลัพธ์ในการรักษายังไม่ดีนัก ขณะที่โรคมะเร็งตับที่กลับมาเป็นอีกหลังการปลูกถ่ายตับก็ยังไม่มีเทคนิคการร ักษาที่ได้ผล
 
     LioCyx(TM) พัฒนาขึ้นโดย Prof. Antonio Bertoletti ผู้ก่อตั้งทางวิทยาศาสตร์ของ Lion TCR และนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของโลกซึ่งเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งตับที่มีสาเห ตุมาจากไวรัสตับอักเสบบี การทดลองหลายครั้งในสิงคโปร์และจีนเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ LioCyx(TM) ได้แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษา Dr. Victor Li Lietao ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Lion TCR กล่าวว่า "เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับการอนุมัติให้ทำการทดลองทางคลินิกระยะ Phase I/II เพื่อศึกษาการทำงานของ LioCyx(TM) ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษาโรคมะเร็งตับด้วย TCR-T cell ครั้งแรกในสิงคโปร์ ซึ่งนับเป็นข่าวดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่รอรับการรักษา ทางกรมวิทยาศาสตร์สุขภาพสิงคโปร์ดำเนินการตรวจสอบคำร้องของเราอย่างมีประสิท ธิภาพ โปร่งใส และมีความเป็นมืออาชีพ"
 
     การทดลองทางคลินิกระยะ Phase I/II จะเปิดรับผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการโดยร่วมมือกับโรงพยาบาล National University Hospital (NUH) ในสิงคโปร์ นอกจากนี้ Lion TCR กำลังเฟ้นหาศูนย์การแพทย์เพิ่มเติมในสิงคโปร์และจีน เพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการทดลองนี้
 
     เกี่ยวกับ Lion TCR
 
     Lion TCR เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติสิงคโปร์ที่มุ่งพัฒนาเทคนิคการบำบัดรักษาด ้วย T cell ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อรักษาโรคมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากไวรัสและโรคตับอักเสบบีเรื้อรัง บริษัทมีโรงงานผลิตและศูนย์ทดลองทางคลินิกในจีนและสิงคโปร์ นอกจากนั้นยังเป็นบริษัทแรกของโลกที่พัฒนาการรักษาโรคมะเร็งตับด้วย TCR-T cell ที่เจาะจงไวรัสตับอักเสบบี
 
     เทคโนโลยี T cell ดัดแปลงพันธุกรรมของ Lion TCR ได้รับอนุญาตจากสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยแห่งสิงคโปร์ หรือ A*STAR (เทคนิคการบำบัดรักษาด้วย TCR-T cell ที่พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการของ Prof. Antonio Bertoletti) และจากมหาวิทยาลัย Technical University of Munich (เทคนิคการบำบัดรักษาด้วย CAR-T cell ที่พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการของ Prof. Urlike Protzer)
 
     เมื่อไม่นานมานี้ Lion TCR สามารถระดมทุนก้อนใหม่ได้มากถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ยกระดับการทดลอง LioCyx(TM) ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆในจีนและสิงคโปร์ พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพื่อจัดการกับโรคมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากไวรัสและกำจัดโรคตับอักเสบบีเรื้อร ังให้หมดสิ้นไป
 
     รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Lion TCR ได้ที่ http://www.liontcr.com/ หรือติดต่อ info@liontcr.com  
 
     ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดลองทางคลินิกของ Lion TCR ได้ที่ clinicaltrials@liontcr.com
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
171.97.147.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by