แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 36765: น่าสงสารชาวเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ตาก  (จำนวนคนอ่าน 961 ครั้ง)
« เมื่อ: 04/23/18 เวลา 08:59:35 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

kiatisak-1524439459191.jpg
อันตรายสุดๆ💀👿💀ตายผ่อนส่ง
...น่าสงสารชาวเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ตาก
ที่ต้องสูดเอา 👿💀💀ฝุ่นพิษจิ๋ว สารก่อมะเร็งในอากาศ มานานนับเดือน...ฝุ่นละอองในอากาศ pm2.5 เล็กจนหลายคนมองผ่าน แต่โทษต่อสุขภาพมหาศาลเลยนะ
 
🏨🏨🏪
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในอากาศ แปลง่าย ๆ ว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ที่อันตรายต่อสุขภาพเราไม่น้อย  ฉะนั้นมาทำความรู้จักฝุ่นละอองในอากาศ และความหมายของค่า PM2.5 คืออะไรกันแน่
 
โทษของฝุ่นละอองในอากาศ
 
     ฝุ่นละอองในอากาศมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อย่างฝุ่นละออง PM10 หรือฝุ่นละอองขนาดใหญ่ซึ่งมีอนุภาคใหญ่กว่า 10 ไมครอน ฝุ่นละอองชนิดนี้จะติดอยู่บริเวณโพรงจมูกและปากเท่านั้น ไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงหลอดลมของเราได้ ทว่าฝุ่นละอองชนิดละเอียดที่มีอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือที่เรียกกันว่า PM2.5 ด้วยความจิ๋วระดับนี้ทำให้มันเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สามารถผ่านเข้าขนจมูก  โพรงจมูก ลำคอ หลอดลมใหญ่ จนกระทั่งหลุดเข้าไปในถุงลมและปอดของเราได้ง่าย ๆ ก่ออันตรายต่อสุขภาพได้หลายโรค คร่าว ๆ ก็มีโทษต่อสุขภาพดังนี้ค่ะ
 
* ก่อให้เกิดอาการไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ  
 
     ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วสามารถผ่านเข้าไปในโพรงจมูก หลอดลม ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกระทั่งมีอาการดังกล่าวได้  
 
* ทำลายระบบประสาท ทำให้เป็นอัมพาต  
 
     จากสารปรอทที่อยู่ใน PM2.5 ซึ่งมาจากกระบวนการเผาไหม้น้ำมันและถ่านหิน  
 
* โรคผิวหนัง  ภูมิแพ้ ไซนัส หายใจลำบาก  
 
     โดยมีสารหนูเป็นสาเหตุของอาการ โดยสารหนูมักเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การทำเหมือง การทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงยาฆ่าแมลง หากร่างกายมีการสะสมของสารหนูเป็นจำนวนมาก จะมีอาการมึน ตัวชา อยากอาเจียน หรือร้ายแรงถึงขั้นระบบประสาทต่าง ๆ ในร่างกายถูกทำลาย โดยเฉพาะระบบประสาทการทำงานของปอด
 
     นอกจากนี้ในละอองฝุ่น PM2.5 ก็ยังมีแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทเหมืองแร่สังกะสี ทองแดง และตะกั่ว สามารถกัดส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ปอด กระดูกให้เสียหายได้เช่นกัน  
 
* เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง  
 
     โดยเฉพาะมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ เพราะใน PM2.5 มีสาร P-A-Hs ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จากท่อไอเ สียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปจนถึงควันบุหรี่
 
นอกจากนี้การได้รับ PM2.5 เป็นระยะเวลานานหรือในปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ เข้าไปสู่ปอด และกระแสโลหิต จนอาจส่งผลให้เกิดโรคดังต่อไปนี้ได้
 
     - หลอดเลือดในสมอง  
 
     - โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  
 
     - โรคหัวใจขาดเลือด  
 
     - มะเร็งปอด  
 
     - โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
 
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้กรมควบคุมมลพิษคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศแค่โอโซน ไนโตรเจนออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ PM10 เท่านั้น ทว่ายังไม่ได้เอาตัว PM2.5 ไปคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศของไทย ส่งผลให้การวัดดัชนีคุณภาพอากาศรายวันของประเทศไทยมีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าไม่สามารถแสดงค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่แท้จริงได้
 
ดังนั้นเราจึงจะไม่รู้ว่าอากาศมีมลพิษแค่ไหน ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันมลพิษตัวร้ายในอากาศได้ทันท่วงที ทั้งที่จริง ๆ แล้วเราสามารถป้องกัน PM2.5 ได้ด้วยตัวเราเอง
 
ส่งโดย: kiatisak
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1168  
   
211.130.174.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 04/23/18 เวลา 09:02:37 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

kiatisak-1524439466533.jpg
เชียงใหม่
ส่งโดย: kiatisak
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1168  
   
211.130.174.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 04/23/18 เวลา 09:02:56 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

kiatisak-1524439462223.jpg
ลำปาง
ส่งโดย: kiatisak
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1168  
   
211.130.174.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 04/23/18 เวลา 09:07:50 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

รศ.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า ปัจจุบัน คนมักนึกถึงความสำคัญ แต่ค่าฝุ่น PM 10 ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดลม ภูมิแพ้ และโรคระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ฝุ่นที่มีจำนวนมากและอันตรายกว่าคือ PM 2.5 ซึ่งเป็นต้นเหตุสารก่อมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด ที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 
สำหรับปีนี้ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สร้างเครื่องตรวจจับและเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง และเตรียมนำไปติดพื้นที่ จ.เชียงใหม่ จำนวน 20 เครื่อง เพื่อรายงานค่าฝุ่นอันตรายและเตือนภัยกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุที่มีอัตราเสี่ ยงภัยมลพิษอากาศมากกว่าคนทั่วไป สำหรับวันนี้แม้ท้องฟ้าเหนือตัวเมืองเชียงใหม่จะยังมีฝุ่นจำนวนมาก แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน
ส่งโดย: kiatisak
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1168  
   
211.130.174.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 04/23/18 เวลา 10:05:10 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

   ถ้ายอมรับได้ว่ามีมลพิษจริง แล้วเรามีเครื่องมือในการแก้ปัญหาอะไรบ้างครับ  ประเทศที่รวยกว่า เจริญกว่าเราก็ทำไรไม่ได้  มลพิษในเชียงใหม่ตรวจพบมาเกินกว่าสิบปีแล้ว  ตอนนี้ไม่ต้องตรวจก็รู้สึกได้ว่าอากาศมีปัญหา แต่ เราก็ยังคงย่ำอยู่กับที่เอาแต่เพิ่มเครื่องตรวจ ตรวจพบเหมือนเดิมมากกว่าเดิม แต่ทำไรต่อไม่ได้
ส่งโดย: blitzs
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 2998  
   
180.183.144.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 04/23/18 เวลา 17:36:48 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การที่ความเลว ชนะความดีได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความนิ่งเฉย ของคนดี
ส่งโดย: 6699
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1520  
   
223.205.251.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by