แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 36670: ผลสำรวจเผยเด็กส่วนใหญ่เข้ารับการตรวจสุขภาพฟันช้าเกินไป  (จำนวนคนอ่าน 542 ครั้ง)
« เมื่อ: 03/20/18 เวลา 10:12:31 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

IQ-FDI.jpg
เนื่องในวันทันตสาธารณสุขโลกปีนี้ สมาพันธ์ทันตแพทย์โลก (FDI World Dental Federation) ได้ตั้งคำถามกับพ่อแม่ทั่วโลกว่าดูแลสุขภาพฟันของลูกอย่างไร และคำตอบที่ได้ทำให้ตระหนักว่าต้องมีการปรับปรุง เพราะการรักษาสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ปากและฟันทำงา นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยรักษาสุขภาพและสุขภาวะโดยรวมด้วย
 
     รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่
     https://www.multivu.com/players/uk/8281451-survey-children-not-getting-d ental-check-up  
 
     ผลสำรวจใน 10 ประเทศพบว่า ในบรรดาพ่อแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปี มีเพียง 13% ที่พาลูกไปพบทันตแพทย์ก่อนครบขวบปีแรก ซึ่งเป็นอายุแนะนำในการพาเด็กไปพบทันตแพทย์ครั้งแรก พ่อแม่ส่วนใหญ่พาลูกไปพบทันตแพทย์ครั้งแรกเมื่อเด็กมีอายุ 1-3 ขวบ (24%) หรือ 4-6 ขวบ (22%) ขณะที่ 20% ไม่เคยพาลูกไปตรวจสุขภาพฟันเลย
 
     Dr Kathryn Kell ประธาน FDI กล่าวว่า "น่าเป็นห่วงมากที่ได้รับรู้ว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ตรวจสุขภาพฟันตามอายุที่แ นะนำ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย พ่อแม่ควรพาเด็กมาพบทันตแพทย์เมื่อฟันซี่แรกเริ่มขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดฟั นผุในเด็กเล็ก นอกจากนี้ โรคเกี่ยวกับช่องปากอาจส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของชีวิตและมีความสัมพันธ์กับ สุขภาพโดยรวม เนื่องในวันทันตสาธารณสุขโลกปีนี้ เราอยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพช่องปากกับสุขภาพโดยทั่ วไป และเข้าใจผลกระทบที่มีซึ่งกันและกัน การรู้วิธีรักษาสุขภาพช่องปากและสุขภาพร่างกายในทุกช่วงวัยจะทำให้มีคุณภาพช ีวิตที่ดีขึ้น"
 
     ครึ่งหนึ่ง (50%) ของพ่อแม่ที่พาลูกไปพบทันตแพทย์ ระบุว่าพาไปตรวจสุขภาพฟันตามปกติ ซึ่งเป็นคำตอบที่พบมากที่สุดในสหราชอาณาจักร (82%), สวีเดน (77%), อาร์เจนตินา (65%), ฝรั่งเศส (63%), สหรัฐอเมริกา (63%), ออสเตรเลีย (56%) และจีน (34%) แต่พ่อแม่ในอีกหลายประเทศพาลูกไปพบทันตแพทย์เพราะลูกมีอาการปวดฟัน ได้แก่ อียิปต์ (56%), ฟิลิปปินส์ (43%) และโมร็อกโก (38%)
 
     มากกว่าสองในห้า (43%) ของพ่อแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปี มีการกำกับให้ลูกแปรงฟันก่อนนอนเพื่อป้องกันการเกิดโรคในช่องปาก ซึ่งเป็นข้อความสำคัญที่ FDI สื่อสารมาโดยตลอด ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า 40% ของพ่อแม่กำกับให้ลูกแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และ 38% จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเพื่อป้องกันโรคในช่องปาก แต่มีเพียง 26% ที่ทำความสะอาดฟันให้ลูกตั้งแต่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น และมีแค่ 8% ที่ให้ลูกใส่ฟันยางระหว่างเล่นกีฬา
 
     FDI แนะนำให้ทุกคนฝึกดูแลสุขภาพช่องปาก หลีกเลี่ยงปัจจัยเสียงต่างๆ เช่น อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลสูง ตลอดจนเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาสุขภาพช่องปากและสุขภ าพโดยรวมในทุกช่วงวัย พ่อแม่ควรเริ่มทำความสะอาดฟันให้ลูกก่อนนอนตั้งแต่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น รวมถึงกำกับให้ลูกแปรงฟันวันละ 2 ครั้งโดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เพียงเล็กน้อย และพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำตั้งแต่ก่อนอายุครบ 1 ขวบ
 
     เกี่ยวกับวันทันตสาธารณสุขโลก
 
     วันทันตสาธารณสุขโลก (World Oral Health Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มีนาคมของทุกปี ริเริ่มขึ้นโดย FDI เพื่อรณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักถึงการป้องกันและควบคุมโรคในช่องปาก http://www.worldoralhealthday.org ; #WOHD18 #SayAhh
 
     พันธมิตรระดับโลกของวันทันตสาธารณสุขโลกประกอบด้วย Henry Schein, Philips Sonicare และ Unilever ส่วนผู้สนับสนุนวันทันตสาธารณสุขโลกประกอบด้วย Planmeca และ Wrigley
 
     เกี่ยวกับการสำรวจ
 
     ข้อมูลตัวเลขทั้งหมดที่ปรากฏมาจาก YouGov Plc. โดยได้มาจากการสำรวจผู้ใหญ่  11,552 คน ซึ่ง 4,056 คนในจำนวนนี้มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปี การสำรวจทางออนไลน์เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมีการถ่วงน้ำหนักและเลือกกลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สำหรับจำนวนพ่อแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 18 ปีแบ่งตามประเทศได้ดังนี้ สหราชอาณาจักร (46Cool, ออสเตรเลีย (311), อียิปต์ (463), ฟิลิปปินส์ (506), ฝรั่งเศส (357), สหรัฐอเมริกา (295), โมร็อกโก (386), สวีเดน (272), จีน (529) และอาร์เจนตินา (469)
 
     (รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/654729/FDI_Children_Dental.jpg   )
 
     ที่มา: FDI World Dental Federation
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
61.90.6.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by