แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 36990: ถอดเทปการประชุมสมาชิกแพทยสภา 22 มิถุนายน 2561 ช่วงเช้า  (จำนวนคนอ่าน 906 ครั้ง)
« เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:07:34 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การประชุมใหญ่แพทยสภา
วันที่ 22 มิถุนายน 2561
ณ อิมแพค ฟอรั่ม ห้อง 108
...........................................
 
ช่วงเช้า
การประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย ท่านนายกแพทยสภา อุปนายก ประธานจัดงาน ท่านวิทยากร แพทย์ผู้ปฏิบัติ ทีมฝ่ายกฎหมาย นิติศาสตร์ ฝ่ายจริยธรรมของแพทยสภา ฝ่ายบริหาร ทีมประชาสัมพันธ์ สำนักเลขาธิการ
พิธีกรดำเนินรายการ ได้แก่ แพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล กรรมการแพทยสภา ในวาระ 2560 – 2561 ประสงค์ที่จะเริ่มงาน  
ขอเชิญอาจารย์เชิดชู อริยศรีวัฒนา เป็นประธานจัดงาน แนะนำทีมงาน กล่าวรายงานว่า วันนี้เป็นโอกาสดีที่แพทยสภามีมติให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก  ซึ่งคณะกรรมการแพทยสภาชุดนี้ได้เห็นความสำคัญของสมาชิก และจัดให้มีการประชุมใหญ่ และขอขอบคุณนายกแพทยสภา ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา และขอแนะนำ รองศ.อจ.พญ.ประสพศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภาคนที่ 2 ลำดับแรกให้ท่านนายกกล่าวถึงการดำเนินงานต่างๆ ของแพทยสภาในรอบวาระกรรมการ พ.ศ. 2561 – 2562 และขอแนะนำท่านพลตรีอิทธพร ธนเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภาทำหน้าที่รักษาการเลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงรายละเอียดของกิจการแพทยสภาที่ได้ทำไปในภารกิจหน้าที่ตามกฎหมายและว ัตถุประสงค์ของแพทยสภา และสมาชิกแพทยสภาที่แสดงความคิดเห็นต่อกิจการของแพทยสภา  
วิทยากร ประกอบด้วย 1. รองศ.นพ.สมชาย อมรโยธิน 2. นพ.องอาจ วิจินธนสาร
 3. นพ.เทวัญ ธานีรัตน์ 4. นพ.รังสรรค์ บุตรชา 5. อจ.นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์
ขอเชิญนายกแพทยสภากล่าวถึงกิจการที่ดำเนินการไป
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:07:58 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

นายกแพทยสภา : ขอต้อนรับสมาชิกแพทยสภาทุกท่าน และสื่อมวลชน ที่มาร่วมกันทำกิจกรรมอย่างหนึ่งที่สำคัญ คงต้องให้เครดิต อจ.เชิดชู พยายามให้เกิดการพบปะสังสรรค์เพื่อให้ข้อมูลระหว่างทีมบริหารและสมาชิกแพทยส ภา 50 ปีที่ผ่านมา แพทยสภาดำเนินการตามข้อกำหนดที่กำหนดขึ้นของแพทยสภามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าตลอด 50 ปี เรื่องบางเรื่องแพทยสภาทำได้ดีระดับหนึ่ง เรื่องบางเรื่องอาจทำได้แต่ยังมีจุดที่จะทำให้ดีขึ้นอีก และเรื่องบางเรื่องเราอาจยังไม่ได้ทำ โอกาสที่จะได้รับฟังความเห็นจากสมาชิกและสื่อมวลชนในที่นี้ หากมีข้อคำถาม ข้อเสนอแนะจะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะทำให้เรามองอดีตและนำไปปรับปรุงในอนา คต เราจะเริ่มต้นโดยขอให้ท่านรักษาการเลขาธิการแพทยสภาได้เล่าให้พวกเราทราบ เกือบ2 ปีที่ผ่านมาได้มีการปรับกระบวนการอะไรบ้าง การเน้นเรื่อง trust building ซึ่งเป็น theme ใหญ่ของการประชุมครั้งนี้ พยายามลด gap ช่องว่าง ระหว่างแพทยสภากับสมาชิก แพทยสภากับประชาชน เรามีการดำเนินการอะไรไปแล้ว และการร่วมมือกับ stakeholder การประสานงานร่วมกับ สธ. และอื่นๆ ที่ทำให้บทบาทของแพทยสภาเข้าไปสู่ใกล้กับความต้องการมากที่สุด และขอย้ำอีกครั้งว่าแพทยสภาเป็นของพวกเราทุกคน เราอยากให้แพทยสภาเป็นตัวกลางทำให้สังคมไทยได้รับการดูแลที่ได้ตามมาตรฐานแล ะมีความเหมาะสมมากที่สุด
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:08:23 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

รักษาการเลขาธิการแพทยสภา พล.อ.ต.นพ.อิทธิพร คณะเจริญ  
 ช่วงที่ผ่านมาที่เรามีหลายอย่างที่ทำ และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แพทยสภาดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 เป็นฉบับที่ต่อมาจาก พ.ศ. 2511 จึงครบรอบ 50 ปี เราทำตามมาตรา 7 วัตถุประสงค์มี 6 ข้อ การควบคุมความประพฤติเป็นตัวสำคัญที่สุด ไปจนถึงการศึกษาวิจัย ช่วยเหลือแนะนำประชาชน การให้คำแนะนำรัฐบาล และเป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม นอกจากนั้นมีอำนาจการขึ้นทะเบียนแพทย์ การพักใช้/เพิกถอน การรับรองปริญญา สถาบัน หลักสูตร และออกหนังสืออนุมัติวุฒิบัตร สมาชิกในห้องนี้ที่เป็นแพทย์เป็นสมาชิกแพทยสภาจะมีเกณฑ์ทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน สมาชิกมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนและได้รับเป็นแพทย์ แต่หากคุณสมบัติขาดไป เช่น มีคดี หรือจำคุก ต้องออกจากสมาชิก สามารถเลือกตั้งเป็นกรรมการแพทยสภาได้ และมีหน้าที่ต้องผดุงไว้ซึ่งกิตติศัพท์ของวิชาชีพ ซึ่งจะไปโยงกับจริยธรรม
 กรรมการแพทยสภา มี 2 ส่วน คือ ภาครัฐครึ่ง ภาคเอกชนครึ่ง ภาครัฐ นำโดย ปลัด สธ. อธิบดีกรมการแพทย์ กรมอนามัย เจ้ากรมแพทย์ 3 เหล่าทัพ ไปจนถึงคณบดี ซึ่งเป็น stakeholder ที่ใหญ่ที่สุด 21 ท่าน ทั้งหมดนี้อยู่ใน พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ดาวน์โหลดได้ ขณะนี้เรากำลัง building ของเรื่อง trust เพราะความมั่นใจจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในระบบทั้งภายในวงการแพทย์ และภาคประชาชน ข้อเท็จจริงคือ trust เรากำลังสร้างใช้เวลาหลายปี แต่อาจทำลายได้ใน second to brake วันนี้เราก็มาช่วยกันสร้าง trust  
 Trust ข้อแรก คือ มาจากพระราชบิดา ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจหนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพให้บริสุทธิ์เป็นที่เรายึดมั่น  
กรรมการแพทยสภามี 2 ส่วน ขอผ่าน จะมาร่วมกันบริหาร มิติของแพทยสภาจะดูกรอบได้แก่ 21 คณะแพทยศาสตร์ วันนี้เป็น 22 ดูแพทย์ที่อยู่ใน 4 กิ่ง 4 เสา เสาแรกคือแพทย์ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย คือ อจ.แพทย์ เสาที่สองคือ สธ. ที่ดูแลคน 75% ของประเทศ คนยากจนใน ตจว.ทั้งหมด 870 รพ. เสาที่สาม คือ เสาภาครัฐอื่น และเสาที่สี่ คือ ภาคเอกชน กระทรวงสาธารณสุขเป็นปัญหาเยอะที่สุด อันอื่นเขาเอาตัวรอดได้ และแพทยสภาดูกิ่งข้างบน หลังคาคือ 14 ราชวิทยาลัย 81 สาขา จะดูฐานล่างฐานบน ปัญหาอยู่ตรงกลาง ปีกซ้าย และขวา คือ ภาครัฐและเอกชน และสภาวิชาชีพคู่ขนานก็จะอยู่กับเรา ไม่ว่าจะเป็น พยาบาล เภสัชกร ทันตกรรม ทั้งหมด ส่วนใหญ่ยังเป็นภาครัฐ
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:09:23 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

พันธกิจของแพทยสภา คือ การบริหารองค์กร  
โครงสร้าง นอกจากสำนักเลขา มี 14 ราชวิทยาลัย เป็นองค์การภายใต้แพทยสภา แต่ให้การจัดการเป็นอิสระ เรามี ศรว. ศูนย์สอบเด็กจบใหม่ต้องสอบผ่าน มี ศรพ. ศูนย์ศึกษาต่อเนื่องซึ่งจะผลักดันให้แพทย์ทุกคนเรียนรู้เพิ่มเติม
รายนามราชวิทยาลัย มีข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่แพทยสภาประกาศแล้ว ประกาศิตผู้ป่วย งาน 9 ด้านของเรา ด้านแรกเราผลิตผ่านคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ 21 คณะ ปีนี้จบมาแล้ว 3,000 คน มีการสอบจบ การสอบของ ศรว. มีศูนย์สอบ แพทยสภามีรายงานทุกเดือน มีการดูกำลังพลแพทย์ในการกระจายต่างๆ ซึ่ง อจ.เชิดชูคอนเซินมากคือภาครัฐที่ยังลำบากและมีคดี และมีการศึกษาต่อเนื่อง แพทย์ทุกคนต้องมีความรู้ต่อเนื่อง ราชวิทยาลัยคือเหมือนกับปริญญาโท ปริญญาเอก ดูแลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไปถึง policy maker ในนโยบายมีกรรมการแพทยสภาหลายคนที่เข้าไปอยู่ในระดับนโยบาย ท่าน อจ.เชิดชู ก็เป็นหนึ่งในนั้น  
ในระดับนานาชาติแพทยสภามีบทบาทที่ต้องไปเชื่อมโยงกับทั้งอาเซียน WHO หน่วยงานต่างๆ เชื่อมโยงกันหมด วุฒิของเราจึงใช้ได้ทั่วโลก สุดท้ายเรื่องคดี เรามีงานเยอะมาก เรามีคณะอนุกรรมการกว่า 150 ชุด  
การดำเนินงานเป็นไปตามภารกิจ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย  
1. Trust building สร้างความไว้วางใจ เรามีการสื่อสารข้อเท็จจริง จัดให้มีเวทีสื่อสารโดยตรงไปยังประชาชน สัญจรเพื่อนแพทย์  
2. การสร้าง partnership สร้างความร่วมมือ จัดประชุมร่วมแพทยสภา แพทยสมาคม รวมถึงสมาชิกต่างๆ ราชวิทยาลัย รวมถึงสถาบันผลิตแพทย์ ทุกอย่างเป็นสเตป และมีการแก้ไขกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรามีการให้คำแนะนำรัฐบาล เช่น คุ้มครองผู้บริโภค  
3. ปรับระบบ digital 4.0 ปรับระบบของการประชุม กลั่นกรอง แก้ไขปัญหาเป็น digital part form  
กิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เรามีการจัดประชุมแพทยสภาสัญจรพบปะประชาชนให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ชวนออกกำลังกาย ในหมอชวนวิ่งเพื่อสุขภาพดี การประกวดเรื่องสั้น การประชุมวิชาการ การประชุมใหญ่สมาชิก รวมถึงเชื่อมโยงกับสภาวิชาชีพอื่นเรียกว่า ภาคีวิชาชีพด้านสุขภาพ และสมาพันธ์ภาคีวิชาชีพซึ่งประชุมทุกเดือน ตลอดจนมีการพัฒนาหลายด้าน มีกิจการทั้งหมด 7 module เช่น แพทย์ดีเด่น นิทรรศการ ประวัติแพทย์ทั้งหมด เรื่องไอทีเป็นเรื่องที่เรา advance มากที่สุด มีหลายโครงการซ่อนอยู่ในนี้  
จริยธรรม ปี 2560 มี 115 ราย จำนวนคดีฟ้องร้อง ขณะนี้มีการรักษาปีละ 300 ล้านครั้ง จำนวนฟ้องร้องมีแค่ 115 คือ 1 : 3 ล้าน ฟ้องมาที่แพทยสภา เรามีการเร่งคดี เรามีคดีค้าง 400 กว่าคดี ปีที่แล้วเราเคลียร์คดี 339 คดีสอบสวน จริยธรรม 161 สอบสวน 178 มติกรรมการต่างๆ ปี 60 คดี 148 คดี มีมูล 46 คดี ไม่มีมูล 92 คดี แปลว่า 1 ใน 3 มีมูล และ 2 ใน 3 ไม่มีมูล ทุกคนใช้วิจารณญาณ และจริยธรรมสูงในการตัดสินทั้งสิ้น  
แพทย์ที่ถูกร้องเรียนขออนุญาตผ่าน เป็นประเด็นที่ประชาชนไม่ค่อยเข้าใจ คือเป็นโรคที่ซับซ้อนเป็นธรรมชาติย่อมต้องการความเข้าใจมากขึ้น และความสูญเสียย่อมสร้างความเสียหาย และทำให้เกิดปัญหา เป็นเรื่องที่เราต้องแก้ไข
กำลังปฏิรูปกระบวนการพิจารณาคดีจริยธรรมให้สั้นลง และเขียนไปในข้อบังคับใหม่ พ.ร.บ.ใหม่ เราทำประกาศ การคุ้มครองเด็ก กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมจริยธรรมไปยังเด็กนักเรียน ทำจริยธรรมสัญจร ผลัดกันกับนักศึกษาแพทย์ทั้งหลาย มีการทำหลักสูตรผู้บริหารเพื่อให้สังคมเข้าใจเรามากขึ้น มีการส่งเสริมการศึกษา เปิดคณะแพทยศาสตร์ 1 แห่ง ขยายดูงานนักเรียนที่อยู่ต่างประเทศ คณะกรรมการไปเยี่ยมนักเรียนที่อยู่ต่างประเทศ เพิ่มพูนทักษะ เด็กจบ 3,000 คน ไปเพิ่ม skill เพื่อช่วยประชาชน มีตั้งแต่อยู่ที่ไหน อย่างไร มีเกณฑ์อะไรบ้าง มีการรับรอง รพ.ที่สอนเด็ก ปรับทุกอย่างเป็น digital ในการดูแลเด็ก แพทย์ประจำบ้าน ทำทุกอย่างผ่านเว็บไซต์ มีการดูแลแพทย์ต่างประเทศที่มาประเทศไทย แพทย์วิเทศให้เขากลับบ้านเขา การปรับมาตรฐานสถาบันการศึกษา WFME ซึ่งตอนนี้ทุกที่ที่อยู่ในคณะแพทย์รู้จัก มีการปรับเรื่อง พ.ร.บ.อุดมศึกษาที่มีปัญหาอยู่ขณะนี้ว่าจะทำให้คนที่จบจะเป็นแพทย์หรือไม่เป ็นแพทย์ ประเด็นนี้น่าสนใจ เรามีแพทย์เฉพาะทาง ปัจจุบันบอร์ดอนุมัติ 13,000 วุฒิบัตร 33,000 รวม 47,000 บอร์ด มีคนรับจริง 30,000 ทุกคนมักจะมีบอร์ดและซับบอร์ด เท่ากับท 1.5 บอร์ด
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:09:49 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

บอร์ด เรื่องของเด็กเราก็ตามไปดูแลเพื่อไม่ให้เขาเกิดปัญหา เราทำคู่มือดูแลคนไข้ได้ดีขึ้น มั่นใจมากขึ้น brain trust กับเด็กๆ เราทำการสัญจรดูแลแพทย์ที่อยู่ห่างไกล เก็บปัญหากลับมาในช่วงที่ผ่านมาหลายจังหวัด เราทำแถลงการณ์ในห้องฉุกเฉิน เพราะเราพบว่าความรุนแรงเป็นเรื่องที่สำคัญ และเราไม่อยากให้บุคลากรได้รับผลกระทบ เราสื่อสารกับสมาชิกทางเว็บไซต์ เฟสบุ๊ค หมายเหตุแพทยสภา ซึ่งตรงนี้สมาชิกต้องการเพิ่มเติม หรือปรับปรุง เราก็ยินดี ฐานข้อมูลแพทยสภาอยู่ในเว็บไซต์ เราให้ความรู้กับประชาชนผ่านหนังสือ ทีวี หนังสือ เราจับมือกับภาคีด้านสุขภาพทั้งแพทยสภา เภสัช ทันต ประชุมทุกเดือน รวมถึงกายภาพบำบัดเทคนิคการแพทย์ รวมถึงสัตวแพทยศาสตร์ ขณะเดียวกันสภาวิชาชีพก็มีสภาอื่นเข้ามาร่วมกับเรา ได้แก่ บัญชี ทนายความ สถาปนิก วิศวกรในกรณีที่กลไกไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ดูมาตรฐานที่เข้าไปช่วยกลุ่ม ฉChelation มีการออกประกาศต่างๆ ทำหน่วยแพทย์อาสาดูแลประชาชน ทำการตรวจแพทย์เว็บไซต์ ออนไลน์ 24 ชม. วันนี้ป้องกันแพทย์เถื่อน ทำการประกวดเรื่องเล่า ซึ่งก็สร้าง inspire ความดีให้กับหลายฝ่าย เราทำเรื่องของกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ หากทำงานหนักเกินไปอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เราก็เสนอไป ประกาศนี้บังคับใช้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560 แต่ก็ยังไม่ดี อยากให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาหากมีข้อมูล มีการติดตามร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การแก้ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม เกณฑ์ใบขับขี่ เอาโรคลมชักออกจากถนน ไม่อยากเห็นคนตายจากโรคลมชัก การตลาดนมเด็ก DRG ปรับปรุงใหม่ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เราคอนเซินและเราไปอยู่ส่วนหนึ่งในการปรับแก้ เราเป็นตัวแทนที่ขณะนี้เราต้องประชุมระดับอาเซียน WHO  
คณะกรรมการทั้งหมดรวม 166 ชุด มีรายชื่อคณะกรรมการ มติการประชุมต่างๆ เป็นสิ่งที่แพทยสภาทำทั้งหมด  
คติธรรมที่เรายึดมั่น จาก ร.9 พระราชทานให้วงการแพทย์ “อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร”
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:10:17 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผู้ดำเนินรายการ พญ.เชิดชู :  
ขอขอบคุณรักษาการเลขาธิการ ได้พูดถึงบทบาทหน้าที่ของแพทยสภาที่สำคัญ คือ การทำตามกฎหมาย กฎหมายที่หนึ่งคือกฎหมายที่แพทยสภามีอำนาจคือรับขึ้นทะเบียน ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พักใช้ใบอนุญาต งานของแพทยสภาคือการสร้างมาตรฐานในการศึกษาวิชาทางการแพทย์ การดำเนินการทางการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประชาชนนี่คือหน้าที่ใหญ่ แต่หน้าที่หลักที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ใหญ่มีมากมาย แพทยสภาคิดว่าน่าจะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่มีหน้าที่ที่ไม่ใช่อำนาจแต่เป็นวัตถุประสงค์ที่มีการก่อตั้งแพทยสภาขึ้นม าตามพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พวกเราเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องทำตามกฎหมายของแพทยสภาและมองว่าผลการ ดำเนินงานของแพทยสภาจะเป็นอย่างไร ขอรับฟังความคิดเห็นจากท่านเหล่านี้ผู้เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรร ม และบางส่วนท่านก็ได้สอบถามความคิดเห็นมาแล้ว ขอเริ่มต้นแนะนำสมาชิกแพทยสภาบนเวที
ท่านขวาสุด อจ.นพ.องอาจ วิจินต์ธนศาล รพ.เลิดสิน จบแพทยศาสตรบัณฑิตศิริราชพยาบาล 2535 เคยทำงานเป็นผู้อำนวยการ รพ.อมก๋อย 2538 ปัจจุบันเป็นศัลยแพทย์ อจ.ศัลยแพทย์ 2541 – ปัจจุบัน ประจำอยู่ที่ รพ.เลิดสิน และเป็นกรรมการราชวิทยาลัย ศัลยแพทย์ และอนุกรรมการเบสิคไซ ในการสอบวิชาแพทย์
ท่านที่ 2 ถัดมา อจ.นพ.เทวัญ ธานีรัตน์ จบแพทยศาสตรบัณฑิต ม.ขอนแก่น อนุมัติวุฒิบัตรเวชศาสตร์ครอบครัว ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ประสบการณ์ทำงาน ผอ.รพ.พลนาแก้ว จ.สกลนคร ผอ.กองการแพทย์ทางเลือก กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2555 กรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในมนุษย์ด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก พ.ศ. 2546 – 2558  
ท่านถัดมา คือ อจ.นพ.รังสรรค์ บุตรชา ปัจจุบันเป็นหัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ปทุมธานี เป็นประธานองค์กรแพทย์ รพ.ปทุมธานี และรองผอ.กลุ่มภารกิจเทคนิคบริการ รพ.ปทุมธานี
ท่านถัดมา คือ รองศ.นพ.สมชาย อมรโยธิน วุฒิบัตรแพทยศาสตร์บัณฑิตศิริราชพยาบาล วุฒิบัตรวิสัญญีวิทยาศิริราช เป็นวิสัญญีแพทย์ เป็นอจ.อยู่ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
คนสุดท้าย อดีตท่านเป็นรองหัวหน้าภาคเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธานเครือข่ายแพทย์ และทันตแพทย์เพื่อวิชาชีพ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสมาคมแพทย์แผนไทย  และเป็นสมาชิกและวิทยากรของสมาคมแพทย์อาชีวะเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:10:43 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

มุมมองและความเห็นของสมาชิกแพทยสภาที่มีต่อกิจการของแพทยสภา
ท่านรองศาสตราจารย์นายแพทย์สมชาย อมรโยธิน
 วัตถุประสงค์ของแพทยสภาตั้งมา 50 ปี อาจมีข้อจำกัด ควบคุมความประพฤติถูกต้องตามจริยธรรมหรือไม่ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ส่งเสริมความสามัคคี ผดุงเกียรติของสมาชิก ถ้าสมาชิกจะมีปัญหาอะไรจะได้รู้ว่าวัตถุประสงค์ของแพทยสภาคืออะไรเพื่อขอควา มช่วยเหลือได้ถูก รวมถึงช่วยเหลือให้คำแนะนำการเผยแพร่การแพทย์การสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศไทย  
 อำนาจหน้าที่ของแพทยสภา คือ ขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พัก/เพิกถอนใบอนุญาต รับรองปริญญาประกาศนียบัตร วุฒิบัตรที่มีการฝึกอบรม รับรองหลักสูตร รับรองวิทยฐานะสถาบันทางการแพทย์ ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสา ขาต่างๆ  
 ในฐานะตัวแทนตอนใช้ทุนจบไปอยู่ของ ตจว. ได้มีโอกาสเป็น ผอ.รพ.ชุมชน 3 - 4 ปี แต่พอมา train เนื่องจากว่าปัจจุบันแพทย์จบถ้า ตจว. ทำงานหนัก และน้องส่วนใหญ่อยากเป็น ผชช. มากขึ้น แต่ปัญหามีข้อจำกัด การที่จะได้รับมาฝึกอบรมมีจำนวนจำกัด ผมได้มีโอกาสฝึกอบรมเป็นวิสัญญีแพทย์ ได้รวบรวมข้อเสนอจากสมาชิก ปัญหาหนึ่งคือ เมื่อเดือนมี.ค. 60 คุณศิริวรรณ ศิริบูรณ์ ทำการศึกษาว่าทำไมสมาชิกแพทยสภามาออกเสียงเลือกตั้งน้อยมาก มีทางแก้ไข และมีการส่งผลการศึกษา พบว่าไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง ไม่มีเวลา เลือกไปก็ไม่เกิดประโยชน์ คนสมัครหน้าเดิม ลืมส่งบัตรเลือกตั้ง ทำบัตรเลือกตั้งหาย และไม่รู้ว่าผู้สมัครทำงานเป็นอย่างไร ไม่มีคนเหมาะสมให้เลือก ผลสุดท้ายคือแพทยสภาไม่น่าเชื่อถือแต่น้อยแค่ 4% ยกตัวอย่างมาประชุมวันนี้ยังมีคนมาเข้าฟังน้อย
 ได้รวบรวมความเห็นมาจากน้องๆ สมาชิก คือ  
1) อยากให้มีการเลือกตั้งผ่านออนไลน์ เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งมีสภาวิชาชีพอื่นๆ ของเภสัชมีไปแล้ว ทนายแล้ว อันนี้มีปัญหามาก คือ จบไปใช้ทุนคนละที่เกิด ส่งไปบางทีไม่ได้รับ มีการส่งเลือกตั้งแค่ 20% ปัญหาหลักคือพวกจบใหม่ใช้ทุน อยู่คนละที่กับภูมิลำเนา ไม่ได้รับ หรือสูญหาย
2) อยากให้มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวกับการแพทย์แก่สมาชิก ปัจจุบันปัญหาคดีพิพาทระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยและญาติเพิ่มมากข ึ้น
3) อยากให้สนับสนุนสมาชิกศึกษาต่อเฉพาะทางมากขึ้น เช่น ศิริราชมีผู้สมัครมากกว่า 3 เท่า เขาอยากเป็นผชช.ต้องทำอย่างไร จะสนับสนุนอย่างไร ทำอย่างไรให้ต่อเฉพาะทางให้มากขึ้น บางทีเขาจำกัด เช่น ไม่มีต้นสังกัด จะเป็นทุนอิสระก็อาจไม่ได้รับการพิจารณา
4) มีประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละครั้ง เพื่อให้เขามีส่วนร่วมและให้คำแนะนำได้
5) แก้ไขร่างพรบ.วิธีพิจารณาคดีการแพทย์ ตอนนี้เหมือนติดเงื่อนอยู่เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค แก้ไขอย่างไรให้เป็นประโยชน์ทั้งผู้ให้บริการสาธารณสุขแพทย์และประชาชน ผู้ป่วย และญาติ  
6) ผลักดันคดีทางการแพทย์ให้ออกจากคดีคุ้มครองผู้บริโภค
7) ให้สมาชิกได้รับสวัสดิการที่ดีมากขึ้น เช่น ค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลา P for P บางโรงอาจไม่ได้
Cool ดูแลคุ้มครองสมาชิกได้รับความปลอดภัย ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีของสมาชิก ปัจจุบันมีโดนทำร้ายร่างกาย
9) มีคณะทำงาน ทีมงานช่วยเหลือสมาชิกกรณีคดีพิพาททางการแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้น เช่น เด็กที่จบใหม่ไม่รู้เลยว่าเขาต้องดำเนินการอย่างไร ส่งผลกระทบให้ออกจากนอกระบบกันมากขึ้น
10) ส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างญาติกับแพทย์ พยายามไม่ให้มีข้อพิพาทเรื่องเหล่านี้เลยได้หรือไม่
 
ผู้ดำเนินรายการ พญ.เชิดชู : ท่านได้รวบรวมจากสมาชิก การเลือกตั้ง ต้องการความรู้ด้านกฎหมาย ชม.ตอนบ่ายมีวิทยากรด้านกฎหมายมาให้ความรู้แก่สมาชิก อยากให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องแพทย์เฉพาะทาง ไม่ทราบว่านโยบายของรัฐบาลสร้าง family doctor จะได้รับการศึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือไม่ และอยากให้ประชุมใหญ่ปีละครั้ง แก้ไข พรบ.พิจารณาคดี การได้รับค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป ภาระงานหนัก ถูกทำร้ายร่างกาย อาจเกิดความไม่เข้าใจของประชาชนมาใช้เวลาที่รอคอยนาน
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:11:14 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อจ.นพ.องอาจ วิจินธนสาร
 สมมติเราเดินไปในทุ่ง เราเห็นสิ่งนี้กลางทุ่งตกอยู่ เราเรียกสิ่งนี้ว่าอะไร ขี้ควาย และเราหยิบหรือไม่ ไม่หยิบ เดินข้าม เดินหลบด้วย แต่ถ้าเรียกใหม่ว่า ปุ๋ย กระสอบละเท่าไหร่ เป็นพัน แย่งกันหยิบ แท้จริงคือก้อนเดียวกัน ถ้าเป็นชาวนาจะหยิบเพราะเอาไปทำเป็นปุ๋ย ผมมีสูตรที่เมื่อวานได้กล่าวแล้วครั้งหนึ่งว่า problem = what it be – what it shoot be * who concern / number of sharing แปลเป็นไทย ปัญหา = สิ่งที่คุณมี – สิ่งที่คุณคาดหวังที่คุณอยากจะให้มี สมมติคุณมีแฟนไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า ไม่เที่ยว แต่ไม่หล่อ คุณบอกว่าสิ่งที่คุณคาดหวังคือเที่ยวก็ได้ กินเหล้าก็ได้ เจ้าชู้ก็ได้ แต่ขอหล่อ ผู้ชายคนนั้นจะเอาเป็นแฟนหรือไม่ มันไม่ใช่ เพราะสิ่งที่ what it be มันไม่ใช่ อันนั้นคือปัญหาเกิดขึ้น ปัญหาคือคุณคอนเซินกับอะไร ถ้าเปรียบเหมือนท่านประธานแพทยสภา ท่านรัฐมนตรี หรือนายก สิ่งนี้คือปัญหา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นความเป็นอยู่ของแพทย์ที่ต้องทำงานเหนื่อย แต่ท่านรัฐมนตรี ท่านนายกบอกไม่คอนเซินคุณอยากทำงานเยอะเองทำไม สิ่งที่เกิดขึ้นคือเราก็จะบอกว่าปัญหาไม่ใช่ปัญหาเป็นปัญหาของคุณ คุณหมอ x y z ไม่ใช่ปัญหาของสาธารณสุข เพราะสาธารณสุขไม่คอนเซิน สิ่งที่เราต้องแก้คือ number of sharing เมื่อใดก็ตามที่แพทย์ทั้งระบบยังไม่เคยเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหานี้ หมอทุกคนคิดว่าฉันก็ดูแลฉัน คนอื่นก็ดูแลเรา ถามว่าคนอื่นดูแลเราคือใคร เราคาดหวังให้ใครดูแลเรา แพทยสภาหรือเปล่า ต้องถามกลับทางแพทยสภาว่าแพทยสภารับความคาดหวังมาจากเราหรือไม่ เขาคอนเซินในสิ่งที่เราคอนเซินหรือเปล่า แพทยสภาไม่ได้เป็นร่มที่กางให้เรา แต่แพทยสภาบอกว่าหมอทุกคนต้องทำงานไม่ผิดพลาด กฎหมายที่ตามมาคือควบคุมการทำงานพวกคุณ แค่ตรวจ แค่เขียน มีเวลากินข้าว นอนหรือไม่ มาตรฐานต่างๆ เยอะแยะไปหมด มาควบคุม  
 แพทยสภามีมุมมองอะไรกับแพทย์ทั้งประเทศ ขอฝากคำถามไว้ แพทยสภามีมุมมองอย่างไรกับสาธารณสุข แพทยสภามีมุมมองอย่างไรกับการสร้างความเข้าใจของคนทั้งประเทศต่อหมอ ถ้ามองว่าไม่ใช่หน้าที่ของแพทยสภา แล้วใครเป็นคนทำหน้าที่นี้ รมต. ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดกระทรวงสธ. อธิบดี ปลัดกรม หรือมหาวิทยาลัย แล้วใครเล่นบทนี้ ในละครบุพเพสันนิวาส เจ้าพระยาวิชัยเยนเป็นคนกรีกที่ล่องเรือไปเห็นคนทั่วโลกก่อนที่จะอยู่เมืองไ ทย ถ้ามองในแง่ที่เขาดี ไม่ดี ก็เยอะ ในมุมของพ่อของพระเจ้าเสือท่านมองเจ้าพระยาวิชัยเยนว่าอย่างไร คอนสแตนตินฟอคอลคือคนที่จะเตรียมยึดเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเมืองขึ้นของฝร ั่งเศส ในสมัยพระนารายณ์บ้านของเมืองไทยมี 2 ชั้น มีเหล่าเต๊ง คนที่ล้ำหน้ากว่าไทยในสมัยนั้นคือคังซีฮ่องเต้ มีเหล่าเต๊ง 3 ชั้น ในขณะที่เอเชียอาคเนย์บ้านชั้นเดียวหมด เมืองไทยสมัยนั้นหรู แต่ในมุมมองฝรั่งเศสเขาอาจจะชอบ พฤติกรรมของคนเดียวกันมองจากมุมที่ต่างกันให้ค่าที่ต่างกัน
 สมมติวันนี้ผมโทรไปบอกแฟนว่ากลับบ้าน 2 ทุ่ม มีประชุมที่อิมแพค แฟนพอใจ ถ้าไม่โทรบอกและกลับบ้าน 2 ทุ่ม แฟนไม่พอใจ ถ้าบอกก่อนจะเรียกว่าเล่าให้ฟัง แต่ถ้าบอกทีหลังเรียกว่าแก้ตัว จุดยืนของแต่ละคนเปลี่ยนไป และสิ่งที่ตามมาคือการกระทำจะต่างไป  
 คดีที่ภาคใต้ ซึ่งมีหมอได้ผ่าตัดไส้ติ่ง แล้วตาย เช่น วิสัญญีผ่าไส้ติ่งเป็นหรือไม่คล่อง มุมมองของเราหมอทั่วไปผ่าไส้ติ่งแล้วแตกแล้วตาย สิ่งที่เราขยับจากมุมมองนี้ว่าควรให้ผู้เชี่ยวชาญในการผ่า ก่อให้เกิดปัญหาอะไร ก็คือ refer ทั้งหมดเข้ารพ.จังหวัด ปัญหาคือในชั่วข้ามคืนเราขาดศัลยแพทย์ทั่วประเทศทันที ทันใด และสิ่งที่ตามมาระดมผลิตศัลยแพทย์ทั่วประเทศ เร่งสร้าง training center ในขณะที่เราไม่รู้ตัว เรา request ให้ exturn ผ่าตัดไส้ติ่งน้อยลง ด้วยความที่เกิดผ่าแล้วมาตายใน รพ.ใหญ่ นอกเหนือจาก อจ.ในศัลยกรรมแล้วไล่ถึง รพ.ด้วย เราถอยไปโดยเราไม่รู้ตัว เราไม่รู้ว่าขณะที่เราขยับจุดยืน action ที่เราทำหลายอย่างเราขยับไปด้วยที่เราไม่รู้ตัว ย้อนไปถึงเรื่องความเข้าใจทางการแพทย์ให้คนทั่วไปเข้าใจว่าเราเหนื่อย ทำงานเยอะ คนนั้นจะต้องมีการ access กับสื่อพอสมควร นั่นคือแพทยสภา สิ่งที่เราขยับมาตรฐานมีการเปลี่ยน action ผลกระทบกับคนทั้งหมด  
ปัจจุบันจุดยืนของแพทยสภาต่อสื่อต่างๆ แพทยสภามองเด็กทุกคน หมอทุกคนว่าอย่างไร ผมมองว่าหมอเป็นลูก แต่ถ้ามองว่านี่ลูกใครไม่รู้จะมารักษาคนไข้ไม่ดีทำให้เสียชื่อเสียงของเรา Action ที่ทำไม่เหมือนกับมองหมอเป็นลูกแน่นอน อยากให้ทุกคนได้ออกมาบอกสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราอยากได้ วันนี้เป็นวันที่ดีมากที่เห็นว่าแพทยสภาจับต้องได้ เราจะไปด้วยกัน กฎหมายที่จะออกมาเพื่อคุ้มครองเรา ไม่ใช่ออกมาเพื่อให้เราขยับไม่ได้ ถ้าเราขยับ action ขยับมุมมอง ขยับจุดยืน ให้หมอยืนยาก สิ่งที่เกิดขึ้นผมถามว่าพวกคุณจะยืนตรงนี้กันหรือไม่ ถ้าพวกเราไม่ยืน พวกเราจะไปยืนกันตรงไหน ก็อาจไปอยู่ทีมฟ้องหมอ ไปเรียนกฎหมายเพิ่มและมาฟ้องหมอ หรือไม่ก็ไปขายประกันแล้วใครจะดูแลคนไข้ประเทศเรา
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:11:46 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผู้ดำเนินรายการ : ถ้าแพทยสภามีมุมมองกว้างขึ้น นอกจากบังคับใช้กฎหมายแล้ว จะสามารถช่วยให้สมาชิกได้ทำงานอย่างสบายใจ และได้รับความคุ้มครอง สวัสดิภาพ  
 
อจ.นพ.เทวัญ ธานีรัตน์  : เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทย กรรมาธิการ สมาชิกวิสามัญ ปัจจุบันการแพทย์ไม่ได้อาศัยแพทย์แผนปัจจุบัน แต่เรามีการแพทย์หลากหลาย การแพทย์แผนไทย แผนจีน แพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขได้ออกใบประกอบวิชาชีพให้แขนงต่างๆ  
 มีประสบการณ์การทำงาน รพ.ชุมชน ทำทุกอย่างเองเป็นเวลาหลายปี มีความสุขมาก ทำหมดทุกอย่าง หลังจากนั้นเริ่มไปเห็นอะไรสิ่งที่เรารู้ เห็นว่ามีคนมาสวดมนต์ เป่าคาถา คนไข้ดีขึ้น เลยหันมาศึกษาเรื่องแพทย์ทางเลือก และย้ายมาอยู่กรมการแพทย์แผนไทย และเป็นผู้อำนวยการกองการแพทย์ทางเลือก ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน 14 ปี จากการคลุกคลีจะเจอศาสตร์และองค์ความรู้ต่างๆ สิ่งที่พบคือ ผมแบ่งแยกแพทย์ทางเลือก ทำไมต้องเรียกแพทย์ทางเลือก คือ การแพทย์ที่แพทย์แผนปัจจุบันไม่รู้ แต่แผนปัจจุบันรู้แต่คนอื่นไม่ยอมรับก็เรียกแพทย์ทางเลือก เช่น นักวิจัยค้นคว้าพบองค์ความรู้ใหม่ รักษาพยาบาลขึ้นมาเผื่อที่จะบุกเบิกมาช่วยประชาชนและถ่ายทอดคนอื่นรู้ยากลำบ ากมาก เขาจะชอบเรียกว่าการแพทย์แบบเดิมที่เป็นแผนปัจจุบันที่เรียก Modle medicine จะเรียก conventional medicine นอกจากมุมมองในองค์ความรู้ที่ไม่ใช่เรื่องของแพทย์เองเราพบว่าในโลกนี้ไม่ใช ่แค่แพทย์แผนปัจจุบันแขนงเดียวที่บำบัดรักษาผู้ป่วยได้ แต่ทุกศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นเองพบว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องเข้ามาศึกษา หน้าที่ผมทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับการแพทย์ทุกระบบมาบูรณาการและช่วยดูแลปร ะชาชน ต้องศึกษาหาองค์ความรู้ที่ได้ผล ปลอดภัย สิ่งสำคัญประเทศไทยหน้าใหญ่ เราให้สิทธิทุกคนฟรีหมด คนไทยทุกคนฟรีหมดตามสิทธิ ชุดสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ประกันสุขภาพ สวัสดิการข้าราชการ หน้าใหญ่แบบนี้ไม่เอาการแพทย์อื่นเข้ามาเจ๊ง อันนี้เป็นหน้าที่ของกรมหันมาศึกษาและมาใช้ประโยชน์ จากการทำงานสิ่งที่พบและที่พูดมองว่าแพทยสภาคือตัวขวางศาสตร์วิชาชีพอื่นๆที ่จะมาดูแลประชาชน ซึ่งไม่ค่อยแน่ใจ ผมก็พยายามศึกษาที่จะเอาเข้าสู่ระบบ เลยมาศึกษาข้อกฎหมาย จนกระทั่งสภาผู้แทนราษฎรยอมรับให้ไปช่วยเรื่องพรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย มาจากประชาชนล่ารายชื่อที่ต้องการได้กฎหมายฉบับนี้ สุดท้ายก็ออกมาพรบ.วิชาชีพอื่นๆ แต่ต่างตรงที่ว่าคนที่เรียนด้วยตนเอง มอบตัวเป็นศิษย์สามารถสอบเป็นแพทย์แผนไทย เรียนมหาวิทยาลัยสอบเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ และแผนไทยวิชาชีพได้  
 ศึกษาข้อกฎหมาย พรบ.ที่เกี่ยวข้องการแพทย์ฉบับแรก เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2466 พรบ.ทางการแพทย์ สภาการแพทย์ ตอนนั้นยังไม่มีแยกว่าเป็นแผนปัจจุบัน หรือแผนโบราณ แต่ต่อมาปี พ.ศ. 2479 มีพรบ.ให้ยกเลิก พ.ศ. 2466 พรบ.ควบคุมประกอบโรคศิลปะ ตอนนั้นมีคำสองคำเกิดขึ้น คือแพทย์แผนโบราณ กับแพทย์แผนปัจจุบัน มีการแก้ไขเมื่อปี 2483 หรือ 2489 พอมาปี 2511 เป็นครั้งแรกที่มีการแยกพรบ.วิชาชีพเวชกรรมออกจากพรบ.ควบคุมประกอบโรคศิลปะ แปลว่าเราขอดูแลแพทย์แผนปัจจุบัน พอออกมาและพัฒนาต่อมาเป็นพรบ.วิชาชีพเวชกรรม ปี 2525 ถ้านับจนถึงปัจจุบันใช้เวลานานมากยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไข 36 ปี ทำไมพรบ.นี้ไม่มีการแก้ไข เลยเข้าไปศึกษา พบว่าเป็นพรบ.เขาออกแบบดีมาก วางระบบได้อย่างดี เรื่องความสมดุลของประชาชนและแพทย์ และคำว่าวิชาชีพเวชกรรมในพรบ.มาตรา 4 เขียนดีมาก ครอบคลุม การเขียนแบบนี้ไม่ให้ดิ้นได้ โดยคำนิยามไม่ควรดิ้นได้ หากดิ้นได้เป็นการให้อำนาจกรรมการไม่กี่คน กฎหมายลูกในการออกข้อบังคับเป็นเครื่องมือทางเทคนิค ในการจัดการ การออกข้อบังคับเป็นเครื่องมือในยุคสมัยได้ แต่คำนิยามไม่ได้ พรบ.วิชาชีพเวชกรรมต่างกับพรบ.วิชาชีพอื่น ไม่มีบทพนักงานเจ้าหน้าที่ เหตุที่ไม่มี หมายถึงว่าไม่ต้องไปจับใคร มองเป็นบวก เหตุไม่มีบทพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะในพรบ.การประกอบโรคศิลปะมีอยู่แล้ว คำนิยามของหมอเถื่อนคือผู้ที่ทำการประกอบโรคศิลปะโดยที่ไม่มีใบอนุญาต ก็ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่เยอะ พนักงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอสามารถจับหมอเถื่อนได้หมด ปัญหาประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาที่ไม่มีกฎหมาย เราเข้าใจผิดกันอย่างยิ่ง ปัญหาประเทศไทยคือปัญหาความอ่อนแอของการบังคับใช้กฎหมาย แม้แต่มีพรบ.แล้ว ไม่ออกกฎหมายลูก เพราะกรรมการที่อยู่ในพรบ.ทำหน้าที่ไม่เป็นในการสร้างเครื่องมือจัดการให้มี ประสิทธิภาพ จึงพยายามสร้างกฎหมายใหม่ สิ่งที่ตามมาคือพอออกกฎหมายมีบทบังคับใช้หากใครทำผิดคือคดีอาญา มีคนถามว่าทำไมแพทย์เรารักษาคนไข้ ทำไมต้องเจอคดีอาญา ไม่เจอได้หรือไม่ ในประมวลกฎหมายจะเจอคดีอาญาก็ต่อเมื่อเราเจตนาไม่ดี และทำให้เขามีปัญหา หรือประมาทอาจได้รับบาดเจ็บเสียหายโดยประมาท เพราะฉะนั้นหากแพทย์คนใดทำเรื่องโดยเจตนาเจอคดีอาญา แต่หากแพทย์คนใดทำโดยประมาทก็ต้องกลับมาดู แม้กระทั่งขับรถดีแค่ไหนก็ประมาทได้ ก็เป็นลหุโทษ ผมขอเล่าว่าแพทย์อาจจะเจอได้แค่ประเด็นเดียวคือประมาทเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าทำอย่างไรไม่ให้ประมาทเป็นเรื่องของมาตรฐานวิชาชีพที่จะต้อง follow ตาม guideline หรือตามมาตรฐานที่ตนเองเรียนรู้มา แต่หากทำตามมาตรฐานแล้วและเกิด ประเด็นตรงนี้เป็นความผิดทางแพ่ง กลับมาดูว่าเราบอกว่าหลักการการเกิดกฎหมายกับเหตุผลที่จะทำให้เกิด มองว่าแพทย์ไม่ควรเจอคดีอาญา มองว่าแพทย์ไม่ควรอยู่ในคดีผู้บริโภค ผมกลับไปดูที่มาของกฎหมาย พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเหตุที่เกิดคือมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นเยอะ และประชาชนเดือดร้อน หากใช้คดีแพ่งแบบเดิม เพราะว่าต้องหาข้อมาพิสูจน์ว่าได้รับความเสียหายจากตรงนี้จริง คดีผู้บริโภคจึงออกมาเพื่อให้บริษัทต้องเป็นคนพิสูจน์ว่าไม่ได้เกิด ผมตกใจพอเราคิดกันมาก เราเริ่มร่างพรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ เพราะเหตุผลไม่ได้เกิดจากประชาชนเดือดร้อน เหตุผลเกิดจากคดีแพทย์เป็นคดีซับซ้อน แพทย์เดือดร้อน พอร่างาเสร็จ ที่เห็นคือว่าเอาพรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาเป็นตัวตั้งและก็ทำ ผลคือแพทย์ซวยหนักกว่าเดิม เราต้องชัดเจนที่มาของกฎหมายและหลักการว่าเหตุผลของการมาคืออะไร แต่เหตุผลพอหรือไม่ที่จะเป็นกฎหมาย อ่อนมาก เพราะคดีทางการแพทย์มีกี่คดี เยอะพอกับคดีผู้บริโภคหรือไม่ น้อยกว่า มีความจำเป็นขนาดไหนที่ต้องสร้างกลไกอีกมหาศาลเพื่อรองรับกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้เกิดประโยชน์กับประชาชนและแพทย์ด้วย นี่คือมุมมองของผมเกี่ยวกับพรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์  
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:12:16 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็โอเคอยู่แล้ว ไม่มีปัญหา แต่เรื่องอาญาก็อีกเรื่องหนึ่ง ประเด็นนี้อาจต้องพิจารณาให้ดี ผมค่อนข้าง conservative ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการที่จะออกกฎหมาย พอออกมามันดึงอำนาจ ดึงสิทธิของประชาชนมาให้กับกรรมการแค่กลุ่มเดียว เขาเก่งแค่ไหนที่จะมาลิดรอนสิทธิประชาชน เพราะฉะนั้นปัญหาต้องแรงมากๆ ถึงจะเป็นกฎหมายแบบนี้ กลับมาดูพรบ.วิชาชีพเวชกรรมที่แก้ไขใหม่ ผมค่อนข้าง conservative เพราะออกใหม่มีมุมมองและวิธีคิดแสดงว่าเริ่มไม่สมดุล ผมมองภาพความสมดุล ถ้าแพทยสภาคิดว่าจะร่างพรบ.นี้ออกมา มีบางประเด็น ถ้าจะร่างจริงๆ ปัญหาคืออะไร ปัญหาที่จะต้องมีกฎหมายฉบับนี้ออกใหม่คืออะไร ดูเนื้อย่อย ปัญหาเหตุผลคือประชาชนเดือดร้อน เลยไปทำการแพทย์ทางเลือกหรือเปล่าไม่ทราบ พอไปทำเสร็จก็เลยต้องไปเพิ่มอำนาจแพทยสภามากขึ้น ใช่มั้ย เพราะอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่มีอยู่ เป็นวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่แพทยสภาจะต้องเดิน ไม่ใช่มีแต่ควบคุมการประกอบวิชาชีพ ต้องส่งเสริม สนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ด้วย พอดูแค่ข้อเดียวควบคุมกำกับและมาแก้กฎหมาย ต้องกลับมาทบทวน ที่น่าห่วงคือเราเสนอแก้คำจำกัดความวิชาชีพเวชกรรมและขมวดท้ายให้เป็นไปตามข ้อบังคับแพทยสภาน่ากลัวมาก หากแพทยสภายุคนั้นไปออกข้อบังคับ ซึ่งออกมาจะมีผลกระทบต่อไม่ใช่แค่วิชาชีพ ประชาชน เราอย่าลืมไป สิ่งที่เราจะเจอคือน้องไม่กล้าผ่าตัดไส้ติ่ง ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไม่กล้าผ่าตัด ขณะนี้สิ่งที่เราเจอก็คือกำกับควบคุมเกินไปก็เกิดผลกระทบกับประชาชน เราคิดว่าเรื่องมาตรฐาน รู้ว่าแพทย์ทุกคนรู้ตัวเองทำได้แค่ไหน ไม่มีใครไม่กล้า สิ่งแรกที่เราสอนคือ do know how เป็นคำที่ทุกคนรู้ ถ้าอะไรมันอันตรายและตัวเองไม่รู้ไม่กล้าเสี่ยง ยิ่งคนทำมาเยอะๆ ประสบการณ์เยอะแต่ระมัดระวังมากขึ้น เป็นสิ่งที่ต้องมาทบทวนและพิจารณา เราหนีคำว่าบริการ เราพยายามหนีคำว่าบริการทางการแพทย์ เราเปลี่ยนเป็นบริบาลแทน เราคิดว่าจะไปมีผลกระทบพรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มันไม่เกี่ยว คนละกฎหมาย ตีความตามกฎหมายเขา ไม่มีประโยชน์ที่จะทำขึ้นมา อาจเกิดผลเสียมากกว่า เขามองว่าเราพยายามจะหนี เราอย่ากลัวอะไรเกินเหตุ สิ่งที่ผมมานั่งดูข้อบังคับที่แพทยสภายุคก่อนออกมาบางอันต้อง prototype ที่วิชาชีพอื่นเอาไปใช้ประโยชน์ ตอนที่ผมช่วยสภาแพทย์แผนไทยทำข้อบังคับมาดูข้อบังคับของแพทยสภาหลายอันที่เป ็นแบบอย่างและเป็นสิ่งที่เอาไปใช้ประโยชน์ต่อไปพัฒนาและต่อยอด ช่วงหลังแพทยสภาเริ่มมีแนวคิดมุมมองตามยุคสมัยคิดว่าประชาชนเดือดร้อนเพราะก ารทำงานของแพทย์ ขอเรียนว่าเรื่องพวกนี้ในการลงโทษทางการแพทย์ เรามีโทษแค่ 4 ด้าน 1) ว่ากล่าวตักเตือน พอปรากฏในพรบ.มันต้องบันทึกไว้ในทะเบียนวิชาชีพ 2) ภาคทัณฑ์ 3) พักใบอนุญาตแล้วแต่มติกรรมการ-2ปี 4) เพิกถอนใบอนุญาต แต่การที่จะลงโทษต้องให้สภานายกพิเศษรับรู้ก่อน การยกโทษข้อกล่าวหาไม่นับมาเป็นโทษ หากใครทำมากกว่านี้โดยประมาทอันนั้นอาญา มีพรบ.ประมวลกฎหมายอาญาจัดการได้อยู่แล้ว เราไม่ต้องกลัว แต่โทษทางจรรยาบรรณมี 4 อย่าง ตามพรบ.เดิมมีอนุกรรมการ 2 ชุด 1)อนุกรรมการจริยธรรม ดูคดีว่าคดีทางจรรยาบรรณ ดูว่ามีมูลหรือไม่มีมูล และกฎหมายเก่าให้อำนาจอนุกรรมการจรรยาบรรณ เหมือนพนักงานสอบสวนประมวลกฎหมายอาญา แสดงว่าอนุจรรยาบรรณสามารถเรียกคนได้ทั่วประเทศ ส่งเรื่องต่อให้แพทยสภา สิ่งที่ทำคือพิจารณาว่าใช่ตามที่อนุจรรยาบรรณหรือไม่ ถ้าใช่ส่งอนุสอบสวน เหมือนตำรวจ สุดท้ายดูว่าผิดอะไรเหมือนศาล เป็นศาลเตี้ย แต่ยังไม่ได้ตัดสิน ผิดจรรยาบรรณข้อไหน หากผิดข้อไหน โทษควรได้รับแบบไหนใน 4 แบบ หรือดูเสร็จพอมีมูลไล่ไปไม่ใช่ ก็ยกข้อกล่าวหาได้และเสนอแพทยสภาได้ และแพทยสภาถึงจะตัดสินตามข้อมูลอนุสอบสวนให้ ผมเห็นเริ่มร่างข้อบังคับขึ้นมาว่าด้วยควบคุมความประพฤติผู้ประกอบวิชาชีพเว ชกรรมผมกลัวเพราะใช้อำนาจเกิน เพราะไปล้ำกับพักใช้ใบอนุญาต ถูกกำหนดไว้ในพรบ. แต่เราไปออกข้อบังคับควบคุมความประพฤติและหยุดประกอบวิชาชีพคือการพักใช้ใบอ นุญาตอันนี้ออกเกินพรบ. ออกไม่ได้
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:12:48 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

แพทยสภาต้องกลับมามุมมองแนวคิดตัวเองใหม่อีกรอบ มีความสมดุลหรือไม่ การร่างพรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฉบับใหม่ เห็นหลักการแล้วตกใจ กำหนดหลักการ 21 ข้อ ถ้าสภาไม่ได้อ่าน คิดว่าเป็นกฎหมายที่ดันจากรัฐบาลและไม่อ่าน สิ่งที่ออกมาพอรับหลักการแล้วต้องแก้ตามนี้ทั้ง 21 ข้อ  น่ากลัวมาก เรียกว่ากำหนดหลักการแบบล็อคสเปค ก็เห็นด้วยจะได้ไม่เปลี่ยนเยอะ แต่นี่ตั้ง 21 ข้อ ควรล็อคสเปคไม่กี่ข้อ เช่น การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์เป็นเรื่องสำคัญ คิดว่าวิชาชีพพยาบาลต่อใบอนุญาต ทำไมแพทย์วิชาชีพไม่ยอมต่อ เราลืมไป เราไปตกหลุมต่างประเทศ จนลืมเพราะสภาต่างๆ ในต่างประเทศบริหารงานโดยการใช้เงินค่าธรรมเนียมเลยกำหนดให้มีการออกใบอนุญา ต แต่แพทยสภามีงบอุดหนุนจากรัฐบาลแล้วเราจะไปหาเงินจากสมาชิกทำไมจากการต่อใบอ นุญาต การทำเรื่อง CME เป็นเรื่องดี แต่ไม่ต้องบังคับต่อใบอนุญาต ถ้าออกข้อบังคับเรื่อง CME ให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ก็เขียนเข้าไป และในข้อบังคับจรรยาบรรณก็บอกต้องเคารพกฎหมาย ก็สามารถบังคับแพทย์ให้ทำตรงนี้ได้ ยกเว้นแพทยสภาต้องการหาเงินจากการต่อใบอนุญาต ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับเรื่อง CME แต่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องต่อใบอนุญาต เราเป็นแพทย์สิ่งที่เราทำงานเราไม่ได้ใช้แต่ศาสตร์อย่างเดียว ต้องใช้ศิลปะด้วย การรักษาคนไข้ถ้าเราไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นก็ไม่มีใครมารักษากับเรา เพราะฉะนั้นการแพทย์ก็ต้องใช้ความเชื่อให้เกิด พาซิเบิ้ล เอฟเฟค ความเชื่อให้คนไข้เชื่อและปฏิบัติตามเรา พอไปถึงระดับหนึ่งคนไข้เขาศรัทธาเราเอง เชื่อเกิดได้ 2 อย่าง เชื่อด้วยปัญญา เชื่อด้วยศรัทธา คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มเชื่อด้วยศรัทธา แพทย์ต้องทำให้เชื่อได้ 2 แบบ จะออกอะไรให้สมดุล ให้มีแนวคิดหลากหลาย กังวลที่สุดออกอะไร ออกพรบ.ยิ่งน่ากลัวมาก และพรบ.ที่ให้อำนาจกรรมการมาสร้างนิยามจะเกิดผลกระทบกับประชาชนอย่างสูง
 
เรื่องการแพทย์ทางเลือก แผนไทย จนถึงพรบ.วิชาชีพเวชกรรม และแก้ไขพรบ.วิชาชีพเวชกรรม เป็นมุมมองนักกฎหมายและคนเขียนกฎหมาย และกรรมการแพทยสภาน่าจะไปพิจารณาด้วย
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #11 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:13:17 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผู้ดำเนินรายการ : วิทยากรคนต่อไป คือ นพ.รังสรรค์ บุตรชา  ศัลยแพทย์ และประธานองค์กรแพทย์ เสนอมุมมองเกี่ยวกับสมาชิกสื่อให้แพทยสภารับทราบ
 
นพ.รังสรรค์ บุตรชา ซ:มุมมองของคนทำงาน ทำงานใช้ทุน รพ.ชุมชน และมาอยู่จังหวัด และไปใช้ทุนที่ รพ.สูง และที่ปทุม แพทย์ของเรา แพทยสภาไม่แน่ใจ บทบาทของแพทยสภามีหน้าที่อะไร พอสมาชิกเกิดปัญหาฟ้องร้อง ไม่รู้ว่าแพทยสภาทำหน้าที่อะไร ช่วยเหลือสมาชิกอย่างไร จังหวะนั้นเคว้งอยู่แล้วหากถูกฟ้องร้อง ลาออกไปเลยก็มี มีผลกระทบ ซึ่งประชาชนรู้รึเปล่าไม่รู้ แต่ตอนหลังมีข่าวว่าจะหาเงินก็มาได้เลยเพราะว่าฟ้องร้องได้ง่าย แพทยสภามีการควบคุมและกำกับด้านจริยธรรมและวิชาการ ผมเป็นหมอศัลยกรรมซึ่งอายุการใช้งานจะน้อยกว่าหมอทั่วไป เพราะเรื่องสายตา สมอง สายตาและมือ movement ต่างๆ แย่ลง เพราะฉะนั้นถ้าเกิน 55 ปี ไปผ่า ควรจะเป็นที่ปรึกษาดีกว่า ให้น้องๆ ผ่า แพทยสภาควรจะต้องรู้ว่าความต้องการของประชาชน และโรคสมัยอะไรที่ต้องผลิตหมอเพิ่มให้ตรงกับความต้องการ เช่น ถ้าหมอศัลขาดไม่ทราบว่าแพทยสภามีหน้าที่ผลิต และไม่มีใครเรียนจะทำอย่างไร ตอนนี้ สธ. เสนอให้มีแพทย์ครอบครัว หมอเวชศาสตร์ อยากผลิตเพิ่ม แต่ถามว่าผลิตแล้วเขาทำอะไรได้บ้าง มีใครยอมรับ ไม่มีใครเรียนทำอย่างไร แต่แผนกที่ง่ายๆ ที่ไม่ต้องลำบากเหมือนศัลยกรรม เรียนพลาสติกได้ตังเยอะ จริยธรรมหายไป พวกตาหูคอจมูกเรียนเยอะ เสริมสวย skill ต้องมีจริยธรรมคุณธรรมร่วมกันหายไป มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง มุมมองถ้ามีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องมุมมองจะเปลี่ยนไป ดูเรื่องกองขี้ควายเป็นหลัก มุมมองเป็นขี้ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเป็นมุมมองเป็นปุ๋ยผลิตสารได้แย่งกัน  
อีกเรื่องหนึ่งเพื่อนผมฝากมาจาก รพ.ชุมชน แพทยสภากำหนดว่าแต่ก่อนไม่มี intern ตอนหลังผมอยู่ในยุค extern แต่ตอนนี้จะมีการกลับมาใหม่ทบทวนว่าให้มี intern 1 ปี รพ.ชุมชนก็จะขาดแพทย์ใช้ทุน 1 ปีหายไป เพราะกลายเป็นอยู่ชุมชน 2 ปี ขาดหมอ ทำอย่างไรแก้ให้เหมือนเดิมหรือไม่ก็เพิ่มเงิน ก็มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง เกิดอะไรขึ้น เราจะสร้างจรรยาบรรณให้แพทย์ให้ดีอย่างไร ตอนนั้นก็ยอมรับว่าคณะแพทยสภาชุดนี้ถือว่าเป็นนิมิตรหมายดี 50 ปีที่หายไป กลับมาเปิดประเด็นนี้ก็โอเค ถึงจะพัฒนาได้ ผมเป็นกรรมการของอนุกรรมการที่ดูแลความสุขบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีการคิดเร ื่องการทำงานของแพทย์ขึ้นมา และเห็นรองเลขาเสนอเรื่องสัญจร เห็นด้วยแพทยสภาต้องสัญจร แต่อยากให้แพทยสภาชี้แจงบทบาทออกมา เราจะทำอย่างไรกับสมาชิกให้ชัดเจน และถ้าเมื่อสักครู่ต่อใบอนุญาตก็มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง เงินที่ได้รับงบประมาณ เก็บเงินสมาชิก ผมเป็นสมาชิกตลอดชีพ 1000 ตอนนี้เพิ่มเป็น 5000 แต่ปล่อยปละสมาชิก ไม่สนใจพรรคพวก อีกอันบอกสร้างความสามัคคี ไม่เห็นสร้างเลย แพทย์แต่ละคนเก่งทั้งนั้น แพทย์เก่งด้านวิชาการ แต่ด้านอื่นไม่ได้เรื่อง
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #12 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:17:31 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผู้ดำเนินรายการ วิทยากรคนต่อมาคือ อจ.ชนินทร์ ลีวานันท์  
       อ.ชนินทร์ : ได้รวบรวมประเด็นปัญหาทางการแพทย์จากเพื่อนสมาชิกแพทย์ น แต่แยกเป็นสภารายสาขาภายใต้สภาการหลักการแพทย์และสาธารณสุข
 
ข้อมูลจากในกลุ่มไลน์เพื่อนแพทย์ กลุ่มคลินิกเอกชน และกลุ่มต่างๆ สรุปว่า
1. ควรต่อ CME ทุกปีหรือไม่ บางคนเห็นด้วยเพราะอัพเดททันยุค บางคนไม่เห็นด้วยน่าจะเป็นกลุ่มแพทย์ที่ทำงานหนักอยู่แล้ว ภาระงานมากอยู่แล้ว แค่ตรวจผู้ป่วยก็ไม่ต้องไปร้องเรียนก็แทบไม่มีเวลากินข้าว เข้าห้องน้ำอยู่แล้ว แพทย์จะเป็นโรคกระเพาะ เรื่อง CME ไม่เห็นด้วยเพราะทำงานก็เครียดแล้ว ภาระงานทำให้ต้องไปทำงานไกลจะไม่ได้ดูแลคุณพ่อที่เป็นมะเร็ง คุณแม่ที่ชรา อาชีพแพทย์ปัจจุบันแย่ ถ้าต้องกำหนดคะแนนแตกต่างในแต่ละระดับและไม่ควรผูกติดกับใบประกอบวิชาชีพเวช กรรม
2. เรื่องโฆษณาพรบ.สถานพยาบาลควรมีหรือไม่ มีคนเห็นด้วยเพราะจะได้ไม่มีโฆษณาเกินจริง ส่วนไม่เห็นด้วยเยอะ แพทย์เกาหลีมาเปิดโฆษณาดึงคนไทยไปรักษาที่เกาหลีไม่ผิดแต่แพทย์ไทยฝีมือดีกล ับผิด ถ้ามีควรปฏิบัติเหมือนกันทุกระดับทั้ง รพ.รัฐ เอกชน ไม่ใช่บังคับเฉพาะคลินิก และบังคับใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ควรเห็นว่ายกเลิกการขออนุญาตโฆษณา ควบคุมคลินิกให้ถูกกฎหมาย อยากให้ปฏิบัติตามข้อ 1 2 3 ต้องยกเลิกสถานประกอบการ สถานพยาบาลต้องขออนุมัติประกาศและโฆษณา ทุกท่านคงเคยเห็นพรบ.นี้แล้ว
3. ฝากพี่หมอที่รู้จักกรรมการแพทยสภาแจ้งความเดือดร้อนในการผลิต GP ว่าผลิตจำนวนมากจนเสี่ยงต่อการตกงาน ปัญหาปากท้องและทำให้ไร้อำนาจต่อรองหรือประกอบวิชาชีพได้ไม่ตามที่เรียนมาเพ ราะถูกบีบบังคับได้จากความไม่มั่นคงดังกล่าว
4. การร่างกฎหมายวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ และการแก้ไขพรบ.วิชาชีพเวชกรรม ร่างพรบ.ผู้บริโภค ไม่มีใครเห็นด้วยเลย สภาร่างพรบ.ผู้บริโภคไม่มีใครเห็นด้วยเลย ไม่ถามพวกเราเลย ออกเลย ไม่เห็นด้วยเพราะสภาผู้บริโภคมีแนวโน้มให้องค์กรนั้นได้จากรัฐสามารถฟ้องแพท ย์แล้วจะอยู่อย่างไร ปัญหาอาจรุนแรงขึ้น ข้อเสนอแนะไม่ควรมีสภาผู้บริโภคเลยค่ะ เพราะสื่อมวลชนจะเสนอข่าวให้สภาผู้บริโภคจนที่เป็นรู้จักของประชาชน คนที่จะฟ้องแพทย์ หรือมีอคติกับแพทย์จะรวมตัวกันได้ง่ายเพราะมีสภาเป็นตัวแทนจนสภาผู้บริโภคอย ู่เหนือกว่าแพทยสภาซึ่งน่ากลัวมาก  
5. การฟ้องร้อง แพทยสภาได้รับจดหมายร้องเรียนเป็นเท็จและให้แพทย์ชี้แจง ไม่เห็นด้วย เพราะแพทย์มีภาระงานหนักอยู่แล้ว มีงานบริการ งานเอกสารมากมาย งาน HA JCI ตามมาอีก การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอยู่เสมอ ความเห็นคือแพทยสภาต้องมีหน่วยข่าวกรองจริงเท็จก่อนส่งไปให้แพทย์ชี้แจงเรื่ องเท็จซึ่งเสียเวลา หากไม่แจงผิดอาญา ทั้งนี้เพื่อให้สังคมแพทย์อยู่แบบพี่น้องให้มีกำลังใจดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย  ราคาถูกให้คนไทย
หนังสือขอให้ออกแถลงการณ์ร่วมกับภาคีวิชาชีพเรื่องไม่เห็นด้วยกับการบังคับใ ช้ประกาศ สำเนาจะยื่นหนังสือที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการเพื่อยกเลิกโฆษณานี้ และยื่นเรื่องที่นายกแพทยสภา นายกทันตแพทย์สภา แพทย์แผนไทย เนื้อหาแจกทุกท่านไปแล้ว ขอเป็นตัวแทนประธานเครือข่ายแพทย์ ทันตแพทย์เพื่อนวิชาชีพรวบรวมรายชื่อทั้งหมดจะมอบให้นายกแพทยสภา  
ข้อมูลจากในกลุ่มไลน์เพื่อนแพทย์ กลุ่มคลินิกเอกชน และกลุ่มต่างๆ สรุปว่า
1. ควรต่อ CME ทุกปีหรือไม่ บางคนเห็นด้วยเพราะอัพเดททันยุค บางคนไม่เห็นด้วยน่าจะเป็นกลุ่มแพทย์ที่ทำงานหนักอยู่แล้ว ภาระงานมากอยู่แล้ว แค่ตรวจผู้ป่วยก็ไม่ต้องไปร้องเรียนก็แทบไม่มีเวลากินข้าว เข้าห้องน้ำอยู่แล้ว แพทย์จะเป็นโรคกระเพาะ เรื่อง CME ไม่เห็นด้วยเพราะทำงานก็เครียดแล้ว ภาระงานทำให้ต้องไปทำงานไกลจะไม่ได้ดูแลคุณพ่อที่เป็นมะเร็ง คุณแม่ที่ชรา อาชีพแพทย์ปัจจุบันแย่ ถ้าต้องกำหนดคะแนนแตกต่างในแต่ละระดับและไม่ควรผูกติดกับใบประกอบวิชาชีพเวช กรรม
2. เรื่องโฆษณาพรบ.สถานพยาบาลควรมีหรือไม่ มีคนเห็นด้วยเพราะจะได้ไม่มีโฆษณาเกินจริง ส่วนไม่เห็นด้วยเยอะ แพทย์เกาหลีมาเปิดโฆษณาดึงคนไทยไปรักษาที่เกาหลีไม่ผิดแต่แพทย์ไทยฝีมือดีกล ับผิด ถ้ามีควรปฏิบัติเหมือนกันทุกระดับทั้ง รพ.รัฐ เอกชน ไม่ใช่บังคับเฉพาะคลินิก และบังคับใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ควรเห็นว่ายกเลิกการขออนุญาตโฆษณา ควบคุมคลินิกให้ถูกกฎหมาย อยากให้ปฏิบัติตามข้อ 1 2 3 ต้องยกเลิกสถานประกอบการ สถานพยาบาลต้องขออนุมัติประกาศและโฆษณา ทุกท่านคงเคยเห็นพรบ.นี้แล้ว
3. ฝากพี่หมอที่รู้จักกรรมการแพทยสภาแจ้งความเดือดร้อนในการผลิต GP ว่าผลิตจำนวนมากจนเสี่ยงต่อการตกงาน ปัญหาปากท้องและทำให้ไร้อำนาจต่อรองหรือประกอบวิชาชีพได้ไม่ตามที่เรียนมาเพ ราะถูกบีบบังคับได้จากความไม่มั่นคงดังกล่าว
4. การร่างกฎหมายวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ และการแก้ไขพรบ.วิชาชีพเวชกรรม ร่างพรบ.ผู้บริโภค ไม่มีใครเห็นด้วยเลย สภาร่างพรบ.ผู้บริโภคไม่มีใครเห็นด้วยเลย ไม่ถามพวกเราเลย ออกเลย ไม่เห็นด้วยเพราะสภาผู้บริโภคมีแนวโน้มให้องค์กรนั้นได้จากรัฐสามารถฟ้องแพท ย์แล้วจะอยู่อย่างไร ปัญหาอาจรุนแรงขึ้น ข้อเสนอแนะไม่ควรมีสภาผู้บริโภคเลยค่ะ เพราะสื่อมวลชนจะเสนอข่าวให้สภาผู้บริโภคจนที่เป็นรู้จักของประชาชน คนที่จะฟ้องแพทย์ หรือมีอคติกับแพทย์จะรวมตัวกันได้ง่ายเพราะมีสภาเป็นตัวแทนจนสภาผู้บริโภคอย ู่เหนือกว่าแพทยสภาซึ่งน่ากลัวมาก  
5. การฟ้องร้อง แพทยสภาได้รับจดหมายร้องเรียนเป็นเท็จและให้แพทย์ชี้แจง ไม่เห็นด้วย เพราะแพทย์มีภาระงานหนักอยู่แล้ว มีงานบริการ งานเอกสารมากมาย งาน HA JCI ตามมาอีก การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอยู่เสมอ ความเห็นคือแพทยสภาต้องมีหน่วยข่าวกรองจริงเท็จก่อนส่งไปให้แพทย์ชี้แจงเรื่ องเท็จซึ่งเสียเวลา หากไม่แจงผิดอาญา ทั้งนี้เพื่อให้สังคมแพทย์อยู่แบบพี่น้องให้มีกำลังใจดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย  ราคาถูกให้คนไทย
หนังสือขอให้ออกแถลงการณ์ร่วมกับภาคีวิชาชีพเรื่องไม่เห็นด้วยกับการบังคับใ ช้ประกาศ สำเนาจะยื่นหนังสือที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการเพื่อยกเลิกโฆษณานี้ และยื่นเรื่องที่นายกแพทยสภา นายกทันตแพทย์สภา แพทย์แผนไทย เนื้อหาแจกทุกท่านไปแล้ว ขอเป็นตัวแทนประธานเครือข่ายแพทย์ ทันตแพทย์เพื่อนวิชาชีพรวบรวมรายชื่อทั้งหมดจะมอบให้นายกแพทยสภา  
ข้อมูลจากในกลุ่มไลน์เพื่อนแพทย์ กลุ่มคลินิกเอกชน และกลุ่มต่างๆ สรุปว่า
1. ควรต่อ CME ทุกปีหรือไม่ บางคนเห็นด้วยเพราะอัพเดททันยุค บางคนไม่เห็นด้วยน่าจะเป็นกลุ่มแพทย์ที่ทำงานหนักอยู่แล้ว ภาระงานมากอยู่แล้ว แค่ตรวจผู้ป่วยก็ไม่ต้องไปร้องเรียนก็แทบไม่มีเวลากินข้าว เข้าห้องน้ำอยู่แล้ว แพทย์จะเป็นโรคกระเพาะ เรื่อง CME ไม่เห็นด้วยเพราะทำงานก็เครียดแล้ว ภาระงานทำให้ต้องไปทำงานไกลจะไม่ได้ดูแลคุณพ่อที่เป็นมะเร็ง คุณแม่ที่ชรา อาชีพแพทย์ปัจจุบันแย่ ถ้าต้องกำหนดคะแนนแตกต่างในแต่ละระดับและไม่ควรผูกติดกับใบประกอบวิชาชีพเวช กรรม
2. เรื่องโฆษณาพรบ.สถานพยาบาลควรมีหรือไม่ มีคนเห็นด้วยเพราะจะได้ไม่มีโฆษณาเกินจริง ส่วนไม่เห็นด้วยเยอะ แพทย์เกาหลีมาเปิดโฆษณาดึงคนไทยไปรักษาที่เกาหลีไม่ผิดแต่แพทย์ไทยฝีมือดีกล ับผิด ถ้ามีควรปฏิบัติเหมือนกันทุกระดับทั้ง รพ.รัฐ เอกชน ไม่ใช่บังคับเฉพาะคลินิก และบังคับใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ควรเห็นว่ายกเลิกการขออนุญาตโฆษณา ควบคุมคลินิกให้ถูกกฎหมาย อยากให้ปฏิบัติตามข้อ 1 2 3 ต้องยกเลิกสถานประกอบการ สถานพยาบาลต้องขออนุมัติประกาศและโฆษณา ทุกท่านคงเคยเห็นพรบ.นี้แล้ว
3. ฝากพี่หมอที่รู้จักกรรมการแพทยสภาแจ้งความเดือดร้อนในการผลิต GP ว่าผลิตจำนวนมากจนเสี่ยงต่อการตกงาน ปัญหาปากท้องและทำให้ไร้อำนาจต่อรองหรือประกอบวิชาชีพได้ไม่ตามที่เรียนมาเพ ราะถูกบีบบังคับได้จากความไม่มั่นคงดังกล่าว
4. การร่างกฎหมายวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ และการแก้ไขพรบ.วิชาชีพเวชกรรม ร่างพรบ.ผู้บริโภค ไม่มีใครเห็นด้วยเลย สภาร่างพรบ.ผู้บริโภคไม่มีใครเห็นด้วยเลย ไม่ถามพวกเราเลย ออกเลย ไม่เห็นด้วยเพราะสภาผู้บริโภคมีแนวโน้มให้องค์กรนั้นได้จากรัฐสามารถฟ้องแพท ย์แล้วจะอยู่อย่างไร ปัญหาอาจรุนแรงขึ้น ข้อเสนอแนะไม่ควรมีสภาผู้บริโภคเลยค่ะ เพราะสื่อมวลชนจะเสนอข่าวให้สภาผู้บริโภคจนที่เป็นรู้จักของประชาชน คนที่จะฟ้องแพทย์ หรือมีอคติกับแพทย์จะรวมตัวกันได้ง่ายเพราะมีสภาเป็นตัวแทนจนสภาผู้บริโภคอย ู่เหนือกว่าแพทยสภาซึ่งน่ากลัวมาก  
5. การฟ้องร้อง แพทยสภาได้รับจดหมายร้องเรียนเป็นเท็จและให้แพทย์ชี้แจง ไม่เห็นด้วย เพราะแพทย์มีภาระงานหนักอยู่แล้ว มีงานบริการ งานเอกสารมากมาย งาน HA JCI ตามมาอีก การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอยู่เสมอ ความเห็นคือแพทยสภาต้องมีหน่วยข่าวกรองจริงเท็จก่อนส่งไปให้แพทย์ชี้แจงเรื่ องเท็จซึ่งเสียเวลา หากไม่แจงผิดอาญา ทั้งนี้เพื่อให้สังคมแพทย์อยู่แบบพี่น้องให้มีกำลังใจดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย  ราคาถูกให้คนไทย
หนังสือขอให้ออกแถลงการณ์ร่วมกับภาคีวิชาชีพเรื่องไม่เห็นด้วยกับการบังคับใ ช้ประกาศ สำเนาจะยื่นหนังสือที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการเพื่อยกเลิกโฆษณานี้ และยื่นเรื่องที่นายกแพทยสภา นายกทันตแพทย์สภา แพทย์แผนไทย เนื้อหาแจกทุกท่านไปแล้ว ขอเป็นตัวแทนประธานเครือข่ายแพทย์ ทันตแพทย์เพื่อนวิชาชีพรวบรวมรายชื่อทั้งหมดจะมอบให้นายกแพทยสภา  
 
ผู้ดำเนินรายการ : การได้รับฟังความเห็นจากกลุ่มไลน์จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งข้อเสนอนี้กรรมการแพทยสภาที่เป็นผู้เสนอให้มีการประชุมครั้งนี้จะรวบรวม เป็นหมวดเพื่อเสนอกรรมการแพทยสภาต่อไป
 
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:18:44 by yellow_bird »
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #13 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:19:28 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อจ.วิษณุ ประเสริฐสม
 ขอเป็นตัวแทนคุณหมอที่ปฏิบัติงานในภาคส่วนเอกชน พวกเราปฏิเสธไม่ได้ว่าหมอในภาครัฐส่วนหนึ่งมี private life ไปทำคลินิกของตนเอง ส่วนหนึ่งก็ไปอยู่ที่ รพ. เอกชน ส่วนหนึ่งเปิดคลินิกของตนเอง โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ผู้ดำเนินรายการ : การได้รับฟังความเห็นจากกลุ่มไลน์จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งข้อเสนอนี้กรรมการแพทยสภาที่เป็นผู้เสนอให้มีการประชุมครั้งนี้จะรวบรวม เป็นหมวดเพื่อเสนอกรรมการแพทยสภาต่อไป
 
เปิดคลินิกของตนเอง หลีกเลี่ยงไม่พ้นวันที่เพื่อนแพทย์ก้าวจากรั้วรพ.รัฐและเดินเข้ามาคลินิก กฎหมายต่างๆ ไม่ครอบคลุมแล้ว ต้องถือปฏิบัติพรบ.สถานพยาบาลซึ่งกำกับด้วยกรมส่งเสริมและบริการสุขภาพ ขอตั้งประเด็นที่พรบ.วิชาชีพเวชกรรม คือ เน้นย้ำการพิจารณาความเสียหายทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะไปจับระเบียบ สคบ.  
 สคบ. คือน้ำหนึ่งขวดผลิตมาต้องได้มาตรฐานและออกโดย อย. แต่ขณะที่วิชาชีพแพทย์ ไม่ได้ผลิตน้ำหนึ่งขวด ร่างกายมนุษย์ผลิตมาด้วยคุณพ่อคุณแม่ แต่ตอนนี้มันเสียหาย เช่น เป็นโรค ดื่มแอลกอฮอล์ หรือรถชน ไม่สามารถนำมาตรฐาน สคบ. จับบริการทางการแพทย์ เพราะเราไม่สามารถซ่อมเหมือนผลิตใหม่ป้ายแดง รถชนมาแล้วไม่มีทางซ่อมให้เหมือนป้ายแดงได้ พื้นฐานในการบังคับใช้การให้บริการทางการแพทย์ ถนนเป็นหลุมเราปะ แต่ปะให้เหมือนถนนใหม่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการพิจารณาความทางการแพทย์ผู้เสียหายทางการแพทย์จะเข้า สคบ. ไม่ได้ อาจต้องมีวิธีพิจารณาแยก  
การพิจารณาคดีความทางการแพทย์ ถ้าเป็น สคบ. จะเป็นระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน ถ้าฟ้องตาม สคบ. จะเป็นกล่าวหา ผู้เสียหายกล่าวหาปุ๊บไปเลย ไปก่อนการฟ้องร้อง สคบ. จะใช้มูลค่าฟ้อง 1 ล้านบาท ซึ่งจำไม่ได้ว่าศาลบังคับวางเงินประกันการฟ้อง แต่ปัจจุบัน สคบ. ไม่ต้องวางเงินประกัน ผู้ใช้บริการทางการแพทย์มาฟ้องและไป และอัยการเป็นทนายของรัฐ หมอวันหนึ่งไม่ต้องทำอะไร วิตกจริต และไปศาล มาตรวจคนไข้  
ประเด็นสำคัญคือ อจ.บางท่านอยู่ในรพ.รัฐ แต่ปรากฏว่าหมอที่อยู่ในรพ.เอกชน ไม่มีเงินบำรุงของ รพ. ไม่มีคณะกรรมการสถานพยาบาล ไม่มีใครช่วยเหลือเลย และไปหาบริษัทประกันไม่มีใครรับประกัน เพราะโอกาสที่เฉี่ยวชนได้ง่าย เพราะเป็นหมอ เราจะทำอย่างไรจะคุยกับฝ่ายกระทรวงยุติธรรมได้อย่างไร น่าจะเป็นหน้าที่หนึ่งของแพทยสภา
สิ่งที่หมอรพ.เอกชน มีปัญหาเรื่องหมอเถื่อน ขอถามกรม สบส. ไม่ไป action ตอบว่าไม่มีหน้าที่ แต่ผมอ่านเจอในหมวด 5 มาตรา 26 กำกับว่าแพทยสภามีหน้าที่ควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะ หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26 ให้ขึ้นกับมาตรา 43 มีโทษปรับและจำคุก ตอนนี้แพทยสภาเชื่อว่าอาจจะยุ่งไปกำกับดูแล แต่แพทยสภามีหน้าที่ไปจับหมอเถื่อน เว็บเถื่อน ปัจจุบันฐานะคลินิกเอกชนมาทำความงามเยอะ เกาหลีทำประเทศเป็น cosmetic hub รัฐบาลส่งเสริม ปกป้อง ดูแล อออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมไม่ใช่บังคับ อยากให้แพทยสภาออกกฎหมายในเชิงส่งเสริมไม่ใช่บังคับ สบส. เองก็ล้อสิ่งนี้เหมือนกัน จึงออกมาแนวบังคับก็เลยลามไปถึงโฆษณาสถานพยาบาล บอกว่าสมัยก่อนมีโทษปรับ ใช้บังคับคือปรับ แต่ปัจจุบันคนขับรถชนอย่างไม่เจตนา รอลงอาญาได้ แต่หมอโฆษณาว่ารับฝากครรภ์ทำคลอดมีความผิดในฐานะที่ยังไม่ขออนุญาตไปติดคุกก ่อน น้อยใจเพราะผมเป็นหมอสู ไม่เข้าท่าเลย ในขณะที่แพทยสภามีหน้าที่กำกับดูแลไล่จับหมอเถื่อนมีโทษติดคุก 3 ปี ไม่มีใครไปไล่จับ ถามว่าเหตุการณ์ 2 เรื่องนี้เกิดอะไรขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนที่ขับรถไม่มีใบขับขี่ไม่เป็นไร แต่พวกขับรถมีใบขับขี่คือหมอกลับโดยแพทยสภาเพ่งเล็ง สบส.เพ่งเล็ง มันเหนื่อย ขอให้แพทยสภาทำงานในเชิงรุก
เอกชนทำใน part ในเรื่องธุรกิจ ต่อให้ปิดคลินิกเอิกชนหมด รัฐก็ให้บริการไม่พอ ส่วนเรื่องราคาคงเข้าใจ อยากให้แพทยสภาทำงานในเชิงเพิ่มขึ้น คือ การสื่อสารมวลชน เวลาแพทยสภามีอะไรใหม่ หรือมีแนวคิดใหม่อยากให้มีหมอที่เป็นพูดเก่งๆ สื่อสารเก่งๆ เข้าใจง่าย แพทยสภาน่าจะมีโฆษกในการสื่อสารที่เก่งๆ หานักสื่อสารมวลชนสักคนหนึ่ง  
พรบ.วิชาชีพเวชกรรม กรรมการในการพิจารณาโทษของสมาชิกแพทย์ พบว่าไม่มีวิชาชีพแพทย์ถึง 15 คน พูดเพื่อขอให้มากกว่านี้ ต้องมีวิชาชีพอื่น 9 คน เป็นสื่อมวลชนถึง 9 คน มีได้แต่ 9 คนเยอะไป เพราะเวลาตัดสินคดีแพทย์ พอโหวดพัง หากสื่อมวลชนเข้ามาพิจารณาใน part ของการช่วยเหลือเยียวยาได้ แต่ตัดสินว่าถูกหรือผิดไม่ได้ หากไม่ใช่วิชาชีพเฉพาะ  
แพทยสภาจะร่างในส่วนกรรมการนี้ขอให้มีสัดส่วนที่มีเหตุผล หรือเป็นอนุกรรมการในส่วนของการพิจารณาบางเรื่องเท่านั้นไม่ใช่ตัดสินถูกผิด ทางการแพทย์
ความเห็นในกลุ่มไลน์ที่กล่าว อย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว พรบ.โฆษณาสถานพยาบาลเป็นยาดำสำหรับวิชาชีพแพทย์มาก แต่มีข่าวดีเมื่อเดือนกว่าที่แล้ว กรม สบส. จัดประชุมที่รร.รามาการ์เด็น ออกกฎหมายลูกเพื่อให้การปฏิบัติเบาลง แต่โทษคุกมีอยู่ดี เป็นยาดำดี พูดวันนี้เพื่อหวังว่าแพทยสภาเป็นตัวแทนเสนอ สนช. หรือ ครม. ออกพรบ.ใหม่อีกรอบไม่น่าอาย  
การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
การซื้อยาหลอดใหญ่มา แล้วแบ่งใส่ตลับบรรจุ มีความผิดตาม พรบ.ยา สิ่งเหล่านี้มันเหนื่อย  ควรทำให้เกิดความพอดี แพทยสภาควรไปแจมกับเขาบ้าง
การออก พรบ.อะไรก็ตาม ขอให้แพทยสภาเป็นตัวแทนแพทย์ว่าไปเสนอให้เขาทำประชาพิจารณ์ก่อน ฝากแพทย์ส่วนใหญ่ที่ทำงานเอกชน แต่ over lab รัฐ วันที่ก้าวจากรพ. ท่านไปทำอะไรผิดจะไม่ได้รับการปกป้องจากรัฐแล้ว
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:20:05 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ความเห็นจากผู้ร่วมฟัง
1. นพ. บุญช่วย เทพยศ รพ.อุดรธานี เคยร้องเรียนแพทย์ผู้ร่วมงานซึ่งทำหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมมาที่แพทยสภา ตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันยังไม่ได้รับคำตอบจากแพทยสภา ปัญหามีหลายอย่าง ผมเคยทำงานและไปช่วยเหลือดูแลคนไข้ ผมเป็นจิตแพทย์ไปออก รพ.ชุมชน ปรากฏว่าไปออก รพ.ชุมชน แพทย์อีกคนหนึ่งก็ต้องรักษาการที่ รพ. วันนั้นผมไปแพทย์อีกคนไม่อยู่ ซึ่งไม่ทราบว่าไม่อยู่ ไม่ได้เขียนใบลาไว้ ตรวจสอบพบว่าเดินทางไปต่างประเทศ และพอผมอยู่ รพ.ชุมชน ที่รพ.เกิดมีคนไข้ฉุกเฉินมีอาการทางจิต ถ้าผม refer ถ้าผมให้ยาโดยที่ผมไม่ได้ดูคนไข้ ถ้าปัญหาเกิดจากยาผมก็มีความผิด ซึ่งตรงนี้แพทยสภาควรดูว่าเป็นอย่างไร ตัดสินให้ถูกหรือผิด ถ้าปกป้องแพทย์จนเกินไปทำให้แพทย์ที่ดีเสียหายไปด้วย และในแง่ สธ. รพ.ผมมีจิตแพทย์ 4 คน แบ่งการทำงานดูแลคนไข้คนละ 2วันครึ่ง แพทย์ทำงานหนักหรือไม่ ควรกระจายงานให้ถูกต้อง  
ติดต่อกับนิติกรว่าเรื่องคืบหน้าอย่างไร
2. คุณหมอนงนุช รพ.เชียงราย การทำงานของแพทย์ รพ.ชุมชนเล็กๆ ดูแลประชากรประมาณ 3 หมื่น มีหมอ 3-4 คน สิ่งที่ สธ. มีนโยบายและกำหนดให้แพทย์ทำงาน เรามี 3-4 คน ทำเวรเช้าครบทุกคน และทำงานบ่ายดึก ขอเสนอชั่วโมงการทำงานของแพทย์ หลังจากที่มีคนพูดมาและซาไป ความเห็นส่วนตัวควรมีมาตรฐานกำหนดชั่วโมงมาตรฐาน แพทย์เราเอง รพ.ชุมชนไม่มีใครเปลี่ยน ในชีวิตการทำงานจริงไม่สามารถแบ่งบ่ายกับดึกได้ การบริหารชีวิตจริงกับการทำงานค่อนข้างลำบาก ถ้าแพทยสภาสามารถกำหนดว่าแพทย์ควรจะทำงานเท่าไหร่ อย่างไรก็จะช่วยในการบริหารชีวิตและประโยชน์และความอ่อนล้าและประชาชนที่ได้ รับประโยชน์จากตรงนี้ เพราะว่าบางทีเราต้องอยู่เวรติดกัน 3 วัน มันเป็นภาระที่ต้องทำเราหนีเวรก็ไม่ได้ เคยถามนิติกรกระทรวงเหมือนกันถ้าเราอยู่เวรติดกันไม่ไหวขอพักได้หรือไม่ นิติกรตอบว่าหมอต้องดูว่าหมออยู่ได้เพราะอะไร กระทรวงบอกว่า รพ. ปฏิบัติงาน 24 ชม. เพราะฉะนั้นหมอไม่มีสิทธิที่จะไม่อยู่เวร นี่คือความลำบาก แต่มีเสียงค้านที่บอกว่าถ้ากำหนดจะไม่มีหมอทำงาน แพทยสภาเป็นตัวแทนของแพทย์ต้องชั่งน้ำหนักทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตของแพทย์อ ยู่ในระดับที่ดี และประชาชนไม่เกิดทุกข์เวทนาจากการที่แพทย์อ่อนล้าและทำงานผิดพลาด จะกำหนดเรื่องนี้อย่างไรเป็นไปได้ในเมืองไทยเรา
เป็นปัญหาใหญ่และหนัก ซึ่งแพทยสภาไม่มีอำนาจในการสั่งการ แต่อำนาจคือต้องเสนอปัญหาและวิธีแก้ปัญหาแก่รัฐบาลแก้ไขเรื่องนี้
 
การคิดนอกกรอบ บรรยายว่าถ้าคุณเอาน้ำหยดไปบนทรายที่กองรูปภูเขากรวย หยดแรกไม่รู้ไปทางไหน แต่หยดที่ 7-9 จะเลือกเส้นทางเดิม เรียกว่า national thinking เราถูกสอนให้คิดแบบหนึ่งและเราก็จะคิดแบบนั้นตลอดไป คุณลองหลงทางดูสักครั้ง คุณจะพบว่าทางไปที่สั้นกว่าทางเดิม เสนอด้วยความรักอาจารย์ ท่านต้องตั้งคณะกรรมการคนนอกหาทางออกเรื่องนี้ และหาข้อสรุป ขึ้นอยู่กับจุดยืนของแพทยสภา ที่ผมถามตอนแรกว่าเรื่องการโฆษณาหรืออะไรที่ทำให้ประชาชนเข้าใจทุกคน ไม่ได้ระบุไว้ในหน้าที่ของแพทยสภา แต่ถ้าไม่ทำแล้วใครจะทำ จะปล่อยให้ประชาชนเข้าใจผิดเราไปตลอด ถ้าเราเคยใช้คอมพิวเตอร์ยุคก่อน เราใช้วิธีทำให้คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นโดยการเร่งความเร็วของนาฬิกา มือถือของเราปัจจุบันความเร็วพอกันแต่เร็วกว่า 8-9 เท่า อีก 100 เท่า โดยการที่เขาขยับให้ CPU มี 2 นาฬิกา 4 นาฬิกา และ 8 นาฬิกา เขาไม่ได้เร่งความเร็วของนาฬิกา แต่เขาทำให้ 1 CPU มี 2 นาฬิกา ที่เรียกว่า dual clock ผมเชื่อว่าแพทยสภาทำตรงนี้ได้ เพราะถึงที่สุดแล้วระเบียบทั้งหมดล้วนแต่เกิดขึ้นจากมือของเรา จากปากของเรา ถ้าเราบอกว่าทำได้ก็คือทำได้
 
การทำงานของคลินิกเอกชน การ research วิจัย แต่ต้องผ่านกรรมการ ผ่านรร.แพทย์ ถ้าทำในส่วนเอกชนค่อนข้างมีปัญหา อยากจะเสนอทางออกให้แพทยสภา นำเสนอวิธีวิจัยที่ถูกต้องแต่ไม่จำเป็นหน่วยงานให้ยุ่งยาก ยอมรับส่วนตัวทำเรื่องความงาม เทคโนโลยี วิวัฒนาการไปเร็วมาก เกี่ยวพันกับโฆษณาผิวพรรณ ถ้าแพทยสภาไม่สนับสนุนงานวิจัยของนอกรร.วิจัย จะไม่ทันการณ์ ต้องพึ่งหน่วยงานเอกชนค่อนข้างเยอะเพราะเขามีเงิน มีเวลา และอยากทำ แต่จัดระเบียบวิธีวิจัยให้ถูกต้อง เรามี herb สมุนไพร อยู่มากมาย  
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #15 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:20:37 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อจ.วิสูตร   กรรมการแพทยสภา  
 คณะกรรมการแพทยสภา หรือกรรมการแพทยสภาตามพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกแพทยสภา เช่น เรื่อง รพ.เอกชน รพ.ของรัฐ และทำอย่างอื่นได้นั้น บริบทต่างกัน ปัจจุบันนี้มีกฎหมายอยู่หลายฉบับที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่อจ.พูดในส่วนของเอกชน เอกชนมีพรบ.สถานพยาบาล 2541 เข้ามาควบคุม เพราะฉะนั้นการทำวิจัยจึงไม่ได้อยู่ในกรอบของพรบ.สถานพยาบาล 2541 เพราะฉะนั้นถ้าเราจะก้าวล่วงเข้าไปในส่วนที่เราไม่ได้ขอหรือเขาไม่ได้ให้ เพราะฉะนั้นจึงเกิดความเสี่ยง ในขณะนี้ท่านอยู่ในบริบทของการขอเปิดสถานพยาบาลเพื่อที่จะรักษาพยาบาลหรือบร ิการนั่นเอง ไม่ได้อยู่ในส่วนของวิจัย เพราะฉะนั้นจะต้องแก้ พรบ. พรบ.สถานพยาบาล 2541 กำหนดเพียงแต่ว่าท่านต้องให้บริการหรือต้องดำเนินการอะไร ตรวจรักษา บำบัดได้หมด แต่ไม่มีวิจัย เมื่อไม่มีวิจัย ท่านอยากทำวิจัยก็ทำไม่ได้เพราะว่าบริบทในการเกิดมันเกิดจาก พรบ. ตัว พรบ. เป็นกฎหมายที่รองจากรัฐธรรมนูญเพราะฉะนั้นโอกาสที่ท่านจะดำเนินการได้ ต้องแก้ พรบ.สถานพยาบาล ไม่ใช่บอกว่าแพทยสภาหาวิธีการที่จะให้ รพ.เอกชน หมอเอกชนทำวิจัยทำไม่ได้ เพราะเช่นนั้นแพทยสภาจะทำผิดกฎหมาย เพราะแพทยสภาอยู่บนพื้นฐานของพรบ.วิชาชีพเวชกรรม 2525 จึงต้องทำกรอบ ความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่าทำอย่างไรให้แพทยสภาให้ความรู้แก่สมาชิกว่าขณะนี้ แยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือส่วนแพทย์ที่เป็น รพ.ของรัฐ ที่อยู่ภายใต้ของความจำเป็น ความจำกัดของบุคลากร และเครื่องมือ ทำได้ เช่น พยาบาลดมยา ทำไม รพ.เอกชนทำไม่ได้ เพราะอยู่ในบริบทของความขาดแคลนของบุคลากรนี่คือความแตกต่างและมีอีกหลายอย่ าง บางทีแพทยสภาก็หนักใจ เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแพทย์มีหลายฉบับ แพทยสภาต้องทำให้เข้าใจเรื่องหน้าที่ของแพทย์ในส่วนต่างๆ จะทำอย่างไรสื่อให้แพทย์ได้เข้าใจ เราอยากทำแต่บางครั้งเราติดขัด
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #16 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:21:04 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

นพ.พินิจ  หิรัญโชติ กรรมการแพทยสภา
 เราออกพรบ. สถานพยาบาล 2559 มาตรา 14/1 สถานพยาบาลอาจจัดให้มีการศึกษาฝึกอบรมวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการกฎกระทรวงออกมาแล้ว สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอบรม เราบอกว่าให้แต่ละวิชาชีพรับเรื่องนี้ไปผ่าน สบส. เราจะตั้งคณะกรรมการดูเรื่องการศึกษาของท่าน และเรื่องของวิจัยออกระเบียบไว้แล้ว แต่ผมรับหลักการที่ท่านอจ.เสนอ วัตถุประสงค์ของแพทยสภามีส่งเสริมการประกอบวิชาชีพการวิจัย ถ้าเกิดตรงไหนบอกกัน ที่จะขอเรียนเพิ่มเติมคือมีแนวคิดคือ การ training วุฒิบัตร หนังสืออนุมัติเข้าไปได้น้อย 3,000 คน เข้าได้ 1,500 แล้วเราจะทำอย่างไร และตอนนี้ความจำเป็นของประชาชนก็มีมีเรื่องผ่าไส้ติ่ง ผ่าคลอดลูก คุณหมอสูก็อยากบล็อกหลัง หมอดมยาก็ไม่อยากจะบล็อก ประสบการณ์มีพบว่ามีคน 2 กลุ่ม เราอาจจะต้องออกประกาศนียบัตรน้อยกว่า 1 ปี ให้กับน้องๆ ทั้งหลายที่อยากจะ เรื่องการเสริมทักษะให้หมุนเหมือน inturn ผมว่าหลักการ เพียงแต่ผ่านๆ ไม่รู้จริง จากนี้ไปพอเรียนจบ exturn อาจไปเรียนศัล 1 ปี เข้าสู เข้าเหมด เข้าเด็กทั้งหมด การผ่าไส้ติ่ง การบล็อคหลัง ซึ่งตอนนี้ก็บอกแล้วถ้าเกิดคนไข้มาจาก รพ.ชุมชน ซึ่งศาลพิพากษาแล้วว่าไม่สามารถที่จะทำผ่าตัดได้ ต้องมีหมอดมยา ถ้าแพทยสภาออกประกาศนียบัตรหัตถการให้ หลังจากไปเยี่ยมสมาชิกภาคตะวันออกมีหมอสูคนหนึ่งผมต้องเสี่ยงบล็อคหลังที่รพ .ชุมชน เป็นหมอสูมา 20 ปี แสดงว่าใครมี experience ด้านหัตถการ แพทยสภาจะต้องพิสูจน์ความเชี่ยวชาญ เรากำลังจะยกร่างให้ออกประกาศนียบัตรน้อยกว่า 1 ปี ของแพทยสภา ที่สมาชิกสะท้อนมาในวันนี้ แพทยสภาต้องรับเรื่องท่านไป แต่จะทันทีทันใดแค่ไหนก็ต้องขอเวลา  
 สำหรับเรื่องการพิสูจน์จะทำอย่างไรให้ศาลทราบว่า certificate ว่าคุณหมอมีความรู้เรื่องนี้เป็นการเฉพาะ คือเราต้องหาอะไรเป็นเกราะกำบังให้กับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นวุฒิบัตร  
 มีคุณหมอมาบอกผมว่าจบ GP ไปเรียนเรื่องเกี่ยวกับ skill ส... ห้ามติดประกาศบนบอร์ด ซึ่งฐานะที่เราเกี่ยวข้องยกร่างประกาศ ในคลินิกต้องประกาศได้ และเรามีหมอทุกคนตามพรบ.ทำได้ทั้งหมด แต่รับผิดชอบ เป็นผลที่ประชาชนเข้าคลินิกผิดอยากจะบอกชัดเจนให้คุณมาลิดรอนคุณหมอ เมื่อสักครู่หมอไปคุยกับคุ้มครองผู้บริโภคว่าเรื่องเกี่ยวข้องกับประกาศ ทำไมประกาศไม่ได้ อย่าพูดด้วยวาจา ทำเอกสารไปถึงเขา และให้เขาตอบกลับมา ถ้าเผื่อมีปัญหาส่งที่ สบส. และส่งมาที่แพทยสภา ซึ่งเรื่องเหล่านี้ท่านอาจจะคุยคนเดียว แต่ถ้าเราคุยในรูปขององค์กรอาจจะเกิดประโยชน์ เราจะใช้วัตถุประสงค์ข้อ 1 อย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้ข้อ 6 ด้วย  
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #17 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:22:21 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

อจ.วิษณุ ประเสริฐสม
อยากให้แพทยสภาทำเรื่องนี้ เคยเสนอเรื่อง certifier คนไข้อยากจะทำ repair น้องเป็น GP อาจเป็นภาระของราชวิทยาลัยสูงที่จะ certifier แต่เขาไม่สามารถ reference บนโฆษณาว่าเป็นสูตินารีแพทย์ รบกวนแพทยสภาประสานราชวิทยาลัยต่างๆ และปล่อยผีคุณหมอที่ practice ปัจจุบันและเข้าหลักสูตร certifier ในหัตถการ แต่ถ้าแพทยสภาหรือราชวิทยาลัยไม่ happy อาจจะกำหนดว่าน้องที่จบแพทย์ ใบประกอบโรคศิลป์ตั้งแต่ 5-6 หมื่น  
 
นพ.วิรัติ  พาณิชยพงศ์ กรรมการแพทยสภา  : ทำงานแพทยสภามาหลายปี แพทยสภาส่งเป็นวุฒิสภาทราบปัญหาว่าเรื่องกฎหมายที่จะออกมาขั้นตอนมันเยอะ แต่เราไปดัก นโยบายหลักของแพทยสภาคือช่วยกันปกป้องพัฒนาวิชาชีพ เรื่องจริยธรรมมีคณะกรรมการกลั่นกรองคดีจริยธรรมของแพทยสภา ซึ่งมีคนนอกจะประกอบด้วยอัยการ ผู้พิพากษา และทนาย ช่วยกันรับฟัง และช่วยกันออกความเห็นตัดสินให้กรรมการชุดให้ตัดสินอีกที เราทำอยู่แล้ว และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เรื่องจริยธรรมไม่มีปัญหาแน่นอน และเรื่องกฎหมายแพทยสภามีการสัญจรไปพบสมาชิกและประชาชนทุกภาคของประเทศทำมาห ลายปีแล้ว ไปทราบปัญหาว่ามีอะไรบ้างและนำมาจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะเห็นว่ามีการแก้ไขระเบียบเรื่องมาตรฐานประกอบวิชาชีพตามความสามารถ คณะกรรมการแพทยสภามีคณะอนุกรรมการติดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับทางการแพทย์อยู่แ ล้ว กฎหมายที่ออกมาแต่ละครั้งกระจายให้สมาชิกรับทราบถึงข้อเสียแล้วก็จะมีการทัก ท้วงซึ่งจะเป็นผลดีกับสมาชิกและแพทยสภาในอนาคต
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #18 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:22:51 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผู้ดำเนินรายการ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา กล่าวสรุป :พวกเราแพทย์จะยึดถือพระบรมราโชวาทของสมเด็จพระบิดาที่ว่าให้ยึดถือประโยชน์ ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ส่วนรวมเป็นกิจที่หนึ่ง แต่ยังมีพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านอีกอันหนึ่งว่า แพทย์จะต้องได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ความไว้วางใจระหว่างเพื่อนแพทย์ด้วยกัน และความไว้วางใจในหมู่สมาชิก กรรมการแพทยสภามีความตั้งใจ ใส่ใจ จริงใจที่จะทำให้เกิดความเชื่อถือไว้วางใจเกิดขึ้น และคิดว่าวันนี้เป็นโอกาสแรกรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกเพื่อที่จะเอาไปพัฒน าหรือปรับปรุงหรือชี้แจงหรือทำความเข้าใจ เพราะว่าการที่คนเราจะมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจใคร อันหนึ่งมันต้องเริ่มต้นจากการที่ว่าเรามีความชอบพอและพอใจ การที่เราจะพอใจคือได้มีการสื่อสาร เพราะมนุษย์เข้าใจกันโดยการสื่อสาร วันนี้เป็นการสื่อสารทางตรง เป็นการเริ่มต้นของการสื่อสาร 2 ช่องทางที่ดี  
 แพทยสภามีหน้าที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือจะต้องทำให้ประชาชนเข้าใจเรื่องข้อจำกั ดทางการแพทย์ซึ่งมีหลากหลาย เช่น ทำงานมากเกินไป ข้อจำกัดจากกฎหมาย และแพทยสภามีหน้าที่คือทำให้ผู้บริหารหรือรัฐบาลมีความเข้าใจปัญหายากลำบากข องแพทย์เราที่อยู่ในระบบราชการต้องทำงานหนัก เหนื่อย และเสี่ยงต่อการผิดพลาด เสี่ยงต่อความเสียหาย และเสี่ยงต่อการถูกฟ้อง และแพทยสภาจะช่วยสมาชิกเหล่านี้ได้อย่างไร การที่แพทยสภาไปช่วยไม่ใช่ให้ไปสู้กับประชาชน แพทยสภาช่วยได้คือการที่จะทำให้รัฐบาลเข้าใจว่าการใช้งานแพทย์ที่หนักเกินไป จนไม่มีเวลาพักผ่อนจะเสี่ยงต่อความเสียหาย และทำอย่างไรเราถึงจะลดความเจ็บป่วยของประชาชน สิ่งหนึ่งประชาชนไม่ค่อยยึดถือระเบียบวินัยกฎหมาย แต่เราต้องเรียกร้องสิทธิมาพร้อมกับหน้าที่ ไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น สุขภาพเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน แต่แพทยสภามีความสำคัญตรงที่ว่าในฐานะดูแลองค์กรแพทย์จะต้องทำประโยชน์อีกอย ่างคือให้ความรู้แก่ประชาชนในข้อจำกัดการแพทย์ และประชาชนช่วยแพทย์ให้ดูแลสุขภาพประชาชนให้ดีได้อย่างไร และประชาชนจะดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างไร และเรื่องกฎหมายต่างๆ ที่แพทยสภาจะต้องประสานงานกับผู้มีหน้าที่ออกกฎหมายดูว่ากฎหมายมีวัตถุประสง ค์เพื่อควบคุมคนไม่ดี ไม่ทำร้ายคนดี แต่กฎหมายมีความยุติธรรม แพทย์ก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง กฎหมายต้องให้ความยุติธรรมกับแพทย์ด้วย
 
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #19 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 11:23:31 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

นายกแพทยสภา กล่าวสรุป
 เรื่องหนึ่งเรื่องถ้ามองหลายมุมมองก็มีหลายความคิดเห็นก็เกิดประโยชน์ เป็นเรื่องที่แพทสภาทำ ตอนนี้เราถูกมองในหลายมุมมอง แต่ละมุมมองมีข้อคิดเห็นที่หลากหลาย บางเรื่องเป็นเรื่องที่แพทยสภามองไม่เห็น เวทีนี้เกิดประโยชน์ เรื่องบางเรื่องหลังจากที่ได้รับรู้สึกว่าเรายังไม่ได้ทำ ขอบคุณทีมงานทุกท่านที่ทำให้กิจกรรมนี้เกิดขึ้น ขอบคุณกรรมการ สมาชิกแพทยสภาที่มาร่วม และผลกระทบจะเกิดขึ้นมากมายในอนาคต เราจะมีเวทีเหล่านี้ต่อไป และเห็นด้วยกับวิทยากรเรื่องยากๆถ้าช่วยกันทำประโยชน์เกิดขึ้นมหาศาล อาจใช้เวลาบ้าง แต่การสื่อสารให้สังคม และ stakeholder ทุกองค์ประกอบเข้าใจสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราเคลื่อนการดูแลสุขภาพคนไทยทั้งหมดในทิศทางที่ดีขึ้น
ส่งโดย: yellow_bird
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1029  
   
171.101.227.*


« ความเห็นที่ #20 เมื่อ: 07/16/18 เวลา 12:07:23 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

Smiley Smiley Smiley
ส่งโดย: jumpoo
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 400  
   
1.47.11.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by