ThaiClinic.Com (http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl)
ห้องถามตอบสุขภาพ >> ทันตกรรม >> รณรงค์  คัดค้านคนนอกบริหารแพทย์สภา
(Message started by: ghittisak on 09/21/16 เวลา 15:03:03)

Title: รณรงค์  คัดค้านคนนอกบริหารแพทย์สภา
ส่งโดย ghittisak on 09/21/16 เวลา 15:03:03
อยากเชิญ สมาชิกสภาวิชาชีพ ทุกสาขาวิชาชีพ ประชาชนทั่วไป และบุคลากรสาธารณสุข ทุกฝ่ายช่วยกันลงชื่อ เกิน 10,000 คน เพื่อยื่นคัดค้าน กรณีการเสนอกฎหมายแต่งตั้งคนนอกมาบริหารแพทยสภา พ.ศ.2560

คลิ๊กลิ้ง  
https://goo.gl/WUYWUg

อยากเชิญ สมาชิกสภาวิชาชีพ ทุกสาขาวิชาชีพ ประชาชนทั่วไป และบุคลากรสาธารณสุข ทุกฝ่ายช่วยกันลงชื่อ เกิน 10,000 คน เพื่อยื่นคัดค้าน กรณีการเสนอกฎหมายแต่งตั้งคนนอกมาบริหารแพทยสภา พ.ศ.2560
สวัสดีครับ ผมหมอกิตติศักดิ์ และทีมงาน
เป็นกลุ่ม แพทย์ที่ปฎิบัติงานจริง ทำงานร่วมกับประชาชน และผู้ป่วย อยู่ทุกวันครับ
พวกเราได้ทราบ ถึงการที่มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ผลักดันการแก้ไขกฎหมาย พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ให้มีการแต่งตั้งคนนอกซึ่งเป็นพวกตนเอง เข้ามาบริหารแพทยสภา
ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าว จะทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม และเป็นการฉวยประโยชน์ จากการนำคนนอกเข้ามาบริหารแพทยสภา องค์กรวิชาชีพ
องค์กรวิชาชีพ ในประเทศไทยนั้น มีหลายองค์กรครับ อาทิเช่น แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาวิชาชีพเสภัชกรรม สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ สภาการบัญชี สภาสถาปนิก สภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรรมการตุลาการ และ อื่นๆ
ซึ่งโดยหลักการแล้ว กรรมการบริหารต้องเป็นคนในวิชาชีพนั้นๆ จึงจะเข้าใจ จารีต วัฒนธรรม มารยาท จรรยาบรรณ ของวิชาชีพ
และในทุกสภาวิชาชีพ มักมีการแต่งตั้ง อนุกรรมการ ที่มีอาชีพอื่นๆ มาร่วมได้ รวมทั้งส่วนของภาคประชาชน อยู่แล้ว
การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนดังกล่าวนั้น จึงเป็นการแทรกแซง สภาวิชาชีพ โดยเริ่มต้น จากแพทยสภา ซึ่งเป็นสภาที่ถูกบิดเบือนข้อมูลให้เข้าใจผิดได้ง่าย ว่าเป็นต้นเหตุปัญหา ค่ารักษาพยาบาลแพง ปัญหาการรักษาไม่มีคุณภาพ ต้นเหตุปัญหาสังคม ครีมเถื่อน ต่างๆ
ทั้งที่จริงๆแล้ว แพทยสภาไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวเลย เป็นหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องดำเนินการทั้งหมด ค่ารักษาแพง รัฐมนตรีสาธารณสุขก็ตั้งกรรมการแก้ไขแล้ว การจับครีมเถื่อน การรักษาเถื่อน ก็เป็นหน้าที่ของกองประกอบโรคศิลป์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ไม่เกี่ยวกับแพทยสภา
แพทยสภา โดย พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
มีวัตถุประสงค์ และหน้าที่ดังนี้
มาตรา 7 แพทยสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม
2. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในทางการ แพทย์
3. ส่งเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก
4. ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่น ในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข
5. ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุข
6. เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย
มาตรา 8 แพทยสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรใน วิชาชีพเวชกรรมของสถาบันต่าง ๆ
4. รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันทางการแพทย์
5. รับรองวิทยฐานะของสถาบันทางการแพทย์ที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
6. ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาเวชกรรม
จะเห็นชัดว่า แพทยสภา ก็เปรียบเสมือนสถาบันโรงเรียนแพทย์ ที่ดูแลการผลิตแพทย์เฉพาะทาง ควบคุมแนวทาง วิชาการการรักษา การประกอบวิชาชีพ และดูแลจริยธรรม แพทย์ ตัดสินคดีจริยธรรมแพทย์เพียงเท่านั้น

การเสนอให้คนนอกมาเป็นกรรมการบริหารแพทยสภา จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พวกเขาอ้างแต่อย่างไร เป็นการตั้งใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อเสนอพวกตนเองเป็นกรรมการบริหาร (พวกเขาเป็นอนุกรรมการได้อยู่แล้ว น่าสงสัยทำไมไม่มาเป็น และสร้างเรื่องแก้กฎหมายเช่นนี้)
ผมยังค้นคว้าข้อมูล พบว่าแพทยสภา เคยเชิญคนกลุ่มนี้ มาประชุมร่วม เพื่อแสดงความคิดเห็น พิจารณาเรื่องราวต่างๆ คนกลุ่มนี้ก็ปฏิเสธ จึงชัดเจนว่า พวกเขาไม่ได้มีจุดประสงค์ที่ต้องการปฏิรูปแพทยสภาจริง แต่ต้องการมาเกี่ยวข้องกับการตัดสินคดีจริยธรรมแพทย์
การตัดสินจริยธรรมแพทย์ โดยแพทยสภา จะเกี่ยวข้องกับ การนำไปสู่ การเอาเงินชดเชย หากสืบประวัติคนกลุ่มนี้ จะพบว่า พวกเขามีประวัติ สนับสนุน พรบ.กองทุนชดเชยผู้เสียหายทางการแพทย์ ด้วย (พรบ.ใหม่ที่จะให้มีการกันเงินไว้เยียวยาผู้เสียหายทางการแพทย์)
หากคนพิจารณาคดีความแพทย์เป็นพวกเขาเอง เขาก็ชี้มูลความผิดจริยธรรม ให้ผิดได้ สะดวกขึ้น เวลาส่งฟ้องศาล และสามารถเรียกร้องเงินชดเชย จากกฎหมาย พรบ.กองทุนชดเชยผู้เสียหาย (ที่เขาร้องให้จัดตั้งมาก่อนหน้านี้ แอบทำเหมือนกับที่ทำในครั้งนี้ และเรื่องรอพิจารณาอยู่ในสภานิติบัญญัติ)

กลุ่มกระผมจึงมีความกังวลกับ กฎหมายที่เขาเสนอไปยัง ประธาน สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ว่าหากมีการแก้กฎหมาย ให้คนนอกเป็นแพทยสภาจริง
1. สถานะแพทย์กับคนไข้จะเปลี่ยนไป จาก อดีต แพทย์กับผู้ป่วยเอื้ออาทรต่อกัน เป็น ระแวงกัน ว่าจะถูกกรรมการแพทยสภาคนนอกชี้มูลให้ผิด ตามใจหรือไม่?
2. ค่ารักษาพยาบาล ทุกภาคส่วนจะสูงขึ้น เนื่องจาก แพทย์ต้องปกป้องตัวเองจากกรรมการคนนอก ด้วยการส่งตรวจเพิ่มเติมมากมาย ประชาชน ที่ทุกข์ร้อน ก็จะรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และรอคิวนานขึ้น
รวมทั้ง แพทย์อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันตัวเอง เพิ่มขึ้น เช่นการทำประกันวิชาชีพป้องกันการฟ้องร้อง ยิ่งขยายให้ปัญหาความสัมพันธ์แพทย์ผู้ป่วย แย่ลง
3.โอกาสที่พวกเขาจะแทรกแซง ตัดสินให้แพทย์ผิดจริยธรรม จะมีเพิ่มมากขึ้น และ เขามีโอกาสหาประโยชน์เพิ่มเติมจากการร้องเรียนแพทย์ได้ ดังที่ประวัติทำมาตลอดชีวิต
   แพทยสภาเป็นด้านหน้าเท่านั้น หากล้มแพทยสภาได้ คนกลุ่มนี้ย่อมคืบคลานเข้าไปในได้ทุกสภาวิชาชีพ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่พวกตนเอง โดยอ้างคำว่า "เพื่อประชาชน" เตรียมแทรกแซงสร้างความปั่นป่วนให้เกิดกับสภาวิชาชีพอื่นๆ เพื่อที่จะได้เข้าไปเอาประโยชน์ได้ง่าย
ดังนั้น โดยหลักการแล้ว
" ผู้บริหารสภาวิชาชีพใด ต้องมาจากผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ทั้งสภา ทันตแพทย์ เภสัชกร ทนายความ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก บัญชี เทคนิคการแพทย์ แพทย์แผนไทย คนนอกที่ขาดความรู้ความเข้าใจมาบริหาร จะตัดสินใจเรื่องต่างๆผิดเพี้ยนได้ "  
  แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้คนนอกวิชาชีพมาเป็นอนุกรรมการ ดังที่เป็นอยู่เดิม นั้นถูกต้องแล้ว
   
   จึงอยากเชิญชวนอีกครั้งครับ สมาชิกสภาวิชาชีพ ทุกสาขาวิชาชีพ ประชาชนทั่วไป และบุคลากรสาธารณสุข ทุกฝ่าย ลงชื่อเกิน หมื่นคน ต่อต้าน การชุบมือเปิบ ของ NGOs ของกลุ่มคนที่ไม่มีงานสุจริตทำ แต่คิดจะหาผลประโยชน์ให้ตนเองด้วยการแก้ไขกฎหมาย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ ร่วมกันลงชื่อ
แคมเปญรณรงค์นี้จะถูกส่งไปที่:
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ



ThaiClinic.Com . All Rights Reserved.