แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 36433: ESMO เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  (จำนวนคนอ่าน 750 ครั้ง)
« เมื่อ: 12/16/17 เวลา 10:02:58 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ESMO เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองแล ะตามอาการ
 สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป (ESMO) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพชั้นนำในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ได้เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอ งและตามอาการ (Supportive and Palliative Care) [ https://doi.org/10.1093/annonc/mdx757  ] ซึ่งเรียกร้องให้มีการคำนึงถึงช่องว่างที่ค่อยๆ ขยายตัวขึ้นระหว่างความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง กับการดูแลพยาบาลโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
 
     "การศึกษาวิจัยใหม่ๆ แสดงให้เห็นว่าอาจมีช่องว่างระหว่างสิ่งที่แพทย์คิดว่ามีความสำคัญต่อผู้ป่ว ย กับสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจริงๆ [ http://www.esmo.org/Conferences/Past-Conferences/ESMO-2017-Congress/Pres s-Media/Press-Releases/Patients-Feel-Psycho-social-Impact-of-Chemo-More-Acutely-Than-Physical-Side-Effects ] เราขอเรียกร้องผ่านทางเอกสารแสดงจุดยืนฉบับนี้ให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า  ในการวินิจฉัยโรคนั้น นอกจากการยับยั้งการการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องการเช่นเดียวกันคือ การสนับสนุนทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์ความรู้สึกในทุกระยะของโรค" Karin Jordan ผู้ประสานงานคณาจารย์แพทย์ของ ESMO ซึ่งเป็นผู้เขียนหลักของเอกสารฉบับนี้ กล่าว
 
     Matti Aapro อดีตประธานสมาคมการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตามอาการนานาชาติ (MASCC) ซึ่งร่วมเขียนเอกสารแสดงจุดยืน กล่าวว่า "ผลการศึกษาหลายฉบับในปัจจุบัน [ http://esmo.org/Conferences/Past-Conferences/ESMO-2017-Congress/Press-Me dia/Press-Releases/Triggers-a-New-Tool-to-Assess-Cancer-Patients-Palliative-Needs ] แสดงให้เห็นว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองและตามอาการ ไม่เพียงช่วยปรับปรุงการรักษาเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสนับสนุนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หลีกเลี่ยงความสูญเปล่า และยังอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย"
 
     เราควรให้ความสำคัญกับผลการรักษาที่ประเมินโดยผู้ป่วย (Patient reported outcomes) เพราะสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่น้อยลง และแม้แต่การรอดชีวิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการดูแลทั่วไป
 
     "เราหวังว่า เอกสารฉบับนี้จะมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมและการยอมรับโดยทั่วไปเกี ่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองและตามอาการทั่วโลก" Aapro กล่าว "ความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย อย่างเช่นการบรรเทาอาการปวดนั้น ยังไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร [ http://www.esmo.org/Policy/Global-Opioid-Policy-Initiative ] การศึกษาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยมะเร็งทุกคน ทั่วโลกจะสามารถเข้าถึงการรักษาแบบประคับประคองและตามอาการ"
 
     สาระสำคัญในเอกสารแสดงจุดยืนของ ESMO:
 
     - การฝึกอบรมและการดูแลพยาบาลโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
     - การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
     - บทบาทของทีมสหสาขาวิชาชีพ
     - การผสมผสานทรัพยากรการดูแลสุขภาพ
     - การวิจัยและทรัพยากรในการดูแลแบบประคับประคองและตามอาการ
 
     อ่านเนื้อหาทั้งหมดได้ที่: http://bit.ly/2AiD5qG  
 
     ESMO เป็นองค์กรวิชาชีพชั้นนำในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา และเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลด้านมะเร็งวิทยา โดยมีสมาชิกเป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านมะเร็งวิทยา 17,000 รายจาก 150 ประเทศทั่วโลก
 
     ติดต่อ: media@esmo.org หรือ โทร. +41-91-973-19-07
 
     ที่มา: สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป (ESMO)
ส่งโดย: IQ
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1807  
   
110.169.21.*


Page(s) : 1 




Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by