แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 36637: สำหรับคนไม่เชื่อว่า"ไทยมีคนเสียภาษีเงินได้แค่10%จะให้ค่ารักษาฟรีหมด?"  (จำนวนคนอ่าน 1398 ครั้ง)
« เมื่อ: 03/06/18 เวลา 15:39:54 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

powerguy-fijgl.jpg
ได้สิครับ เพราะภาษีที่รัฐเก็บไม่ได้มีแต่ภาษีเงินได้
ยังมีภาษีส่วนอื่นๆอีกมากมายที่ทุกคนจ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม
จริงๆประเด็นนี้น่าจะเลิกเถียงกันได้แล้ว แล้วมาถกกันว่า
เราจะพัฒนาระบบสามสิบบาทที่มีให้มันมีประสิทธิภาพที่สุดยังไงดี
เราทำได้นะ ถ้าเรากำจัดพวกการทุจริตคอรัปชั่นทั้งแบบกินกันตรงๆ กับแบบกินเชิงนโยบายให้หมด ปรับการบริหารจัดการงบประมาณที่มีให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เอาง่ายๆ ล่าสุดที่มีข่าวว่ารัฐไปเจอการแดกงบประมาณสาธารณสุขของท้องถิ่น ไอ้ห่า เช็คเบิกจ่ายสามหมื่นห้า แม่งตกแต่งตัวเลขเป็นแสนสามแล้วเบิกส่วนต่างไปใช้
ส่งโดย: samco
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 3943  
   
101.109.8.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 03/06/18 เวลา 15:43:56 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

powerguy-hh5.jpg
https://goo.gl/42G5eP
ส่งโดย: samco
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 3943  
   
101.109.8.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 03/06/18 เวลา 16:47:45 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ ลบข้อความนี้

แค่จ่ายให้ รพ เพียงพอต่อต้นทุนที่ใช้ไปก็พอ ค่ะ
ทุนวันนี้ ขาดทุนตลอด
ส่งโดย: candy girl Email     1.46.133.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 03/06/18 เวลา 17:10:53 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ยังมีคนกล้าเอาภาษีเงินได้มาเป็นข้ออ้างอีกเหรอ เค้ารู้เรื่องvatกันตั้งนานแล้ว คนที่ไม่เสียภาษีบุคคลธรรมดาเค้าก็รู้ว่าเค้าจ่ายvatให้ราชการ
ส่งโดย: doreus
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 10681  
   
1.47.236.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 03/06/18 เวลา 18:03:14 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ครม.สัญจร เห็นชอบจัดสรรงบกลางปี 61 เพิ่มเติมอีก 5,186 ลบ.ให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
     พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่าย  ในส่วนของงบกลาง ปี 2561 จำนวน 5,186 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมา การจ่ายเงินสนับสนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในรายการงบบริการผู้ป่วยใน ที่ยังขาดงบประมาณอีก 4,186 ล้านบาท และรายการค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุขของหน่วยบริการที่อยู่ในชนบทและพื้น ที่ห่างไกล ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม 1,000 ล้านบาท  
      2 รายการ ทั้งงบบริการผู้ป่วยใน และงบค่าตอบแทนของบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล รวมกันเป็น 5,186 ล้านบาท วันนี้ ครม.ให้ความเห็นชอบ  พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
     ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมว่า คนไทยพอใจกับหลักการของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในขณะที่งบประมาณที่ใช้ต้องเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยจากข้อมูลพบว่าในปี 2560 มียอดการใช้งบประมาณในหลักประกันสุขภาพฯ 167,000 ล้านบาท ปี 2561 ใช้งบประมาณ 178,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 190,000 ล้านบาท ในปี 2562 ขณะที่คาดว่าในปี 2563 ต้องใช้งบประมาณในส่วนนี้สูงถึง 207,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย
      มันเป็นตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดทุกปี เราได้มีการตรวจสอบข้อมูลแล้ว พบว่าหลายประเทศเคยทำแบบนี้แล้วเจ๊งไปแล้ว หลายประเทศจึงเปลี่ยนเป็นสนับสนุนเฉพาะบางโรค บางกลุ่ม ท่านนายฯ ฝากเป็นข้อมูลให้ช่วยกันศึกษา เพราะว่ารายได้ของรัฐไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ภาษีที่เคยเก็บได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม...ภาษีของเราแม้ฐานจะกว้างขึ้น แต่อัตราการจัดเก็บได้ ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย นอกจากนี้ภาษี VAT ก็เก็บที่ 7% มานานมาก ถ้าเรายังยึดหลักดูแลประชาชนด้วยหลักประกันสุขภาพเช่นนี้ ในขณะที่ตัวเลขผู้สูงอายุจะขึ้นไปถึง 20% ในปี 2578 นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายด้านหลักประกันสุขภาพจะสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วประเทศไทยจะมีงบประมาณไปทำอย่างอื่นได้หรือไม่ ท่านนายกฯ ฝากให้ช่วยทำความเข้าใจแก่ประชาชนว่าเราจะช่วยกันแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ได้อย ่างไร ถ้าจะคิดว่าเราต้องได้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ ก็ต้องย้อนไปดูว่าประเทศอื่นเขาเก็บภาษีเท่าไร แต่เวลานี้รัฐบาลก็ยังไม่มีแนวคิดจะขึ้นภาษีแต่ละประเภท  พล.ท.สรรเสริญระบุ
ส่งโดย: Echo male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 4667  
   
202.80.227.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 03/07/18 เวลา 11:11:44 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ


ขาดทุน?   Roll Eyes
 
 

 
รพ.ในอุบลราชธานียกเลิกประกาศเก็บมัดจำทำเส้นฟอกเลือดแล้ว  
 
Quote:

สปสช. เผย รพ. ในอุบลราชธานี ยกเลิกประกาศเก็บเงินมัดจำทำเส้นฟอกเลือดแล้ว มีการของบเพิ่ม แต่ต้องพิจารณาเหตุใดจึงมีปัญหาขาดทุน
 

 
https://mgronline.com/qol/detail/9610000022106

 


“Victory Loves Preparation”

ส่งโดย: :: King of BANPU :: male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 23200  
   
171.97.219.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 03/07/18 เวลา 13:44:38 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ใครๆ(ชาวบ้าน)ก็อยากจะรับการรักษาฟรี+ ดี...แถมความต้องการรับการตรวจ/ รักษามีมากขึ้น ถี่ขึ้น ในเกือบจะทุกคน
อย่างนี้ เอางบประมาณมากเท่าไหร่ก็มาตอบสนองความต้องการของคนไทยไม่พอ (คือขาดทุน) หรอกครับ
ส่งโดย: Dr._Panya male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1916  
   
110.168.55.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 03/07/18 เวลา 14:44:37 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ผมว่าเค้าก็พูดถูกแล้วนิครับ   เพราะค่าแวตvatอย่างเดียวมันจะพอที่ไหน   Undecided


ยามเมื่อมฤตยูรอท่าหน้าทวาร หมอเทียบเปรียบปานพระเจ้า
ยามเมื่อโรคสุมรุมเร้า หมอคือพระเจ้าจุติมา
ยามเมื่อโรคหายไข้เรื้อ หมอคือสามัญมนุสสา
ยามเมื่อคนไข้มรณา หมอคือผีห่าซาตาน..

ส่งโดย: know555 male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 16543  
   
1.47.137.*


« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: 03/07/18 เวลา 15:12:41 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

พอเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว เดี๋ยวก็รู้ครับว่าใครพูดผิด  
ผมสนับสนุนให้ร่วมจ่ายครับ
อย่าลืมนะครับตอนที่หมอสงวนทำโครงการนี้ ค่าใช้จ่ายรายหัวที่ต้องสมทบน่ะ ประมาณ 1230 บาทต่อคน นักการเมืองบางท่านก็ตัดหลักพันกับหลักร้อยออก เหลือแค่นั้นล่ะครับ หาเสียงสบายตลอดชาติ
ส่งโดย: fireplayer
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 15  
   
124.120.200.*


« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: 03/07/18 เวลา 22:48:45 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

คนที่มีรายได้ต่อหัวไม่ถึงขั้นต้องเสียภาษีตั้ง 90% ของประเทศจะไปจ่าย vat อะไรได้มากมายหรือครับ (ยกเว้นว่าคนส่วนใหญ่รายได้เยอะแต่เลี่ยงภาษีกันนะครับ ผมก็ยังหวังว่าส่วนใหญ่ของ 90% จะรายได้ไม่ถึงจริงๆมากกว่าการเลี่ยงภาษีนะครับ)  
 
ส่งโดย: Innominate male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1943  
   
27.145.176.*


« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: 03/08/18 เวลา 10:22:16 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

สรุปสั้นๆคือยกเลิกพรบ.นี้ไม่ได้แน่นอนเพราะจะมีคนลุกขึ้นประท้วงทั่วประเทศ  
ทางออกจึงมีเพียงไม่กี่ทางคือต้องเพิ่มงบประมาณให้มากขึ้นเพราะรัฐบาลยังจ่า ยเงินส่วนนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
และอาจต้องมีการหาเงินเสริมเช่นการร่วมจ่าย,การทำประกันสุขภาพสำหรับคนชั้นก ลางและคนมีรายได้สูง,
การจำกัดจำนวนการมารับบริการเท่าที่จำเป็นยกเว้นที่แพทย์นัด,ตลอดจนการขอรับ บริจาคที่สามารถนำไปหักภาษีได้ถึง2เท่าเหล่านี้เป็นต้น
ส่งโดย: zinc male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1432  
   
182.52.29.*


« ความเห็นที่ #11 เมื่อ: 03/10/18 เวลา 16:15:21 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

การร่วมจ่าย=ตายช้า
 
การไม่ร่วมจ่าย=ตายเร็ว
 
หากคุณจะไม่ร่วมจ่าย  มันก็แค่เป็นการผลักปัญหาไปอนาคต  รอวันระเบิด
 
คนที่หวังแต่จะเอาแต่การบริการดีๆ โดยไม่ทำอะไรเลยแม้นแต่จ่ายภาษี
 
คำตอบ  ก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร
 
 
ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยสูงอายุ  จะสูงอย่างมาก  โดยที่ประเทศไทย จะไม่มีปัญญาทำอะไรเลย
 
 
ดูญี่ปุ่น  เศรษฐกิจไม่โตมากี่ปีแล้ว
 
ของไทย  ใช้คำว่าถดถอยเลยจะดีกว่า  แต่หาก EEC สำเร็จ
 
เราก็แค่อาจไม่มีทางโตเกินได้ 5 % เหมือนอย่างในอดีต
ส่งโดย: philosophy
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 419  
   
114.109.246.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by