แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 36991: ถอดเทปการประชุมสมาชิกแพทยสภา 22 มิถุนายน 2561 ช่วงบ่าย  (จำนวนคนอ่าน 1435 ครั้ง)
« เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:25:40 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ช่วงบ่าย
เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์
 
ขอเรียนเชิญอจ.ประสพศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา เป็นประธานใน section และ อจ.พญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล ประธานร่วม และผู้ดำเนินรายการ
 
เรื่องกฎหมายกับการแพทย์ มีประธานร่วม อจ.อรพรรณ เป็นกรรมการแพทยสภา เป็นผู้ดำเนินการร่วม และขอเชิญท่านอมร และจรัล  
 
เรื่องกฎหมายการแพทย์ และ focus กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ที่เน้นหนัก
ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ท่านเป็นผู้มีคุโณปการสูงส่งแห่งวงการยุติธรรมไทยโดยเฉพาะด้านการปกครอง ท่านเป็นผู้ที่ทำให้มีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสร้างรากฐานให้การดำเนิน คดีปกครอง เคยเป็นกรรมการฤษฎีกา และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ท่านเชี่ยวชาญกฎหมายปกครอง
 
ศ.จรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท่านกรุณาให้ความรู้กฎหมายทางการแพทย์ ท่านเป็นเลขาธิการของสำนักวิชาการด้านการยุติธรรม เป็น อจ.สอนมากมาย  
 
เริ่มต้นกฎหมายทั่วไปว่าด้วยเกี่ยวข้องกระบวนการยุติธรรมทั่วไป
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:26:07 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ศ.จรัล
 ร่างพรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ที่ได้รับฐานข้อมูล คล้ายเป็นตัววิเคราะห์ สำหรับผมยังไม่พอใจ ติดจุดสำคัญอยากได้บทบัญญัติคุ้มครองแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำภารกิจ ในการช่วยรักษาโรคให้กับผู้ป่วย อย่าให้ต้องนำตัวไปถูกดำเนินคดีอาญาโดยไม่จำเป็น ไม่ต้องลงโทษทางอาญา แค่เปิดช่องให้ท่านตกเป็นผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญาเพราะเหตุที่ท่านได้ทำหน้าที่ในการบำบัดรักษาโรคให้กับคนไ ข้ของท่าน โดยท่านไม่ได้เจตนาชั่วร้าย ไม่ได้มีพฤติกรรมที่มหันตภัย คนที่เข้าไปทำภารกิจเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของมนุษย์มีโอกาสที่จะพลั้งพลาดท ำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายได้ เพราะมนุษย์อ่อนแอมาก ชีวิตที่คิดว่าแข็งแรงมั่นคง พลิกนิดเดียวก็ตายได้ และจุดตรงนี้ระบบกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาคดีอาญาไทยไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรั บคนที่ปฏิบัติภารกิจเป็นแพทย์ ในสมัยโบราณเราไม่มีปัญหานี้เพราะไม่มีใครดำเนินคดีกับท่าน ไม่ใช่เกิดผิดพลาดแต่ประชาชนเข้าใจและจึงไม่มีดำเนินคดีอาญา อย่างมากขอความช่วยเหลือเยียวยาในทางแพ่ง ซึ่งผมไม่ห่วงทางแพ่ง เพราะทางแพ่งเรื่องทรัพย์สินของนอกกาย เราไม่ต้องทำผิด เราไม่ได้ทำผิด แต่เห็นคนตกทุกข์ได้ยากเรายังอยากจะช่วย และยิ่งเรามีส่วนเป็นเหตุปัจจัยทำให้บาดเจ็บล้มตายเสียหายเราก็อยากจะเยียวย า ช่วยเหลือ ทางแพ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่ ปัญหาที่เกิดวงการแพทย์คือบุคลากรแพทย์ รักษาคนไข้ไปตามปกติและเกิดเหตุใดเหตุหนึ่ง คนไข้เกิดบาดเจ็บล้มตายสาหัสก็เข้าองค์ประกอบทำความผิดทางอาญา เหมือนคนขับรถบรรทุกไม่ต่างกัน คือประมาทหรือไม่ทำให้คนบาดเจ็บสาหัส ตาย เป็นความผิดอาญา ท่านต้องถูกตกเป็นผู้ต้องหา จำเลยต่อไป และกว่าศาลฎีกาจะพิพากษาที่สุดว่าท่านไม่ผิด หรือประมาทรอการลงโทษจำคุก มันไม่ใช่ อย่างเร็วก็ 5 ปี และเอาท่านไปแขวนไว้ทำไม และระหว่างนั้นจะมีกำลังใจทำหน้าที่แพทย์ได้หรือไม่ ผมเอาแนวบรรทัดฐานหลักกฎหมายปกครองที่ท่านนำไปตั้งแต่ปี 2539 20 กว่าปีมาแล้ว แนวคิดคือเจ้าหน้าที่ของรัฐมักจะ play save คือไม่เสี่ยง เพราะถ้าเสี่ยงและเกิดผิดพลาดเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดส่วนตัวแม้จะปฏิบัติหน้า ที่ก็ตาม อะไรแปลกใหม่ก็ไม่ทำ ประชาชนจึงไม่ได้รับบริการที่ดีที่สุดจากเจ้าหน้าที่ แนวคิดอย่างนี้มาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เราจึงได้มีพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 คุ้มครองว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ถึงแม้จะประมาทและทำความเสียหายแก่ประชา ชนเขาไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ให้หน่วยงานต้นสังกัดเจ้าของภารกิจรับผิดชดใช้ และอย่ามาไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่ มันต้องมีพื้นที่เสี่ยง กฎหมายบทน้นทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งแพทย์ บุคลากรแพทย์ภาครัฐได้รับไปด้วย ถ้าทำไม่ได้จงใจ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ต้องรับผิดส่วนตัว แม้แต่ชดใช้ค่าเสียหาย  
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:26:40 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ภารกิจของแพทย์ในการเข้าไปรักษาคนไข้เสี่ยงต่อชีวิตสุขภาพอนามัยของคนไข้ ยิ่งกว่าการปฏิบัติหน้าที่จองเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทั่วไป ยิ่งกว่าครู ยิ่งกว่าคนขับรถ แต่ถ้าทำโดยประมาท พิสูจน์ไม่ได้ว่าท่านไม่ประมาท ท่านต้องพิสูจน์ ท่านต้องรับผิดทางแพ่ง ทางละเมิด ถ้าเป็นแพทย์เอกชนท่านไม่ได้รับยกเว้น แต่ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐได้รับคุ้มครอง แต่ไม่คุ้มครองทางอาญา แม้เป็นแพทย์ของรัฐ เกิดคนไข้ตาย และเขาไม่พอใจงานของท่าน เขาดำเนินคดีอาญากับท่าน พอใช้อาญาเข้าไปบีบ คิดถึงหัวอกแพทย์ เหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน นครศรีธรรมราช เหมือนคิดอยู่คนเดียว พูดแต่ไม่ได้รับการสนองตอบ คือ ขอดำเนินคดีทางอาญากับแพทย์และบุคลากรของแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาค นไข้ของเขา ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา จะคุ้มครองไปถึงแพ่ง และปกครองด้วย ถ้าหรือเว้นแต่ท่านทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ใช้มาตรฐาน พ.ศ. 2539 ถ้าไม่คุ้มครองท่านเลย จะยกเว้นไปหมดจะมีผลกระทบต่อวิชาชีพ วิชาการ เอาเกณฑ์นี้ ถ้าจงใจหรือเจตนาดำเนินคดีอาญาได้ เพื่อให้เป็นมาตรฐาน แต่ถ้าแค่ผิดพลาดพลั้งไปแต่ไม่รุนแรงถึงคดีอาญา กฎหมายตัวนี้ของเราในแวดวงการแพทย์ ผมเห็นในอีกฉบับ วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ไม่มี ขอใส่เข้ามาได้หรือไม่ แต่จะสำเร็จหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง ควรมาจากการร้องขอวงการแพทย์  
 ร่างกฎหมายเป็นเรื่องทางแพ่ง ถามว่าทำไมวงการแพทย์ห่วงเรื่องรับผิดทางแพ่ง ถ้าเราเป็นต้นเหตุต้องหาทางให้คนไข้ของเราได้รับการเยียวยา ไม่ใช่ตั้งป้อมไม่เอา เพียงแต่ว่าที่ท่านเสนอตรงนี้เข้าใจว่าท่านคับแค้นกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ไม่ควรมาใช้กับวงการแพทย์ แต่ต้องมาใช้เพราะว่าแพทย์ในยุคปัจจุบันไม่เหมือนอดีต ปัจจุบันเป็นแพทย์เอกชนต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่าย การคิดค่ารักษาพยาบาลจากคนไข้มาก และขยับเข้าไประบบธุรกิจ เพราะฉะนั้นคนไข้เวลาเข้าไปหาหมอเอกชนคาดหวังสูง ไปซื้อบริการ กฎหมายฉบับนั้น พรบ.ผู้บริโภคแพทย์ถือว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจ คนไข้เป็นผู้บริโภค วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มันเป็นกฎหมาย 2 มาตรฐาน ให้แต้มต่อกับผู้บริโภคมาก เพราะเหตุผลว่าการต่อสู้ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมวยคนละรุ่น ความรู้ต่างกัน ศักยภาพโดยเฉพาะกำลังเงิน การสู้คดีแพ่งต้องมีทรัพย์ เขาออกกฎหมายว่าไม่เอาวิแพ่งมาใช้ ต้องมาตรฐานเดียวกัน แต่มีอะไรเกินเลยขนาดแพทย์ในหน่วยงานของรัฐคิดค่าตอบแทนท่านก็ชี้ว่าเป็นผู้ ประกอบธุรกิจ เราก็แก้เฉพาะตรงนั้น แต่พอมายกร่างนี้ ท่านเขียนแล้วไปไม่รอด ในร่างมาตรา 33 มีการบอกว่าเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวนมาใช้ ผิดเวที ลิเกหลงโรง ไม่รวมอาญาเลย ไปเขียนได้อย่างไร แต่มีรอยขีดฆ่า และร่างมาตรา 7 ก็ไม่ใช่ เพราะท่านพูดเป็นหลักว่าวิธีพิจารณาคดีต้องใช้ระบบไต่สวน และไปเอาวิแพ่งมาใช้ ผิดฝาผิดตัว ต้องปรับ ไม่ถูก ไม่เหมาะ และรายละเอียดอื่นๆ ที่ทำในเรื่องนี้เห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรกับวงการแพทย์ สถาบันแพทย์ เป็นงานของนักบุญ แต่ทำกฎเกณฑ์ใช้กับในบางลักษณะ ความจำเป็นและความชอบธรรมเห็นว่ายังไม่พอ เรื่องนี้ความรับผิดทางแพ่งไม่มีปัญหาสำหรับแพทย์ แต่มีปัญหาสำหรับองค์กร เรื่องนี้ถ้าเป็นแพทย์ภาครัฐเขาได้รับคุ้มครองตามพรบ.ละเมิดเจ้าหน้าที่ 2539 ไม่ต้องใช้กฎหมายบทนี้
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:27:26 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ใช้กับแพทย์เอกชน คนที่รับผิดโดยสุดท้ายคนที่จ่ายจริงคือองค์กร แต่รพ.เอกชนจึงเปลี่ยนสัญญาเป็นไม่จ้างหมอ พยาบาลมาเป็นลูกจ้างให้ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายละเมิด เขาบอกว่าแยกกัน คนไข้จ่าย 2 ก้อน ศาลฎีกาไม่ยอม อย่างนี้เลี่ยงบาลีเพราะฉะนั้นไม่เป็นนายจ้างลูกจ้าง ก็เป็นตัวกลาง ตัวแทน องค์กรรับผิด เขาไล่เบี้ยไม่ได้เพราะเดี๋ยวไม่มีหมอมาช่วยงาน  
ถ้าจำเป็นต้องมี1. ขอให้ไม่ใส่ทางอาญาด้วย 2. ขอให้คุ้มครองแพทย์เอกชนทางละเมิดเท่ากับแพทย์ของรัฐ 3. ปรับรายละเอียดอย่าให้ลักหลั่น จะไต่สวนก็ทั้งระบบ
 
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:28:31 by yellow_bird »
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:28:53 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อจ.อมร
 ผมเป็นผู้ร่างกฎหมาย ไม่เคยสนใจคดีทางการแพทย์ จนกระทั่ง 2 ปีก่อน มีคดี 2538 ระหว่างเด็กหญิงกับปลัด สธ. ผมเอากฎหมายมาอ่าน สนใจในเรื่องออกแบบระบบสถาบันทางการเมือง  พอมาเกี่ยวข้องกับคดีทางการแพทย์จึงหันมาดู สธ.เชิญผมให้คำปรึกษาหลายครั้ง ในฐานะร่างกฎหมาย 1. ปัญหาบทบาทของนักกฎหมาย 2. ปัญหาคดีทางการแพทย์ มีความสัมพันธ์กัน ถือว่าคดีทางการแพทย์เป็นแค่ single ปัญหาของนักกฎหมาย อาการอย่างหนึ่งเท่านั้น ปัญหาบทบาทของนักกฎหมายในรัฐปัจจุบัน และส่วนที่ 2 พูดเรื่องปัญหาคดีทางการแพทย์  
 ปัญหาหรือบทบาทนักกฎหมายของรัฐในปัจจุบัน ทุกคนได้ยินคำว่า นักกฎหมายคือวิศวกรสังคม ต้องสร้างและคำนวณผลอย่างไร ประเทศไทยสอนนักกฎหมายว่านักกฎหมายไม่ได้สอนให้เป็นนักวิศวกรทางสังคม นักกฎหมายของเราเป็นวิศวกรได้หรือไม่ นักกฎหมายมีบทบาทสำคัญคือร่างกฎหมาย กับชี้ขาดคดี ปัญหาคือวิศวกรสังคม 2 บทบาทนี้พัฒนามาอย่างไร วิธีคิดนักกฎหมายพัฒนามาเป็นระยะปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้ว พัฒนามาได้ 200 ปี ความคิดนักกฎหมาย มองเตสสิเออร์ ตายเมื่อราวศตวรรษที่ 18 ค.ศ. 1755 เกิดเมื่อ 1689 รู้จักว่าแบ่งแยกอำนาจเป็น 3 อำนาจ และเชื่อว่าอำนาจแบบนั้น ก่อนหน้านั้นมีนักปรัชญาพูดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ เพื่อกำจัดอำนาจกษัตริย์ ปัจจุบันนี้อำนาจที่แบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญเป็น 3 หรือเปล่า องค์กรอิสระ กกต. ตรวจเงินแผ่นดิน อัยการ นักปราชญ์สมัยเก่าเขาพูดถูก แต่ทำไมไม่บอกว่ามองเตสสิเออร์ผิดหล่ะ เพราะว่าเราเชื่อและเราไม่ได้คิด หลังจากนั้นรัฐเป็นสมัยใหม่ มีรัฐธรรมนูญ ระบบการตรากฎหมายที่แน่นอน มีการเสนอกฎหมาย พิจารณากฎหมาย มีสภาออกมา หลังจากนั้นแล้วการบริหารรัฐสมัยใหม่จึงเป็นการบริหารที่มีกฎเกณฑ์มีการตราก ฎหมายที่แน่นอน วิวัฒนาการ 200 ปีหลังไปไกลมาก โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย ระยะนี้จึงเรียกว่าระยะ 0.42.36 คือกฎหมายของรัฐที่มีกฎเกณฑ์ดีไม่ดีเป็นกฎหมายทั้งนั้น เนื่องจากอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หากเป็นกฎหมายไม่ดีก็ต้องแก้ สิ่งที่ทำให้วิชากฎหมายพัฒนาไกลมากคือ 0.44.24 100 ปี คอนเซปวิธีคิดทางกฎหมายเปลี่ยนไป แต่คนไทยไม่เคยเรียนเลย คนมีพฤติกรรมทำให้สภาพกฎหมายต้องตามให้ทัน คุมพฤติกรรมให้ได้ การตรากฎหมายต้องตามให้ทัน เพื่อวางกฎเกณฑ์วินัยอยู่ร่วมกันของสังคม หลังจากมีรัฐธรรมนูญแล้วความคิดคนเราต้องแยกเป็น 3 ระยะ ระยะแรก 0.46.17 คือ king มาจากพระเจ้า ระยะที่ 2 ความคิดของมนุษย์เป็นการเชื่อในสิ่งสมมติ ระยะที่ 3 0.47.25 มนุษย์เราใช้วิทยาการ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐของประเทศที่พัฒนาแล้วไปไกลมากจนประเทศไทยตามไม่ทัน เช่น ออกแบบรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปตำรวจ คนไทยเกือบทั้งประเทศอ่านตำราต่างประเทศไม่ออก และไม่มีการแปลตำราเหมือนประเทศญี่ปุ่น เขามีความรู้มากกว่าคนไทย 100 ปีหลัง การบริหารประเทศที่พัฒนาแล้วไปไกลมากเราตามไม่ทัน เราเขียนกฎหมายของเราเอง ดังนั้นจะเห็นว่าบทบาทของนักกฎหมาย บทบาทแรกคือการร่างกฎหมาย ทุกเรื่องต้องกฎหมาย แต่เราทำการวิจัยกฎหมายไม่เป็น
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:29:41 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

มีพันตำรวจโทหญิง ฐิชาลักษณ์  พญ.อรพรรณ นพ.ประสูติ ว่าที่ร้อยตรีพรชัย นามสุภาพ เอกสารเล่มนี้เป็นเอกสารวิจัยทางกฎหมายที่แม้แต่นักกฎหมายไทยหาทำได้ยาก อาจไม่สมบูรณ์เหมือนการวิจัยของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ดีที่สุด ในนี้มีหลายภาคผนวก การวิเคราะห์ คำพิพากษา ท่านเอาไปแจกให้อ่าน ดีที่สุดในประเทศไทยที่ผมเคยเห็น  
 ใน 100 ปีหลัง กลไกทางกฎหมายในรัฐสมัยใหม่ มีสถาบันที่ศึกษา ไปไกลมาก เมื่อรู้แล้วว่าสภาพทางกฎหมายเป็นอย่างไร ปัจจุบันเช่น ปัญหารัฐธรรมนูญยังตีความกันอยู่ สิ่งที่แน่คือขาดการวิจัยทางกฎหมายของเรา การวิจัยกฎหมายเขียนร่างกฎหมายง่ายกว่าอธิบายให้คนอื่นเข้าใจในร่างที่เราเข ียนเอง จะทำให้คนอื่นเชื่อว่าสิ่งที่เราเขียนดีอย่างไร เอกสารวิจัยจึงต้องเป็นเอกสารต้องอ่านให้ครบถ้วนจึงค่อยมาเถียงเรา  
 ร่างดีอย่างไร ครบถ้วนอย่างไร ก็ต้องมีคดี บทบาทที่ 2 คือ ชี้ขาดคดี ปัญหาของนักกฎหมายไทยอยู่ที่ไหน คดีพิพากษาศาลฎีกา ด.ญ.กนกพร กรณีที่มีปัญหาคดีศาลฎีกา สาเหตุมี 2 อย่าง 1. ออกแบบกฎหมายไม่ดี 2. ออกแบบกฎหมายดีแล้ว แต่ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย พอได้รับปัญหานี้ ก็หยิบกฎหมายพรบ.วิธีพิจารณาคุ้มครองผู้บริโภคมาพิจารณา มาตรา 3 คดีระหว่างผู้บริโภคและผู้มีอำนาจคดีตามมาตรา 19 กับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอื่น เนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ในมาตรา 8 ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ก่อนอื่นดูการวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ พรบ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค 2551 ผมให้ สธ.ตรวจสอบแล้ว เหตุผลในวินิจฉัยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ ผมให้เจ้าหน้าที่ดูว่าคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์อย่างไร จำนวน 8 ฉบับ ตั้งแต่ปี 2551 – 2553 ผมดูชื่อประธานศาลอุทธรณ์คนเดียวกันหรือไม่ ประเทศไทยไม่ค่อยสนใจ ถ้าเขาอ้างคำวินิจฉัยของประเทศเขาหนังสือพิมพ์จะมีชื่อผู้พิพากษาอยู่ด้วย แต่เราไม่มี ใครเป็นสื่อมวลชนต้องเปลี่ยนมาตรฐานเมื่อมีคำพิพากษาต้องมีชื่อผู้พิพากษา คำพิพากษาต้องเขียนก่อนอ่าน ของเราย่อมาอ่านและเขียนทีหลัง นอกจากนั้นการสรรหาผู้พิพากษาหรือตุลาการต้องเชิญมาแสดงวิสัยทัศน์ ต้องดูผลงานในอดีต  
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:30:08 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

จำนวน 8 ฉบับ ชื่อประธานศาลอุทธรณ์คือใคร เรื่องแรก 2501 เรื่องสุดท้ายส่งให้ 2553 ฉบับแรกถึงฉบับสุดท้ายของปี 2552 ประธานศาลอุทธรณ์เป็นคนเดียวกัน แต่ปี 2553 เป็นอีกคน แต่วินิจฉัยตามท่านแรก เหตุผลที่วินิจฉัย แพทย์มีทั้งที่เป็นรพ.รัฐ และรพ.เอกชน ตัวบทแพทย์ที่อยู่รพ.รัฐ กับแพทย์อยู่ รพ.เอกชน เป็นวิชาชีพเหมือนกัน แต่ทำงานคนละเป้าหมาย ถ้าตรวจดูคำวินิจฉัยให้ความเห็นว่าการรักษาเป็นการให้บริการถูกต้องแล้ว แต่อย่าลืมบริการที่เป็นธุรกิจ บริการที่เป็นสาธารณะ จุดหมายไม่เหมือนกัน อ่านตัวบทบอกว่าถึงแม้เป็นรพ.รัฐแต่เรียกค่าตอบแทนถือเป็นค่าใช้จ่าย มองว่าถ้าเรียกบริการสาธารณะเป็นบริการทางธุรกิจการวินิจฉัยชี้ขาดซึ่งเป็นบ ริการสาธารณะของรัฐ อำนาจชี้ขาดมิเป็นผู้บริโภคไปด้วยหรือ เป็นบริการจริง แต่บริการสาธารณะกับธุรกิจไม่เหมือนกัน วิชาแพทย์ไม่ว่าเป็นสาธารณะหรือธุรกิจต้องอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ถึงแม้จะตีความให้แพทย์ของราชการหลุดพ้นการวิธีพิจารณาผู้บริโภคไม่ใช่การแก ้ปัญหาที่สมบูรณ์ กฎหมายอาจดีครึ่งเดียว ต้องดูให้ดี คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ท่านตีความอย่างไร ผู้ประกอบธุรกิจกับราชการ ราชการเป็นการประกอบธุรกิจหรือไม่ ยิ่งกว่านั้นคำว่าผู้ประกอบธุรกิจมีนิยามแต่ไม่ปรากฏในคำวินิจฉัยของประธาน ผู้ประกอบธุรกิจนิยามไว้ว่าหมายความว่าผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการค ุ้มครองผู้บริโภคและหมายรวมถึงผู้ประกอบการตามกฎหมายอื่นเกี่ยวกับความรับผิ ดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทำไมท่านไม่เอาคำนิยามนี้ไปใส่ในคำวินิจฉัยด้วย อาจต้องอธิบายว่า สธ.คือผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นหรือไม่เป็น ถึงแม้ว่าแพทย์ส่วนราชการจะหลุดพ้นจากวิธีพิจารณาคุ้มครองผู้บริโภคดีครึ่งเ ดียว เพราะแพทย์ที่ประกอบธุรกิจก็อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:30:28 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผมแจ้ง สธ. 1. เอาวิชาชีพทางการแพทย์ออกจากวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2. หาวิธีพิจารณาที่ถูกต้องกับลักษณะคดีทางการแพทย์ ร่าง พรบ.ปัจจุบันไม่มีทางดีเพราะไม่ได้วิจัย ท่านไม่สามารถอธิบายทำให้คนอื่นเชื่อไม่ได้ 3. เมื่อเราหาวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ที่เหมาะสมได้แล้ว ปัญหาที่ตามมาคือการช่วยเหลือผู้เสียหายที่เกิดจากการรักษาแต่ไม่มีความผิดข องผู้ใด จะเอาหรือไม่เอา คนละเรื่องกับ 1 และ 2 แต่ประธานศาลฎีกาไม่เห็นด้วย  
ต้องทำการวิจัยอีกสักเรื่องหนึ่ง มาตรารักษาของกฎหมายควรจะเป็นฝ่ายบริหาร หรือผู้ที่เป็นอิสระมาเป็นผู้รักษาการ การออกแบบกฎหมายที่ให้ผู้ที่เป็นอิสระมารักษาการตามกฎหมายโดยไม่ต้องรับผิดช อบ เป็นการออกกฎหมายที่ถูกต้องหรือไม่ การเป็นอิสระในการวินิจฉัยคดีกับการเป็นอิสระในการบริหารแตกต่างหรือปนกันอย ่างไร
 
เน้นว่าเราต้องทำ benchmark กับนานาชาติตามพฤติกรรมของสังคม ปัจจุบันเสมือนหนึ่งว่าเราร่างกฎหมายโดยขาดการวิจัยและทำศึกษาเปรียบเทียบ แม้กระทั่งของเราเอง รวมทั้งเทียบกับชาวบ้าน จึงไม่รู้ว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน มาตรา 77 ก่อนจะตรากฎหมายใด ศึกษาผลกระทบ พบว่าไม่ได้ศึกษาและเร่งรัดการตรากฎหมาย ความพยายามที่จะร่างกฎหมายและวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ ลึกแล้วหลายคนมองว่าต้องทำให้ทันในรัฐบาลชุดนี้ เห็นด้วยหรือไม่  
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:31:15 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อจ.จรัล  
 ยกตัวอย่าง เมื่อ 20 ปีก่อน รัฐบาลอยากได้กฎหมายปราบปรามการฟอกเงินและถูกคัดค้านอย่างรุนแรง มากกว่าเรื่องของเรา ทางรัฐบาลตั้งคณะกรรมการยกร่าง ผมอยู่ฝ่ายสายเหยี่ยว อยากได้กฎหมายเต็มระบบทั้งขอบเขต กระบวนการ กลไกต่างๆ เพื่อสกัดกั้นโจรผู้ร้ายที่ได้เงินจากการทำความผิด และเสวยสุขกับเงินพวกนั้น ตัวเองอาจถูกดำเนินคดีอาญา แต่ทรัพย์สินไม่กระทบ แต่ฝ่ายตรงข้ามก็แรง จะเกินเลยไป ระบบเศรษฐกิจ ท่านอมรให้ทิศทางและเราทำตามสำเร็จมาจนถึงบัดนี้ด้วยดี  
 ผมไม่คิดเรื่องคดีแพ่ง ที่ห่วงคือคดีอาญา แต่ร่างนี้ไม่ตอบโจทย์ ขนาดเรื่องทางแพ่งยังไม่ให้เขารับผิดเลย ถ้าเขาประมาทธรรมดาไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง  
 
คดีรพ.เลย ให้ไล่เบี้ยกับแพทย์  
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:31:38 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ถ้ายัดไม่ลง ก็เปลี่ยนกล่อง ออกแบบกล่องใหม่ ให้ชื่อมันเป็นอะไร ผมไม่ค่อยเคร่งครัด ทางระบบอาจเคร่งครัด ถ้าแพทย์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงควรต้องให้เขารับผิดชอบ ควรให้เขากังวล ในระบบ common law ประมาทเลินเล่อของเขาอย่างร้ายแรงเรียก 1.27.50 เทียบเท่ากับยอมเล็งเห็นผล ในความผิดฐานฆาตกรรม ต้องอยู่ระดับอย่างนั้น แต่ไม่ได้เขียนนิยามศัพท์ให้ชัด แล้วแต่ใจคนตัดสิน เราก็เขียนหลักเกณฑ์ลงไป เรื่องนี้พอมาถึงความรับผิดของแพทย์และกระทบอาญาด้วย อยากให้มีกองทุน ไม่ใช่เฉพาะพรบ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 41 ที่จ่ายเงินช่วยเหลือไปก่อน ยังไม่พอ มันหยุดไม่ได้ จ่ายแล้วไม่ได้ประโยชน์ เอาก้อนนั้นหาทางอย่างไรมาสร้างสิ่งที่คนเขาเดือดร้อนเขาอยากได้ ไม่ต้องการให้แพทย์ขึ้นศาล เขาอยากได้เงิน เราหาทางสร้างตัวนี้ขึ้นมา ถ้าสร้างได้สำเร็จจะลดปัญหาเรื่องคดีความแพทย์กับคนไข้ไปได้ 90% และส่วนที่เหลือไปหาทาง เราไม่ใช้ระบบประกันภัย เราไม่ใช้รัฐประกันภัยสำหรับบุคลากรภาครัฐ รัฐจ่ายแทนไปก่อน และไล่เบี้ยไม่ได้ เราต้องการทางวิชาชีพก็ตั้งระบบนี้ขึ้นมา แต่ตั้งขึ้นมาภาระที่จะเข้าไปจ่ายเงินสมทบมันไปตกแก่เจ้าของธุรกิจ โดยหลักเรียกเก็บกับผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ต้องคิดคำนวณรวมค่าตอบแทน ก็ไปสู่ระบบธุรกิจ แต่มันสมควรทำให้ และรัฐสมทบแทนที่จะไปจ่ายอย่างอื่น มาสมทบภาครัฐของเรา ผมอยากเห็นแพทย์ พยาบาลได้จ่ายเงินสมทบด้วยตนเองด้วยซ้ำ เป็นสัญลักษณ์ ไม่ต้องมาก ให้ประชาชนเห็นว่าเงินนี้มาจากความห่วงของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ พอจ่ายได้ค่อนข้าง จ่ายเร็ว จ่ายคล่องดีกว่าประกันภัย และยังมีไม่พอใจ ต้องมีระบบที่ 2 คือสร้างระบบประนอมข้อพิพาท ซึ่งในร่างนี้มีบังคับ ก่อนฟ้องต้องไปไกล่เกลี่ยก่อน แล้วค่อยไปดำเนินคดีได้ คิดว่าไม่พอ เขียนแค่นี้ไม่เคยประสบความสำเร็จอะไรเลย มีบางองค์กร บางรพ.เขาสร้างระบบประนอมข้อพิพาทขึ้นมาและของเขาประสบความสำเร็จโดยไม่ต้อง อาศัยอะไรเลย บริหารจัดการของเขาเอง ลดคดีความได้เกือบ 0 เราศึกษาและมาปรับปรุงออกแบบให้เป็นกลไก ถ้าสมมติว่าคุณพ่อคุณแม่เข้ารพ.แล้วตาย ก็มีความรู้สึก อย่างน้อยต้องเป็นเพราะอะไร ถ้าเราสร้างระบบนี้ขึ้นมาและลงทุนสร้างมืออาชีพในระบบ ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอ พยาบาล นักกฎหมาย อย่าหวังว่าศาลไกล่เกลี่ยแล้วสำเร็จ กระบวนการประนอมข้อพิพาทเขามีมืออาชีพ สร้างวิชาชีพนี้ขึ้นและจะขยายไปช่วยแก้ปัญหาข้อพิพาทในวงการอื่นด้วย เรายังไม่มีมืออาชีพในการประนอมข้อพิพาทและกลไกมาตรฐาน
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:32:09 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ถ้าจะต้องเป็นคดีขอให้เป็นคดีแพ่ง อย่าเป็นคดีอาญา และถ้าเป็นคดีแพ่งขอให้จ่ายจากกองทุน แต่กองทุนมีไว้รอศาลตัดสิน แต่ถ้าศาลต้องรับผิดขึ้นอีก กองทุนจ่าย และเราจะคุ้มครองบุคลากรที่ให้กองทุนเอาคืนได้แค่ไหนเพียงใด กลไกที่ออกแบบไว้ในกฎหมายละเมิดเจ้าหน้าที่ มาตรา 8 4 วรรค น่าจะพอ ถ้าน้อยไปก็เพิ่มวรรคไป เป็นกลไกที่ดีมาก วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีประมาทเลินเล่อร้ายแรงต้องรับผิด จ่ายเงินเข้ากองทุน วรรคสอง ต้องให้วิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมด คำนึงถึงความเป็นธรรม วรรคสาม คิดภาพรวมและดูว่าหน่วยงาน ระบบงานมีข้อผิดพลาดหรือไม่ ต้องหักลดความรับผิดของผู้ทำผิดลง วรรคสี่ ถ้าหลายคนเกี่ยวข้อง ให้รับผิดของแต่ละคน ไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกัน ออกแบบไว้ดีมาก  
 เอกสารหน้าที่ 6 มาตรา 17 ยกเลิก 31 ของ พรบ.วิชาชีพเวชกรรม 2525 ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 1. .... ต้องมีมาตรฐาน 2. รักษาจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ ดีถูกต้อง ภายใต้ความสามารถ เขาเป็นเด็กจบใหม่ หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือเฉพาะด้าน ดูข้อจำกัดของเขา อายุของแพทย์ สุขภาพของแพทย์ ภาวะ วิสัย พฤติการณ์ที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ไม่เคยเห็นอยู่ตรงไหนกฎหมายอื่น คิดว่ามาเพิ่มเป็นวรรคห้าของเรา ถ้าต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ให้ตอบพฤติกรรม สภาพความเป็นจริง ในประเทศไทย  
เคยมีคดีที่มาศาลเขาต่อสู้กับมาตรฐานสหรัฐอเมริกาเป็นระดับหนึ่ง แต่ประเทศไทยใช้มาตรฐานนั้น คนป่วยเป็นโรคหอบหืดรุนแรงฉุกเฉินท่านให้ 1.44.45 โดสที่ 1 ยังไม่ดีขึ้น ให้โดสที่ 2 ตายได้ และมีปัญหา เขาบอกมาตรฐานสหรัฐอเมริกาให้ได้ แต่ในประเทศไทยใช้แค่ไหน ปัญหาคนอเมริกันตัวใหญ่ น้ำหนักมากกว่ารับได้มากกว่าคนไทยหรือไม่ ถ้าเราเขียนอะไร ประสบการณ์วงการแพทย์มีเยอะ เขียนเป็นการเฉพาะจะช่วยคนใช้กฎหมายได้ ถ้าไม่เขียนต้องเจอกับนักกฎหมายตัวหนังสือและไม่มีวันจะเข้าใจ ไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน หรือแนวทางกำหนดไว้ในกฎหมาย หรือเปิดช่องเป็นกฎหมายลูก และออกตามมาให้ชัดเจนและเผยแพร่ให้รู้ทั่วกันจนเป็นที่น่าพอใจของสังคม
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #11 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:32:40 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ร่างกฎหมายฉบับนี้มองเห็นอย่างไร
 ขอสนับสนุนแนวคิดอ.อมร ที่ตอนนี้กฎหมายออกรวดเร็วมาก ขาดการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ไม่สามารถนำกฎหมาย สคบ. ทันทีได้ ขอประวิงเวลาไว้ ควรมีการออกแบบ ไม่ว่าหลังจากที่ทำวิจัยหรือประชาพิจารณ์มีประเด็นว่า ใครเป็นคนวินิจฉัยว่าประมาทเลินเล่อร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง แต่แพทยสภามีไม่กี่คน ไม่มีแพทยสภาจังหวัด ถามสาธารณสุขจังหวัดท่านก็ไม่ได้มีประสบการณ์วินิจฉัยประเด็นประเภทนี้ และต่อให้มีประสบการณ์วินิจฉัย ผมเป็นหมอสู ให้ผมพิจารณาว่าประมาทเลินเล่อในทางศัลยกรรมกระดูกไม่กล้าวินิจฉัย เท่ากับทำบาปแพทย์ท่านนั้น และคนไข้ท่านนั้น เป็นสิ่งละเอียดอ่อน ผมเห็นด้วย 99.99% การออกแบบสำคัญมาก ในกระบวนการจะทำให้เร็ว เห็นด้วยที่จะออกพรบ.คดีทางการแพทย์ แยกส่วนไปเลย นี่คือหน่วยงานของรัฐ พอเป็นเอกชน รพ.เอกชนหลาย network มีนิติกร ทีมงาน แต่คลินิกหมอเดี่ยวๆ 1 คน ตอนทำงานรพ.รัฐเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐคุ้มครอง แต่พอมาเปิดเป็นเจ้าของคลินิกจะเอาความคุ้มครองจากรัฐไม่ได้ ใครคุ้มครองเขา หมอที่อยู่ในประเทศไทยก็ต้องหากินเปิดคลินิกเป็นปกติ โอกาสละเมิดคนไข้ได้เสมอ มุมมองคนไข้สมัยนี้หมอไม่ใช่เทวดาแล้ว สื่อไปเร็วมาก ต้องระวัง การเรียกร้องหมอไม่กังวลเรื่องแพ่งไม่เชิง ในมุมมองของหมอสมัยก่อนพอมีทรัพย์สิน หมอไม่เยอะ แต่ปัจจุบันหมอเปิดคลินิกเยอะรายได้ไม่เยอะ และฟ้องหมอได้ง่าย ได้เงิน เคยมีประสบการณ์ถูกฟ้องร้องและไกล่เกลี่ย ก็ไม่ค่อยถูกต้อง คนไข้มักจะฟ้องร้องเป็น 100 ล้าน  
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #12 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:33:19 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อ.เชิดชู  
 ให้ทำ 1 2 3 เอาวิชาชีพออกจากวิธีพิจารณาผู้บริโภค และหาวิธีพิจารณาใหม่ เพราะประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีบอกว่าจะหาวิธีเอาคดีทางการแพทย์ออกจากวิธีผู้ บริโภค แต่วิธีที่เขียนกฎหมายใหม่เหมือนจะยิ่งร้ายแรงกว่า เพราะเพิ่มคดีความ อายุความ ผลออกมาแย่กว่าเดิม การช่วยเหลือผู้เสียหายที่ไม่มีใครทำผิด ประเทศไทยยังขาด เช่น การแพ้ยาที่เป็นอาการร้ายแรงทำให้ผู้ป่วยตาบอด อันนี้ฟ้องแพทยสภาเพราะหมอไม่ผิด ทำตามมาตรฐาน ซักประวัติแล้วไม่มี ต่อไปอาจจะแพ้ได้ อันนี้เป็นปัญหา มีพรบ.ที่แก้ปัญหามาตรา 41 พรบ.หลักประกัน เกิดความเสียหายและมีเงินกองทุนชดเชย ชดเชยโดยไม่มีผู้ทำผิด แต่นักกฎหมายไทยเข้าใจผิดอยู่มาก รับไม่ได้ เพราะไม่พิสูจน์ถูกผิดเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแพทย์ทำตามมาตรฐานหรือไม่ หรือวิธีนี้ผิดไม่ควรทำต่อไปหรือไม่ พรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ที่เขียนมาไม่แก้ปัญหา อาจสร้างปัญหา สนใจ พรบ.รับผิด 2539 เห็นด้วยว่าจะคุ้มครองแพทย์ในภาครัฐ แต่ทำอย่างไรคุ้มครองแพทย์เอกชน เคยไปฟังนักกฎหมายการที่หมอไปจิ้มเข็มใครคนหนึ่งก็เป็นคดีทางอาญา ต้องขออนุญาตก่อน ฟังแล้วแพทย์ หรือพยาบาลกลัวมาก สิ่งสำคัญคือข้อ 3 ทำอย่างไรจะทำให้เกิด อยากปรึกษาว่าทำอย่างไรที่จะทำให้คดีทางการแพทย์ไปอยู่ในคดีทางละเมิด การที่จะเก็บเงินจากคนที่ทำงาน เช่น สหรัฐอเมริกา หมอจะมีทางรัฐประกันการทำงานให้ เอกชนจ่ายเอง ทางรัฐควรรับผิดชอบ เพราะแพทย์รพ.รัฐทำงานหนัก เงินเดือนน้อยมาก อาจหนีไปอยู่เอกชนหมด ในประเทศไทยมีรพ.เอกชนมีสาขาเยอะที่สุดในประเทศไทยจะบังคับให้แพทย์ทุกคนทำป ระกันการตรวจรักษา สิ่งที่ต้องแก้คือแพทย์ภาครัฐทำงานหนักและมีความเสี่ยงต่อความเสียหายง่าย และทำงานอยู่เวรติดต่อกันเกิน 24 ชม. หากเกิดความเสียหายตรงนี้ปฏิเสธการเสียหายได้หรือไม่ ควรเป็นภาระของหน่วยงานโดยตรง ผู้ดูแลรับผิดชอบ สธ.ไม่จัดการอะไร แพทย์ไทยดีเกินไป เสียสละตนเองเพื่อคนไข้ เพราะมีจริยธรรมไม่ละเว้นหน้าที่ แต่ถ้าไม่มีการแก้ไข อย่าให้ฟางเส้นสุดท้ายขาด คือแพทย์ไม่ยอมทำงาน ลาออกกันหมด สถานการณ์เลวร้ายมากเรื่องทำงานมากเกินไป เสี่ยงต่อการฟ้องร้อง เรื่องสุดท้ายทำอย่างไรการพิจารณาคดีทางศาลให้เหมือนต่างประเทศจะต้องฟังควา มเห็นทางผู้เชี่ยวชาญ แต่ของประเทศไทยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เป็นอาจารย์สอน ซึ่งศาลถือว่าเป็นอาจารย์ที่สอนหมอคนนี้มาไม่เชื่อถือ จะทำอย่างไรที่จะทำให้ระบบศาลมีการฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้วย
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #13 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:34:25 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

นพ.ปรีชา
 ถ้าให้สื่อมวลชนลงคำพิพากษาและลงชื่อผู้พิพากษาจะถือว่าละเมิดหรือไม่  
 
  อาจารย์อมร :ไม่เห็นละเมิด ทุกวันนี้มีบางสื่อก็บอกให้รู้ว่าใครเป็นคนตัดสิน เวลาเขียนบทความอ้างคำพิพากษาก็มี foot note บอกให้รู้เหมือนกัน แต่ในทางปฏิบัติเรายังไม่ทำกัน ก็ดูแปลกสำหรับคนที่ทำ โดยเฉพาะคำพิพากษาที่ตำหนิ และเราอ้างชื่อก็ไม่อะไรออก ทำให้เรากับเขามองหน้ากันไม่ได้ เลี่ยงกันไป แต่ไม่น่าจะละเมิดศาลอะไรเพราะตรงตามความเป็นจริง ในรายงานเนติบัณฑิตสภาต้องลงชื่อองค์คณะผู้พิพากษาทุกเรื่องที่ตีพิมพ์ ในศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเปิดเผยตัวตน ให้ประชาชนตรวจสอบ เหลือแต่วิพากษ์วิจารณ์ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์  
 
 เผยแพร่ได้ มันเป็น fact เราไม่ได้วิจารณ์อะไร  
 
ควรมี อินมูนิตี้ สำหรับแพทย์ในทางคดีอาญาหรือไม่ เห็นด้วยกับการคุ้มครองแพทย์  
ควรดูแลผู้เสียหายที่ไม่มีผู้กระทำผิด รูปแบบใด ควรต้องมี  
เงินมาตรา 41 จัดการให้ดี ถูกต้อง  
มันจะมีปัญหา อยากให้ทำร่วมกัน ต้องดูว่าผิดถูกอย่างไร เงินก้อนแรกที่จะจ่ายให้กับผู้ป่วย ผู้เสียหาย กองทุนต้องจ่ายก่อน โดยไม่ต้องดูว่าใครผิดใครถูก สิ่งที่แสดงน้ำใจ ห่วงใยสุขภาพของคนไข้ จากวิชาชีพเอง จำนวนเงินไม่เกินมาตรา 41 เอาไปก่อน การเจรจาก็เบาลง สามารถยุติได้ อาจจ่ายเพิ่มเล็กน้อย แต่ผิดหรือถูกเป็นเรื่องระหว่างกองทุนกับแพทย์ กองทุนขอผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ ผมนึกถึงราชวิทยาลัย เป็นไปได้หรือไม่ขอราชวิทยาลัยเพิ่มภาระตรงนี้ และท่านมีฐานะเป็นคนกลาง ไม่ใช่คู่กรณี และคณะกรรมการกองทุนดูกันอีกที มีหลักเกณฑ์ พอมีกองทุนในกองทุนต้องมีระบบคนกลาง คนที่ประนอมข้อพิพาท จะต้องถูกสร้างขึ้นมา และสามารถครองตัวกระจายไปทั่วประเทศ ออกแบบระบบ
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:34:51 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อ.วิษณุ  
ประเด็นคือการสร้างมาตรฐาน หลายครั้งไป reference การให้โดสแบบอเมริกา แต่ไม่เหมือนกัน ประเทศไทยเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา ไม่มีเครื่องมือครบเหมือนอเมริกา เพราะฉะนั้นแพทยสภาต้องสร้าง what is minimum report requirement เพื่อให้ศาลไปประกอบการพิจารณา เป็นงานอีกสเตปหนึ่ง minimal standard guideline เช่น ในอมก๋อย จะมาเท่ากับรพ.อำเภอได้อย่างไร  ตัวแทนเอกชน เรายินดีจ่ายเข้ากองทุน แค่ว่าจะจ่ายอย่างไร คิดอย่างไร และการประกันประสบการณ์ผมบริษัทประกันไม่รับ ฝาก พรบ.โฆษณาสถานพยาบาล หมอโฆษณามีความผิดอาญา หาทางแก้ไข พรบ.ให้ที
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #15 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:35:21 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

นายนพพล
 วิชาชีพทางการแพทย์เป็นวิชาชีพที่ซับซ้อน การออกกฎหมายมาเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เห็นด้วยไม่ควรเป็นคดีผู้บริโภค ปรากฏว่ากฎหมายที่ร่างออกมาไม่สะท้อนความรับผิดชอบของผู้บริหารได้เลย คดีนี้เป็นคดีตัวการกับตัวแทน ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบ ตัวการก็ไม่แก้ไข ปัญหาที่อยู่ชายขอบ พร้อมไม่พร้อม คนหนึ่งมีภาระโหลดเกินมันเกิดขึ้นจริงในชีวิตจริงและปรากฏว่าแม้แต่รพ.ขาดทุ น ผอ.รพ.ยังไม่สะท้อนปัญหา เห็นภาพเลยว่าแก้ไม่ได้ เห็นด้วยว่าการวิจัยกฎหมายไม่มี ใครรับผิดชอบ พรบ. นี้ ไม่มี แก้ได้หรือไม่ เมื่อไม่ได้วิจัยจากวิชาชีพจริง ย่อมเป็นกฎหมายที่ดีไม่ได้
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #16 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:36:41 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

พ.ต.ท.หยิงฐิชาลักษณ์ : ทำวิจัยด้วยความรู้สึกว่าเมื่อมีปัญหาต้องตอบโจทย์ด้วยเหตุและผล ที่ท่านบอกว่าไม่ถูกกล่องก็เปลี่ยนกล่อง นโยบายให้เป็นวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ ไม่มีใครกล้าเอาสาระบัญญัติเข้าไป เอาศาสตร์บัญญัติก็ไม่เริ่มต้น ไปเริ่มต้นที่ศาล เคยวิพากษ์แก้ปัญหาแค่ปากซอย เรื่องการวินิจฉัยใครตัดสินว่าประมาทหรือไม่ประมาท งานวิจัยออกแบบไว้แล้ว เรื่องกองทุนมาตรา 77 ไม่จำเป็นไม่ให้ตั้งกองทุน แต่เห็นด้วยเป็นบริการสาธารณะ จำเป็นที่เกิดขึ้นกับประชาชนรัฐควรดูแล พอให้พ้นคดีอาญา ถอดคดีทางการแพทย์ไม่ต้องคดีอาญาได้ก็ไม่สามารถเป็นทางเลือกได้ ถ้ากองทุนเขียนลักษณะผู้กระทำได้จ่าย ท่านเก็บเงิน 5 ปี กันเงินมาเป็นกองทุน เยียวยาจากแพทย์จะทำที่ไหนคุ้มครองพื้นฐานเท่ากันหมด แต่แยกภาคธุรกิจ ภาคสาธารณะ หากภาคธุรกิจผู้เสียหายเรียกร้องจากผู้ลงทุนได้  
 
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ 10 ฉบับ เราจะทำอย่างไร ขอเสนอว่าให้จัดทำกระบวนกฎหมายว่าด้วยการแพทย์และการสาธารณสุขให้เป็นหมวดหม ู่ เชื่อมโยงเป็นระบบ ไม่ซ้ำซ้อน และขอให้ชะลอทุกอย่างและเข้าสู่กระบวนการ ดีหรือไม่ และเราต้องจัดแบบนี้อีกหรือไม่  
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #17 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:37:33 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ศ.อมร : ถึงแม้จะไม่เขียนผ่านสภาเป็นประมวลก็สามารถพิมพ์รวมเป็นประมวลได้ ส่วนปัญหาที่สำคัญคือ ประมาท เจตนาใครเป็นผู้ชี้ วิธีพิจารณาถ้าท่านวิเคราะห์และทำเปรียบเทียบซึ่งมีประเทศต่างๆ ที่พัฒนา และมีวิธีแก้หลายรูปแบบ ถ้าทำการวิจัยจริง รูปแบบที่เหมาะสมของประเทศไทยจะปรากฏขึ้น ร่างกฎหมายใหม่เห็นว่าไม่มีบอกเลยว่าสาระเพิ่มเพราะอะไร ซึ่งต่างประเทศต้องมี ใครจะเป็นผู้ชี้ สมมติศาล หรือนักกฎหมาย ถ้าผู้เชี่ยวชาญ 2 คนขัดกัน ใครเป็นผู้ชี้ดีที่สุด คนที่จะรู้ว่าวิธีการรักษาที่ถูกต้องหรือไม่ ต้องเป็นหมอเอง เราหาหมอที่เป็นกลาง อาจตั้งขึ้นมา ถ้าเราวิจัยไม่เป็นเราไปข้างหน้าไม่ได้ ปัญหาคือนักกฎหมายรู้หรือไม่ว่าตนเองควรจะชี้ขาดอะไรบ้าง หมอสูจะไปตัดสินเรื่องอื่นไม่ได้ ถ้ามีปัญหาเรื่องอะไรต้องวางรูปแบบให้เหมาะว่าใครเป็นคนชี้ เหมาะกับสาขานั้น และอยู่ในกระบวนการยุติธรรมด้วย ผมไม่คิดว่าเราจะพัฒนาได้ เช่น พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง ออกมาปี 2542 ปี 2542 เราวางไว้ในตัวบทว่าให้คณะกรรมการวินัยตามเรื่องต่างๆ สามารถเป็นศาลชั้นต้นได้ การชี้ขาดข้อเท็จจริงอาจถูกตรวจสอบด้านกฎหมายว่าสุจริตหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงถูกหรือไม่ เขียนไว้ในพรบ.ศาลปกครองตั้งแต่ปี 2542 20 ปีไม่มีการพัฒนาเลย นี่คือสภาพนักกฎหมายประเทศไทย หากไม่ยกระดับการสอนนักกฎหมายไทย
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #18 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:37:59 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ร่างพรบ.วิชาชีพเวชกรรมที่มีการปรับแก้ มีการตอบบ้างแล้ว ขอให้ทีมงานรวบรวม ประเด็นที่หลายท่านบอกว่าที่ออกมาหมอยังไม่รู้ และสำรวจว่า 96% หมอไม่รู้ว่ามีร่างนี้ เราจะทำอย่างไรดี เราจะชะลอได้หรือไม่ ให้ชอบด้วยหลักการธรรมาภิบาล ออกมาต้องมีประสิทธิภาพ กรณีที่มีแล้ว มีบางส่วนต้องเร่งรัดให้ออก เพราะรัฐบาลจะหมดอายุ จะขอความเห็นที่ประชุมว่าขอให้ชะลอไปก่อน และให้หมอรับรู้ทั่วกัน และเกิดธรรมาภิบาล ไม่ต้องตามกระแสการออกกฎหมาย  
 
ข้อบังคับร่างว่าด้วยความเป็นสมาชิกแพทยสภา และว่าด้วยเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม  
 การออกข้อบังคับเป็นกฎหมายลำดับรอง ไม่จำเป็นต้องไปฟังตามมาตรา 77 ที่จะต้องมีการศึกษาผลกระทบ และไม่จำเป็นต้องวิจัย และไม่ต้องรับฟัง จำเป็นเฉพาะกฎหมายใหญ่ๆ ตรงนี้จะทำอย่างไรให้เราเดินไปด้วยกันได้ดี  
มีการล็อคสเปคไว้ 20 ข้อ การออกกฎหมายแบบนี้จะขอชะลอไปก่อน แต่ต้องมีกลไกให้หมอเราทราบจริงๆ เราไม่เคยมีการประชุมแบบวันนี้เลย และมีการเสนอให้จัดประชุมปีละครั้ง  
ขอมติว่าขอให้ชะลอไปก่อนทั้งระดับข้อบังคับและไม่ข้อบังคับ เพื่อไปหารือ และสำคัญที่สุดหมอมีส่วนร่วมต้องรับรู้ และเข้ามาทำการวิจัย และต้องยกร่างที่เป็นไปได้  
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #19 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:38:41 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อ.เชิดชู
 กฎหมายนี้เราจะไปยับยั้งตรงไหน 2. พรบ.วิชาชีพเวชกรรม การออกกฎหมายใหม่มีการรับฟังความเห็น ไม่ถ้วนถี่ฟังไม่กี่ครั้ง พอออกข้อบังคับมาหมวด 2 การระงับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราว ข้อ 5 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนก่อนกล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพให้แพทยสภาอ อกประกาศหรือคำสั่งให้ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นหยุดการประกอบวิชาชีพ อันนี้อันตรายหรือเปล่า ยังไม่สอบสวนเลยว่าคดีมีมูลหรือไม่ ไม่ทราบว่าคนที่อ่านร่าง พรบ. เขาไม่ได้อ่านข้อบังคับ เรามีปัญหาเรื่องกฎหมายที่กำลังร่าง และกฎหมายออกไปแล้ว เช่น การโฆษณา แทนที่จะไปควบคุมผู้โฆษณาไม่มีความรู้ เช่น หมอเถื่อนบอกว่าเป็นต้อไม่ต้องผ่าตัด กินยาก็หาย กฎหมายที่ออกมาแล้วจะแก้ไขอย่างไร และที่จะกำลังร่างจะยับยั้งอย่างไร
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #20 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:39:43 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผู้ดำเนินรายการ :  
การแก้พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ต้นเหตุเมื่อปี 2550 ขอแก้ไขพรบ.นี้ เพื่อให้คณะแพทยศาสตร์ออกไปและเอาเอกชนเข้ามาแทน และเข้าสภาแล้วมารู้ทีหลังจึงรีบไปคัดค้าน เช่น สมองตาย สร้างเมื่อปี 2532 ถ้าไม่ทำขึ้นมา คดีวชิรปราการโทษประหารชีวิตเพราะไม่มีกฎหมายอะไรมาช่วยเลย เป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องตื่นตัว เราพยายามแก้มา ผมก็เสนอแพทยสภาให้ยกร่างแก้พรบ.มาตั้งแต่ปี 2551 บอกให้แพทยสภายกร่างแก้ไข และมีคณะจัดทำ มาถึงป่านนี้มาไกลพอสมควร เรื่องที่จำเป็นต้องแก้อยู่ในรายงาน และระยะเวลาที่แก้กฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย พอเราร่างเสร็จพอเปลี่ยนรัฐบาลยกทิ้ง และไม่รู้จะสนใจหรือเปล่า จังหวะนี้ควรจะเร่งรัด เอาที่จำเป็นก็ได้ โอกาสมีตอนนี้ เหลือแค่ยื่นเข้า ครม. รับไปส่วนที่จำเป็นต้องแก้เพื่อประโยชน์ของแพทยสภา สิ่งที่จำเป็นเรื่องแพทยสภาไม่มีอำนาจยับยั้งการประกอบวิชาชีพเวชกรรมกรณีอั นตรายต่อประชาชน เช่น แพทย์ที่กระทำนั้นมีโรคจิต แต่คณะกรรมการจริยธรรมตรวจสอบ หากทำต่อไปประชาชนเดือดร้อน คือหลักการที่คุ้มครองประชาชน  
 
เราเหลือเวลา 6 เดือน ของการบริหารของ สนช. ฝากคำถามแพทยสภา และกรรมการแพทยสภา ว่าให้เร่งรัดแต่อย่างไรก็ต้องให้แพทย์รับรู้ จำเป็นทั้ง 2 อย่าง ถ้าไม่เห็นต่างเป็นความเห็นด้วยร่วมกัน
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #21 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:40:33 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อาจารย์จรัญ : ผมพอใจร่างพรบ.วิชาชีพเวชกรรม มาตรา 17 ที่ยกเลิกมาตรา 31 และเขียนใหม่ไว้ในวรรค 3 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งประกอบตามมาตรฐานและจริยธรรมตามวรรค 1 2 แล้ว ให้พ้นรับผิดทางอาญา เว้นแต้กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือร้ายแรง แต่อยากเพิ่ม ไม่ใช่ให้พ้นความรับผิดและไม่ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญา ไม่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย  
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #22 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:41:06 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อ.สมเกียรติ
 ผมเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน จบจุฬา ปัจจุบันมีหมอแผนไทย function ไม่ได้ต่างจากพวกเรา ใช้ยาสมุนไพร หรือนวด เขาเป็นแพทย์ ตอนนี้มีสภาแพทย์แผนไทย การทำถูก รับผิด คดีอาญา เหมือนกันหมด น่าจะมีกฎหมาย include แพทย์แผนไทยเข้าไปอยู่แพทยสภาด้วย หรือไม่อยู่ควรจะมีสภาอีกแห่งหนึ่งเพื่อช่วยกลั่นกรองด้วย
 
Q. รื้อพรบ.เก่าสถานพยาบาลจะทำได้หรือไม่ ออกมาปี 99 แก้ไขกฎหมายได้หรือไม่
อ.วิษณุ กระบวนการการทำใหม่ยุ่งยากหรือไม่  
อ.จรัล กฎหมายแก้ได้เสมอ ถ้าไม่ดี กฎหมายที่เราเขียนเราเข้าใจ ยากที่ให้คนอื่นเห็นด้วย ต้องมีหลักการปะหน้า เหตุผลที่แก้เพราะอะไร ประเทศไทยเราขาดตรงนี้ เป็นเอกสารที่แนบไปกับตัวร่าง ถ้าเรียนกฎหมายเปรียบเทียบจะมองเห็นกลไกที่ประเทศพัฒนาแล้วสร้างขึ้น วิธีคิดการหาข้อเท็จจริงอาจจะต้อง ขณะนี้อินเตอร์เน็ตช่วยได้เยอะ ทำการ connect couter part ที่ต่างประเทศ
 
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #23 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:41:36 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

นิพนธ์ อดีตผอ.
 เรื่อง ผชช.กฎหมายระหว่างประเทศ ผมทำบริษัทข้ามชาติ อยากเสนอเรื่อง box change ขอข้อมูลจากต่างประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีเรื่องนี้ ทางรัฐบาลขอความร่วมมือต่างประเทศเรื่องนี้ และลดขั้นตอนของเราได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ เรื่องเจตนาจะออก อยากให้รับผิด รับชอบด้วย เรื่องกองทุน ที่มาของกองทุนคือเงินภาษีมาใส่กองทุนนี้เพื่อช่วยแพทย์ในเรื่องคดีที่เกิดข ึ้น  
 
อ.สุพัฒน์
 ฟิลแพทย์ ฟิลนักกฎหมายในประเทศไทย เราเอาพวก high school เลย ซึ่งต่างจากต่างประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา คนเรียนแพทย์จะไปจากปริญญาตรีจะค่อนข้าง make ชัว เบสิคจะไม่ค่อยแน่น ไม่ค่อยมีการดิสคัทชั่น  
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #24 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:42:24 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อ.ประสพศรี
 เมื่อช่วงเช้าเป็นสิ่งที่ตัวแทนพวกเรา พูดจากการรับฟังจากเพื่อน มีประโยชน์อย่างยิ่ง ได้ข้อสรุปบางประการจะเสนอในคณะกรรมการแพทยสภาชุดต่อไปได้  
จะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการติดต่อ การดูแลแพทย์ แต่ไม่สามารถตามท่านได้ครบเลย เรามีเทคนิคติดตามแล้ว ระบบ IT จะสำเร็จในปีหน้าจะทำให้การสื่อสารสมาชิกประสบความสำเร็จมากขึ้น ในอนาคตการสื่อสารองค์กร สื่อสารหมอ สมาชิกเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่เราจะขยับเรื่อง พรบ.ต่างๆ เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจาก พรบ.เดิมมหาศาล แต่เราไม่มีปัญญาแก้ เราต้องมีการพัฒนา เอาที่เป็นประเด็นจริงๆ มีที่มาที่ไปที่คิดอย่างนี้ นี่คือ gap ที่ไม่สามารถสื่อสิ่งที่เรารู้ออกไปให้พวกเรารับทราบ ในอนาคตจะพัฒนาตรงจุดนี้เพิ่มมากขึ้น
เราควรมีการรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุขไว้ด้วยกันหรือไม่ ซ้ำซ้อนอย่างไร ส่วนมากต่างคนต่างออกโดยไม่ทบทวน พรบ.บางอันไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ได้มองภาพใหญ่ เรามีสิทธิที่จะเพิ่ม และไปมองดูว่ามีประเด็นอะไร พรบ.สถานพยาบาลเห็นประเด็นปัญหา  เราต้องเคารพในกฎหมายต้องพยายามดูให้อยู่ในกรอบ อยู่รอดปลอดภัย การแก้น่าจะดูตรงข้อบังคับ เหมือนในรัฐธรรมนูญเขียนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พรบ.ปฐมภูมิทุกมาตรามีปัญหา อันตรายมาก ก็ทำอะไรมากไม่ได้ ก็พยายามแนะนำ เราต้องก้าวไปแก้ไปด้วยกัน พรบ.วิชาชีพเวชกรรม แก้ไม่ได้เลยเพราะเราอยากให้ดีที่สุดแต่ไม่ได้ เราถึงจุดที่ต้องตายถ้าไม่แก้ คำว่ามาตรฐาน และอาญา เราเสนอเป็น 10 ปี ว่าแพทย์ไม่ควรทำอาญา เราทำไม่สำเร็จเลยเพราะมีคนไม่เห็นด้วย  
ในเนื้อหาบางประเด็นจำเป็นต้องก้าวต่อไป และมีบางประเด็นที่ต้องทบทวน และในเวลาเดียวกันเราต้องฟังเสียงพวกเรามากขึ้น จะรับไปวางแผนว่าจะให้พวกเราได้รับทราบตรงนี้มากขึ้นอย่างไร ยอมรับในจุดบางจุดที่ต้องพัฒนางานแพทยสภา โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย  
พรบ.เราเกิดมาเป็นพี่ใหญ่ เราทำทุกอย่าง แต่วันนี้ไม่ใช่ เรามีวิชาชีพออกมา และวิชาชีพการแพทย์แผนไทยล่าสุดเข้ามา เรามีสาธารณสุขชุมชน ต่างคนมีพรบ.ของตนเอง ไม่ต้องรวมกัน เราต้องเคารพในศักดิ์ศรีของสภาวิชาชีพอื่นๆ เราทำงานเป็นทีม พรบ.ใหม่จะช่วยให้ชัดมากขึ้น อะไรเป็น fuction ของแพทย์  
อ.บางคนนั่งอยู่ใน สนช. เขาบอกไม่ทันหรอก ส่งไปยังไงก็ไม่ทัน เราพยายามทำให้มากที่สุด  
ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมประชุม ขอบคุณท่านวิทยากร  
โลโก้ของเรา Building Trust (By ….)  เราต้องมีความจริงใจซึ่งกันและกัน เวลาเดียวกันเราจะให้ความจริงมากที่สุด ใส่ใจ จริงใจ และตั้งใจของแพทย์ทุกคน
แพทยสภาเป็นแค่องค์กรธรรมดา แต่ว่าสมาชิกแพทยสภาคือพวกเราทุกคน แพทยสภาอยู่ได้ด้วยสมาชิก สมาชิกเราอยู่ทุกที่ ตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์จนถึงนายกรัฐมนตรี ฝากพวกเราทุกคนให้เป็นตัวแทนแพทยสภา เราเป็นแพทยสภา ไม่ใช่คนละข้างกัน สมาชิกแพทยสภาคือแพทยสภา ขอให้การประชุมวันนี้นำผลไปดูแลคุ้มครองประชาชนโดยการที่ดูแลแพทย์ให้มีมาตร ฐาน
 
 
 
 
 
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by