แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 36654: ผลของฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจร่างกาย  (จำนวนคนอ่าน 529 ครั้ง)
« เมื่อ: 03/13/18 เวลา 17:20:11 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผลของฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจร่างกาย
 
อาการของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่อาการน้อย เช่น ไอ จามมีน้ำมูก จนไปถึงการอักเสบของไซนัส เจ็บคอ ไอมีเสมหะ หรือมีไข้หรืออาจจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือหายใจมีเสียงดัง วี๊ซ (Wheez) เนื่องจากมีการหดตัวของหลอดลม
 
หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)   ในกลุ่มประชากรที่สัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กในปริมาณที่มาก จะมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบสูงกว่า   และในรายที่มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้วเมื่อเกิดโรคหลอดลมอักเสบ(Bro nchitis) หรือปอดบวม(Pneumonia) จะซ้ำเติมให้การทำงานของหัวใจแย่ลง จนเกิดหัวใจวายได้ (Heart Failure)
 
ปอดเป็นพังผืดจากการระคายเคืองเรื้อรัง (Pneumoconiosis)  การที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เข้าไปในปอดไประคา่ยเคืองระบบทางเดินหายใจเรื้อร ัง จนเกิดพังผืดขึ้นในเนื้อปอด
 
มะเร็งของระบบทางเดินหายใจ   ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีส่วนผสมของสารบางอย่าง เช่น Arsenic, Chromate ,Poly aromatic hydrocarbon (PAH) ,Nickel,สารกัมมันตรังสี   ซึ่งเมื่อสัมผัสกับเนื้อปอด จะทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ และถ้าสารดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นสามารถละลายน้ำได้ เมื่อไปสู่อวัยวะต่างๆนอกปอด ก็สามารถทำให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดมะเร็งได้เช่นกัน
 
เพิ่มอัตราการตาย และอัตราการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีการศึกษาสนับสนุนดังนี้
 
การศึกษาในสหรัฐอเมริกา ในปี 1944  ถ้าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10)  มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นจากระดับปรกติ 10 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. จะทำให้อัตราการตายสูงขึ้นร้อยละ 1.0-3.2   และเิ่พิ่มการนอนรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคที่เกี่่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ขึ้นร้อยละ 1-2
 
การศึกษาในสหราชอาณาจักร พบว่า PM10 เพิ่มอัตราการตายร้อยละ 1.9 และเพิ่มการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
การศึกษาอื่นๆ พบว่า ถ้า PM10 เพิ่มขึ้นจากระดับปรกติ 10 ไมโครกรัมต่อ ลบม. จะทำให้อัตราการตายเิ่พิ่มขึ้นร้อยละ 1  อัตราการตายจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4  การนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และการรักษาตัวในห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1
 
     ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Particle Matter หรือ PM) มีอยู่ 2 ขนาด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กว่า 10 ไมครอน (PM10) และฝุ่นละอองทีมีขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจได้ลึก โดยระบบทางเดินหายใจเช่นขนจมูกไม่สามารถที่จะกรองเพื่อไม่ให้เข้าไปในส่วนลึ กของระบบทางเดินหายใจได้ จึงมีอันตรายมากกว่าฝุ่นละอองขนาดใหญ่มีหลักฐานแน่ชัดว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กม ีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในเมืองของประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนาโดยมีผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด  ไม่มากก็น้อยสำหรับประชาชนที่สูดดมเข้าไป โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กและคนชราและคนที่มีโรคของระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดเป็นต้นปัจจุบันยังไม่สามารถหาได้ว่าปริมาณที่ไม่เกินเท่าไรถึงปลอ ดภัยและไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพต่อทุกคนได้มีการศึกษาในสหรัฐอเมริการแ ละยุโรปเพื่อหาขนาดของฝุ่นลอองงขนาดเล็กว่าปริมาณน้อยสุดที่มีผลกระทบต่อสุข ภาพเท่ากับเท่าไร พบว่า ปริมาณของ PM2.5 ปริมาณที่มากกว่า 3-5 ไมโครกรัม/ลบม. สามารถมีผลสุขภาพนักระบาดวิทยาสามารถแสดงหลักฐานผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อสัมผั สทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและสรุปว่าปริมาณของฝุ่นละอองขนาดเล็กและความรุนแ รงของผลกระทบต่อสุขภาพนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละคนเป็นการยากที่จะกำหนดมา ตรฐานค่าใดค่าหนึ่งที่จะสามารถคุ้มครองประชาชนทุกคนให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองข นาดเล็กได้ถ้าเป็นไปได้มาตรฐานของปริมาณของฝุ่นละอองขนาดเล็กควรต่ำที่สุดเท ่าที่จะทำได้ ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่และการเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว . การทำ Quantitative risk assessment โดยการจำลองภาพว่าเมื่อใช้ค่ามาตรฐานของปริมาณ PM10 และ PM2.5 ค่าต่างๆกันจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง ไรเป็นวิธีการที่ Environmental Protection Agency (EPA) ของสหรัฐอเมริกา และ European Commission ใช้กันเพื่อทบทวนค่ามาตรฐานที่เหมาะสมว่าควรเป็นเท่าไร โดยพิจารณาปริมาณของ PM ที่จะทำให้อัตราการตายเพิ่มขึ้น ซึ่งนักระบาดวิทยาส่วนใหญ่ใช้ PM10 ในการศึกษา เนื่องจาก PM10 นั้นจะรวม PM2.5 นั้นประกอบด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน และฝุ่นละอองขนาด 2.6 – 9.9 ไมครอนเข้าไปด้วย
 
   ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เกิดจากกิจกรรมต่างๆ เช่นการก่อสร้าง ฝุ่นละอองบนท้องถนน และการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งสัดส่วนของ PM2.5 และ PM10 ก็แตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่โดยในเขตเมืองของประเทศกำลังพัฒนา สัดส่วนของ PM2.5 / PM10 มีค่าประมาณ 0.5 แต่ในเขตเมืองของประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 0.5- 0.8 แม้ว่า PM10 จะได้รับการใช้ในวงกว้าง แต่การศึกษาของ WHO ใช้ค่า PM 2.5 และคำนวณกลับมาเป็น PM 10 ได้จากการประมาณการว่า ค่า สัดส่วนระหว่าง PM2.5 / PM10 มีค่าประมาณ 0.5
 
    จากผลกระทบทางสุขภาพที่ได้ทำการศึกษามาก่อนหน้านี้จำเป็นต้องมีค่ามาตรฐานทั ้งระยะสั้น 24 ชั่วโมง และระยะยาวคือ 1 ปีโดยค่าเฉลี่ยระยะยาว 1 ปีของ PM 2.5 นั้นกำหนดระดับต่ำสุดที่ 10 ? g/m3 ซึ่งเป็นค่าที่เริ่มมีผลทำให้อัตราการตายสูงขึ้น โดยอิงข้อมูลจาก American Cancer Society’s (ACS) study (Pope et al., 2002) และ Harvard Six-Cities data (Dockery et al., 99 ; Pope et al., 1995; HEI, 2000, Pope et al., 2002, Jerrett, 2005). โดยจากการศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัส PM2.5 ในระระยาว กับอัตราการตาย โดยปริมาณค่าเฉลี่ยของ PM2.5 ที่ผ่านมาเท่ากับ 18 ไมโครกรัม/ลบม. (11.0 – 29.6 ไมโครกรัม/ลบม. ) ใน 6 เมืองที่ทำการศึกษา และจากการศึกษาของ ACS ค่าเฉลี่ยของ PM 2.5 ที่สัมพันธ์กับอัตราตายที่เพิ่มขึ้นคือ 20 ไมโครกรัม/ลบม. ( 9.0 – 33.5 ไมโครกรัม/ลบม. ) แต่ทั้งการศึกษายังไม่สามารถกำหนดค่า Threshold ได้ว่าค่าที่ปลอดภัยสำหรับประชากรทุกคนควรเป็นเท่าไร แต่จากศึกษา ของ Donkey et al. (1993 ) study พบว่าความเสี่ยงต่ออัตราการตายที่เพิ่มขึ้นยังเหมือนเดิมในเมืองที่ทำการศึก ษาที่มีค่าความเข้มข้นระยะยาวของ PM2.5 ต่ำสุด คือ 11-12.5 ไมโครกรัม/ลบม. จึงสรุปได้ว่า ปริมาณของ PM2.5 ที่มีผลต่อสุขภาพที่ต่ำสุดคือ 11-15 ไมโครกรัม/ลบม. ดังนั้น WHO AQG จึงกำหนดค่ามาตรฐานที่ 10 ไมโครกรัม/ลบม.ค่าดังกล่าวได้ทำการศึกษาทั้งการสัมผัสในระยะสั้นและระยะยาวซ ึ่งพบว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่งและสามารถลดความเสี่ยงลงไปได้อย่างมีนัยส ำคัญแม้จะไม่สามารถที่จะรับรองความปลอดภัยของทุกคน
 
http://smoke.magnexium.com/articles/%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99 %E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81/
ส่งโดย: kiatisak
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1168  
   
1.47.71.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by