แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 37807: การตรวจ Tumor markers ช่วยคัดกรองมะเร็งได้แค่ไหนครับ  (จำนวนคนอ่าน 1348 ครั้ง)
« เมื่อ: 09/02/19 เวลา 18:27:01 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เห็นใน packages ตรวจสุขภาพประจำปีของ รพ.หลายแห่ง
ยังรวมพวก Tumor markers คือ AFP, CEA, PSA
การตรวจพวกนี้ได้ประโยชน์ในการคัดกรองโรค
ในคนสุขภาพดีหรือเปล่าครับ
 
เพราะที่ทราบมา ประโยชน์ที่แน่ชัด
ก็คือใช้ติดตามอาการและผลการรักษา
ในคนไข้ที่เป็นมะเร็งชนิดนั้นๆอยู่แล้ว
 
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคอมเมนต์ครับ
ส่งโดย: คนอื่น
สถานะ: Full Member ***
จำนวนความเห็น: 174  
   
180.183.28.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 09/02/19 เวลา 19:56:56 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

คำถามที่ถามกันในหนังสือ
" การตรวจหาโรคชนิดหนึ่ง พบว่า มีอัตราการคลาดเคลื่อนที่คิดว่า จะเป็นโรคนี้ 5% โรคชนิดนี้ มักจะเกิดกับประชากร 1/1000 คน ถ้าหาก ทำการทดสอบแบบสุ่ม โดนไม่สนใจว่าพวกเขามีแนวโน้มเป็นโรคหรือไม่ คนไข้คนหนึ่ง ตรวจพบว่าเป็นโรคนี้ ดังนั้น ความน่าจะเป็น ที่คนไข้คนนี้ จะเป็นโรคนี้จริงๆ มีอยู่เท่าไหร่ "
 
ถ้าดูจากโจทย์ข้อนี้ ก็จะประเมินได้ว่า คำตอบของคำถามกระทู้นี้ มีผลเป็นอย่างไร
ส่งโดย: 6699
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1520  
   
223.205.234.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 09/03/19 เวลา 09:23:42 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เคยบอกทีมการตลาดแล้วว่าให้เอาออกจากpackageตรวจสุขภาพ แต่ไม่เคยเอาออกได้ซักที มันคงเป็นเรื่องของผลประโยชน์  
 
เคยบอกว่าให้ไปเน้นตรวจ stool occult blood กะ colonoscopy เพื่อscreening colon cancerดีกว่า แต่ก็ยังเปลี่ยนไม่ได้ เพราะคนไข้ไม่ชอบเก็บstoolมาตรวจและยุ่งยากสำหรับคนไข้ และcolonoscopyเองก็มีราคาแพง
 
ดูเหมือนภาครัฐจะทำเเรื่องscreening colon cancerได้ดีมากในหลายๆโรงพยาบาล มีการรณรงค์มากขึ้น
 
ส่วน AFPส่วนตัวไม่ได้แนะนำให้ใช้ตรวจในnormal population ควรจะไปทำในกลุ่มเสี่ยงเช่น chronic hepatitis B หรือcirrhosis อาจส่งทั้งAFP,PIVKA II และU/S liver เพราะearly detection HCCน่าจะprognosisดีกว่ามาก เดี๋ยวนี้hepatobiliary surgeonฝีมือดีมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 09/04/19 เวลา 13:02:00 by น้ำเน่าในเงาจันทร์ »

ส่งโดย: น้ำเน่าในเงาจันทร์ male
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 6054   Email
   
125.26.19.142 fwd for 10.161.153.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 09/03/19 เวลา 10:49:48 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ในฐานะหมอสูติ ปวดหัวมากค่ะกับ CA-125
เบื่อที่สุดกับการที่ไปเจาะที่อื่นแล้วเอาผลมาถาม
หรือ จนท.รพ.ไปเจาะกันเอง แล็บเชียร์เจาะบ้าง
ผลออกมาก็เอามาถาม ก่อนเจาะไม่เคยมาปรึกษา
พอไล่เบี้ยไป (ด้วยความโมโห)
แล็บก็บอก จนท.ขอเจาะเอง
จนท.ก็ว่า แล็บเชียร์ให้เจาะ
(สรุปว่าก็สมยอมเอออกันทั้งคู่นั่นแหละ)
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 09/03/19 เวลา 10:50:11 by Chimerism »
ส่งโดย: Chimerism
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1509  
   
110.77.189.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 09/03/19 เวลา 14:33:33 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

on 09/02/19 เวลา 19:56:56, 6699 wrote:
คำถามที่ถามกันในหนังสือ
" การตรวจหาโรคชนิดหนึ่ง พบว่า มีอัตราการคลาดเคลื่อนที่คิดว่า จะเป็นโรคนี้ 5% โรคชนิดนี้ มักจะเกิดกับประชากร 1/1000 คน ถ้าหาก ทำการทดสอบแบบสุ่ม โดนไม่สนใจว่าพวกเขามีแนวโน้มเป็นโรคหรือไม่ คนไข้คนหนึ่ง ตรวจพบว่าเป็นโรคนี้ ดังนั้น ความน่าจะเป็น ที่คนไข้คนนี้ จะเป็นโรคนี้จริงๆ มีอยู่เท่าไหร่ "
 
ถ้าดูจากโจทย์ข้อนี้ ก็จะประเมินได้ว่า คำตอบของคำถามกระทู้นี้ มีผลเป็นอย่างไร

 
โอกาสที่คนคนนี้ป่วยเป็นโรคนี้จริง และมีการตรวจพบเชื้อนี้จริงๆ อยู่ที่ 2%  แต่ผู้ป่วยร้อยละ 95 จะคิดว่า ตัวเองเป็นโรค และเมื่อกินยาอะไรก็แล้วแต่ ก็จะหายได้ปกติ หมอก็จะมีชื่อเสียงว่ารักษาได้หาย ทั้งที่จริงๆแล้ว หายเอง 93%
ส่งโดย: 6699
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1520  
   
223.205.251.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 09/04/19 เวลา 19:19:55 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

เป็นการตลาด  ขาย package
 
เนื่องจากเรา มีอาชีพ ด้านบริการ
 
 
หากคุณปฏิเสธ  จะเกิด ความขัดแย้งขึ้น  สิ่งที่จะเกิดขึ้นทันที คือ
 
1.ต้องเสียเวลาอธิบาย
2.หากอธิบายได้ไม่ดีพอ หรือคนไข้เองไม่ยอมเข้าใจ ก็จะเกิด ความไม่พึงพอใจการบิรการ
 
 
หากคุณตามน้ำ
นอกจาก คุณจะประหยัดเวลาที่ต้อเสียไปกับการอธิบาย  
คุณยังเลี่ยงความขัดแย้งได้
ผู้ป่วยก็พอใจ
โรงพยาบาลได้ผลกำไรมากขึ้น
 
และหากผลที่ตรวจผิดปกติขึ้นมา
 
ก็ต้องตรวจเพิ่มเติมไม่ว่าจะส่ง occult blood or colonoscope
ีสะพฟหนีืก
 
โรงพยาบาลกำไร  คนไข้พอใจ
win win
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: 09/04/19 เวลา 19:28:39 by philosophy »
ส่งโดย: philosophy
สถานะ: Senior Member ****
จำนวนความเห็น: 419  
   
58.9.55.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 09/05/19 เวลา 13:00:33 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ขอบคุณทุกท่านครับ
ส่งโดย: คนอื่น
สถานะ: Full Member ***
จำนวนความเห็น: 174  
   
157.167.29.180 fwd for 103.40.142.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 09/06/19 เวลา 19:32:47 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

AFP ยังพอจะมีความสัมพันธ์กับโรคบ้าง
แต่ตัวอื่น ถ้ามันสูง จะทำให้หมอปวดหัว แล้วคนไข้ก็จะเจ็บตัวโดยใช่เหตุ
ส่งโดย: Dr.Dolittle
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 2364  
   
223.24.170.*


« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: 09/07/19 เวลา 10:59:04 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

บางครั้ง วิชาการ กับ อามรณ์ มันก็สวนทางกันครับ
  หมอคนหนึ่ง รักษาดีมาก ตามวิชาการเป๊ะ ทำทุกอย่างตาม indication แต่อธิบายไม่ดีพอดี  หรือขัดกับความรู้สึกคนไข้ ถ้ารักษาแล้วหายก็ดีไป  ถ้าพลาดคือซวย โดนเหยียบจมดิน
    หมออีกคน รักษามั่วๆซั่วๆ  ตรงวิชาการบ้าง ไม่ตรงบ้าง  วิชามารมากมาย  ส่งตรวจอะไรมั่วไปหมด แต่คนไข้นึกว่าหมอตั้งใจตรวจละเอียดดี   พอบังเอิญตรวจเจอถูกโรค กลายเป็นหมอเทวดา  ถ้าตรวจรักษาผิด  คนไข้ก็ไม่ว่า เพราะหมอทำเต็มที่แล้ว  
     มันก็เป็นเช่นนี้แล  

ส่งโดย: devilmanToT @.โหมดลั้นลา
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 2145  
   
125.26.46.*


« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: 09/13/19 เวลา 05:19:55 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ปัญหาข้อนี้ เป็นเรื่องความน่าจะเป็น ที่มีเงื่อนไข วิธีการคิด ไม่เหมือนกับเรื่องความน่าจะเป็นที่ไม่มีเงื่อนไข ตัวเลขที่ได้ว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคต่างกันมาก
ส่งโดย: 6699
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 1520  
   
223.205.247.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by